(0)(0)
พระกริ่งญาณวิทยาคมหลวงพ่อคูณ เนื้อนวโลหะ ปี2535









ชื่อพระเครื่อง พระกริ่งญาณวิทยาคมหลวงพ่อคูณ เนื้อนวโลหะ ปี2535
รายละเอียด พระกริ่งญาณวิทยาคมหลวงพ่อคูณ เนื้อนวโลหะ ปี2535 สวย เลี่ยม พร้อมบัตรรับรองสวยมาก พร้อมเลี่ยมกรอบทองอิตาลี และมีบัตรรับรองพระแท้หลวงพ่อคูณ พระกริ่งญาณวิทยาคม (คูณ) ปี 2535 เนื้อนวโลหะ
#ประวัติพระกริ่งญาณวิทยาคม จัดสร้างโดยมีรูปแบบคล้ายพระกริ่งใหญ่ ด้านหลังที่ฐานมีอักษรคำว่า ญาณวิทยาคม (คูณ) มีการตอกหมายเลขกำกับและมีการตอกโค๊ตตัว “นะ” ไว้ที่บริเวณพระโสณี (สะโพก) ขององค์พระ และในบางองค์ที่ใต้ฐาน หลวงพ่อคูณจะจารตัว “นะ” ไว้ให้ พระกริ่งญาณวิทยาคม นี้นับว่า เป็นพระกริ่งคู่บารมีของหลวงพ่อคูณทีเดียว กล่าวคือ มีรูปแบบการจัดสร้างที่สวยงาม มีจำนวนการสร้างที่เท่าที่ทราบ ดังนี้ 1. พระกริ่งเนื้อทองคำ จัดสร้างขึ้นจำนวนร้อยกว่าองค์ เท่าที่พบหลวงพ่อคูณจะจารอักขระตัว “นะ” ไว้ที่ด้านก้นของพระกริ่งด้วยเป็นส่วนใหญ่
2. พระกริ่งเนื้อเงิน จัดสร้างขึ้นจำนวนพันกว่า (ชุด) องค์ (โดยพระกริ่งเนื้อเงินนี้ จัดสร้างเป็นชุดให้บูชาคู่กับพระชัยวัฒน์) 3. พระกริ่งเนื้อนวะโลหะ จัดสร้างขึ้นจำนวนหกพันกว่าองค์ พระกริ่งเนื้อนวะโลหะตอกโค๊ตพิเศษ จัดสร้างขึ้นคาดว่า เพียงเล็กน้อย ไม่ทราบแน่ชัด สันนิษฐานว่าแจกให้กับพวกกรรมการ โดยพระกริ่งเนื้อนวะพิเศษนี้คือ โค๊ตจะตอก “คูณ” และ “พิเศษ” ไว้ที่บริเวณพระโสณี (สะโพก) และฐานตามลำดับ รวมทั้งไม่มีหมายเลขกำกับเหมือนพระกริ่งเนื้อนวะโลหะธรรมดา เท่าที่พบมา พระกริ่งจะถูกแต่งผิวด้วย อย่างไรก็ดี สำหรับบางองค์ จะปรากฏคราบยาขัดสีแดง สังเกตุจากด้านหลังขององค์พระน่าจะพบว่าไม่ได้มีการแต่งผิว
พระกริ่งญาณวิทยาคมนี้ นอกเหนือจากรูปแบบการจัดสร้างที่สวยงามแล้ว ในพระกริ่งโดยเฉพาะเนื้อนวะโลหะ ยังมีจุดที่ก่อให้เกิดความแตกต่างในพระกริ่ง ทำให้พระกริ่งญาณวิทยาคมแต่ละองค์มีความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะแต่ละองค์ ดังนี้ ความสมบูรณ์ขององค์พระกริ่ง นอกเหนือจากที่องค์พระกริ่งจะมีพิมพ์แตกซึ่งเป็นตำหนิในองค์พระทุกองค์แล้วการจัดสร้างพระกริ่งถึงแม้จะไม่ได้เป็นการสร้างแบบหล่อโบราณก็ตาม แต่พระกริ่งโดยเฉพาะในเนื้อนวะโลหะ จำนวนไม่น้อยจะขาดความสมบูรณ์ คือ จะมีเนื้อโลหะขาด หรือ มีเนื้อโลหะเกิน ในองค์พระ รวมทั้งบางองค์ เนื้อโลหะในองค์พระจะพรุนไม่เรียบตึง นอกจากนี้ พระกริ่งญาณวิทยาคม ที่เป็นเนื้อนวะโลหะ ยังมีความแตกต่างของตัวเนื้อนวะโลหะอีก กล่าวคือ พระกริ่งบางองค์นั้นกระแสเนื้อนวะโลหะจะออกดำแดงเหมือนมันเทศ ซึ่งนิยมเรียกกันว่า เนื้อนวะแก่ทองคำ (แต่ผู้เขียนคิดว่า น่าจะเรียกว่าเนื้อนวะโลหะครบสูตรมากกว่า) ในขณะที่บางองค์กระแสเนื้อนวะโลหะจะออกขาวเงินหรือขาวอมเขียว ซึ่งนิยมเรียกกันว่า เนื้อนวะแก่เงิน หรือเนื้อออกกระแสพรายเงิน รวมทั้งยังมีพระเนื้อนวะโลหะที่กระแสโลหะที่ผิวออกแดง หรือพวกที่กระแสโลหะยังปรากฏคราบกระแสน้ำทองอยู่ นอกเหนือจากคราบแป้ง หรือคราบยาขัดในพระกริ่งบางองค์ ซึ่งบ่งชี้ถึงความสมบูรณ์ดั้งเดิมขององค์พระกริ่งเมื่อสร้างเสร็จ
ราคาเปิดประมูล 5,000 บาท
ราคาปัจจุบัน 15,000 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ 200 บาท
วันเปิดประมูล ส. - 17 พ.ค. 2568 - 16:45:18 น.
วันปิดประมูล อ. - 27 พ.ค. 2568 - 16:45:18 น. (เหลือเวลา 7 วัน 8 ชั่วโมง 13 นาที)
ผู้ตั้งประมูล Anucha9191 (36)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     15,000 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     200 บาท

!!! ท่านต้อง login เข้าสู่ระบบก่อน จึงจะสามารถร่วมประมูลได้ !!!


 
(0)
  ประวัติการเสนอราคา
 ผู้เสนอราคาราคาเวลา
  chatchaisilaporn (152)(1) 10,000 บาท ส. - 17 พ.ค. 2568 - 17:18:37 น.
  เกิดกำแพง (189) 10,400 บาท ส. - 17 พ.ค. 2568 - 22:30:54 น.
  Sane30 (595) 11,000 บาท ส. - 17 พ.ค. 2568 - 22:55:48 น.
  PigLet (43) 12,000 บาท อา. - 18 พ.ค. 2568 - 06:48:28 น.
  Sherbet88 (455)(1) 12,200 บาท อา. - 18 พ.ค. 2568 - 17:51:41 น.
  Tharin_P (2K) 13,000 บาท อา. - 18 พ.ค. 2568 - 22:28:56 น.
  ตึ่งนั้ง (15.9K) 15,000 บาท จ. - 19 พ.ค. 2568 - 20:50:47 น.

Copyright ©G-PRA.COM
www1