(0)(0)
พระนางพญา ยอดขุนพล เนื้อนวะโลหะ หายาก "พิธีมหาจักรพรรดิ์ วัดพระศรีรัตนฯ ณ.วิหารพระพุทธชินราช จ.พิษณุโลก ปี๒๕๑๕ เลี่ยมทอง 91% +มาพร้อมการันตีแท้และเดิมครับ









ชื่อพระเครื่อง พระนางพญา ยอดขุนพล เนื้อนวะโลหะ หายาก "พิธีมหาจักรพรรดิ์ วัดพระศรีรัตนฯ ณ.วิหารพระพุทธชินราช จ.พิษณุโลก ปี๒๕๑๕ เลี่ยมทอง 91% +มาพร้อมการันตีแท้และเดิมครับ
รายละเอียด พระนางพญา ยอดขุนพล เนื้อนวะโลหะ หายาก "พิธีมหาจักรพรรดิ์ วัดพระศรีรัตนฯ ณ.วิหารพระพุทธชินราช จ.พิษณุโลก ปี๒๕๑๕ เลี่ยมทอง 91% +มาพร้อมการันตีแท้และเดิมครับ
ราคาเปิดประมูล 9,900 บาท
ราคาปัจจุบัน 11,000 บาท (ยังไม่ถึงราคาขั้นต่ำ)
เพิ่มขึ้นครั้งละ 100 บาท
วันเปิดประมูล พ. - 02 ก.ค. 2568 - 16:30:37 น.
วันปิดประมูล ส. - 12 ก.ค. 2568 - 16:30:37 น. (เหลือเวลา 9 วัน 4 ชั่วโมง 10 นาที)
ผู้ตั้งประมูล ต่อ_ถนนตก (2.8K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 พ. - 02 ก.ค. 2568 - 16:31:28 น.



พิธีจักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก ณ พระวิหารหลวงพ่อพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ จ.พิษณุโลก ๒๐ มกราคม ๒๕๑๕ เมื่อวันที่ ๒๐ ม.ค.๒๕๑๕ พุทธสมาคมพิษณุโลก ได้จัดพิธี "จักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก" ขึ้น ณ พระวิหารหลวงพ่อพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร จ.พิษณุโลก เพื่อนำวัตถุมงคลที่จัดสร้างขึ้นเข้าพิธีปลุกเสก วัตถุมงคลในรุ่นนี้มี พระพุทธชินราชจำลอง พระชัยวัฒน์ พระกริ่งนเรศวรวังจันทน์ พระพิมพ์ และเหรียญมหาจักรพรรดิ์ ฯลฯ พิธีจักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก เป็นพิธีที่ใหญ่มาก ยากแก่การดำเนินการหาเจ้าพิธี ตลอดจนตำรับพระคาถา และพระภิกษุเจริญพระคาถาได้ ตามประวัติ ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ พิธี "จักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก" นี้ ครั้งแรกได้กระทำพิธีในสมัยรัชกาลที่ ๑ และได้มีการกระทำพิธีนี้อีก เมื่อวันที่ ๒๐ ม.ค.๒๕๑๕ ในสมัยรัชกาลที่ ๙ หลังนั้นก็ไม่ปรากฏว่ามีการกระทำพิธีฯ นี้อีกเลย ในพิธีนี้ พระอาจารย์ผ่อง จินดา วัดจักรวรรดิราชาวาส กทม. และ อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร ซึ่งเป็นเจ้าพิธีได้กำหนด และควบคุมดำเนินการประกอบพิธี "จักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก" ครบถ้วนตามแบบฉบับของโบราณพิธีทุกประการ คณะกรรมการพิธีฯ สมเด็จพระสังฆราช ทรงเป็นประธานจุดเทียนชัย ศาสตราจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ นายกพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยฯ เป็นประธานในพิธีจุดเทียนบูชาพระรัตนตรัย พระครูศรีพรหมโสภิต (หลวงพ่อแพ) วัดพิกุลทอง จ.สิงห์บุรี เป็นประธานบริกรรมปลุกเสก
กรรมการฝ่ายเจ้าพิธี พระอาจารย์ผ่อง จินดา วัดจักรวรรดิราชาวาส อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร อาจารย์มาโนช มาโสภาศ กรรมการอุปถัมป์ฝ่ายสงฆ์ พระสุวรรณวิสุทธิคุณ เจ้าคณะจังหวัดพิษณุโลก พระพิษณุบูราจารย์ เจ้าอาวาส วัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ จ.พิษณุโลก ฯลฯ กรรมการอุปถัมภ์ฝ่ายฆราวาส นายพ่วง สุวรรณรัฐ ปลัดกระทรวงมหาดไทย พล.ท.สำราญ แพทยกุล แม่ทัพภาคที่ ๓ สมาคมนักเรียนเก่าพิษณุโลกพิทยาคม ฯลฯ กรรมการดำเนินงาน คณะกรรมการพุทธสมาคม จ.พิษณุโลก ๙ เม.ย.๒๕๑๔ คณะกรรมการพุทธสมาคมจังหวัดพิษณุโลก ได้ตกลงให้ นายช่างสวน จามรมาน ธนบุรี เป็นผู้ออกแบบพระพุทธลักษณะ พระกริ่ง และดำเนินการสร้าง โดยให้ทำตามแบบโบราณพิธีทุกประการ และอยู่ในความควบคุมของคณะกรรมการพุทธสมาคม จ.พิษณุโลก ตลอดเวลา ทุกขั้นตอน ๑๕ เม.ย.๒๕๑๔ คณะกรรมการฯ นำแผ่นเงิน แผ่นทอง เข้านมัสการขอบารมีพระคุณเจ้าผู้ทรงวิทยาคุณ ทั่วประเทศ รวม ๑๐๙ ท่าน ลงอักขระ คาถายันต์ และอธิษฐานจิตปลุกเสกแผ่นทองเงิน จนครบ ๗ เสาร์ ๗ อังคาร ๒๐ ก.ค.๒๕๑๔ คณะกรรมการฯ ได้นำแผ่นทองเงิน ที่พระคณาจารย์ ๑๐๙ รูป ลงและปลุกเสกแล้ว ขึ้นกราบทูลสมเด็จพระสังฆราช ทรงเจิม และประทานพร แล้วนำแผ่นทองเงินไปถวาย สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ วัดราชบพิธ, สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุฯ, สมเด็จพระวันรัต วัดพระเชตุพนฯ, พระอุบาลีคุณูปมาจารย์ วัดจักรวรรดิฯ, พระธรรมวิสุทธิ์วงศาจารย์ วัดสุทัศนฯ, พระธรรมวิสุทธาจารย์ วัดพิชัยญาติฯ, พระเทพเมธี วัดทองนพคุณ, พระเทพโสภณ วัดชนะสงคราม เจิมอีกครั้ง และให้พรแห่งความสำเร็จในการสร้าง ประกาศสังเวยเทวดา ๘.๑๙ น. ๑ ส.ค.๒๕๑๔ บวงสรวงดวงพระวิญญาณ สมเด็จพระนเรศวรมหาราช นายกพุทธสมาคมฯ เป็นประธาน นายโปฏก โหรหลวง กล่าวบวงสรวง ๑๐.๑๙ น. นายกพุทธสมาคมฯ จุดธูปเทียนบูชาครู โดย อาจารย์เทพย์ สาริกบุตรเป็นเจ้าพิธีฯ ๑๒.๐๐ น. เจ้าคุณพระพิษณุบุราจารย์ เจ้าอาวาส วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จุดเทียนชัย พระคณาจารย์ ๙ รูป นั่งบริกรรมปลุกเสกแผ่นทองคำ แผ่นเงิน แผ่นทองแดง ซึ่งได้ลงอักขระคาถา เลขยันต์ พร้อมทั้งโลหะ ๙ อย่าง ที่จะหล่อพระกริ่งนเรศวรวังจันทน์ คือ ทองคำเงิน ทองแดง ชิน เจ้าน้ำเงินเหล็กละลายตัว ตะกั่วน้ำนม ปรอท สังกะสี ซึ่งได้คำนวณน้ำหนักให้เป็นส่วนผสมเนื้อนวโลหะ พระคณาจารย์ ๙ รูป ที่นั่งปรกบริกรรมปลุกเสก คือพระเทพโสภณ (นิยม) วัดชนะสงคราม,
พระพ่อกรับ วัดโกรกกราก สมุทรสาคร,
หลวงพ่อละมูล วัดเสด็จ ปทุมธานี,
หลวงพ่อชื่น วัดตำหนักเหนือ นนทบุรี, หลวงพ่อลำยอง วัดสนุทรประดิษฐ์ บางระกำ พิษณุโลก,
หลวงพ่อม้วน วัดตลาดชุม วังทอง พิษณุโลก,
หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง นนทบุรี,
หลวงพ่อธงชัย วัดพุทธมงคลนิมิต นครสวรรค์
และ หลวงพ่อเกตุ วัดศรีเมือง จ.สุโขทัย ๑๘.๓๒ น. พิธีเททอง หล่อพระกริ่ง พระชัยวัฒน์ "นเรศวรวังจันทน์" ระหว่างพิธีเททองพระคณาจารย์ ๘ รูป ใน ๙ รูป นั่งล้อมโรงพิธีฯ หันหน้าไปทิศทั้ง ๘ อนึ่ง ก้อนเส้ารองรับเบ้าและดินสุมหุ่น ใช้ดินกลางเมืองอันเป็นมงคลแข็ง ๕ แห่ง คือ เมืองพิชัย จ.อุตรดิตถ, เมืองชัยบาดาล จ.ลพบุรี, เมืองชัยนาท จ.ชัยนาท, เมืองหริภุญชัย จ.ลำพูน, เมืองท่าชัย จ.สุโขทัย น้ำพระพุทธมนต์ ใช้น้ำจากทะเลแก้ว เมืองโอฆะบุรี, ทะเลชุบศร เมืองละโว้ ถ่านและฟืนเชื้อเพลิงหลอมโลหะใช้ถ่านไม้ราชพฤกษ์ ๙ กระสอบ ฟืนไม้ราชพฤกษ์ ๙ ลบ.ม. ตั้งแต่วันที่ ๒ ส.ค.๒๕๑๔ ช่างสวน จามรมาน ได้ตกแต่งพระกริ่งนเรศวรวังจันทน์ อยู่ในโรงงานภายในบริเวณบ้านพักของนายกพุทธสมาคมฯ เพื่อเป็นการควบคุมมิให้ช่างมีโอกาสสร้างพระเสริมนอกพิธีหรืออื่น ๆ อันเป็นการไม่สมควร เมื่อพระกริ่งนเรศวรวังจันทน์ ตกแต่งจนคบหมดแล้ว รวมทั้งพระบูชาและวัตถุมงคลทุกอย่างสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว คณะกรรมการฯ ได้นำวัตถุมงคลทั้งหมดประกอบพิธีจักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก ณ พระวิหารหลวงพ่อพระพุทธชินราช วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก เมื่อวันที่ ๒๐ ม.ค.๒๕๑๕ โดยมีพระอาจารย์ผ่อง จินดา วัดจกรวรรดิฯ และ อาจารย์เทพย์ สาริกบุตร เป็นเจ้าพิธี มีพระคณาจารย์นั่งปรกปลุกเสก ดังนี้
๑. หลวงพ่อทอง วัดพระปรางค์
๒. หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
๓. หลวงพ่อนาค วัดทัศนารุณสุนธิการาม
๔. หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ
๕. หลวงพ่อหอม วัดชากหมาก
๖. หลวงพ่อศุข วัดโพธิทรายทอง
๗. หลวงพ่อสด วัดหางน้ำ จ.ชัยนาท
๘. หลวงพ่อชื่น วัดตำหนักเหนือ
๙. หลวงพ่อบุญ วัดวังมะนาว
๑๐. หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่นองพะอง
๑๑. หลวงพ่อกรับ วัดโกรกกราก
๑๒. หลวงพ่อเจริญ วัดทองนพคุณ
๑๓. หลวงพ่อพริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู
๑๔. หลวงพ่อชื่น วัดคุ้งท่าเสา
๑๕. พระครูสนิทวิยการ วัดท่าโขลง
๑๖. หลวงพ่อคำ วัดบำรุงธรรม
๑๗. หลวงพ่อฝัน วัดราษฎร์เจริญ
๑๘. พระครูพุทธฉายาภิบาล วัดพระพุทธฉาย จ.สระบุรี
๑๙. หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่
สำหรับน้ำพระพุทธมนต์ที่แช่พระกริ่งเข้าพิธี ใช้น้ำที่วัดตูม เป็นน้ำที่ออกจากพระเศียรพระพุทธรูป ที่สมเด็จพระนเรศวรมหาราช เคยใช้ในพิธีชุบพระแสงและเครื่องศัตราวุธ รวมกับน้ำในบ่อน้ำพระพุทธมนต์ วัดพระพายหลวง (บ่อพระร่วง) เมืองเก่าสุโขทัย วัตถุมงคลที่จัดสร้างเข้าพิธี "จักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก" วันที่ ๑๙-๒๐ มกราคม ๒๕๑๕ ณ พระวิหารหลวงพ่อพระพุทธชินราชพิษณุโลก ๑. พระพุทธชินราชจำลอง เนื้อทองสัมฤทธิ์ลงรักปิดทอง ๙" ๕.๙" สร้างโดย จ.ส.อ.ทวี บุรณะเขต จ.พิษณุโลก ๒. พระกริ่งนเรศวรวังจันทน์ เนื้อนวโลหะ (สูตรของสมเด็จพระสังฆราชแพ) สร้างโดยช่างสวน จามรมาน ธนบุรี ๓. เหรียญพระพุทธชินราช มหาราช เนื้อทองคำ เงิน ทองแดง โลหะพิเศษ สร้างโดยกองกษาปณ์ กรมธนารักษ์ ๔. พระสังกัจจายน์ เนื้อหยก หยกจากเมืองจีน ฝีมือช่างชาวฮ่องกง ๕. พระชุด "พระพุทธชินราช น้อยไตรภาคี" ของดีเมืองพิษณุโลก ชนวนรพระกริ่งนเรศวรวังจันทน์เนื้อนวโลหะ (พระพุทธชินราช-พระพุทธชินรสีห์ - พระศรีศาสดา) ๖. พระชุด "ยอดขุนพลเมืองพิษณุโลก" ชนวนพระกริ่งนเรศวรวังจันทน์ (พระพิมพ์ท่ามะปราง - พระพิมพ์นางพญา - พระพิมพ์วัดใหญ่) ๗. พระพุทธชินราชใบเสมา เนื้อนวโลหะ ชนวนพระกริ่งนเรศวร วังจันทน์ ๘. พระพุทธชินราชยอดอัฐารส เนื้อนวโลหะ ชนวนพระกริ่งนเรศวร วังจันทน์ (หมายเลข ๕-๖-๗-๘ สร้างโดย ช่างสำเนียง หมัดมอญ กทม.) ๙. พระพิมพ์นางพญา กรุวัดใหญ่ เนื้อดินเผาผสมของเก่า ๑๐.พระพุทธชินราชใบเสมา เนื้อว่าน และเนื้อดินเผา ผสมผงเก่าและผงตะไบ เนื้อนวโลหะวังจันทน์ (หมายเลข ๙-๑๐ สร้างโดยพระครูศีลสารสัมปัน วัดสระแก้วปทุมทอง จ.พิษณุโลก) ๑๑. พระพุทธชินราชใบตำแย กรุลั่นทม วัดใหญ่ เนื้อชิน สร้างโดย บริษัทชโลกุล กทม. ๑๒. พระพุทธชินราช มหาธาตุ เนื้อดินผสมผงโลหะพระเก่า วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ สร้างโดย จสอ.ทวีบุรณะเขต จ.พิษณุโลก ๑๓. เข็มกลัดเน็คไท "พระพุทธชินราช" สร้างโดยช่างทองร้านนำศิลป์ จ.พิษณุโลก ๑๔. เหรียญ "มหาจักรพรรดิ" เนื้อนวโลหะ ชนวนพระกริ่งนเรศวร วังจันทน์ นายละเมียน อัมพวะสิริ ผู้ออกแบบ เป็นต้นครับ........ประวัติ วัดนางพญา พิษณุโลก ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุโดยห่างจากแนวกำแพงชั้นนอกของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุประมาณ 10 เมตรโดยมีพื้นที่ดังนี้ ทิศเหนือ ติดต่อกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุและถนนจ่าการบุญ ทิศใต้ ติดต่อกับวัดราชบูรณะ และถนนสิงหวัฒน์ ทิศตะวันออก ติดต่อกับประตูผี และประตูมอญและแนวกำแพงเมืองเดิม ทิศตะวันตก ติดต่อกับแนวกำแพงเมือง และแม่น้ำน่าน การประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 53 และเจดีย์ 2 องค์ วัดนางพญาปรากฏขึ้นในจดหมายเหตุรายวันระยะทางไปพิษณุโลกของสมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เมื่อ 13 พฤษภาคม ร.ศ.120 (พ.ศ. 2444) ความว่า . . .ออกจากศาลาการเปรียญไปวัดนางพญาดูระฆังใหญ่ปากกว้างประมาณ 2 ศอก เป็นระฆังญวนทำด้วยเหล็ก แล้วไปดูวิหาร เล็กกว่าวัดราชบูรณะหน่อยหนึ่ง. . นอกจากนี้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินยังวัดนางพญาเมื่อ 16 ตุลาคม ร.ศ. 120 (พ.ศ. 2444) . .เมื่อเสร็จการจุดเทียนชัยแล้ว ไปดูวัดนางพระยาซึ่งอยู่ติดต่อกับวัดมหาธาตุติดกันทีเดียว วัดนี้มีแต่วิหารไม่มีพระอุโบสถ มีโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมตั้งอยู่ได้ในนั้นโรงหนึ่ง พระสอนมีนักเรียนมากที่คับแคบไม่พอ ออกจากวัดนางพระยาไปถึงวัดราชบูรณะ ไม่มีบ้านเรือนคั่น. . วิหารเดิมวัดนางพญาได้ถูกทางวัดแปลงเป็นพระอุโบสถโดยการฝั่งลูกนิมิตเข้าไป ซึ่งเดิมมีภาพกิจกรรมฝาผนังและเหลืออยู่เพราะด้านหลังท่านประธาน เข้าใจว่าเป็นเรื่องพุทธประวัติเพราะด้านหลังท่านประธานเป็นเรื่องไตรภูมิ ผนังวิหารมีทั้งที่เจาะช่องและหน้าต่างซึ่งของเดิมคงจะเป็นแบบเจาะช่องทั้งหมด ซึ่งน่าจะมีอายุเก่าไปถึงสมัยอยุธยาหรือสุโขทัยก็ได้ ภายในมีพระประธานองค์ใหญ่ และทางวัดคิดจะรื้อวิหารหลังเดิมและสร้างพระอุโบสถใหม่แทนก็นับว่าน่าเสียดายอย่างยิ่ง ด้านหลังวิหารมีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสิงหลายองค์ อาจสร้างสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นก็ได้ และวัดนางพระยายังมีชื่อเสียงเรื่องพระเครื่อง คือ นางพระนางพญา พบในกรุครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2444 ซึ่งเป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเมืองพิษณุโลก เพื่อทอดพระเนตรการหล่อพระพุทธชินราชจำลอง และศาลาเล็กที่สร้างไว้เพื่อรับเสด็จและมีการพบกรุพระนางพญาและได้มีการนำทูลเล้าฯ ถวายและยังเหลืออยู่ที่วัดอีกมาก โดยใน พ.ศ. 2497 ได้มีการพบกรุวัดนางพญาตรงซากปรักหักพังหน้ากุฏิสมภารถนอม เจ้าอาวาส ซึ่งเมื่อขุดหลุมเสาก็พบพระนางพญาจำนวนมหาศาล แต่ไม่เป็นที่สนใจของชาวเมืองพิษณุโลกนัก จึงเก็บรวบรวมไว้ที่วัด ต่อมามีผู้คนที่สนใจได้หยิบฉวยเอาไปเพราะเห็นเป็นพระเก่า เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสององค์ใหญ่ ยังปรากฏชั้นฐานแข้งสิงห์อยู่สองชั้น สภาพค่อนข้างชำรุดทรุดโทรม ลักษณะศิลปะอยุธยาตอนปลายต่อรัตนโกสินทร์ตอนต้น เจดีย์ย่อมุมไม้สิบสิงเล็ก ยังปรากฏฐานแข้งสิงห์รองรับองค์ระฆังอยู่และบัวกลุ่มด้านบนยอดเหนือชั้นบังลังก์ขึ้น สภาพคอนข้างชำรุดเช่นเดียวกัน น่าสังเกตว่าวัดนางพญานั้นเดิมหันหน้าไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือโดยเข้าแนวแม่น้ำน่าน ซึ่งหลักฐานดังกล่าวแสดงถึงการให้ความสำคัญต่อทิศทางของลำน้ำน่านมักจะปรากฏในสมัยอยุธยาเป็นสำคัญ ดังนั้นวัดนางพญาน่าจะก่อสร้างเมื่ออยุธยาได้มีอำนาจเหนือเมืองพิษณุโลกแล้วอาจจะอยู่ในสมัยเจ้าสามพระยา (สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2) หรือสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถก็เป็นไปได้


 
ราคาปัจจุบัน :     11,000 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ท่านต้อง login เข้าสู่ระบบก่อน จึงจะสามารถร่วมประมูลได้ !!!


 
(0)
  ประวัติการเสนอราคา
 ผู้เสนอราคาราคาเวลา
  eootyoo (1K)(1) 10,000 บาท พ. - 02 ก.ค. 2568 - 18:59:21 น.
  popupup (354) 11,000 บาท พ. - 02 ก.ค. 2568 - 19:22:02 น.

Copyright ©G-PRA.COM
www1