(0)
88888 พระกรุ พิมพ์ปรกโพธิ์ วัดสัมพันธวงศ์ (วัดเกาะ) กรุงเทพมหานคร บรรจุกรุที่ใต้ฐานพระประธาน ปี 2339 เนื้อชินเงินปิดทองเดิม (สุดยอดเรื่องเมตตา มหานิยม โชคลาภ แคล้วคลาด มหาอุตม์) สภาพเดิมเดิม 88888








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต





ชื่อพระเครื่อง 88888 พระกรุ พิมพ์ปรกโพธิ์ วัดสัมพันธวงศ์ (วัดเกาะ) กรุงเทพมหานคร บรรจุกรุที่ใต้ฐานพระประธาน ปี 2339 เนื้อชินเงินปิดทองเดิม (สุดยอดเรื่องเมตตา มหานิยม โชคลาภ แคล้วคลาด มหาอุตม์) สภาพเดิมเดิม 88888
รายละเอียด สภาพเดิมเดิม ผิวเดิมเดิม ธรรมชาติคราบกรุ เนื้อชินเงินปิดทองเดิม (สุดยอดเรื่องโชคลาภ แคล้วคลาด มหาอุตม์ พระดี ไม่ควรพลาด) พบเจอน้อย ไม่มีอุดไม่มีซ่อม หล่อได้สวยงาม สร้างน้อย พระดี พิธีดี พระดีน่าเก็บ สภาพเดิม แท้ๆ ราคาไม่แพงครับ ประสบการณ์ดีมากมาก

วัตถุมงคล วัดสัมพันธวงศ์ (วัดเกาะ) กรุงเทพมหานคร สุดยอดเรื่องประสบการณ์ คนพื้นที่ต่างรู้กันดี เชื่อขนมกินได้ คนไทยและชาวต่างชาติ ให้ความนับถือเป็นอย่างมาก

เหมาะกับ คนชอบ พระดี ติดตัว อุ่นใจครับ รับประกันทุกกรณี

พระดี อนาคต สดใส

สมาชิกที่ต้องการเช่าไปเพื่อทำกำไรต่อ กรุณาตรวจสอบราคากลางให้แน่ใจก่อนที่จะลงราคาประมูลนะครับ จะได้ไม่ต้องมีปัญหาเรื่องประมูลพระผิดราคา หรือเอาไปแล้วปล่อยต่อไม่ได้ จะได้ไม่เกิดปัญหากันในภายหลังครับ

<<<<กติกาของเว็บไซต์ การันตีพระ>>>> 6.3 ผู้ชนะการประมูล จะต้องชำระเงินค่าพระที่ประมูล ให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน หลังจากวันที่ชนะประมูล หากเกินจากนี้ท่านอาจจะได้รับคำติจากผู้ตั้งประมูลพระเครื่องได้

ชนะประมูล ราคาไม่เกิน 1,000 บาท จัดส่งแบบลงทะเบียน ((ต้องการให้จัดส่งด่วนพิเศษ (EMS) เพิ่มค่าจัดส่ง 30 บาท))

ชนะประมูล ราคา 1,000 บาท ขึ้นไป จัดส่งด่วนพิเศษ (EMS)

ผู้ชนะประมูล ราคา ไม่เกิน 5,000 บาท ให้ส่งออกบัตรรับรอง เพิ่ม 500 บาท

ผู้ชนะประมูล ราคา 5,000 บาท ขึ้นไป ให้ส่งออกบัตรรับรอง เพิ่ม 100 บาท

ผู้ชนะประมูล ราคา 5,000 บาท ขึ้นไป ส่งออกบัตรรับรองเอง ลดให้ 800 บาท จากราคาที่ชนะประมูล ((รายการประมูล ที่มีบัตรรับรอง ไม่มีส่วนลดครับ))

ผู้ชนะประมูล ราคา 10,000 บาท ขึ้นไป ส่งออกบัตรรับรองเอง ลดให้ 1,000 บาท จากราคาที่ชนะประมูล ((รายการประมูล ที่มีบัตรรับรอง ไม่มีส่วนลดครับ))

ผู้ชนะประมูล ราคา 100,000 บาท ขึ้นไป ส่งออกบัตรรับรองเอง ลดให้ 5,000 บาท จากราคาที่ชนะประมูล ((รายการประมูล ที่มีบัตรรับรอง ไม่มีส่วนลดครับ))

จัดส่งพระเครื่อง วันจันทร์ ถึง วันศุกร์ (วันเสาร์,วันอาทิตย์,วันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันหยุดราชการ หยุดส่ง)

ตรวจสอบกล่องพัสดุ ไม่มีการแกะ สก็อตเทปใสปิดทับครั้งเดียว จะติดแนวขวาง และแนวตั้ง ย้ำว่า ทางร้านติดสก็อตเทปใส ครั้งเดียว ไม่มีปิดทับสองครั้ง

ทางร้านรับประกันพระเครื่อง ตามกติกาของเว็บไซต์ การันตีพระทุกกรณี ได้รับพระเครื่องแล้ว มีอะไรสงสัย สามารถโทรติดต่อได้ 24 ชั่วโมง ยินดีรับใช้ครับ

ผู้ชนะประมูลรบกวน แจ้งโอนเงิน ทางเมล์ด้วยครับ หรือส่งข้อความเข้าโทรศัพท์ครับ และแจ้งยืนยันที่อยู่จัดส่งด้วยครับ เพราะ อาจมีท่านที่ชนะประมูลราคาเท่ากันหลายรายการครับ อาจจะทำให้ส่งล่าช้าครับ

ขอขอบคุณอย่างยิ่ง
teespy
ราคาเปิดประมูล 449 บาท
ราคาปัจจุบัน 599 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ 50 บาท
วันเปิดประมูล จ. - 26 พ.ค. 2568 - 19:25:48 น.
วันปิดประมูล พ. - 28 พ.ค. 2568 - 00:07:53 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูล teespy (7.3K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 จ. - 26 พ.ค. 2568 - 19:26:39 น.



ขอนำประวัติมาลงให้อ่านครับ

พระกรุวัดสัมพันธวงศ์ หรือ พระกรุวัดเกาะ
พระเครื่องชุดนี้ ตามที่ปรากฏหลักฐานจากท่านผู้มีความรู้ทางโบราณคดี
แจ้งว่า พระชุดนี้สร้างในสมัยเดียวกันกับ "วัดราชบูรณะ"
ค้นพบตามซุ้มกำแพงแก้ว พระเจดีย์ พระวิหาร และพระประธาน ของพระอุโบสถหลังเดิม

ความเก่าแก่ของวัดสัมพันธวงศ์ (วัดเกาะ)

ตามประวัติว่า ใน ร.ศ.๑๕ ตรงกับปีมะโรง อัฐศก จ.ศ. ๑๑๕๘ พ.ศ. ๒๓๓๙ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี ผู้มีศรัทธาใน พระพุทธศาสนาบูรณะปฏิสังขรณ์วัดเกาะซึ่งเป็นวัดโบราณ ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา มีคูคลองรอบวัดสร้างมาก่อนกรุงเทพพระมหานคร

ครั้นปฏิสังขรณ์ใหม่หมดทั้งอารามเสร็จแล้ว โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาเป็นพระอารามหลวง พระราชทานนามใหม่ว่า “วัดเกาะแก้วลังการาม” ตามหลักฐานที่ปรากฏนี้ จึงพอประมาณได้ว่า เป็นวัดที่มีมาก่อนยุครัตนโกสินทร์

ต่อมา ในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชศรัทธาให้ทำการปฏิสังขรณ์วัดเกาะแก้วลังการามอีก แต่ค้นหาหลักฐานไม่พบว่าได้ทรงปฏิสังขรณ์อะไรบ้าง

ในรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชปรารภว่า วัดเกาะแก้วลังการาม เป็นวัดที่เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่หมดทั้งอาราม สมควรที่จะเฉลิมพระเกียรติให้ปรากฏสืบต่อไปภายหน้า เพื่อให้เกิดปิติปราโมทย์แก่ผู้สืบสกุลในเมื่อได้ทราบว่าบรรพบุรุษของตนได้สร้างกุศลไว้เป็นเหตุเจริญศรัทธาให้บำเพ็ญกุศลตามสติกำลัง จึงโปรดเกล้า ฯ พระราชทานนามของวัดใหม่ว่า “วัดสัมพันธวงศาราม วรวิหาร”

การค้นพบพระกรุของวัดสัมพันธวงศ์ หรือ วัดเกาะ

ดังกล่าวไว้ข้างต้น วัดสัมพันธวงศ์ หรือ วัดเกาะ เป็นวัดเก่าแก่ที่มีมาแต่ก่อนกรุงรัตนโกสินทร์เป็นราชธานี ทางวัดได้พบพระกรุหลายครั้งด้วยกัน

พระกรุที่ค้นพบนี้ ไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนว่าใครเป็นผู้สร้างไว้แต่เมื่อไหร เพียงแต่สันนิษฐานว่า น่าจะสร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างโบสถ์ วิหาร และกำแพงรอบโบสถ์วิหาร เพราะได้พบพระกรุมีอยู่ที่ซุ้มระหว่างโบสถ์กับวิหารเก่า ซุ้มประตูกำแพงรอบโบสถ์ วิหาร และพบท้ายสุดที่ฐานพระประธาน การค้นพบในอดีตมี ๓ ครั้ง คือ

ครั้งที่ ๑ ซุ้มทางเดินติดต่อกันระหว่างโบสถ์กับวิหารเก่าพังลง ปราฏว่ามีพระเครื่องชนิดนี้ ตกกระจัดกระจายอยู่ทั่ว ทางวัดจึงได้รวบรวมสร้างเจดีย์บรรจุไว้ในระหว่างโบสถ์กับวิหาร และแจกให้ต้องการออกไปบ้าง

ครั้งที่ ๒ ซุ้มประตูกำแพงโบสถ์วิหาร ด้านทิศตะวันตกพังลงปรากฏว่า มีพระเครื่องชนิดเดียวกันนี้ ตอนแรกไม่มีใครสนใจมากนัก เกิดแตกตื่นเล่าลือกันมาก เนื่องจากทหารเรือเอาไปทดลองยิงดูที่บางนาปรากฏว่ายิงไม่ออก จึงเป็นที่แสวงหากันมากในช่วงนั้น

ครั้งที่ ๓ เมื่อได้รับพระบรมราชานุญาตให้รื้อพระอุโบสถ วิหาร และเจดีย์ พบพระเครื่องชนิดเดียวกันอีกที่ฐานพระประธาน ในส่วนที่อยู่ใต้ฐานของพระประธานนั้น เป็นการค้นพบโดยบังเอิญ โดยค้นพบคณะที่สกัดทำการเคลื่อนย้าย ได้พบพระเครื่องเนื้อชินเงินพิมพ์ต่างๆ ๆ บรรจุอยู่ในองค์พระและใต้ฐานพระเป็นจำนวนมาก

ส่วนที่บรรจุอยู่ในองค์พระประธานและฐานพระ แต่เดิมทางวัดเองก็ไม่ทราบว่ามีพระเครื่องบรรจุอยู่ มาเมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ทางวัดได้ดำเนินการอัญเชิญพระประธานจากพระอุโบสถเดิมขึ้นพระอุโบสถหลังใหม่ มีการสกัดฐานเพื่อใช้รถยกพระประธานขึ้น ตามเอกสารของวัดเกี่ยวกับองค์พระประธานองค์เก่าของวัดได้บันทึกไว้ ดังนี้

พระพุทธรูปที่เป็นพระประธานในพระอุโบสถเดิมไม่ปรากฏพระนาม ต่อมา ท่านเจ้าคุณ พระมหารัชชมังคลาจารย์ นิทฺเทสกเถร อดีตเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ รูปที่ ๙ ได้ถวายพระนามว่า "พระพุทธนราสภะทศพล"

สำหรับพระประธานองค์ใหญ่เป็นพระพุทธรูปที่สร้างด้วยไม้ เป็นซุงคว้านไส้กลวง ภายนอกถือปูนทับ พระพาหาเป็นไม้ทั้งลงรักปิดทอง ปางมารวิชัย หน้าพระเพลากว้าง ๒ ศอก ๑ คืบ ๑๑ นิ้ว สูงแต่ที่ประทับสุดพระรัศมี ๔ ศอก ๒ นิ้วครึ่ง

พระพุทธรูปองค์รองลงมาซึ่งเป็นองค์กลาง ห้าพระเพลากว้าง ๒ ศอก ๕ นิ้ว ปางมาวิชัย ก่ออิฐถือปูน ลงรักปิดทอง องค์ล่าสุดเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยโลหะ หน้าพระเพลากว้าง ๑ ศอก ๕ นิ้ว ใต้ฐานองค์พระโปร่ง มีพระมงกุฎ เครื่องราชูปโภคเบญจราชกกุธภัณฑ์ จำลองเป็นส่วนเล็ก ทำด้วยทองคำ สำหรับพระมงกุฎภายในและบริเวณรอบๆบรรจุพระอังคารของสมเด็จพระสัมพันธวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี ยอดพระมงกุฎบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ๒ องค์ โดยมีผอบเป็นแก้วครอบอีกชั้นหนึ่ง เดิมที่เดียวทางวัดเองก็ไม่ทราบว่ามีสิ่งต่างๆ และพระองคารบรรจุอยู่ภายใน ต่อมาในวันที่ ๑๐ กันยายน พ.ศ. ๒๕๐๒ หม่อมหลวงต่วนศรี วรวรรณ (หม่อมมารดาของ พระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงษ์ประพันธ์) ผู้เป็นกุลทายาทในสมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงพิทักษ์มนตรี ผู้สถาปนาวัดนี้ ได้มาบำเพ็ญกุศลฉลองชนมายุครบ ๗ รอบ ที่พระอุโบสถวัดสัมพันธวงศ

์ ก่อนที่พระสงฆ์จะเจริญพระพุทธมนต์ หม่อมหลวงต่วนศรี วรวรรณ ได้แจ้งแก่ทางวัดว่าประสงค์จะบำเพ็ญกุศลทักษิณานุปทานกิจ สดับปกรณ์พระอังคารสมเด็จเจ้าฟ้าฯ ผู้ทรงเป็นต้นราชสกุลของท่าน โดยให้พนักงานโยงผ้าภูษาโยงไปที่พระพุทธรูปองค์ล่างสุด โดยท่านกล่าวยืนยันเป็นแม่นยำว่าพระพุทธรูปองค์นี้ภายในบรรจุพระอังคารของสมเด็จเจ้าฟ้า กรมหลวงพิทักษ์มนตรี ต้นราชสกุล "มนตรีกุล" สำหรับพระอัฐินั้นประดิษฐานอยู่ที่หอพระนาก ในพระบรมมหาราชวัง (ซึ่งแต่เดิมที่เดียวประดิษฐานอยู่ที่วังหน้าจนหอชำรุดรื้อลงในรัชกาลที่ ๕ จึงได้เชิญไปไว้ที่หอพระนาก)

ในคราวอัญเชิญพระพุทธรูปจากพระอุโบสถหลังเดิม เพื่อนำขึ้นไปประดิษฐานบนพระอุโบสถหลังใหม่ ได้พบปูชนียวัตถุต่างๆ ดังกล่าวมาข้างต้น จึงนับว่าหม่อมหลวงต่วนศรี วรวรรณ ท่านมีความทรงจำในอดีตเกี่ยวกับประวัติความเป็นมาของต้นสกุลท่านเป็นเยี่ยม แม้จะมีอายุชราถึง ๘๔ พรรษา (ขณะที่มาบำเพ็ญกุศลในวันนั้น)

สำหรับแผ่นเงิน แผ่นนาก และแผ่นทองคำ ที่พบรวมอยู่กับพระมงกุฎ ได้จารึกอักษรขอม กล่าวถึงพระสูตร พระอภิธรรมต่างๆ ซึ่งบรรดาของมีค่าเหล่านั้น ทางวัดได้เก็บรักษาได้วเป็นอย่างดี เพื่อที่จะนำเข้าบรรจุไว้ในพระพุทธรูปองค์เดิมที่พบโดยจะได้บำเพ็ญกุศลถวายเป็นกรณีพิเศษ ตามพระประสงค์ของพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงษ์ประพันธ์ มีพระประสงค์ในคราวที่พระเทพปัญญามุนี (ปัจจุบันได้รับพระราชทานสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ ถาวรเถระ) เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน และคณะได้นำสิ่งต่างๆไปถวายที่วังเพื่อของพระวินิจฉัยในอันที่ปฏิบัติต่อปูชนียวัตถุนั้น ทั้งนี้โดยที่พระวรวงศ์บพิตร เสด็จในกรมฯ ทรงเป็นกุลทายาทผู้สูงศักดิ์ และทรงดำรงตำแหน่งเป็นองค์อุปถัมภ์ของวัดสัมพันธวงศ์มาเป็นเวลาช้านาน

ส่วนพระประธานองค์ใหญ่ ขณะที่สกัดทากรเคลื่อนย้าย ได้พบพระเครื่องเนื้อชินเงินพิมพ์ต่างๆ บรรจุอยู่ในองค์พระและใต้ฐานพระเป็นจำนวนมากนับเป็นหมื่นองค์ พระเครื่องชุดนี้ตามที่ปรากฏหลักฐานจากท่านผู้มีความรูทางโบราณคดีแจ้งว่า พระชุดนี้สร้างในสมัยเดียวกันกับกรุวัดราชบูรณะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเมื่อสร้างแล้วนำมาบรรจุไว้ตามซุ้มกำแพงแก้วบ้าง ในองค์พระเจดีย์บ้าง ในองค์พระประธานบ้าง

พระกุรุที่บรรจุอยู่ตามซุ้มประตูกำแพงแก้ว และในพระเจดีย์ ทางวัดได้เคยเปิดกรุนำออกแจกจ่ายแก่ประชาชนสมัยสงครามโลกครั้งที่ ๒ อีกครั้งหนึ่ง และนำออกในคราวรื้อซุ้มประตูเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔ เป็นครั้งสุดท้าย การนำออกจากซุ้มประตูแต่ละคราวก็เจ้าเป็นซุ้มๆเฉพาะที่ต้องการ ซุ้มไหนยังไม่ได้เจาะก็ให้คงไว้ เหลือมาถึงในคราวสุดท้ายที่ทำการรื้อกำแพงแก้ว


แต่เดิมทางวัดเองก็ไม่ทราบว่ามีพระเครื่องบรรจุอยู่ มาเมื่อวันที่ ๑๕ เมษายน พ.ศ. ๒๕๑๕ ทางวัดได้ดำเนินการอัญเชิญพระประธานจากพระอุโบสถเดินขึ้นสู่พระอุโบสถหลังใหม่มีการสกัดฐานเพื่อสกัดฐานเพื่อใช้รถยกพระประธานขึ้น จึงได้พบพระจำนวนมาก มีพิมพ์ต่างๆ คือ

๑. พระท่ากระดาน เกศบัวตูม (มีทั้งพิมพ์ใหญ่-พิมพ์เล็ก)

๒. พระปางห้ามญาติ ยกพระหัตถ์ซ้ายบ้าง ยกพระหัตถ์ขวาบ้าง

๓. พระปางปรกโพธิ์

๔. พระปางห้ามสมุทร ยกพระหัตถ์ทั้งสองข้าง

๕. พระปางไสยาสน์

๖. พระปางทรงเครื่อง หรือ ทรงธิเบต หรือทรงเขากวาง

๗. พระปางยอดธง

พระเครื่องทั้งหมด มีชนิดปิดทองก็มี ชนิดอาบปรอทก็มี ทางวัดได้นำออกให้ประชาชนบูชาเพื่อนำทุนทรัพย์สมทบทุนในการสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ ตั้งแต่เดือนเมษายน ๒๕๑๕ มีประชาชนสนใจบูชาไปเป็นจำนวนมาก

อภินิหารของพระกรุวัดเกาะ

พระเครื่องเท่าที่ได้พบในสมัยต่าง ๆ ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งผู้เฒ่าผู้แก่สูงอายุเล่าลือกันสืบมาว่า ไปตรงกับเหตุการณ์ของบ้านเมืองในลักษณะต่าง ๆ กัน เช่นครั้งแรกไปตรงกับกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสเมืองจันทบุรี ถูกฝรั่งเศสยึดคราวนั้น พระเครื่องวัดเกาะไปมีชื่อเสียงปรากฏ ในหมู่ทหารเรือทางจันทบุรีเป็นส่วนมาก
ครั้งที่สองไปตรงกับสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ทหารเรือเอาไปทดลองยิงที่บางนา ปรากฏว่ายิ่งไม่ออก ก็เล่าลืออภินิหารกันไปต่าง ๆ ถึงสงครามอินโดจีน จนเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง ผู้ที่ได้พระเครื่องวัดเกาะไว้ตั้งแต่เมื่อครั้งก่อนนั้น กรุงเทพมหานครถูกโจมตีทางอากาศอย่างหนัก ก็ไม่เคยอพยพหนีไปอยู่ที่อื่นเลย เพราะเชือถือในอภินิหารและความศักดิ์สิทธิ์ของพระเครื่องวัดเกาะ แม้พวกที่ได้รับพระเครื่องชนิดนี้ไปใช้ในสนามรบก็ปลอดภัย แคล้วคลาดไม่เป็นอันตราย โดยเฉพาะอภินิหารทางแคล้วคลาดและป้องกันอัคคีภัย นับว่าเป็นเยี่ยม เท่าที่ปรากฏแก่บุคคลในลักษณะต่าง ๆ กันเช่น

เมื่อวันที่ ๘ พฤษภาคม ๒๕๐๖ เป็นวันวางศิลากฤษ์พระอุโบสถหลังใหม่ที่กำลังก่อสร้างอยู่นี้ ทางวัดได้ทูลอาราธนา เจ้าพระคุณ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (ญาโณทยมหาเถระ) วัดสระเกศ มาเป็นประธานสงฆ์และเชิญ ฯพณฯ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ อดีตนายกรัฐมนตร ีเป็นประธานวางศิลาฤกษ์ เมื่ื่อเสร็จจากพิธีแล้ว ท่านเจ้าคุณ พระมหารัชชมังคลาจารย์ (เทศ นิทเทสสกเถระ) อดีตเจ้าอาวาส ได้มอบพระเครื่องที่ได้จากพระเจดีย์และซุ้มประตู กำแพง โบสถ์ วิหาร ปางต่าง ๆ กัน จำนวน ๙ องค์ เป็นที่ระลึก ซึ่ง ฯพณฯ ได้เล่าให้ท่านเจ้าอาวาสฟังว่า

“พระเครื่องของวัดเกาะพิมพ์แบบนี้ สมัยเป็นนายทหารครั้งสงครามอินโดจีน ได้มาเข้าแถวรับแจกจากางวัด เมื่อนำไปใช้นับว่ามีอภินิหารในทางแคล้วคลาดคุ้มครองดีนัก แม้นเข้าที่คับขันก็สามารถฟันฝ่าอันตรายหนีกระสุนปืนรอดกลับมาได้”

แต่ในครั้งนี้มีน้อย เพราะทางวัดได้พบเฉพาะซุ้มประตูด้านเดียว ยังไม่แพร่หลาย รู้จักกันเฉพาะคนภายในและผู้เคยได้รับแจกไว้คุ้มครองป้องกันตนเท่านั้น
ในการพบพระกรุนี้จะมีเหตุการณ์สำคัญเกิดขึ้นเสมอเล่ากันว่าในการพบครั้งที่ 1 ตรงกับกรณีพิพาทกับฝรั่งเศส ครั้งที่ 2 ตรงกับสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้น ทำให้ผู้ที่มีพระเครื่องกรุนี้อยู่ในครอบครองต่างเชื่อมั่นในอภินิหารต่างๆ เช่น นำติดตัวไปในสมรภูมิชายแดนด้านจันทบุรีและการแคล้วคลาดจากภัยทางอากาศในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 เฉพาะเรื่องแคล้วคลาดนั้นถือว่าเป็นเยี่ยม

ขอขอบคุณเจ้าของข้อมูลเป็นอย่างยิ่ง


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 จ. - 26 พ.ค. 2568 - 19:27:07 น.



สมาชิกที่ต้องการเช่าไปเพื่อทำกำไรต่อ กรุณาตรวจสอบราคากลางให้แน่ใจก่อนที่จะลงราคาประมูลนะครับ จะได้ไม่ต้องมีปัญหาเรื่องประมูลพระผิดราคา หรือเอาไปแล้วปล่อยต่อไม่ได้ จะได้ไม่เกิดปัญหากันในภายหลังครับ

<<<<กติกาของเว็บไซต์ การันตีพระ>>>> 6.3 ผู้ชนะการประมูล จะต้องชำระเงินค่าพระที่ประมูล ให้แล้วเสร็จภายใน 7 วัน หลังจากวันที่ชนะประมูล หากเกินจากนี้ท่านอาจจะได้รับคำติจากผู้ตั้งประมูลพระเครื่องได้

ชนะประมูล ราคาไม่เกิน 1,000 บาท จัดส่งแบบลงทะเบียน ((ต้องการให้จัดส่งด่วนพิเศษ (EMS) เพิ่มค่าจัดส่ง 30 บาท))

ชนะประมูล ราคา 1,000 บาท ขึ้นไป จัดส่งด่วนพิเศษ (EMS)

ผู้ชนะประมูล ราคา ไม่เกิน 5,000 บาท ให้ส่งออกบัตรรับรอง เพิ่ม 500 บาท

ผู้ชนะประมูล ราคา 5,000 บาท ขึ้นไป ให้ส่งออกบัตรรับรอง เพิ่ม 100 บาท

ผู้ชนะประมูล ราคา 5,000 บาท ขึ้นไป ส่งออกบัตรรับรองเอง ลดให้ 800 บาท จากราคาที่ชนะประมูล ((รายการประมูล ที่มีบัตรรับรอง ไม่มีส่วนลดครับ))

ผู้ชนะประมูล ราคา 10,000 บาท ขึ้นไป ส่งออกบัตรรับรองเอง ลดให้ 1,000 บาท จากราคาที่ชนะประมูล ((รายการประมูล ที่มีบัตรรับรอง ไม่มีส่วนลดครับ))

ผู้ชนะประมูล ราคา 100,000 บาท ขึ้นไป ส่งออกบัตรรับรองเอง ลดให้ 5,000 บาท จากราคาที่ชนะประมูล ((รายการประมูล ที่มีบัตรรับรอง ไม่มีส่วนลดครับ))

จัดส่งพระเครื่อง วันจันทร์ ถึง วันศุกร์ (วันเสาร์,วันอาทิตย์,วันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันหยุดราชการ หยุดส่ง)

ตรวจสอบกล่องพัสดุ ไม่มีการแกะ สก็อตเทปใสปิดทับครั้งเดียว จะติดแนวขวาง และแนวตั้ง ย้ำว่า ทางร้านติดสก็อตเทปใส ครั้งเดียว ไม่มีปิดทับสองครั้ง

ทางร้านรับประกันพระเครื่อง ตามกติกาของเว็บไซต์ การันตีพระทุกกรณี ได้รับพระเครื่องแล้ว มีอะไรสงสัย สามารถโทรติดต่อได้ 24 ชั่วโมง ยินดีรับใช้ครับ

ผู้ชนะประมูลรบกวน แจ้งโอนเงิน ทางเมล์ด้วยครับ หรือส่งข้อความเข้าโทรศัพท์ครับ และแจ้งยืนยันที่อยู่จัดส่งด้วยครับ เพราะ อาจมีท่านที่ชนะประมูลราคาเท่ากันหลายรายการครับ อาจจะทำให้ส่งล่าช้าครับ

ขอขอบคุณอย่างยิ่ง
teespy


 
ราคาปัจจุบัน :     599 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    หนานเอ (7.6K)

 
(0)
  ประวัติการเสนอราคา
 ผู้เสนอราคาราคาเวลา
  apeleven (798) 499 บาท อ. - 27 พ.ค. 2568 - 00:07:53 น. (ถึงราคาขั้นต่ำแล้ว)
  new999 (2.5K) 549 บาท อ. - 27 พ.ค. 2568 - 11:47:04 น.
  หนานเอ (7.6K) 599 บาท อ. - 27 พ.ค. 2568 - 16:41:37 น.

Copyright ©G-PRA.COM
www1