(0)
พระนางท่ามะปราง กรุวัดท่ามะปรางพิษณุโลก มีหน้าตา






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระนางท่ามะปราง กรุวัดท่ามะปรางพิษณุโลก มีหน้าตา
รายละเอียดพระท่ามะปรางกรุวัดท่ามะปราง มีหน้ามีตา ประกวดต้องติดรางวัลยินดีออกบัตรครับ ถ้าเคยซื้อพระกับหน้าหวานรู้อยู่แล้วครับ ราคาไม่แพงอยู่ในมือเซียนต้องมี 3-4 หมื่น สภาพนี้สวยได้จากผู้ใหญ่ที่พิษณุโลกคับคนพื้นทีแบ่งขายมาราคาหน้าวัดใจ หน้าหวานขอการันตรีพระครับ 0818301585
ราคาเปิดประมูล5,000 บาท
ราคาปัจจุบัน15,300 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 29 ส.ค. 2552 - 15:27:36 น.
วันปิดประมูล - 01 ก.ย. 2552 - 08:15:42 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลหน้าหวาน (3.1K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 29 ส.ค. 2552 - 20:08:34 น.

พระสกุลนางท่ามะปราง พุทธคุณเยี่ยมยอดทางด้านคงกระพันชาตรี

พระเครื่องสกุลนางท่ามะปราง เป็นพระที่พบกันมากมายหลายจังหวัด เช่น พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย เพชรบูรณ์ กำแพงเพชร อุตรดิตถ์ ชัยนาท สุพรรณบุรี และพระนครศรีอยุธยา ฯลฯ วงการพระเครื่องยกย่องว่านางท่ามะปรางจากกรุวัดท่ามะปราง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก นับเป็นเอกที่ลือชื่อด้วยเหตุผลที่ว่า "เพราะมีพุทธคุณเยี่ยมยอดทางด้านคงกระพันชาตรี" อีกทั้งยังเป็นพระต้นสกุลพระท่ามะปราง

ชาวไทยรู้จักชื่อพระท่ามะปรางกรุนี้มานานนับร้อยปีแล้ว นับตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๑๗ เป็นต้นมา ต่อมาพระพิมพ์นี้ไม่ว่าจะพบจากกรุใดหรือจังหวัดใดก็ตามล้วนแล้วแต่เรียกนาม นำหน้าว่า "พระท่ามะปราง" ทั้งสิ้น ดังเช่น พระท่ามะปราง กรุมะละกอ จ.พิจิตร, พระท่ามะปราง กรุวัดสำปะชิว จ.สุพรรณบุรี เป็นต้น

ในอดีตวัดท่ามะปรางขาดการบูรณะปฏิสังขรณ์จึงกลายสภาพเป็นป่ารก ไม่น่า เป็นที่อยู่อาศัยของพระภิกษุ สามเณร พระอุโบสถ ศาลากลางเปรียญและพระปรางค์ ก็ชำรุดทรุดโทรมเป็นอย่างมาก บริเวณสนามทั่วไปก็กลายเป็นที่ฝั่งศพ

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ปีจอ พ.ศ. ๒๔๑๗ อันเป็นปีที่ ๗ ในรัชกาลสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พวกฮ่อเตรียมทัพใหญ่ที่มุทุ่งเชียงคำจะยกลงมาทางเมืองเวียงจันทน์ มุ่งตีเมืองหนองคาย กะว่าจะยกทัพไปทางเมืองหัวพันทั้งห้าทั้งหก ไปเมืองหลวงพระบางอีกทัพหนึ่ง ข่าวฮ่อเตรียมยกทัพใหญ่มาครั้งนี้ กรมการเมืองหนองคาย รับทราบจึงรีบรายงานเข้ามายังกรุงเทพฯ ถึงพร้อมใบบอกของเจ้านครหลวงพระบาง

ขณะนั้นพระยามหาอำมาตย์ (ชื่น กัลยามิตร) เป็นข้าหลวงขึ้นไปมณฑลอุดร มณฑลร้อยเอ็ด และมณฑลอุบล เป็นกองทัพ และให้พระยานครราชสีมา (เมฆ) เกณฑ์กำลังเป็นกองทัพหนึ่งให้พระยามหาอำมาตย์ เป็นแม่ทัพยกไปป้องกันเมืองหนองคาย และโปรดให้เกณฑ์กำลังมณฑลพิษณุโลกเข้ากองทัพ ให้พระยาพิชัย (ดิษฐ) คุมขึ้นไปช่วยป้องกันเมืองหลวงพระบางอีกทัพหนึ่ง

ฝ่ายกรุงเทพฯ โปรดเกณฑ์กำลังเข้ากองทัพให้เจ้าพระยาภูธราภัย สมุหนายกเป็นแม่ทัพยกไปปราบฮ่อทางเมืองหลวงพระบางอีกทัพหนึ่ง โปรดให้พระยามหินทรศักดิ์ธำรงค์ เป็นแม่ทัพยกไปปราบฮ่อทางเมืองหนองคายอีกทัพหนึ่ง

เมื่อกองทัพพระยามหาอำมาตย์ ยกขึ้นไปถึงเมืองหนองคายฮ่อ ก็ลงมาถึงฝั่งแม่โขง ฟากโน้นตั้งค่ายอยู่ที่วัดจันทน์ในเมืองเวียงจันทน์แห่งหนึ่งที่บ้านสีฐาน แห่งหนึ่ง ที่บ้านโพนทานาแห่งหนึ่งแล้วข้ามฟากมาตีเมืองปากเทือง แตกเมืองหนึ่ง

พระยามหาอำมาตย์ กับ พระยานครราชสีมา (เมฆ) พระพรหมภักดี (การ สิงหเสณี) ยกกระบัตรเมืองนครราชสีมา ยกทัพขึ้นไปรบพุ่งกับพวกฮ่อสู้อยู่วันหนึ่งก็แตกหนีไปหมดจับเป็นได้ก็มาก กล่าวกันว่าการรบในครั้งนั้นนอกจากพวกฮ่อแล้วยังมีทหารเงี้ยวปะปนอยู่ในกอง ทัพเป็นจำนวนมาก พวกเงี้ยวสู้รบกับทหารไทยไม่ไหวเพราะยิงทหารไทยเท่าไรลูกปืนก็หาลั่นออกไป ไม่ เงี้ยวจึงทิ้งปืนวิ่งหนีและยอมจำนนต่อกองทัพไทยในที่สุด

สาเหตุครั้งนี้เพราะพวกทหารไทยที่เกณฑ์กำลังมาจากมณฑลพิษณุโลก มีพระท่ามะปราง จ.พิษณุโลก ห้อยคอบูชาแทบทุกคน สันนิษฐานว่าชาวเมืองพิษณุโลกได้พระท่ามะปราง จากกรุเจดีย์ที่แตกพังทลายลงไปในน้ำ ริมฝั่งแม่น้ำน่าน ใน พ.ศ. ๒๔๑๗ ด้วยเหตุนี้ชาวไทยจึงนิยมพระท่ามะปราง กรุวัดมะปราง จนได้รับสมญานามเกริกก้องว่า "พระเงี้ยวทิ้งปืน" สืบแต่นั้นมา

พุทธลักษณะ พระท่ามะปราง กรุวัดท่ามะปรางเป็นพระเครื่องสกุลช่างสุโขทัย ถ้าหากเปรียบเทียบกับพระท่ามะปราง กรุสุโขทัย แล้วจะคล้ายคลึงกันมาก เพียงแต่ว่าพระท่ามะปรางของสุโขทัยจะมีขนาดเล็กกว่าและชะลูดกว่า องค์พระปฏิมาล่ำสันกว่าและขนาดใหญ่กว่า

นอกจากนั้นยังมีผู้ตั้งข้อสังเกตว่าพระท่ามะปราง กรุท่ามะปรางนั้น องค์พระปฏิมาคล้ายคลึงกับพระพุทธชินราช อันศักดิ์สิทธิ์ในพระวิหารวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จ.พิษณุโลก อีกด้วย ทั้งนี้ก็เนื่องจากได้ถ่ายทอดมาจากองค์พระพุทธชินราช กรุวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ซึ่งพระมหาธรรมราชาที่ ๑ ลิไท เป็นผู้สร้าง
การจำแนกตามเนื้อของพระท่ามะปราง กรุวัดท่ามะปรางพิษณุโลกมีอยู่ด้วยกัน ๒ เนื้อ คือ

๑.เนื้อดินเผา ส่วนมากเป็นเนื้อดินมีความละเอียดนุ่ม เท่าที่ได้พบมานั้นมีสีแดง สีเหลือง และสีน้ำตาลไหม้ ส่วนพระที่มีเนื้อค่อนข้างหยาบนั้นจะมีลักษณะคล้ายอิฐที่ค่อนข้างหยาบก็พอ ได้บ้าง พระทุกองค์จะปรากฏว่านดอกมะขามประปราย ด้านหลังมักอูมน้อยๆ และมีรอยนิ้วมือ

อนึ่งพระเนื้อดินเผาองค์พระปฏิมามักจะปรากฏลำตัวดูล่ำสัน หน้าอกนูนกว่าพระกรุอื่นๆ มีข้อสังเกตอยู่อย่างหนึ่งของพระท่ามะปราง กรุวัดท่ามะปราง จะสังเกตเห็นว่าอกจะนูนใหญ่ ลำตัวบิดเล็กน้อยส่วนพระท่ามะปรางกรุอื่นๆ หน้าอกจะมักจะแฟบกว่าเสมอ

๒.เนื้อชินเงิน ส่วนใหญ่ที่นิยมกันมาก คือ เนื้อชินเงิน พระท่ามะปราง กรุวัดท่ามะปราง เนื้อชินเงินนี้นิยมเรียกกันว่า "เงี้ยวทิ้งปืน" มีเนื้อเงินยวงเป็นประกายสุกใส บริเวณพื้นเรียบมีสนิมตีนกา วรรณสีดำ ปรากฏอยู่ตามซอกทั่วไป ส่วนองค์ที่ผ่านการใช้มาแล้วจะเห็นเป็นเกล็ดกระดี่โดยทั่วไป

ขนาดขององค์พระพิมพ์ใหญ่มีส่วนสูงประมาณ ๓.๗ ซม. บานกว้าง ๒.๑ ซม. หนาประมาณครึ่งเซนติเมตรส่วนด้านหลังเป็นลายผ้า หรือที่เรียกว่า "หลังมุ้ง" ตรงกลางมักเว้าเข้าด้านในและขอบทั้งสองด้านมักเว้าเป็นรอยขยักสองลอนเสมอ

พระท่ามะปราง เนื้อชินเงิน ของกรุนี้ มักจะลึกเป็นส่วนใหญ่อาจจะเกิดจากการใช้งานเป็นเวลานานนั่นเอง พระท่ามะปราง กรุวัดท่ามะปรางนี้ ดีเด่นทางด้านคงกระพันชาตรี คนทนต่อบรรดาศาสตราวุธทั้งปวง โดยเฉพาะอย่างยิ่งมหาอุดทางปืนผาหน้าไม้ ชาวพิษณุโลกนิยมบูชาพระท่ามะปราง กรุวัดท่ามะปราง รองลงมาจากพระนางพญาแห่งวัดนางพญา จ.พิษณุโลก ใครไม่มีนางพญา แต่มีนางท่ามะปราง กรุวัดท่ามะปรางก็ใช้แทนกันได้ เพราะมีอานุภาพดีเด่นเช่นดุจเดียวกัน คาถาที่ใช้กับพระท่ามะปราง กรุวัดท่ามะปราง จ.พิษุณโลก ที่มักจะนิยมกันในอดีตที่ผ่านมานั้นมีดังนี้

เริ่มต้นด้วย ตั้งนะโม ๓ หน และตามด้วย "นะโมพทธายะ อะสังวิสุโร ปุสะพุพะ สุสิสุสัง อะระหังสุขะโต อะระหังพุทธะสังมิ" ให้ภาวนา ๓ จบ

อย่างไรตาม มีความเชื่อสืบต่อกันว่าด้วยอานุภาพแห่งพระคาถาให้เกิดโชคลาภ วาสนาบารมีตบะ เดชะอำนาจ รุ่งเรือง ยิ่งใหญ่ และป้องกันศัตรูมิให้มาเบียดเบียน ยิ่งภาวนาให้มากการเงินจะไม่ขาดและลาภผลยิ่งเกิดทุกวัน...


 
ราคาปัจจุบัน :     15,300 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    piyatg (4.3K)

 

Copyright ©G-PRA.COM