(0)(0)
"คชกุศ_ตะขอช้าง" จากอดีตควาญช้างแห่ง บ้านขุนไชยทอง จ.สุรินทร์ ตะขอยาว 6 นิ้ว ด้ามยาว 20 นิ้ว >> แบ่งปัน เคาะเดียว!!!








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต





ชื่อพระเครื่อง "คชกุศ_ตะขอช้าง" จากอดีตควาญช้างแห่ง บ้านขุนไชยทอง จ.สุรินทร์ ตะขอยาว 6 นิ้ว ด้ามยาว 20 นิ้ว >> แบ่งปัน เคาะเดียว!!!
รายละเอียด หนึ่งในอาวุธของพระพิฆเณศวรเจ้า
"คชกุศ_ตะขอช้าง"
>> สิ่งมงคลมนต์ขลังแห่งครูปะกำ เป็นโภคทรัพย์ ค้ำหนุนดวง ข่มอาถรรพ์ กันคุณไสย สยบภูติผี..

คชกุศ หรือ อังกุศ หรือ อังกุศะ (สก. องฺกุศ; มค. องฺกุส) คือ ขอสับช้าง
>> อันเปรียบเสมือน สิ่งมงคลและอาวุธประจำกายของควาญช้าง เพื่อที่จะใช้สั่งการช้างให้ทำตามคำสั่ง อย่างที่เราสามารถพบเห็นกันได้ทั่วไป ซึ่งบางที่เรียกว่า "ตะขอช้าง" บ้าง "ขอสับช้าง" บ้าง "ขอจ๊าง" บ้างแตกต่างกันไปในแต่ละท้องถิ่น แต่น้อยคนนักที่จะทราบว่า "คชกุช" นั้นถือเป็น ๑ ใน ๘ สิ่งมงคลของพราหมณ์

>> เป็นหนึ่งในอาวุธสำคัญของ"พระพิฆเณศวร" สังเกตได้จากรูปปั้นหรือภาพวาดโบราณ ที่พระพิฆเณศวรจะถือตะขอช้างเอาไว้ในมือ อันเป็นเครื่องหมายถึงการขจัดเสียซึ่งอุปสรรค ขจัดภัย และเป็นบารมีมหาอำนาจเป็นมหามงคลอีกด้วย

>> เป็นอาวุธของ"พระพุธ" พระพุธเป็นเทวดานพเคราะห์ที่เป็นศุภเคราะห์ หรือดาวดี ให้ผลในทางอ่อนโยนไพเราะสุภาพ อ่อนโยน กริยามรรยาทเรียบร้อย วาจาไพเราะอ่อนหวาน มรรยาทสวยงามน่าเอ็นดู เป็นดาวที่มีวุฒิสูง ฉลาดในเชิงพูด มีลิ้นเป็นนักการพูด เป็น ”เจ้าแห่งวาทะศิลป” มีความคิดละเอียดสุขุม

>> ดังนั้น "คชกุศ" ย่อมเป็นเครื่องหมายแห่ง บารมี อำนาจวาสนา ความสำเร็จ ขจัดอุปสรรค สมควรที่ผู้ที่เคารพศรัทธาในพระพิฆเณศวร หรือต้องการความสำเร็จในเรื่องต่างๆจะบูชาไว้ และยังหมายถึงการเป็นผู้มีวาทะศิลป์ พูดจาหว่านล้อมมีคนนับถือเชื่อฟัง อันเป็นลักษณะของพระพุธ เนื่องจากเป็นอาวุธประจำของพระพุธ ผู้ที่เกิดวันพุธ หรือต้องมีการเจรจา ต้องคุมคน ต้องมีลูกน้อง ลูกค้า ต้องใช้คำพูดหรือบุคลิกในการติดต่อเจรจาทำการทำงาน ก็ควรที่จะได้มีบูชาไว้

>> "คชกุศ" เป็นของมงคลมีพลังที่เปี่ยมไปด้วย มนต์ขลังแห่งครูปะกำ ที่สามารถค้ำคูณดวงชะตา และข่มสรรพอาถรรพ์ คุณไสย และสิ่งไม่ดีต่างๆได้อย่างชะงัด มีผู้รู้กล่าวว่า เป็น เครื่องรางที่วิเศษ แต่หาได้น้อยเต็มที เพราะเข้าใจกัน เพียงว่า "เป็นแค่เครื่องมืออย่างหนึ่ง" เท่านั้น

คชกุศ, ขอช้าง, ขอสับช้าง, ตะขอช้าง
>> เป็นของอาถรรพ์ที่ "เเรงครู" สูงมาก ชนิดหนึ่ง เป็นของศักดิ์สิทธิ์ ที่นับถือกันในหมู่ "ผู้ศึกษาพระเวทย์"ที่รู้ลึกรู้จริงว่าเป็น "ของมงคลที่หาได้ยากยิ่ง มีอานุภาพสูง หลายประการ" คือ...
1) เป็นของ"โภคทรัพย์" จากการเป็น"ของอ" หมายถึง"การเกี่ยว การเหนี่ยวรั้งไว้"

2) อีกประการคำว่า"ขอ"ก็คือ"ได้" เป็นคำมงคล ในภาคใต้จะมีพิธีการชนิดหนึ่งคือ"การฝังกะโจ" ที่เป็นคุณไสยแบบหนึ่งในสวนผลไม้ซึ่งหากใครกินผลไม้ในสวนนั้น โดยเจ้าของไม่อนุญาต ก็จะมีอาการผิดสำแดงจุกเสียด แก้อย่างไรก็ไม่หายต้องขอขมาและให้เจ้าของสวนมาแก้ จึงจะหายบางรายเจ้าของสวนไม่อยู่กว่าจะกลับมาแก้จุกตายคาสวน ก็มี จึงเป็นที่เกรงกลัว ไม่มีใครกล้าลักกินของในสวนโดยพละการ แต่เชื่อกันอีกว่า "หากนำ คชกุศ, ขอช้าง, ขอสับช้าง, ตะขอช้าง นี่เกี่ยวผลไม้นั้นก่อน ก็สามารถนำมากินได้ โดยไม่มีอาการผิดสำแดงเรียกว่า"กะโจนั้นแพ้อาถรรพ์ขอช้าง"

3) การตี"มีดหมอ"หรือ"มีดชน็อก"ในตำราของปักษ์ใต้หรือ"ตีกริช" ก็มักมีเหล็กอาถรรพ์หลายประการ เช่น "เหล็กพวยกา" (กาน้ำพระเมื่อก่อนเป็นเหล็กเคลือบสี) "เหล็กขอ" คือ คชกุศ, ขอช้าง, ขอสับช้าง, ตะขอช้าง เป็นส่วนผสมอยู่เกือบทุกตำรา เชื่อว่า..ข่มอาถรรพ์ดีนัก

4) หากนำ"ขอช้าง"นั้นมาประจุอาคมเพิ่ม จะเป็นเครื่องรางชั้นยอด โดยนิยมบรรจุของ สำคัญเช่น เศษเชือกประกำ, ตะไคร่เสาตะลุงช้างเผือก, น้ำมันช้าง, ผงวิเศษจากการลบยันต์หัสดี, ยันต์หนุมานหักคอช้างเอราวัณ, นะคชสาร จะมีอานุภาพสูง มีเทพวิญญาณมาสถิตคุ้มครองบนบอกได้ด้วยแรงครูประกำ "ดีเด่นด้านโภคทรัพย์" เรียกว่าเป็นของขลังที่ให้พุทธคุณเหมือน"นางกวัก" ก็ได้

5) พ่อค้ารุ่นเก่าที่เล่นเครื่องราง มักเสาะหา คชกุศ, ขอช้าง, ขอสับช้าง, ตะขอช้าง มาให้อาจารย์ที่ตนนับถือ ลงอาถรรพ์เพิ่มเติมให้
>> หากนำมาไว้ที่บ้าน ยังเป็น"ของคุมอาถรรพ์" อีกด้วย เชื่อว่า.."มีอานุภาพบังคับทุกสิ่ง ให้เป็นไปในทางดี ไม่ก่อกำเริบเดือดร้อน"
>> หากผู้มีวิทยาคุณอื่นจะมาลองวิชาก็มักแพ้ภัยตัวเองไป เพราะอำนาจ เหล็กคชกุศ, ขอช้าง, ขอสับช้าง, ตะขอช้าง "สะกดอาคมไว้มิให้แสดงฤทธิ์ได้นั่นเอง" จึงเป็นของดีที่ไม่ค่อยพบเห็นมากนัก ทั้งผู้ที่รู้เรื่องรู้ลึกรู้จริง ก็มักปกปิด เก็บเงียบอมพะนำ เสียก็เลยไปกันใหญ่

คชกุศ, ขอช้าง, ขอสับช้าง, ตะขอช้าง
>> ดีในทาง "ควบคุมคนให้อยู่ในอำนาจ" อีกด้วย เพราะเคยมีผู้ใหญ่ท่านหนึ่ง มีผู้ใต้บังคับบัญชา ไม่อยู่ในโอวาท กระด้างกระเดื่อง เพราะก็ถือว่า เป็นดีมีวิชาเหมือนกัน "ท่านก็เลยเขียนชื่อ แล้วเอาขอช้างสับสะกดไว้ปรากฏว่า เจออีกที หงอเชื่องเชื่อฟังแต่โดยดี"

>> อีกเรื่องคือ ศาลาวัดหนึ่ง ผี นางไม้ดุมาก คอยรบกวนผู้พักอาศัยให้เดือดร้อนอยู่เนืองๆ จนไม่มีผู้กล้าพักอาศัยยามค่ำคืน และเป็นผีที่เหลือมือหมอ คือ เป็นประเภทพฤกษาเทวา อาคมธรรมดาไม่สามารถสะกดอยู่ จนวันนึง นางไม้นี้มาสิ้นฤทธิ์อย่างไม่น่าเชื่อ เมื่อมีส่วยคณะหนึ่ง เดินทางผ่านมาพักที่ศาลาหลังนี้ พอนางไม้เริ่มออกฤทธิ์ เขย่าศาลา หัวหน้าคณะส่วยไม่รู้จะทำอย่างไร เพราะไม่เคยเรียนมนตร์ปราบผี นึกถึงความศักดิ์สิทธิ์องค์ครูประกำได้ก็เอา คชกุศ, ขอช้าง, ขอสับช้าง, ตะขอช้าง นี่สับไปที่"เสาตกน้ำมัน" ที่นางไม้นี้อยู่ ปรากฏว่า ทีเดียวเท่านั้นนางไม้นั้นสิ้นฤทธิ์หมดพิษสงสงบเสงี่ยมเงียบจ๋อย ไม่มารบกวนอีกเลย ก็ขนาด"ช้างตกมัน" ตัวเบ้อเร่อเบ้อเท่อ ขออันเดียวยังสะกดอยู่เลย นางไม้ตัวเล็กๆจะเหลืออะไร?

>> ในทางไสยเวทย์ "ช้างเป็นสัตว์ที่มีรังควาน(อาถรรพ์)แรง" เป็นสัตว์ที่มีฤทธิ์หรือมีดีในตัว เเม้"ขนหางช้าง" หากนำมาทำเเหวนก็ยอดเรื่อง ป้องกันอาถรรพ์ต่างๆ "ขอช้าง"จึงมีความศักดิ์สิทธิ์ด้วยแรงครูประกำที่สูงมาก จนข่มกันอยู่ นักเลงวิทยาคมรุ่นเก่า จึงมักแสวงหา "ขอช้างที่ลงอาคมครูประกำ" มาไว้ในครอบครอง

>> ยิ่งขอนั้น "สะกดช้างตกมัน"มาด้วยยิ่งนับถือว่าดี แต่ที่ถือว่าสุดยอดที่สุด คือ"ขอช้างมงคล" คือ"ช้างเผือก"ที่สุดยอดหายาก เพราะเท่ากับได้ของมงคลพิเศษที่มีทั้ง"ศรี" คือความเป็นมงคล และ"เดช" คืออำนาจในการสะกดข่มอยู่ในตัว
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~
ตำราพระคชศาสตร์ (ตะขอช้าง)

>> เชื่อกันว่า.. เป็นของศักดิ์สิทธิ์ที่นับถือกัน เป็นของมงคลที่หาได้ยากยิ่ง และมีอานุภาพสูงหลายประการคือ "เป็นของโภคทรัพย์"
> 1) จากการเป็น "ของอ" หมายถึง "การเกี่ยว การเหนี่ยวรั้งไว้"

> 2) อีกประการคำว่า"ขอก็คือได้" ได้โชคได้ลาภ ได้ทรัพย์สินเงินทอง ตะขอขออะไรก็ได้หมดเป็นคำมงคล

>> หากนำมาไว้ที่บ้าน ยังเป็นของคุมอาถรรพ์อีกด้วย เชื่อว่า.. มีอานุภาพบังคับควบคุมทุกสิ่งให้เป็นไปในทางดี เพราะอำนาจเหล็กคชกุศหรือตะขอช้าง สะกดอาคมไว้มิให้แสดงฤทธิ์ได้นั่นเอง (หากได้ขอช้างจากคนเลี้ยงช้างและเคยใช้ควบคุมช้างมาแล้วจะดีมากๆ)

>> อีกทั้งคำว่า"ตะขอ" ตามความเชื่อ คือ.. ขอโชค ขอลาภ ค้าขายเก็บเกี่ยวเงินทอง เรียกลูกค้า มีอำนาจเป็นใหญ่ ผู้คนนับถือเกรงกลัว มีบารมีดุจดังช้าง ลูกน้องเชื่อฟัง หัวหน้าเชื่อฟัง หากโดนผู้ใดกดขี่ข่มเหง บูชาตะขอช้างนี้จะทำให้ศัตรูกลับตาลปัตรมาเกรงกลัวและเคารพเรา
~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~~^~~~~
** เปิดให้บูชา **
>> คชกุศ, ตะขอช้าง ด้ามไม้กลึงเก่ายาว 20 นิ้ว ลักษณะเป็น"ตะขอปากนก" ยาว 6 นิ้ว เจ้าของเก่า ได้มาจากอดีตควาญช้าง "บ้านขุนไชยทอง" จ.สุรินทร์ ผ่านการใช้งาน สภาพเก็บเก่าผิวหิ้งเดิมๆ สวยสมบูรณ์











** รับประกันตะขอช้างเก่าแท้ตลอดชีพ **
>> รายการนี้เวปGและทุกๆเวปทุกๆสถาบัน ไม่น่าสามารถออกบัตรรับรองได้ เพราะเป็นของใช้เก่าของควาญช้าง ไม่ใข้ของพระเกจิอาจารย์
** รับประกันตามกฎของเวปทุกประการ **
ราคาเปิดประมูล 1,000 บาท
ราคาปัจจุบัน -- ยังไม่มีผู้เสนอราคา --
เพิ่มขึ้นครั้งละ 50 บาท
วันเปิดประมูล ส. - 12 ก.ค. 2568 - 09:55:28 น.
วันปิดประมูล อ. - 22 ก.ค. 2568 - 09:55:28 น. (เหลือเวลา 2 วัน 10 ชั่วโมง 25 นาที)
ผู้ตั้งประมูล pattamaphong (2.1K)(2)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 ส. - 12 ก.ค. 2568 - 09:55:56 น.



เพิ่มรูป


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 ส. - 12 ก.ค. 2568 - 09:57:49 น.



เพิ่มรูป


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 ส. - 12 ก.ค. 2568 - 10:06:10 น.



"พระพิฆเนศปางคชกุศ"
>> เป็นปางที่หาได้ยากยิ่ง เป็นปางแห่งบารมี อำนาจวาสนา ความสำเร็จ ขจัดอุปสรรค

>> สามารถค้ำคูณดวงชะตา และข่มสรรพอาถรรพ์ คุณไสย และสิ่งไม่ดีต่างๆได้อย่างชงัด นอกจากนั้นยังดีเด่นด้านโภคทรัพย์

>> >> พระกรข้างขวาของพระพิฆเนศ ถือ คชกุศ หรือ อังกุศ หรือ อังกุศะ (สก. องฺกุศ; มค. องฺกุส) คือ "ขอสับช้าง" ซึ่งถือเป็น ๑ ใน ๘ สิ่งมงคลของพราหมณ์ เป็นหนึ่งในอาวุธสำคัญของพระพิฆเณศวรเจ้า

>> สังเกตได้จากรูปปั้นหรือภาพวาดโบราณ ที่พระพิฆเณศวรจะทรงถือ"ตะขอช้าง"เอาไว้ในมือ อันเป็นเครื่องหมายถึง.. การขจัดเสียซึ่งอุปสรรค ขจัดภัย และเป็นบารมีมหาอำนาจเป็นมหามงคลอีกด้วย


 
ราคาปัจจุบัน :     1,000 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ท่านต้อง login เข้าสู่ระบบก่อน จึงจะสามารถร่วมประมูลได้ !!!


 
(0)
  ประวัติการเสนอราคา
 
-- ยังไม่มีผู้เสนอราคา --


Copyright ©G-PRA.COM
www1