(0)
(0)
พระผงในหลวงทรงผนวช (เนื้อดำ) วัดบวรนิเวศวิหาร ปี2507
รายงานผลโหวต
จากรูปพระแท้
0%
[0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง
0%
[0]
จากรูปพระเก๊
0%
[0]
พระดูยากจากรูป
0%
[0]
จำนวน
โหวต
ร่วมแสดงความคิดเห็น
ผู้โหวตจะต้องโหวตพระแท้หรือเก๊พร้อมทั้งเหตุผลในการโหวตแท้เก๊เท่านั้น
ห้ามสมาชิกแสดงว่าคิดเห็นอื่นๆ
มิฉะนั้นท่านจะถูกพิจารณาตามกฏกติกาการโหวต
จากรูปพระแท้
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง
จากรูปพระเก๊
พระดูยากจากรูป
ความคิดเห็น :
กรุณารอสักครู่...
ชื่อพระเครื่อง
พระผงในหลวงทรงผนวช (เนื้อดำ) วัดบวรนิเวศวิหาร ปี2507
รายละเอียด
พระผงในหลวงทรงผนวช (เนื้อดำ) วัดบวรนิเวศวิหาร ปี2507 ที่ระลึกเมื่อครั้งทรงผนวชเมื่อปี พ.ศ. 2499 เหล่าคณาจารย์ทรงศักดิ์ร่วมปลุกเสกในพระอุโบสถอย่างเข้มขลัง
ในปีปัจจุบันที่ 2500 เมื่อ ณ วันจันทร์ สุรทินที่ 22 ตุลาคมมาส วัสสานฤดูล่วงเวลา 4 นาฬิกา 23 นาที แต่เที่ยงภิกษุ พระนามว่า ภูมิพละ อุปสมบทแล้วในพัทธสีมาแห่งวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ครั้นล่วงเวลา 5 นาฬิกา 43 นาที แต่เที่ยง ทำทัฬหิกรรม ณ พัทธสีมาแห่งพระพุทธรัตนสถาน มีท่านสุจิตตะ เป็นพระอุปัชฌายะ ท่านอุฏฐายี เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ฯ
ขอภูมิพลภิกษุนั้น จงทรงถึงความเจริญงอกงามไพบูลย์ในพระธรรมวินัย ที่พระตถาคตเจ้าทรงประกาศแล้ว
อนึ่ง ขอภูมิพลภิกษุนั้น ทรงดำรงอยู่ในความเป็นอัครพุทธศาสนูปถัมภก์
จงทรงอุปถัมภ์จัดแจงทะนุบำรุงเพื่อความงอกงามไพบูลย์แห่งพระพุทธศาสนา เทอญ ฯ
-------------------------------------------------------
นับเป็นบันทึกแห่งประวัติศาตร์ชาติไทย ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเข้าพิธีอุปสมบท บรรพชาเป็นพระภิกษุในบวรพระพุทธศาสนา รายละเอียดต่อจากนี้ เป็นจังหวะและช่วงเวลาที่สูงค่าแห่งองค์อัครพุทธศาสนูปถัมภ์ พอจะแบ่งปันความปิติยินดีแก่กัน ได้ดังนี้
วันที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2499
ทรงผนวช
สมเด็จพระราชชนนี ทรงจรดพระกรรไกร หลังพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ทรงเครื่องตามแบบผู้แสวงอุปสมบท เสด็จฯ เข้าสู่พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
หลังจากทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระสัมพุทธพรรณี พระพุทธรูปฉลองพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นการส่วนพระองค์ตามราชประเพณีแล้ว สมเด็จพระราชชนนีฯ ถวายผ้าไตรเพื่อทรงขอบรรพชา
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงถือไตรเข้าไปขอบรรพชาในท่ามกลางสงฆ์ต่อสมเด็จพระสังฆราช
สมเด็จพระสังฆราชถวายโอวาทสำหรับบรรพชา และถวายผ้ากาสายะ เพื่อได้ทรงครองอุปสมบท
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จฯ กลับเข้าในพระฉาก ทรงครองกาสาวพัสตร์ตามเพศบรรพชิต โดยมีพระโศภนคณาภรณ์ (เจริญ สุวฑฺฒโน ป.9) แต่งพระองค์ถวาย
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จเข้าไปรับสรณคมน์และศีลต่อสมเด็จพระสังฆราช สำเร็จบรรพชากิจเป็นสามเณรแล้ว ทรงขอนิสัยสมเด็จพระสังฆราชเป็นพระอุปัธยาจารย์ ถวายพระสมณนามว่า ภูมิพโล ทรงขออุปสมบท
สมเด็จพระราชชนนีฯ ถวายบาตรสำหรับพระราชพิธีอุปสมบทกรรม
พระสงฆ์ถวายการอุปสมบท โดยมี
o สมเด็จพระสังฆราช (หม่อมราชวงศ์ชื่น นพวงศ์ ฉายา สุจิตฺโต ป.7) เป็นพระราชอุปัธยาจารย์
o พระศาสนโศภน (จวน อุฏฐายี ป.9) วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นพระราชกรรมวาจาจารย์ ทูลซักถามอันตรายิกธรรม
เมื่อทรงรับอุปสมบทเสร็จเป็นอันทรงดำรงภิกขุภาวะโดยสมบูรณ์แล้ว สมเด็จพระวันรัต (ปลด กิตฺติโสภโณ ป.9) วัดเบญมบพิตร พระอนุศาสนาจารย์ ถวายอนุศาสน์
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ถวายเครื่องบริขาร
พระภิกษุพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยพระโศภนคณาภรณ์ (เจริญ สุวฑฺฒโน ป.9) วัดบวรนิเวศวิหาร เสด็จทางหลังวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงรถยนต์พระที่นั่งเข้าไปสู่พระพุทธรัตนสถาน ทรงประกอบพิธีตามราชประเพณี มีพระเถระฝ่ายธรรมยุตนั่งหัตถบาส 15 รูป เมื่อเสร็จอุปสมบทกรรมเวลา 17:43 น. แล้ว เสด็จทรงรถยนต์พระที่นังพร้อมด้วยสมเด็จพระสังฆราช พระราชอุปัธยาจารย์ สู่วัดบวรนิเวศวิหาร
วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499
ทรงเสด็จฯ ออกบิณฑบาตร
เสด็จฯ ออกบิณฑบาตรในถนนหลวง โดยไม่มีหมายกำหนดการ อาหารที่ทรงรับบิณฑบาตร มีอาหารคาวรวม 7 อย่าง และของหวานรวม 9 อย่าง มี
o ข้าวสวย
o เครื่องในไก่ผัดขิง 1 ห่อ
o ผัดถั่วฝักยาว 1 ห่อ
o กุนเชียงผัดหอมใหญ่กับหมู
o เนื้อทอด
o ปลาสลิดเค็มทอด
o ปลาทูทอด
o ขนมครก
o ถั่วแปบ
o ขนมบ้าบิ่น
o ส้มเขียวหวาน
o กล้วยหอม
o กล้วยไข่
o โรตี
o เค็ก
o ขนมปังปิ้งทาเนย
วันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2499
ทรงลาผนวช
ประทับในพระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศวิหาร โปรดเกล้าฯ ให้ฉายพระบรมฉายาลักษณ์ พร้อมด้วยเครื่องบริขาร
ทรงปลูกต้นสัก 1 ต้น ที่บริเวณข้างพระตำหนักปั้นหย่า
แล้วทรงปลูกต้นสนฉัตร 2 ต้น ที่บริเวณหน้าพระตำหนักทรงพรต
ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการ แล้วทรงประกาศลาสิกขาต่อพระสงฆ์ เวลา 10:23 น. บนพระตำหนักปั้นหย่า วัดบวรนิเวศวิหาร
ทรงจุดธูปเทียนเครื่องสักการะ ทูลลาพระอัฐิสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ และพระอัฐิสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ณ พระตำหนักใหญ่ วัดบวรนิเวศวิหาร
ทรงจุดธูปเทียนเครื่องราชสักการะ ถวายบังคมพระบรมอัฐิพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ณ พระตำหนักใหญ่ วัดบวรนิเวศวิหาร
ทรงแถลงการลาผนวช ตำหนักเพชร วัดบวรนิเวศวิหาร
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยูหัวเสด็จพระราชดำเนินไปยังตำหนักบัญจบเบญจมา ทูลลาสมเด็จฯ พระราชอุปัธยาจารย์ สมเด็จฯ ถวายสรงน้ำพระพุทธมนต์ ถวายพระพร
---------------------------------------------
พระผงที่ระลึกในหลวงทรงผนวช จัดสร้างในปีพ.ศ.2507 โดยวัดบวรนิเวศวิหาร ในหลวงทรงพระราชทานมวลสารผสมในการสร้าง (มวลสารเดียวกับที่สร้างพระสมเด็จฯ จิตรลดา) จะมี 3 สี ได้แก่ สีดำ สีแดง และ สีขาว
ประกอบพิธีพุทธาภิเษกในพระอุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร โดยพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์คาถาจุดเทียนชัย
1. สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช(วาสน์) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
2. สมเด็จพระญาณสังวร(เจริญ) วัดบวรนิเวศวิหาร
3. สมเด็จพระวันรัต(ทรัพย์) วัดสังเวศวิศยาราม
4. สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์(ฟื้น) วัดสามพระยา
5. พระวิสุทธาธิบดี(ไสว) วัดไตรมิตรวิทยาราม
6. พระพรหมคุณาภรณ์(เกี่ยว) วัดสระเกศ
7. พระธรรมปิฎก(นิยม) วัดชนะสงคราม
8. พระราชมนต์มุนี(ทองคำ) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม
9. พระสังวรกิจโกศล(บุญเลิศ) วัดราชสิทธาราม
ต่อด้วยพิธีปรกปลุกเสก โดยสมเด็จฯพระญาณสังวรฯ (เจริญ) วัดบวรนิเวศวิหาร เป็นประธานพร้อมด้วยพระคณาจารย์ นั่งภาวนาปลุกเสก ที่มีชื่อเสียงในยุคนั้น มาร่วมพิธี ๑๐๘ รูปอาทิ
พระราชธรรมวิจารย์(ธูป) วัดสุนทรธรรมทาน กรุงเทพ ฯ
พระญาณโพธิ(เข็ม) วัดสุทัศนเทพวราราม กรุงเทพ ฯ
พระรัตตากรวิสุทธิ์(ดุลย์) วัดบูรพาราม จังหวัดสุรินทร์
พระราชพุทธิรังษี(คำ) วัดหนองจิก จังหวัดปัตตานี
พระสังวรวิมลเถร(โต๊ะ) วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพ ฯ
พระครูถาวรวิทยาคม(เพิ่ม) วัดสรรเพ็ชญ์ จังหวัดนครปฐม
พระครูโกวิทสมุทรคุณ(เนื่อง) วัดจุฬามณี จังหวัดสมุทรสงคราม
พระครูเมธีสาครเขต(ชื่น ป.ธ.๖) วัดตึกมหาชยาราม จังหวัดสมุทรสาคร
พระครูสมุทรธรรมสุนทร(สุด) วัดกาหลง จังหวัดสมุทรสาคร
พระครูสุตตาธิการี(ทองอยู่) วัดหนองพะอง จังหวัดสมุทรสาคร
พระครูธรรมกิจโกศล(นอง) วัดทรายขาว จังหวัดปัตตานี
พระครูสุจิตตานุรักษ์(จวน) วัดหนองสุ่ม จังหวัดสิงห์บุรี
พระครูสังวรธรรมานุวัตร(พล) วัดหนองคณฑี จังหวัดสระบุรี
(ขอขอบคุณ แหล่งข้อมูลต่าง ๆ และขออนุญาติเผยแพร่เกียรติคุณของครูบาอาจารย์ ด้วยความเคารพ)
ราคาเปิดประมูล
500 บาท
ราคาปัจจุบัน
-- ยังไม่มีผู้เสนอราคา --
เพิ่มขึ้นครั้งละ
50 บาท
วันเปิดประมูล
จ. - 30 มิ.ย. 2568 - 16:13:14 น.
วันปิดประมูล
พฤ. - 10 ก.ค. 2568 - 16:13:14 น. (เหลือเวลา 8 วัน 6 ชั่วโมง 0 นาที)
ผู้ตั้งประมูล
ตี๋เงินเต็ม
(
1.9K
)
(0)
ราคาปัจจุบัน :
500 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :
50 บาท
!!! ท่านต้อง login เข้าสู่ระบบก่อน จึงจะสามารถร่วมประมูลได้ !!!
(0)
ประวัติการเสนอราคา
-- ยังไม่มีผู้เสนอราคา --
Copyright ©G-PRA.COM
www1