ชื่อพระเครื่อง | *** แท้และทันสมเด็จฯ พระพุทธจารย์โต พรหมรังสี *** พระสมเด็จปิลันทน์ พิมพ์สี่เหลี่ยม ปรกโพธิ์ วัดระฆัง สวยเดิมๆ + บัตรรับรอง GPRA |
รายละเอียด | *** แท้และทันสมเด็จฯ พระพุทธจารย์โต พรหมรังสี *** พระสมเด็จปิลันทน์ พิมพ์สี่เหลี่ยม ปรกโพธิ์ วัดระฆัง สวยเดิมๆ + บัตรรับรอง GPRA
สมบรูณ์เดิมลงกรุ หายากไม่มีหัก ไม่มีซ่อม คราบกรุ เนื้อจัดดูง่าย น่าบูชาและสะสมค่ะ
พระสภาพยังสวยน่ารัก เป็น พิมพ์ ปรกโพธิ์ ไข เดิม ๆ ชัดเจน มี เนื้อไขงอก สุดแสนจะดู ง่าย ทั้งด้านหน้าและ ด้านหลัง
พระสมเด็จปิลันทน์ วัดระฆัง ถ้าจะเรียกให้ถูกต้องเต็มความก็คือ พระสมเด็จพระพุทธุปบาทปิลันทน์ สร้างโดย หม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด เสนีวงศ์) ในสมัยที่ท่านดำรงสมณศักดิ์ที่ หม่อมเจ้าพระพุทธุปบาทปิลันทน์ ณ วัดระฆัง ท่านทรงเป็นศิษย์เอกของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) นับตั้งแต่ทรงช่วยเจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างพระสมเด็จ เป็นต้นมา
หม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัด เสนีวงศ์) ทรงสร้างพระเครื่องของท่านขึ้นมาบ้าง เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๑ ภายหลังจากที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้สร้างพระสมเด็จมาแล้ว ๒ ปี แต่มิได้ทรงสร้างโดยลำพังพระองค์เดียว หากอาราธนาให้เจ้าประคุณสมเด็จฯ ร่วมสร้างด้วย และขอผงวิเศษห้าประการของเจ้าประคุณสมเด็จฯ มาเป็นอิทธิวัตถุผสมเป็นหลักของมวลสาร
การสร้างพระเครื่องสมเด็จพระปิลันทน์ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในช่วง พ.ศ.๒๔๐๗ ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ "พระพุทธบาทปิลันทน์" ในช่วงปีดังกล่าว สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ยังมีชีวิตอยู่จึงสันนิษฐานว่า เจ้าพระคุณสมเด็จโต จะแผ่เมตตาประกอบพิธีปลุกเสกให้ด้วย คนรุ่นเก่าๆ ที่ทราบประวัติการสร้างจึงนิยมเรียกว่า "พระสองสมเด็จฯ" แต่นักนิยมพระเครื่องทั่วๆ ไปนิยมเรียกว่า "พระสมเด็จปิลันทน์"
เมื่อเจ้าประคุณสมเด็จฯ สิ้นแล้วท่านจึงได้บรรจุพระเครื่องเหล่านี้ไว้ในพระเจดีย์องค์หนึ่ง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพระอุโบสถ โดยอุทิศส่วนกุศลถวายเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ผู้เป็นพระอาจารย์
พระสมเด็จปิลันทน์ วัดระฆัง พุทธลักษณะเป็นพระที่มีทั้ง พิมพ์นั่งสมาธิบนฐานต่างๆ และพิมพ์ยืน พิมพ์ที่ถือว่าสุดยอดของ พระปิลันทน์ ก็คือ พิมพ์ซุ้มประตู เนื้อพระจะออกไปในทางเทาอมดำ บางท่านก็ว่าเป็นเขียวอมดำและมีคราบไขขาวเกาะแน่นหนา ในส่วนของพระที่บรรจุกรุได้มีการขุดพบครั้งแรกเมื่อ พ.ศ.๒๔๗๑ พุทธคุณในวัตถุมงคลของท่านเด่นทางเมตตามหานิยม ส่วนค่านิยมนั้น สภาพสวยอยู่ในหลักแสนทุกองค์ ทุกพิมพ์... |
ราคาเปิดประมูล | 550 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 20,050 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 100 บาท |
วันเปิดประมูล | - 05 ม.ค. 2568 - 21:07:31 น. |
วันปิดประมูล | - 06 ม.ค. 2568 - 21:33:30 น. (ปิดประมูลแล้ว) |
ผู้ตั้งประมูล | ไทยนิยม (1.6K) 
|