(0)
แหวนมงคลเก้า วัดราชบพิธ ปี 2513 เนื้อเงิน









ชื่อพระเครื่อง แหวนมงคลเก้า วัดราชบพิธ ปี 2513 เนื้อเงิน
รายละเอียด แหวนมงคลเก้า วัดราชบพิธ ปี 2513 เนื้อเงิน

แหวนมงคลเก้า วัดราชบพิธ ปี 2513 เนื้อเงิน พิธีใหญ่ พระเกจิคณาจารย์สำคัญ ๆ ดังนี้
1.หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี
2.หลวงปู่เทียม วัดกษัตรา
3.หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
4.หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ
5.หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ
6.หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา
7.หลวงพ่อเกษมเขมโก สำนักสุสานไตรลักษณ์
8.หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ
9.พระอาจารย์นำแก้วจันทร์ วัดดอนศาลา
10.หลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอร์เหนือ
11.หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่
12.หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว
13.หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี
14.พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้
15.หลวงพ่อนอง วัดทรายขาว
16.หลวงพ่อคร่ำ วัดวังหว้า
17.หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง
18.หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์
19.หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม
20.หลวงพ่อนารถ วัดศรีโลหะบำรุง ฯลฯ
และคณาจารย์รูปอื่นๆ จำนวน 108 รูป

สร้างจำนวนน้อยและหายาก วงนี้สวยสมบูรณ์มาก

วัตถุมงคล ‘ฉลอง 100 ปีวัดราชบพิธฯ’ อีกหนึ่ง ‘ของดี’ ที่ถูกซ่อนเร้น ซึ่งท่านเจ้าประคุณ “สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์” (วาสนมหาเถระ) ทรงเป็นประธานกรรมการดำเนินงานจัดทำของที่ระลึก โดยได้ปรึกษาหารือกับกรรมการท่านอื่น ๆ หลายครั้งเพื่อให้ปูชนียวัตถุที่สร้างในวาระอัน เป็นพิเศษครั้งนี้ “อุดมไปด้วย สิริมงคล” จึงได้จัดหาแผ่นทองถวาย “พระอาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณ” ทั่วพระราชอาณาจักรลง “อักขระเลขยันต์” พร้อมปลุกเสกตามถนัดของแต่ละท่าน เพื่อนำมาหลอมหล่อเจือปนในปูชนียวัตถุที่จะสร้างขึ้น

โดยมีรายนาม “พระอาจารย์” รูปสำคัญ ๆ ดังนี้ “หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงปู่เทียม วัดกษัตรา, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ, หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ, หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา, หลวงพ่อเกษมเขมโก สำนักสุสานไตรลักษณ์, หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ, พระอาจารย์นำแก้วจันทร์ วัดดอนศาลา, หลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอร์เหนือ, หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่, หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว, หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี, พระอาจารย์ทิม วัดช้างให้, หลวงพ่อนอง วัดทรายขาว, หลวงพ่อคร่ำ วัดวังหว้า, หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง, หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์, หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม, หลวงพ่อนารถ วัดศรีโลหะ บำรุง ฯลฯ” และคณาจารย์รูปอื่นๆ จำนวน 108 รูป ซึ่งพระคณาจารย์ผู้ทรงวิทยาคุณทั่วพระราชอาณาจักรตามรายนามข้างต้นก็ได้ “มรณภาพ” ไปแล้วได้ทำการลงอักขระในแผ่นยันต์ “108 แผ่น” เพื่อให้เป็นชนวนมวลสารอันศักดิ์สิทธิ์ผสมผสานในวัตถุมงคลชุดนี้โดยแต่ละ ท่านได้ “ตั้งใจ” ทำกันอย่างเต็มที่เพราะถือเป็น “งานใหญ่” ที่นานๆ จะมีขึ้นสักครั้งในยุคนั้นโดย “วัตถุมงคล” ทั้งหมด อันได้แก่ “พระพุทธอังดีรสจำลอง, พระพุทธ รูปบูชาศิลปะไทยประยุกต์แบบคุปตะ, พระกริ่งจุฬาลงกรณ์-พระชัยวัฒน์จุฬาลงกรณ์, พระหูยานจุฬาลงกรณ์ (จ.ป.ร.) พระบรมรูปรัชกาลที่ 5 ครึ่งพระองค์, เหรียญพระบรมรูปรัชกาลที่ 5” และ “แหวนมงคล 9” ที่สร้างขึ้นในวาระ “อันเป็นพิเศษ” เดียวกันนี้ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช” ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททองเป็น “ปฐมฤกษ์” ในวันที่ 9 มีนาคม พุทธศักราช 2513 โดยทรงประกอบพิธีเททองหล่อ “พระกริ่งจุฬาลงกรณ์เนื้อทองคำ” เป็นปฐมฤกษ์และ “ทองชนวน” ที่เหลือนั้นช่างได้นำไปผสมผสานกับเนื้อโลหะที่สร้าง “วัตถุมงคล” ทุกชนิดจนครบตามจำนวนที่กำหนดไว้แล้วตกแต่งให้สวยงาม โดยใช้ระยะเวลาในการดำเนินการประมาณ “9 เดือน” จึงแล้วเสร็จจากนั้นทางวัดจึงกำหนดประกอบพิธี “มหาพุทธาภิเษก” เป็นเวลา “3 วัน 3 คืน” คือ ระหว่างวันที่ 29-30-31 มกราคม พ.ศ. 2514 โดย พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธี “จุดเทียนชัย” ในวันศุกร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2514 อันเป็นวันครบรอบวันสถาปนา “วัดราชบพิธฯ” ครบ “101 ปี” กับ 2 วัน อนึ่งนับเป็นวาระ “อันพิเศษยิ่ง” ที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช มหาราช ทรงมีพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯ แก่ “วัดราชบพิธฯ” ยิ่งนักเพราะตามบันทึกของวัดนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ได้เสด็จพระราชดำเนินมายัง “พิธีพุทธาภิเษก” วัตถุมงคลฉลอง “100 ปี” ที่วัดราชบพิธฯ ถึง “2 วัน” ด้วยกันคือ “วันที่ 29 มกราคม 2514” อันเป็นวันเริ่มพิธี “มหาพุทธาภิเษก” ได้เสด็จฯ ทรงจุด “เทียนชัยพุทธาภิเษก, เทียนมหามงคล” และ “เทียนนวหรคุณ” ในเวลา 16.05 น. และในวันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2514 เวลา 24.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ ในพิธีมหาพุทธาภิเษกและทรง “พระสุหร่าย, ทรงเจิมปูชนียวัตถุ, ทรงโปรยข้าวตอกดอกไม้” จึงนับเป็น “กรณีพิเศษยิ่ง” ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จฯ ทรงประกอบพิธีมหาพุทธาภิเษกเป็นเวลาถึง “2 วัน” นอกเหนือจากทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ในพิธี “เททอง” เป็นปฐมฤกษ์เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2515
ราคาเปิดประมูล 100 บาท
ราคาปัจจุบัน 5,500 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ 100 บาท
วันเปิดประมูล ศ. - 06 มิ.ย. 2568 - 14:14:45 น.
วันปิดประมูล อ. - 17 มิ.ย. 2568 - 10:42:45 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูล korn88 (5.8K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 ศ. - 06 มิ.ย. 2568 - 14:15:03 น.



0


 
ราคาปัจจุบัน :     5,500 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    สุญญตา (49)

 
(0)
  ประวัติการเสนอราคา
 ผู้เสนอราคาราคาเวลา
  Natthaphon2533 (78)(2) 300 บาท ศ. - 06 มิ.ย. 2568 - 14:44:32 น.
  ป้อมปืนใหญ่ (902) 400 บาท ศ. - 06 มิ.ย. 2568 - 17:57:58 น.
  suriyapong (13) 500 บาท ศ. - 06 มิ.ย. 2568 - 18:30:21 น.
  หม่องดี (453) 600 บาท ศ. - 06 มิ.ย. 2568 - 21:32:36 น.
  Chain2928 (440) 900 บาท ศ. - 06 มิ.ย. 2568 - 23:13:57 น.
  teepoptee (2.4K)(1) 1,000 บาท ส. - 07 มิ.ย. 2568 - 01:11:13 น.
  Uniconnan (428) 1,200 บาท ส. - 07 มิ.ย. 2568 - 10:37:30 น.
  zunwu (1.8K) 1,300 บาท ส. - 07 มิ.ย. 2568 - 11:51:42 น.
  รั้วชงโค (509) 1,500 บาท ส. - 07 มิ.ย. 2568 - 16:18:45 น.
  kasemsun (119) 1,900 บาท ส. - 07 มิ.ย. 2568 - 22:20:55 น.
  สุญญตา (49) 2,000 บาท อา. - 08 มิ.ย. 2568 - 23:18:50 น.
  Captain (558) 2,100 บาท อ. - 10 มิ.ย. 2568 - 13:12:55 น.
  สุญญตา (49) 2,200 บาท พ. - 11 มิ.ย. 2568 - 22:05:14 น.
  สุญญตา (49) 2,300 บาท พ. - 11 มิ.ย. 2568 - 22:05:50 น.
  kasemsun (119) 2,900 บาท พฤ. - 12 มิ.ย. 2568 - 01:41:37 น.
  สุญญตา (49) 3,000 บาท พฤ. - 12 มิ.ย. 2568 - 11:14:42 น.
  kasemsun (119) 4,500 บาท ศ. - 13 มิ.ย. 2568 - 00:38:57 น.
  สุญญตา (49) 4,700 บาท ศ. - 13 มิ.ย. 2568 - 22:00:06 น.
  สุญญตา (49) 4,900 บาท ส. - 14 มิ.ย. 2568 - 07:57:40 น.
  สุญญตา (49) 5,000 บาท อา. - 15 มิ.ย. 2568 - 05:26:36 น.
  สุญญตา (49) 5,500 บาท จ. - 16 มิ.ย. 2568 - 10:42:45 น. (ถึงราคาขั้นต่ำแล้ว)

Copyright ©G-PRA.COM
www1