(0)
@@@(วันนี้ใจดีแบ่งให้จากใจ)@@@ พระกรุ วัดเขาพนมเพลิง (เนื้อดิน) แห่งเมือง ศรีสัชนาลัย สุโขทัย @@@@@@พระกรุประวัติศาสตร์อันยาวนาน @@@@@@






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่อง@@@(วันนี้ใจดีแบ่งให้จากใจ)@@@ พระกรุ วัดเขาพนมเพลิง (เนื้อดิน) แห่งเมือง ศรีสัชนาลัย สุโขทัย @@@@@@พระกรุประวัติศาสตร์อันยาวนาน @@@@@@
รายละเอียดวัดเขาพนมเพลิง วัดเขาสุวรรณคิรีในตัวเมืองศรีสัชนาลัย มีภูเขา คือ เขาพนมเพลิงครับ มีวัดอยู่บนยอดเขาสองวัด สำหรับวัด เขาพนมเพลิงนี้มีเจดีย์ มองเห็นตระหง่าน อยู่บนยอดเขา ด้านหลังมีซุ้มพระ ชาวบ้านเรียกกันว่าศาลเจ้าแม่ละ อองสำลี เป็นที่เคารพของชาวเมืองทั่วไป ส่วนวัดเขาสุวรรณคิรี มีเจดีย์ทรงลังกาเป็นหลักของวัด หน้าพระ เจดีย์มีซากพระวิหาร ๗ ห้อง และทางด้านหลังเจดีย์องค์ใหญ่ มีเจดีย์ทรงลังกาอีกองค์หนึ่ง
ประมาณปี พ.ศ.2507 มือขุดล่า สมบัติที่บรรจุกรุตามพระเจดีย์ได้ลักลอบขุดเจาะผนังเจดีย์พบพระพุทธรุปและพระเครื่องมากมายหลายพิมพ์ทรง พระพุทธรูปบูชานั้น โดยมากเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นเป็นศิลปะอู่ทองผสมเกือบทั้งสิ้นทำให้เข้าใจว่าเป็นพระพุทธรูปที่สร้างขึ้นในยุคหลังมากกว่า ส่วนพระเครื่องที่พบมากมายหลายพิมพ์นั้น อาทิ พระพิมพ์อู่ทอง พระศาสดา พระชินสีห์ พระชินราช พระพิมพ์ขุนแผนเนื้อชิน พระร่วงหลังลิ่ม พระพิมพ์ข้างเม็ดบัวสองชั้น พระลายกาบหมาก พระร่วงทิ้งดิ่ง พระพิมพ์เปิดโลก พระพิมพ์สุโขทัยบัวสองชั้น พระเชตุพนบัวสองชั้น พระพิมพ์พิจิตรบ้านกล้วย พระซุ้มกอ พระพิมพ์พิจิตรข้าวเม่า พระพิมพ์พิจิตรข้างเม็ด พระสังกัจจายน์ ฯลฯ นอกจากนี้ ยังพบพระแผงพิมพ์ต่างๆอีก อย่างไรก็ตามพระเครื่องที่พบในครั้งนี้โดยมากเป็นพระเครื่องที่สร้างด้วยเนื้อชินเป็นส่วนใหญ่ ส่วนพระเครื่องเนื้อดินพบเห็นน้อยมาก
กล่าวสำหรับเขาพนมเพลิงนั้นเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ สำหรับประกอบพิธีบูชาไฟดังปรากฏข้อความในพงศาวดารเหนือ กล่าวถึงฤาษีสัชนาลัยสั่งสอนบาธรรมราชว่า "สูเจ้าจงเอาพนมเพลิงเข้าไว้ในเมือง เป็นที่สร้างพรตบูชากูณฑ์ผู้เฒ่าจะสั่งสอน จงทำตามคำ" ซึ่งหมายถึงใช้เขาพนมเพลิงเป็นแหล่งประกอบพิธีบำเพ็ญพรต แล้วจุดอัคคีบูชาเทวะเป็นเจ้า วัดเขาพนมเพลิง เป็นวัดที่ ตั้งอยู่กลางเมืองศรีสัชนาลัย ซึ่งชัยภูมิของการสร้างเมืองนั้นเป็นการสร้าง้มืองโอบล้อมภูเขาไว้กลางเมือง ขณะเดียวกันก็สร้าง เมืองให้ภูเขาล้อมรอบไว้ อันเป็นการสร้างเมืองโดยเลือกเอาชัยภูมิอันเหมาะสมยิ่ง กล่าวสำหรับความเป็นมาของเมืองศรีสัชนาลัย จากหนังสือมรดกโลก จัดพิมพ์เนื่องในโอกาส ๘๑ ปี แห่งการสถาปนากรมศิลปากร วันที่ ๒๗ มีนาคม พ.ศ.2535 กล่าวว่า เดิมเรียกว่า เมืองเชลียง จากการ ค้นพบหลักฐานทางโบราณคดีสันนิษฐานว่าได้มีกลุ่มชุมชนตั้งถิ่นฐานบริเวณที่เรียกว่า เมืองเชลียงมาแล้วตั้งแต่ประมาณต้นพุทธ ศตวรรษที่ ๑๕ เป็นเวลากว่า ๑,000 ปีล่วงมาแล้ว ตัวเมืองเชลียงเดิมตั้งอยู่ทางตอนใต้ของบริเวณที่ ตั้งเมืองศรีสัชนาลัยปัจจุบันซึ่งอยู่บนที่ราบริมฝั่งแม่น้ำยมฝั่งตะวันตกในเขตอำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย และได้ย้ายจากเมือง เชลียงเดิมมาตั้งอยู่ที่เมืองศรีสัชนาลัย ในราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ เมืองศรีสัชนาลัยมีความสำคัญควบคู่กับเมือง สุโขทัยมาโดยตลอด ในปลายพุทธศตวรรษที่ 20 กรุงศรีอยุธยามีกำลังเข้มแข็งขึ้นและได้แผ่ขยายอำนาจขึ้นมาทางเหนือ และยึดครองกรุงสุโขทัยไว้ได้ สถานะของเมืองศรีสัชนาลัยในขณะนั้นเป็นเพียงเมืองกันชนระหว่างกรุงศรีอยุธยากับล้านนา และจากสถานะที่อยู่ใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยาเพื่อต้านศึกจากล้านนาหลายครั้ง ด้วยเหตุนี้เมืองสรีสัชนาลัยจึงเป็นที่รู้จักของชาว ล้านนา โดยชาวเมืองเหนือได้เรียกเมืองศรีสัชนาลัยอีกชื่อหนึ่งว่าเมืองเชียงชื่น ขณะที่ทางกรุงศรีอยุธยาเองกลับเรียกเมือง ศรีสัชนาลัยว่าเป็นสวรรคโลกจากการอยู่ใต้อำนาจของกรุงศรีอยุธยาและผลของสงครามหลายครั้งทำให้สถานะของเมืองศรีสัชนาลัย เป็นเพียงเมืองชั้นโท และได้ถูกทิ้งร้างในเวลาต่อมา
เมืองศรีสัชนาลัยได้ปรากฏชื่ออีกครั้งในสมัยสมเด็จ พระเจ้ากรุงธนบุรี หลังจากได้กอบกู้กรุงศรีอยุธยากลับคืนจากพม่าแล้ว ในคราวเสด็จไปปราบศึกพระเจ้าฝาง พระองค์ ได้เสด็จไปสักการะพระศรีรัตนมหาธาตุเมืองสวรรคโลกต่อมาในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ราวปีพุทธศักราช ๒๓๒๘ สมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก โปรดให้ย้ายสถานที่ตั้งเมืองศรีสัชนาลัยไปตั้งอยู่ที่ตำบลวังไม้ขอน เขตอำเภอสวรรคโลก ปัจจุบัน และได้เรียกสถานที่แห่งนั้นว่า เมืองสวรรคโลกมาจนกระทั่งปัจจุบันนี้ เชลียง เชียงชื่น สวรรคโลก ศรีสัชนาลัย จึงเป็นชื่อที่ใช้เรียกเมืองๆเดียวกัน คือเมืองศรีสัชนาลัยดังที่ได้กล่าวมาแล้ว"
ในหนังสือ เที่ยวเมืองพระร่วง พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว(ฉบับพิมพ์ครั้งที่ ๒๑ พ.ศ.๒๕๒๖ องค์การค้าคุรุสภา) ทรงกล่าวถึงเมืองสวรรคโลกและเขาพนมเพลิงอย่างน่าสนใจว่า
"ภายในกำแพงเมืองสวรรคโลก ก็มี สถานที่ซึ่งควรดูอยู่หลายแห่งแต่ถ้าจะเปรียบกับที่ในเมืองสุโขทัยแล้วก็สู้กันไม่ได้เลยถึงกระนั้นก็พอจะดูได้สนุกบ้าง ที่ซึ่งข้าพเจ้า ได้ดูก่อนแห่งอื่นคือ เขาพนมเพลิง ซึ่งหนังสือพงศาวดารเหนือกล่าวว่า"สูเจ้าจงเอาพนมเพลิงเข้าไว้ในเมือง เป็นที่สร้างพรตบูชากูณฑ์"เขาพนมเพลิงนี้อยู่ภายในเมืองจริง อยู่ติดกับกำแพงด้านตะวันตกเฉียงเหนือ เพราะฉนั้นมี ความยินดีที่จะกล่าวได่ว่า ครั้งนี้พงศาวดารเหนือไม่เหลวแต่เขานั้นเป็นสองลูกแฝด เรียกชื่อว่า สุวรรณคีรียอดหนึ่ง


ส่วนใหญ่ คนจะนิยมพระเนื้อชิน ส่วนพระเนื้อดินจะมีน้อย แต่พุทธศิลป์ก็สวยไม่แพ้กัน พุทธคุณก็ไม่ต่างกันเลย

ลูกเมืองสองแคว รีบมาเก็บไว้เลยนะครับ (ครั้งนี้ครังเดียวเท่านั้นเพราะไม่รู้จะไปหาที่ไหนได้อีกแล้ว)
หายากมาก พระประวัติศาสตร์อันยาวนาน

ที่สำคัญกว่านั้น ท่านเองสามารถ กำหนดราคาบูชาได้ด้วยตัวของท่านเอง ( แดงแรกที่ 19 บาท)


แล้วแต่ความโชคดีของผู้ที่เข้ามาเห็นในการประมูลครั้งนี้
(โก๊ะ ศิษย์หลวงพ่อดี วัดพระรูป รับประกัน แท้ตลอดกาล คืนได้ตลอดชีวิต 0858043718)
ราคาเปิดประมูล9 บาท
ราคาปัจจุบัน489 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูล - 16 พ.ย. 2552 - 12:34:20 น.
วันปิดประมูล - 17 พ.ย. 2552 - 12:36:55 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลkoooo (460)(2)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 16 พ.ย. 2552 - 12:39:38 น.
.


พุทธศิลป์ งดงามเพียงใด (ผมภ่ายภาพผ่ากรอบพลาสติดขุ่นๆนะครับ) ส่องเนื้อแล้วสวยมาก


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 16 พ.ย. 2552 - 12:40:41 น.
.


พุทธศิลป์ งดงามเพียงใด (ผมภ่ายภาพผ่ากรอบพลาสติดขุ่นๆนะครับ) ส่องเนื้อแล้วสวยมาก ศิลป์แบบนี้ พระพิมพ์แบบนี้ ไม่ต้องไปหาที่ไหน สมัยนี้ไม่มีใครสร้างกันแล้ว


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 16 พ.ย. 2552 - 12:43:40 น.
.


ศิลป์ ที่คนรุ่นก่อน บรรจง สรรค์สร้าง ให้คนรุ่นหลังได้ศึกษาและสะสม


 
ราคาปัจจุบัน :     489 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     10 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    chowat (222)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1