(0)(1)
พระพุทธชินราช หลวงพ่อโม วัดสามจีน พิมพ์หนา เนื้อตะกั่ว ปี 2457 กรุงเทพฯ (G 65%). 1 ใน 5 ชุดพระเบญจมงคล ป้องกันศาสตราวุธ พระหล่อคณาจารย์ เนื้อชินตะกั่วค่ะ ลงรูปประกอบให้ด้านล่าง..









ชื่อพระเครื่อง พระพุทธชินราช หลวงพ่อโม วัดสามจีน พิมพ์หนา เนื้อตะกั่ว ปี 2457 กรุงเทพฯ (G 65%). 1 ใน 5 ชุดพระเบญจมงคล ป้องกันศาสตราวุธ พระหล่อคณาจารย์ เนื้อชินตะกั่วค่ะ ลงรูปประกอบให้ด้านล่าง..
รายละเอียด พระเครื่องที่ในอดีตกาลกล่าวขวัญสนั่น ในเรื่องพุทธคุณเข้มขลัง จากหลวง
พ่อโม พระพุทธชินราช วัดสามจีน หรือวัดไตรมิตรในปัจจุบัน ที่คนรุ่น
เก่ารู้จักดี โดยเฉพาะผู้ที่ถูกเรียกว่าเป็น "นักเลง" ที่ชอบก่อเหตุยกพวกตี
กัน นั้นนิยมกันพระรุ่นนี้กันมาก เพราะในยุคก่อนปี พ.ศ. 2500 นั้น
กรุงเทพฯ มีนักเลงหลายกักหลายพวกอย่างเช่น "นักเลงเก้ายอด" หรือ
พวก "ลักกัก" นักเลงพวกนี้นอกจากใจถึง และไม่กลัวใครแล้ว ว่ากันว่า
แต่ละคนยังหนังเหนียวฟันแทงไม่เข้า รวมทั้ง "นักเลงย่านวัดสามจีน" ก็
เป็นอีกพวกที่ไม่มีใครอยากข้องแวะ เพราะร่ำลือกันว่ามี "หนังเหนียว"
ทั้งนี้ก็เพราะในคอนักเลงพวกนี้แขวน "พระพุทธชินราช" ของ "หลวงพ่อโม
วัดสามจีน" กันทุกคน ดังนั้น "พระพุทธชินราชหลวงพ่อ โมวัดสามจีน" จึง
เป็นที่รู้จักด้วยเหตุนี้
ประกอบกับวัดนี้มี "พระพุทธรูปทองคำขนาดใหญ่" ที่ประดิษฐานอยู่
ภายในวัดซึ่งแต่เดิมเป็นพระพุทธรูปที่ถูกโบกปูนปิดทับเอาไว้โดย
สันนิษฐานกันว่าเพื่อไม่ให้ผู้ใดทราบว่าภายในเป็น "พระทองคำ" กระทั่ง
ปูนที่โบกทับไว้กะเทาะออกเมื่อประมาณปี พ.ศ. 2490 นี่เองจึงได้ทราบว่ามี
"พระทองคำ" ขนาดใหญ่อยู่ภายใน
"หลวงพ่อ โม" นับเป็นพระเกจิอาจารย์ยุคเก่าท่านหนึ่งที่ "บรรลุธรรมชั้น
สูง" และเป็นพระสงฆ์ที่เคร่งครัดในวิปัสสนากรรมฐานมากอีกรูปในยุคนั้น
ชนิดผู้คนร่ำลือกันว่าท่านสามารถล่วงรู้กาลมรณภาพล่วงหน้าได้ ดังนั้น
เมื่อท่านเป็นผู้ให้กำเนิด "พระพุทธชินราชหลวงพ่อ โม วัดสามจีน" จึงเชื่อ
มันได้ว่าพุทธคุณต้องครบเครื่องทุกด้านแม้จะสร้างเป็นแบบ "องค์แบน
ครึ่งซีก" ด้วยเนื้อตะกั่วก็ตาม ส่วนมูลเหตุที่ "หลวงพ่อโม" สร้างพระในรูป
แบบของ "พระพุทธชินราช" นั้นก็เนื่องจากเมื่อครั้งที่ "พระปรมากรมุณี"
ซึ่งเป็นพระอุปัชฌาย์ของท่านไปรับตำแหน่งเป็น "เจ้าคณะ" แห่งเมือง
พิษณุโลก "หลวงพ่อ โม" ผู้เป็น ศิษย์จึงเดินทางไปปรนนิบัติรับใช้พระ
อาจารย์ในกาลครั้งนั้นด้วย จึงได้มีโอกาสไปสัมผัสและกราบนมัสการ
"พระพุทธชินราชองค์ใหญ่" ที่ประดิษฐาน ณ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อย่าง
สม่ำเสมอ "หลวงพ่อโม" จึงมีความศรัทธา "พระพุทธชินราช" เป็นอย่างยิ่ง
ดังนั้นเมื่อเดินทางกลับมาจำพรรษาที่ "วัดสามจีน" เมื่อปี " พ.ศ. 2457 "' จึง
ได้สร้างพระเครื่องเป็นพิมพ์ "พระพุทธชินราช" ด้วยเนื้อตะกั่วแล้วทำการ
ลงอักขระด้วยเหล็กจารไว้ด้านหลัง แจกไปในหมู่ลูกศิษย์ลูกหาที่สนิทชิดเชื้อ
ส่งไปรษณีย์ ems ทุกรายการ
ขอบคุณที่แวะเยีียมชมค่ะ
ราคาเปิดประมูล 10,800 บาท
ราคาปัจจุบัน -- ยังไม่มีผู้เสนอราคา --
เพิ่มขึ้นครั้งละ 100 บาท
วันเปิดประมูล จ. - 07 ก.ค. 2568 - 00:20:35 น.
วันปิดประมูล พฤ. - 17 ก.ค. 2568 - 00:20:35 น. (เหลือเวลา 5 วัน 10 ชั่วโมง 11 นาที)
ผู้ตั้งประมูล Nattida (575)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 จ. - 07 ก.ค. 2568 - 00:21:21 น.



ทองสวย ยังไม่ผ่านการแขวนใช้ค่ะ


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 จ. - 07 ก.ค. 2568 - 00:21:57 น.



ข้อมูลหาม่แบ่งปั่นทุกท่าน


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 จ. - 07 ก.ค. 2568 - 00:23:24 น.



พิมพ์มี หนา บาง แล้วแต่คนชอบ ส่วนมากจะเน้นไปทางว่ายังมีรอยจารชัดเจนเหลืออยู่หรือไม่มากกว่าค่ะ


ข้อมูลเพิ่มเติม 4 จ. - 07 ก.ค. 2568 - 00:28:25 น.



ดึงรูปไปใช้กันได้ไม่มีหงง แบ่งปั่นและเผยแพร่ด้วยกันค่ะ


 
ราคาปัจจุบัน :     10,800 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ท่านต้อง login เข้าสู่ระบบก่อน จึงจะสามารถร่วมประมูลได้ !!!


 
(0)
  ประวัติการเสนอราคา
 
-- ยังไม่มีผู้เสนอราคา --


Copyright ©G-PRA.COM
www1