รายละเอียด |
เนื้อนวะโลหะ ตอกโค๊ตชัดเจน
ในปี พ.ศ. 2511 วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอกมีอายุครบ 100 ปี แห่งการสถาปนา ในวันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2511 ประกอบกับ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน) ทรงเจริญพระชนมายุ 70 พรรษา ในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2511 ทางคณะกรรมการจัดงานฉลองจึงขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต จัดงานฉลองศุภวาระมหามงคลวโรกาสทั้ง 2 วาระเป็นงานเดียวกันระหว่าง วันที่ 15-18 มกราคม พ.ศ. 2511 โดยคณะกรรมการมีมติว่าใน ศุภวาระมงคลวโรกาส ดังกล่าวจึงควรจัดสร้างวัตถุมงคลในรูปแบบ พระพุทธรูป และ พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ สำหรับเป็นที่ระลึกและเพื่อเป็นอนุสรณ์ให้ศิษยานุศิษย์ ตลอดจนผู้เคารพนับถือทั่วไปมีไว้สักการบูชาโดยมีเหตุผลในการจัดสร้างดังนี้ พระบาทสมเด็จ พระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ผู้ทรงสถาปนา วัดมกุฏกษัตริยาราม ทรงมีพระปรมาภิไธยเดิมเมื่อ ครั้งยังทรงพระเยาว์ว่า สมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฏ และพระนามฉายาทางพระพุทธศาสนาเมื่อครั้งเสด็จออกทรงพระผนวช (ก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์) ว่า พระวชิรญาโณภิกขุ อีกทั้ง สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ พระราชปนัดดาก็มีคำต้นพระนามว่า วชิรญาณ อีกด้วยดังนั้นจึงเห็นควรถวายพระนาม พระพุทธรูป ที่จัดสร้างขึ้นในครั้งนี้ว่า พระวชิรมงกุฏ หรือ พระพุทธวชิรมงกุฏ ส่วน พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ ถวายพระนามว่า พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์วชิรมงกุฏ
วัตถุมงคลที่จัดสร้างในครั้งนี้
1.พระบูชา 9 นิ้ว "พระพุทธวชิรมงกุฎ" มี 2 เนื้อ คือ นวโลหะ และ สำริด ไม่ระบุจำนวนสร้าง
2.พระบูชา 7 นิ้ว "พระพุทธวชิรมงกุฎ" มี 2 เนื้อ คือ นวโลหะ และ สำริด ไม่ระบุจำนวนสร้าง
3. พระกริ่งพิมพ์ใหญ่ ขนาดหน้าตักกว้าง 2 เซนติเมตร ปางมารวิชัย พระหัตถ์ซ้ายทรงถือหม้อน้ำมนต์ ประทับนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานบัวคว่ำ ด้านหลังมีตรามงกุฎและฉัตร 5 ชั้น ใต้ฐานมีแผ่นทองปิดปั๊มอักษรว่า มกุฏฺขตฺติยารามสฺส วสฺสสต หมายความว่า ครบ 100 ปี วัดมกุฏกษัตริยาราม และมีอักษรขอมอยู่ใต้ฉัตร 3 ชั้น (ฐานันดรศักดิ์สมเด็จพระสังฆราช) และมีเลขลำดับประจำองค์พระตอกอยู่ด้านล่าง สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกในงานฉลองวัดมกุฏฯ ครบ 100 ปี สร้างแค่เนื้อนวโลหะ
4. กริ่งพิมพ์กลาง มี ขนาดหน้าตัก 1.8 เซนติเมตร เป็นปางประทานพร ส่วนรายละเอียดอื่น ๆ เหมือนกับพระกริ่งใหญ่ สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ระลึกงานฉลองพระชนมายุสมเด็จพระ
สังฆราช (จวน) ครบ 70 พรรษา มี 2 เนื้อคือ ทอง และ นวโลหะ
5. พระกริ่งพิมพ์เล็ก (พิมพ์พิเศษ) ขนาดหน้าตัก 1.4 เซนติเมตร ปางประทานพร รายละเอียดก็เฉกเช่นกันกับพระกริ่งพิมพ์ใหญ่ แต่ไม่มีหมายเลขประจำองค์พระสร้างขึ้นเพื่อสมนาคุณ เป็นพิเศษ มี 2 เนื้อคือ ทอง และ นวโลหะ
6. "พระชัยวัฒน์" ขนาดหน้าตัก 1 เซนติเมตร ปางประทานพร เป็นพระชัยวัฒน์ที่ สังฆราชจวน เสด็จเททองเป็นปฐมฤกษ์ในพิธีพุทธาภิเษกครั้งที่ 2 มี 2 เนื้อคือ ทอง และ นวโลหะ
โดยพระกริ่งทั้ง 3 ขนาดนี้มี พิมพ์ใหญ่ เท่านั้นที่สร้างด้วย เนื้อนวโลหะ เพียงเนื้อเดียว
ส่วน พิมพ์กลาง และ พิมพ์เล็ก (พิมพ์พิเศษ) สร้างไว้ 2 เนื้อคือ ทองคำ
และ นวโลหะ , พระชัยวัฒน์ มี 2 เนื้อ "ทองคำ" และ "นวโลหะ"
7.พระธรรมสามิตร เนื้อเงิน และเนื้อนวะโลหะ
8.เหรียญที่ระลึกกลม
9.เหรียญที่ระลึกอาร์ม
หลังจากรวบรวมโลหะวัตถุและแผ่นโลหะที่ลงอักขระยันต์ได้ตามจำนวนที่ต้องการ แล้ว คณะกรรมการจัดสร้างได้นำมาประกอบพิธีพุทธาภิเษก ณ พระวิหารวัดมกุฏกษัตริยาราม ก่อนจากนั้นจึงนำไปประกอบพิธีเททองเฉพาะ พระพุทธรูป และ พระกริ่งวชิรมงกุฏ ณ มณฑลพิธี หน้าพระวิหารวัดมกุฏกษัตริยาราม ซึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททองเป็นปฐมฤกษ์ พระพุทธวชิรมงกุฏ (พระพุทธรูปบูชา) และ พระกริ่งวชิรมงกุฏ ในวันอังคารที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2510 เวลา 13 นาฬิกา 15 นาที โดยมีพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณนั่งปรกเจริญภาวนาอธิษฐานจิตเช่น หลวง ปู่นาค วัดระฆังฯ, หลวงปู่เฮี้ยง วัดป่า จ.ชลบุรี, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม จ.นครปฐม, หลวงพ่อเจียง วัดเจริญสุขาราม จ.สมุทรสงคราม, หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพธิ์นิมิตร, หลวงพ่อเกลี้ยง วัดเฉลิมอาสน์ จ.ราชบุรี, หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติการาม จ.พระนครศรีอยุธยา, หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์ จ.สุพรรณบุรี, พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้ จ.ปัตตานี
เป็นงานใหญ่มากๆ ในสมัยนั้น และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จพระราชดำเนินมาเททอง หลังจากนั้นมีพิธีพุทธาภิเษาครั้งที่ 2 อีก 3 คืน เมื่อการเททองหล่อพระพุทธรูปพระกริ่งวชิรมงกฎ ซึ่งช่างขัดตกแต่งตามกรรมวิธี ต่อไปเสร็จแล้วพร้อมทั้งเหรียญพระรูปฯ จึงนิมนต์พระอาจารย์ต่าง ๆ มาทำพิธีพุทธาภิเษกในพระวิหารวัดมกฎกษัตริยารามอีก 3 ครั้งคือ เมื่อวันอังคาร ที่ 9 วันพุธ ที่ 10 และวันพฤหัสบดี ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2511
ในพิธีพุทธาภิเษกพระกริ่งวชิรมงกฎและพระชัยวัฒน์
วันอังคารที่ 9 มกราคม 2511 พระสงฆ์ที่สวดพุทธาภิเษกและนั่งปรก
1 พระธรรมไตรโลกาจารย์ วัดเทพศิรินทราวาส จังหวัดพระนคร
2 พระธรรมกิตติโสภณ วัดเบญจมบพิตร จังหวัดพระนคร
3 พระธรรมวราภรณ์ วัดนรนาถสุนทริการาม จังหวัดพระนคร
4 พระธรรมจินดาภรณ์ วัดราชบพิธฯ จังหวัดพระนคร
5 พระธรรมปาโมกข์ วัดราชประดิษฐ์ฯ จังหวัดพระนคร
6 พระธรรมโสภณ วัดบวรนิเวศวิหาร จังหวัดพระนคร
7 พระราชเมธี วัดเศวตฉัตร จังหวัดธนบุรี
8 พระราชสุเมธาจารย์ วัดบางหลวง จังหวัดปทุมธานี
9 พระครูพัฒนกิจโกศล วัดชัยสิทธาวาส จังหวัดปทุมธานี
วันอังคารที่ 9 มกราคม 2511 พระสงฆ์วัดพระเชตุพนฯ 4 รูป และวัดอรัญญิกาวาส 4 รูป พระอาจารย์นั่งปรก
1 พระราชมุนี วัดปทุมานาราม จังหวัดพระนคร
2 พระวรพรตปัญญาจารย์ วัดอรัญญิกาวาส จังหวัดชลบุรี
3 พระครูพิพิธวิหารการ วัดกษัตราธิวาส จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
4 พระครูโกวิทสมานคุณ วัดจุฬามณี จังหวัดสมุทรสงคราม
5 พระครูสุตาธิการี วัดใหม่หนองพระอง จังหวัดสมุทรสงคราม
6 พระครูสันทัดธรรมคุณ วัดบ้านช้าง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
7 พระอาจารย์ขอม วัดไผ่โรงวัด จังหวัดสุพรรณบุรี
8 พระอาจารย์กี่ วัดหุช้าง จังหวัดนนทบุรี
9 พระครูสมห์ อำพล วัดประสาทบุญญาวาส จัดหวัดพระนคร
วันพุธ ที่ 10 มกราคม 2511 พระสงฆ์วัดชนะสงคราม 4 รูป และวัดอโศกราม 4 รูป พระอาจารย์นั่งปรก
1 พระรักขิตวันมุนี วัดป่าเลไลยก์ จังหวัดสุพรรณบุรี
2 พระพุทธมนต์วราจารย์ วัดสุทัศนเทพวราราม จังหวัดพระนคร
3 พระครูโศภนกัลยาณวัตร วัดกัลยาณมิตร จังหวัดธนบุรี
4 พระอาจารย์คล้าย วัดจันดี จังหวัดนครศรีธรรมราช
5 พระครูประภัศรธรรมาภรณ์ วัดพระลอย จังหวัดสุพรรณบุรี
6 พระครูวิจิตรวิริยานุโยค วัดทองพุ่มพวง จังหวัดสระบุรี
7 พระครูพินิตสมาจาร วัดนามะตูม จังหวัดชลบุรี
8 พระครูพิทักษ์วิหารกิจ วัดราชนัดดาราม จังหวัดพระนคร
วันพฤหัสบดี ที่ 11 มกราคม 2511 พระสงฆ์วัดอโศกราม 3 ชุด ๆ ละ 4 รูป สวดพุทธาภิเษก พระอาจารย์นั่งปรก
1 พระราชวรคุณ วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ
2 พระครูพรหมวิหาร วัดอโศการาม จังหวัดสมุทรปราการ
3 พระครูสันตวรญาณ วัดสันติวัน จังหวัดเชียงใหม่
4 พระอาจาย์ฝั้น วัดป่าอุดมสมพร จังหวัดสกลนคร
5 พระอาจารย์อ่อน วัดป่าหนองบัวงาม จังหวัดอุดรธานี
6 พระสุนทรธรรมภาณ์ วัดป่าชัยวัน จังหวัดขอนแก่น
7 พระสุธรรมคณาจารย์ วัดป่าสาลวัน จังหวัดนครราชสีมา
8 พระอาจารย์มหาบัว วัดป่าบ้านตาด จังหวัดอุดรธานี
9 พระอาจารย์บุญมา วัดสิริสารวัน จังหวัดอุดรธานี |