(0)
1 ใน 39 พระสวยมาก เหรียญราชสีห์เชิญธง หลวงปู่บุญเหลือ วัดโคกปี่ฆ้อง จ.สระแก้ว ปี 2563 เนื้อเงินองค์หน้าทองคำ(สมนาคุณยกลัง) เลขสวยNO.13(ลักกี้นัมเบอร์) สวยมาก หายาก กล่องเดิมกำมะหยี่อย่างดีครับ








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต





ชื่อพระเครื่อง 1 ใน 39 พระสวยมาก เหรียญราชสีห์เชิญธง หลวงปู่บุญเหลือ วัดโคกปี่ฆ้อง จ.สระแก้ว ปี 2563 เนื้อเงินองค์หน้าทองคำ(สมนาคุณยกลัง) เลขสวยNO.13(ลักกี้นัมเบอร์) สวยมาก หายาก กล่องเดิมกำมะหยี่อย่างดีครับ
รายละเอียด พระสวยมาก เหรียญราชสีห์เชิญธง หลวงปู่บุญเหลือ วัดโคกปี่ฆ้อง จ.สระแก้ว ปี 2563 เนื้อเงินองค์หน้าทองคำ(สมนาคุณยกลัง) จำนวนสร้างน้อย มีเพียง 39 องค์เท่านั้น น่าบูชาสุดๆ สวยมาก อนาคตต่อไปจะเป็นพระหลักของหลวงปู่บุญเหลือแน่นอนครับ ราคายังเบาๆอยู่ครับ เก็บได้รีบเก็บครับ พระหลวงปู่บุญเหลือมีประสบการณ์มากกับผู้ที่แขวนบูชา อนาคตจะเป็นพระหลักของเมืองสระแก้วแน่นอนครับ โอกาสเป้นของผู้ที่มองเห็นเสมอ รับประกันชั้นหนึ่งครับ
ราคาเปิดประมูล 100 บาท
ราคาปัจจุบัน 1,320 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ 20 บาท
วันเปิดประมูล ส. - 29 มี.ค. 2568 - 20:35:06 น.
วันปิดประมูล อา. - 30 มี.ค. 2568 - 21:37:02 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูล gump16 (13.3K)(1)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 ส. - 29 มี.ค. 2568 - 20:35:36 น.



พระสวยมาก เหรียญราชสีห์เชิญธง หลวงปู่บุญเหลือ วัดโคกปี่ฆ้อง จ.สระแก้ว ปี 2563 เนื้อเงินองค์หน้าทองคำ(สมนาคุณยกลัง) จำนวนสร้างน้อย มีเพียง 39 องค์เท่านั้น น่าบูชาสุดๆ สวยมาก
พระสวยมาก เหรียญราชสีห์เชิญธง หลวงปู่บุญเหลือ วัดโคกปี่ฆ้อง จ.สระแก้ว ปี 2563 เนื้อเงินองค์หน้าทองคำ(สมนาคุณยกลัง) จำนวนสร้างน้อย มีเพียง 39 องค์เท่านั้น น่าบูชาสุดๆ สวยมาก


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 ส. - 29 มี.ค. 2568 - 20:35:56 น.



พระสวยมาก เหรียญราชสีห์เชิญธง หลวงปู่บุญเหลือ วัดโคกปี่ฆ้อง จ.สระแก้ว ปี 2563 เนื้อเงินองค์หน้าทองคำ(สมนาคุณยกลัง) จำนวนสร้างน้อย มีเพียง 39 องค์เท่านั้น น่าบูชาสุดๆ สวยมาก
พระสวยมาก เหรียญราชสีห์เชิญธง หลวงปู่บุญเหลือ วัดโคกปี่ฆ้อง จ.สระแก้ว ปี 2563 เนื้อเงินองค์หน้าทองคำ(สมนาคุณยกลัง) จำนวนสร้างน้อย มีเพียง 39 องค์เท่านั้น น่าบูชาสุดๆ สวยมาก


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 ส. - 29 มี.ค. 2568 - 20:36:23 น.



อัตชีวประวัติ เรื่องราว ความเป็นมาต่างๆ ในองค์ หลวงปู่บุญเหลือ สํวโร ยังไม่เคยได้รับการบันทึกไว้แต่อย่างไร มีเพียงแต่หลักฐานตามเอกสารทางคณะสงฆ์ใบสุทธิ บอกเล่ากันว่า หลวงปู่บุญเหลือ สํวโร มีนามเดิม บุญเหลือ หรือ จ่อย นามสกุล ฆ้องจันดา เกิดเมื่อ วันศุกร์ที่ ๑ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ ตรงกับ วันแรม ๑๓ ค่ำ เดือน ๕ ปีชวด พื้นเพดั้งเดิมเกิด ณ บ้านเลขที่ ๙๘ หมู่ที่ ๔ บ้านลุงพลู ตำบลโคกปี่ฆ้อง อำเภอสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี (ปัจจุบัน อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว) บิดา คุณพ่อกล่ำ ฆ้องจันดา มารดา คุณแม่เล็ก ฆ้องจันดา ในครอบครัวเกษตรกร การทำไร่อ้อยน้ำตาล การทำไร่มันสำปะหลัง การทำสวน การเลี้ยงสัตว์ ไปตามแนวทางชีวิตชนบท สอดแทรกประเด็น

หลวงปู่บุญเหลือ สํวโร เป็นคนหมู่ที่ ๔ บ้านลุงพลู เป็นคนโคกปี่ฆ้องแบบแท้จริง จึงใช้นามสกุลที่บ่งบอกท้องถิ่นที่ คือ มีคำว่า ฆ้อง ขึ้นต้นนำหน้านามสกุล เช่น ฆ้องจินดา ฆ้องญรงค์ ฆ้องอินต๊ะ ฆ้องศรี เป็นต้น หากเป็นคนบ้านหมู่ที่ ๓ มักจะเป็น ผู้คนที่ย้ายถิ่นที่ทำมาหากินมาจาก อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี หากเป็นคนบ้านหมู่ที่ ๙ บ้านใหม่กุดชีวา จะใช้นามสกุล เคลือบคลาย ซึ่งจะไปคล้องจองกับ บ้านเกาะลอย อำเภอประจันตคาม จังหวัดปราจีนบุรี ช่วงปฐมวัย หลวงปู่บุญเหลือ สํวโร เป็นเหมือนเด็กชนบท โดยทั่วไป ที่เกิดมาในครอบครัวเกษตรกรที่ห่างไกลความเจริญ การศึกษาเล่าเรียนไม่ได้เป็นไปตามกฎระเบียบตามเกณฑ์การศึกษาภาคบังคับ เพราะในเวลานั้น โรงเรียนประชาบาลยังเข้าไม่ถึงในที่ห่างไกลก็ได้แต่อาศัยวัดวาอารามเป็นแหล่งศึกษาเรียนรู้ไปตามสภาพตกลง หลวงปู่บุญเหลือ สํวโร ก็ได้ไปเรียนบ้าง ไม่ไปได้เรียนบ้าง สุดท้ายก็ไม่ได้ไปเรียน เพราะต้องช่วยเหลือครอบครัวทำงานอยู่กลางท้องทุ่งท้องไร่ หาปู หาปลา หากับข้าวกันแบบชนบทเท่าที่จะหากันได้ ช่วงวัยรุ่น หลวงปู่บุญเหลือ สํวโร เป็นช่วงเวลาที่ต้องทำงานใช้แรงงานรับจ้าง โดยทั่วไป ในภาคเกษตรกรรมใน ตำบลโคกปี่ฆ้อง ที่เป็นแหล่งการปลูกอ้อยน้ำตาล ปลูกมันสำปะหลัง จนกระทั่งมีอายุเข้ารับหมายตรวจเลือกเรียกคัดเลือกการเกณฑ์ทหารเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ซึ่ง หลวงปู่บุญเหลือ สํวโร เป็นผู้ที่มีรูปร่างเล็กสันทัด ดีหนึ่ง ประเภทสอง ไม่เข้าเกณฑ์การจับใบดำ ใบแดง แต่ในปีนั้นจำนวนทหารเกณฑ์ไม่ครบตามจำนวนที่กำหนดไว้ และ ประเทศชาติกำลังมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครอง รวมถึง ลัทธิคอมมิวนิสต์กำลังเข้าครอบงำทางความคิดของผู้คนที่มีความคิดเห็นต่าง เป็นเหตุให้ หลวงปู่บุญเหลือ สํวโร ต้องเข้ารับราชการทหารใน สังกัดมณฑลทหารบทที่ ๑๒ ค่ายจักรพงษ์ จังหวัดปราจีนบุรี ในระหว่างที่รับราชการทหาร หลวงปู่บุญเหลือ สํวโร ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ในองค์ พระครูศีลคุณวัฒนาทร หรือ หลวงพ่อโห พุทฺธสโร วัดพุทธิสาร ตำบลหนองหมากฝ้าย อำเภอวัฒนานคร จังหวัดปราจีนบุรึ ต่อมาได้เปลี่ยนเป็นจังหวัดสระแก้ว พระเกจิคณาจารย์ผู้ทรงอภิญญาณในยุคสงครามอินโดจีนแห่งเมืองปราจีนบุรี เมื่อว่างเว้นภาระกิจได้ลาราชการทหารมักจะมาศึกษาเล่าเรียนสรรพวิชาการแพทย์แผนไทยกับ หลวงพ่อโห พุทฺธสโร อยู่เป็นประจำ กล่าวกันว่า หลวงพ่อโห พุทฺธสโร เป็นศิษย์ในองค์ หลวงพ่อบุคคโล ภูริปญฺโญ วัดป่าช่องกุม ตำบลช่องกุ่ม อำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว พระเกจิโบราณคณาจารย์ ที่ถือเป็นพระผู้เฒ่ามากพรรษากาล พรรษาธรรม แห่งเมืองปราจีนบุรี ที่มีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่ทราบกันดีในความพิเศษพิสดารที่เพ่งเล็งถึงฌานสมาบัติชั้นสูงถึง พระอภิญญาณวิถี ๖ พระวิปัสสนาญาณวิถี ๘ การอุปสมบทครั้งแรก ในปี พ.ศ. ๒๕๐๑ หลวงปู่บุญเหลือ สํวโร หลังจากปลดจากการประจำการแล้วมีอายุได้ ๒๓ ปี เป็นไปตามประเพณีนิยม และ เป็นการทดแทนบุญคุณบุพการี ณ พัทธสีมา วัดสระแก้ว อำเภอสระแก้ว จังหวัดปราจีน (ในสมัยนั้น) โดยมี พระครูรัตนสราธิคุณ (หลวงพ่อทอง รัตนสาโร) วัดสระแก้ว เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูปัญญาสรคุณ (หลวงพ่อพิมพ์) วัดรีนิมิตร เป็นพระกรรมวาจารย์

พระครูใบฎีกาบุญรอด พุทฺธสโร วัดโคกปี่ฆ้อง เป็นพระอนุสาวนาจารย์ แต่บางกระแสกล่าวว่า อุปสมบท ณ วัดศาลาลำดวน อำเภอสระแก้ว จังหวัดปราจีนบุรี โดยมี พระครูธรรมยานประยุต (หลวงพ่อบุญเลี้ยง) วัดศาลาลำดวน เป็นพระอุปัชฌาย์ การศึกษาเล่าเรียนใน พุทธาสาสตร์ พุทธาคม พุทธาคุณ กล่าวกันว่า หลวงปู่บุญเหลือ สํวโร ได้ฝากตัวเป็นศิษย์ใน พระครูรัตนสราธิคุณ หรือ หลวงพ่อทอง รัตนสาโร และ หลวงปู่ออม วัดสระแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว พระครูปัญญาสรคุณ หรือ หลวงพ่อพิมพ์ วัดรีนิมิตร (บ้านแก้ง) ตำบลบ้านแก้ง อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว พระครูธรรมยานประยุต (หลวงพ่อบุญเลี้ยง) วัดศาลาลำดวน ตำบลศาลาลำดวน อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว แต่บางท่านก็ได้กล่าวว่า หลวงปู่บุญเหลือ สํวโร ได้ไปศึกษาเพิ่มเติมต่อกับ หลวงพ่อโห พุทฺธสโร วัดพุทธิสาร หรือ วัดหนองหมากฝ้าย ในพระอักขระ เลข ยันต์ สายพระเวท พระคาถาอาคมต่างๆ เป็นเรื่องที่ต้องจดต้องจำใช้สติปัญญากันอย่างแท้จริง จึงจะเข้าถึงกันได้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์แบบ หลวงปู่บุญเหลือ สํวโร ได้อุปสมบทอยู่ในพระพุทธศาสนาเป็นเวลา ๓ พรรษา หลังการลาสิกขาบทจากการเป็นพระภิกษุสงฆ์ มาเป็นฆราวาสผู้อยู่ครองเรือนอีกครั้งหนึ่ง หลวงปู่บุญเหลือ สํวโร ได้สมรสมีครอบครัว และ มีบุตรี จำนวน ๖ ท่าน มีบุตรชายบุญธรรม จำนวน ๑ ท่าน วิถีชีวิตในช่วงนี้ หลวงปู่บุญเหลือ สํวโร ได้ประพฤติปฏิบัติตนศึกษาเล่าเรียนในทาง หมอสูตร หมอมนต์ หมอธรรม ตามแบบแผนประเพณีนิยมในท้องถิ่นแนวตะเข็บชายแดนที่มีการผสมผสานระหว่าง ไทยอีสาน กับ ไทยเขมร ที่มีสำนักหมอสูตร หมอมนต์ หมอธรรม ที่มีชื่อเสียงอยู่ประจำท้องถิ่นที่มากมายหลายสำนัก ที่ถือเป็นภูมิปัญญาชาวบ้าน ภูมิความรู้ท้องถิ่น ทั้งการรักษาโรคพยาธิด้วยการแพทย์พื้นบ้าน การแพทย์แผนโบราณ ด้วยว่านยาสมุนไพร ทั้งการรักษาอาการทางจิต ด้วยพระคาถาอาคม ทั้งการประกอบพิธีต่อดวงชะตาชีวิต ด้วยพิธีกรรมการเซ่นไหว้บูชา การเจริญพระพุทธมนต์ ให้แก่ เทวดาประจำวันเกิด พระราหู พระเกตุ ที่กำลังเสวยอายุ ทั้งการสะเดาะเคราะห์ ด้วยการอาบน้ำพระพุทธมนต์ เป็นต้น หลวงปู่บุญเหลือ สํวโร ได้เที่ยวสืบเสาะตามหา หมอสูตร หมอมนต์ หมอธรรม ครูบาอาจารย์เจ้าทั้งหลาย ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีใน เมืองปราจีนบุรี เมืองสระแก้ว เมืองบุรีรัมย์ เมืองสุรินทร์ และ ยังเลยเข้าไปถึง ศึกษาเล่าเรียนถึง เมืองเสียมเรียบ เมืองเสียมราบ ประเทศกัมพูชา ที่ถือเป็นแหล่งชุมนุนพระเวทในศาสตร์สายวิชาไศยนิกายพราหมณ์สูตร เขาพนมกุเลน หรือ เขาลิ้นจี่ เพื่อศึกษาเปรียบเทียบในกระบวนการของพิธีกรรมที่เป็นการควบรวมของ สองลัทธิ สามศาสนา ทางความเชื่อที่เน้นไปในการใช้ บริบทพระคาถา มนตรา บทสวดต่างๆ ตามแต่ลักษณะของความทุกข์ร้อนยากลำบากของผู้คนต่างที่ต้องการมาหา หมอสูตร หมอมนต์ หมอธรรม ที่มีชื่อเสียงเพื่อ การแก้ไขอุปสรรคการดำเนินชีวิต ขจัดปัญหามรสุมต่างๆ ที่เข้ามารุมเร้า ที่ชี้แนะทางการดำเนินชีวิตครอบครัว หน้าที่ของ หมอสูตร หมอมนต์ หมอธรรม คล้ายเป็นผู้นำทางจิตวิญญาณทางสังคมในแต่ละชุมชนผู้คนชาวชนบทที่มีการสืบทอดต่อเนื่องประเพณีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ได้รับความนิยมกันมาอย่าง

ยาวนานนับเป็นเวลาหลายร้อยปี แต่การที่จะมาทำหน้าที่ หมอสูตร หมอมนต์ หมอธรรม ได้นั้น มีทั้งที่ต้องผ่านการบวชสืบต่อต่อช่วงกันมาในตระกูลวงศ์ว่านเครือ และ มีทั้งที่ต้องไม่ผ่านบวช คือ ผู้ที่มาฝากตัวเป็นศิษย์ในสำนัก ถือเป็นผู้ที่มีความเสียสละอุทิศตนให้แก่สังคมในชุมชนโดยสุจริตใจ ไม่มุ่งหวังลาภสักการบูชาใดๆ ในการที่จะอนุเคราะห์ สงเคราะห์ ช่วยเหลือแก่ ผู้คนที่ตกทุกข์ได้ยากมีความเดือดร้อนหันหน้ามาพึ่งพิงอิงอาศัย ซึ่งจะกลับกลายเป็นการซ้ำเติมกันในทางอ้อม การอุปสมบทครั้งที่สอง หลวงปู่บุญเหลือ เกิดความเบื่อหน่ายในชีวิตการครองเรือน และ การตั้งสัจจะอธิษฐานไว้ รวมถึงเป็นกุศลเก่าที่มาหนุนนำให้ต้องกลับเข้ามาสู่ใต้ร่มเงาในพระบวรพุทธศาสนาอีกครั้ง เมื่อวันเสาร์ที่ ๓๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๔๘ ตรงกับ วันอาสาฬหบูชา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ ณ พัทธสีมา วัดโคกปี่ฆ้อง โดยมี พระครูธำรงสิริวัฒน์ (บุญทา) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดอัศวิน ธมฺมาลโย เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระอธิการฉลอง ปญฺญาทีโป เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายาทางธรรมว่า สํวโร แปลว่า ผู้มีความสำรวมระวัง หลังการอุปสมบทแล้ว หลวงปู่บุญเหลือ ได้อยู่จำพรรษาที่ วัดลุงพลู ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ ๔ บ้านลุงพลู ตำบลโคกปี่ฆ้อง อำเภอเมือง จังหวัดสระแก้ว เพื่อประพฤติปฏิบัติพระธรรมวินัยตามวิสัย พระนวกะภูมิ คือ ภูมิของผู้ที่บวชใหม่ ที่ต้องอยู่ในอาวาส เพื่อศึกษาเล่าเรียน เพื่อฝึกฝนปฏิบัติพระสมถะสมาธิ เพื่อศึกษาเล่าเรียนพระธรรมวินับ พระปริยัติธรรมแผนกธรรมศึกษา และ เพื่ออยู่รับใช้ดูแลครูบาอาจารย์เจ้า ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๕๕๖ พระครูธำรงสิริวัฒน์ (บุญทา) พระอุปัชฌาย์ ถึงกาลมรณภาพจึงได้ย้ายมาอยู่จำพรรษา ณ วัดโคกปี่ฆ้อง ตามคำอาราธนานิมนต์ของ ทายก ทายิกา วัดโคกปี่ฆ้อง เพื่อมาดำรงตำแหน่งรักษาการณ์เจ้าอาวาส วัดโคกปี่ฆ้อง ต่อมา หลวงปู่บุญเหลือ ได้ทำหนังสือถึงทางคณะสังฆมนตรีจังหวัดสระแก้วแต่งตั้งให้ หลวงปู่วาด ปิยสีโล ดำรงตำแหน่งรักษาการณ์เจ้าอาวาส วัดโคกปี่ฆ้อง จนถึงปัจจุบันนี้ เรื่องราว ความเป็นมาต่างๆ ของ หลวงปู่บุญเหลือ ในเวลานี้ ถือเป็นเรื่องที่ต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิดทุกความเคลื่อนไหว


ข้อมูลเพิ่มเติม 4 ส. - 29 มี.ค. 2568 - 20:36:43 น.



ประวัติหลวงปู่บุญเหลือ มีลงในหนังสือพุทธคุณ และยูทูปอาจารย์ยอด ยูทูปเบอร์เกจิอาจารย์ชื่อดังของเมืองไทย
ประวัติหลวงปู่บุญเหลือ มีลงในหนังสือพุทธคุณ และยูทูปอาจารย์ยอด ยูทูปเบอร์เกจิอาจารย์ชื่อดังของเมืองไทย


ข้อมูลเพิ่มเติม 5 ส. - 29 มี.ค. 2568 - 20:37:45 น.



เลขสวยNO.13(ลักกี้นัมเบอร์)
เลขสวยNO.13(ลักกี้นัมเบอร์)
เลขสวยNO.13(ลักกี้นัมเบอร์)


 
ราคาปัจจุบัน :     1,320 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    kwuaun (3.3K)

 
(0)
  ประวัติการเสนอราคา
 ผู้เสนอราคาราคาเวลา
  Suksai (1.2K) 120 บาท ส. - 29 มี.ค. 2568 - 21:37:02 น. (ถึงราคาขั้นต่ำแล้ว)
  chai66 (437) 140 บาท ส. - 29 มี.ค. 2568 - 21:46:30 น.
  Suksai (1.2K) 160 บาท ส. - 29 มี.ค. 2568 - 21:46:30 น. (Auto bid)
  WEEKANGTIN (8.3K)(7) 200 บาท ส. - 29 มี.ค. 2568 - 21:55:37 น.
  Suksai (1.2K) 220 บาท ส. - 29 มี.ค. 2568 - 21:55:37 น. (Auto bid)
  kwuaun (3.3K) 300 บาท ส. - 29 มี.ค. 2568 - 22:33:50 น.
  Suksai (1.2K) 300 บาท ส. - 29 มี.ค. 2568 - 22:33:50 น. (Auto bid)
  Poolong (114)(2) 320 บาท อา. - 30 มี.ค. 2568 - 00:14:23 น.
  pradee2010 (4.3K) 500 บาท อา. - 30 มี.ค. 2568 - 10:44:49 น.
  Poolong (114)(2) 500 บาท อา. - 30 มี.ค. 2568 - 10:44:49 น. (Auto bid)
  pradee2010 (4.3K) 520 บาท อา. - 30 มี.ค. 2568 - 10:45:08 น.
  apirak1981 (1.7K) 540 บาท อา. - 30 มี.ค. 2568 - 12:56:20 น.
  pradee2010 (4.3K) 560 บาท อา. - 30 มี.ค. 2568 - 12:56:20 น. (Auto bid)
  pradee2010 (4.3K) 600 บาท อา. - 30 มี.ค. 2568 - 15:26:43 น. (Auto bid)
  sittipong1234 (2.6K) 620 บาท อา. - 30 มี.ค. 2568 - 15:26:43 น.
  pradee2010 (4.3K) 700 บาท อา. - 30 มี.ค. 2568 - 16:21:26 น.
  sittipong1234 (2.6K) 720 บาท อา. - 30 มี.ค. 2568 - 16:21:26 น. (Auto bid)
  sittipong1234 (2.6K) 800 บาท อา. - 30 มี.ค. 2568 - 18:09:46 น. (Auto bid)
  Pizzapai (896) 820 บาท อา. - 30 มี.ค. 2568 - 18:09:46 น.
  sittipong1234 (2.6K) 900 บาท อา. - 30 มี.ค. 2568 - 20:29:59 น.
  Pizzapai (896) 920 บาท อา. - 30 มี.ค. 2568 - 20:29:59 น. (Auto bid)
  sittipong1234 (2.6K) 1,000 บาท อา. - 30 มี.ค. 2568 - 20:30:15 น.
  Pizzapai (896) 1,020 บาท อา. - 30 มี.ค. 2568 - 20:30:15 น. (Auto bid)
  บอลวัดบึง (473) 1,040 บาท อา. - 30 มี.ค. 2568 - 20:55:30 น.
  Pizzapai (896) 1,060 บาท อา. - 30 มี.ค. 2568 - 20:55:30 น. (Auto bid)
  Inawang (7K) 1,080 บาท อา. - 30 มี.ค. 2568 - 21:03:28 น.
  Pizzapai (896) 1,100 บาท อา. - 30 มี.ค. 2568 - 21:03:28 น. (Auto bid)
  Inawang (7K) 1,120 บาท อา. - 30 มี.ค. 2568 - 21:03:37 น.
  Pizzapai (896) 1,140 บาท อา. - 30 มี.ค. 2568 - 21:03:37 น. (Auto bid)
  Inawang (7K) 1,180 บาท อา. - 30 มี.ค. 2568 - 21:03:48 น.
  Pizzapai (896) 1,200 บาท อา. - 30 มี.ค. 2568 - 21:03:48 น. (Auto bid)
  Pizzapai (896) 1,300 บาท อา. - 30 มี.ค. 2568 - 21:04:35 น. (Auto bid)
  kwuaun (3.3K) 1,320 บาท อา. - 30 มี.ค. 2568 - 21:04:35 น.

Copyright ©G-PRA.COM
www1