ชื่อพระเครื่อง |
#ฉลองสงกรานต์ พระกริ่ง ภปร วัดบวรนิเวศวิหาร พ.ศ.2508 |
รายละเอียด |
พระพุทธรูป ภปร และพระกริ่ง ภปร วัดบวรนิเวศวิหาร พ.ศ.2508
หนังสือ จาตุรงค มงคล วัดบวรนิเวศวิหาร โดยเสด็จ พระราชกุศล พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในมหามงคลสมัยพระชนมายุเสมอด้วยสมเด็จพระราชบิดา เจ้าฟ้ามหิดลอดุลยเดช กรมหลวงสงขลานครินทร์ 29 สิงหาคม 2508 ตั้งแต่หน้า 203-204 และหน้า 206-207 มีใจความว่า
วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม 2508 เวลา 16.20 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จเข้าสู่พระอุโบสถทรงประเคนผ้าไตรแก่สมเด็จพระราชาคณะพร้อมพระสงฆ์ที่มาในพิธีพุทธาภิเษกทั้งหมดแล้วเฉพาะสมเด็จพระราชาคณะ และพระราชาคณะ 10 รูป
ที่เจริญพระพุทธมนต์ ออกไปครองผ้าแล้ว กลับมานั่งยังอาสนะ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย สมเด็จพระราชาคณะ ประธานคณะสงฆ์ถวายศีลจบ พระราชครูวามเทพมุนี ถวายน้ำเทพมนต์แล้วพระสงฆ์ 10 รูป
เจริญพระพุทธมนต์และลงคาถาในแผ่นโลหะที่จะผสมหล่อพระพุทธรูปจบแล้วได้เวลาพระฤกษ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงจุดเทียนทองทรงตั้งสติสัตยาธิษฐานแล้วถวายเทียนทองนั้นแด่สมเด็จพระราชาคณะ ผู้เป็นประธานสงฆ์จุดเทียนชัย พราหมณ์เป่าสังข์ ชาวพนักงานประโคมสังข์ แตรบัณเฑาะว์
และดุริยางค์ พระสงฆ์เจริญคาถา..
วันเสาร์ที่ 28 สิงหาคม 2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 มิได้เสด็จฯ พระภาวนาจารย์และพระเกจิ อาจารย์หมุนเวียนกันนั่งปลุกเสกโลหะที่จะใช้หล่อพระตลอดทั้งคืนเช่นเดียวกันกับวันแรก
วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม 2509 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จฯ ไปยังปะรำพิธีมณฑล หน้าตึกมนุษนาควิทยาทาน ในบริเวณโรงเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร ทรงจุดเทียนชัยสักการบูชาพระรัตนตรัยเสร็จแล้ว เสด็จฯ ไปยังเบ้าหล่อพระ
ทรงหย่อนทองสำหรับหล่อ พระพุทธรูป ภปร จนครบ 32 เตา ขณะนั้นพระสงฆ์ในวิหารและพระคณาจารย์ที่นั่งอยู่รอบพิธีมณฑลทั้ง 8 ทิศ เจริญชัยมงคลคาถาชาวพนักงานประโคม ฆ้องชัย สังข์แตรดุริยางค์ พระราชครูวามเทพมุนีรดน้ำสังข์เบ้าที่หล่อพระทุกเบ้าแล้ว จากนั้นเสด็จฯ ไปประกอบพิธียัง
พระเจดีย์หลังพระอุโบสถพระพุทธชินสีห์
ที่กล่าวมาแล้ว เป็นความเป็นมาของการสร้างพระพุทธรูป ภปร ปี 2508 และพระกริ่ง ภปร วัดบวรนิเวศวิหาร ปี พ.ศ.2508 วัตถุมงคลอีกรุ่นที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างสูง
พระกริ่ง ภปร รุ่นนี้ จัดสร้างด้วยวิธีการปั๊มโดยนำชนวนจากการเททองหล่อพระพุทธรูป ภปร ทั้งสองขนาดมาปั๊มเป็นองค์พระ จัดสร้างเป็น 3 เนื้อ คือ 1.เนื้อทองคำ จัดสร้างเพียง 32 องค์ 2.เนื้อทองแดงรมดำ จัดสร้างประมาณ 10,000 องค์ และ 3.เนื้อทองแดงกะไหล่ทอง ไม่ทราบจำนวนที่แน่ชัด
พระกริ่ง ภปร รุ่นนี้ มีการสร้างขึ้นสองครั้ง ครั้งแรกสร้างเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2508 ครั้งที่สอง สร้างเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2515 ทั้งสองพิธีนี้ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ทรงพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีทั้งสองครั้งเช่นกัน
การพิจารณา พระกริ่ง ภปร พ.ศ.2508 ที่สร้างขึ้น ครั้งแรกและครั้งที่สอง แตกต่างกันดังนี้...
1.ให้สังเกตที่ใต้ฐานองค์พระหากเป็น รุ่นแรก ที่สร้างเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2508 จะมี รอยตะไบที่หยาบมากถึงรอยตะไบแผ่วๆ ส่วนรุ่นที่สร้าง ครั้งที่สอง เมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2515 ใต้ฐานจะเรียบเพราะมีการปัดแต่งทำให้เห็นรอยอุดกริ่งชัดเจน
2.น้ำยาที่ใช้ รมดำ องค์พระ รุ่นแรก จะออกสีน้ำตาลอมแดงส่วน รุ่นสอง จะออกสีดำชัดเจนและบางองค์ออกสีน้ำเงินยวงหรือสีปีกแมงทับก็มี แสดงให้เห็นได้ชัดว่าเป็นการรมดำที่ยังสดใหม่อยู่นั่นเอง
--------------------------------------------
พระกริ่ง ภปร. วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร ปี 2508
พระองค์นี้ เป็นพิมพ์นิยม หูยาว ก้นตะไบหยาบ เนื้อทองแดงรมดำ จะออกสีน้ำตาลอมแดง กริ่งดัง สภาพสวยจัด คมชัดมากๆ หายากสุดๆสภาพสวยแบบองค์นี้ เหมาะสำหรับเก็บไว้บูชาอย่างยิ่งครับ |
ราคาเปิดประมูล |
100 บาท |
ราคาปัจจุบัน |
700 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ |
100 บาท |
วันเปิดประมูล |
ศ. - 11 เม.ย. 2568 - 20:28:39 น. |
วันปิดประมูล |
อ. - 22 เม.ย. 2568 - 10:13:05 น. (ปิดประมูลแล้ว) |
ผู้ตั้งประมูล |
Neonat (1K)   
|