(0)
เหรียญเทวบดี บรมครู ๙ เศียร หลวงพ่ออิฐ วัดจุฬามณี อัลปาก้า พ.ศ. ๒๕๔๒ เคาะเดียว






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องเหรียญเทวบดี บรมครู ๙ เศียร หลวงพ่ออิฐ วัดจุฬามณี อัลปาก้า พ.ศ. ๒๕๔๒ เคาะเดียว
รายละเอียดพระครูโสภิตวิริยากรณ์ "หลวงพ่ออิฎฐ์" วัดจุฬามณี จ.สมุทรสงคราม ท่านเป็นศิษย์เอก หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี พระเกจิอาจารย์นามกระเดื่องในอดีต แห่งลุ่มน้ำแม่กลอง นอกจากนี้หลวงพ่ออิฏฐ์ก็ยังได้เคยศึกษาร่ำเรียนเพิ่มเติมจากพระเกจิชื่อดัง ผู้แก่กล้าพระเวทย์วิทยาคมอีกหลายองค์อาทิ หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ และหลวงพ่อเริ่ม วัดจุกกระเชอ เป็นต้น

ด้วยเหตุนี้จึงทำให้หลวงพ่ออิฎฐ์มีความรอบรู้เชี่ยวชาญทั้งในด้านพุทธเวท ไสยเวทวิทยาคม เป็นที่ยอมรับนับถือของสาธุชนทั่วไป ดังนั้น ไม่ว่าจะมีพิธีพุทธาภิเษกครั้งสำคัญ ณ ที่ใดก็มักจะปรากฏนามหลวงพ่ออิฏฐ์ได้ร่วมในพิธีนั่งปรกปลุกเสกด้วยเสมอ และจากการที่หลวงพ่ออิฏฐ์รอบรู้เชี่ยวชาญในด้านคาถาอาคมอักขระเลขยันต์ ท่านจึงได้รับเกียรติประวัติให้เป็นผู้ลงจารยันต์ตระกรุดมหาจักรพรรตราธิราช ในแผ่นทองคำ ในพิธีจักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก ณ อุโบสถวัดพระศรีมหาธาตุวรวิหาร จ.พิษณุโลก เมื่อวันที่ 2- 3 พ.ค.2542 เพื่อถวายแด่องค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ในปี พ.ศ.2542 หลวงพ่ออิฏฐ์ ได้จัดสร้างพระกริ่ง เวฬุวัน , เหรียญมหาเทวบรมครู และเหรียญหล่อแม่นางกวัก ขึ้น ซึ่งก็ปรากฏว่าเป็นวัตถุมงคลที่มีความนิยมเป็นที่เสาะแสวงหากันอย่างกว้าง ขวาง สำหรับในปี 2543 หลวงพ่ออิฎฐ์ได้ดำเนินการออกแบบจัดสร้าง เหรียญเทวบดี ขึ้นโดยมอบหมายให้กองกษาปณ์ กรมธนารักษ์เป็นผู้ผลิต นับเป็นเหรียญที่ผ่านการออกแบบอย่างชาญฉลาดมีความสวยงามความหมายลึกซึ้ง และเป็นมหามงคลอย่างยิ่ง คือ

ด้านหน้าเหรียญเทวบดี ได้นำพระยันต์พระลักษณ์หน้าทอง ประทับไว้กึ่งกลางเหรียญ และล้อมรอบด้วย เศียรของมหาเทพผู้ยิ่งใหญ่ 9 พระองค์ ซึ่งแต่ละพระองค์มีรายละเอียดและความสำคัญดังนี้.-
- พระอิศวรเทพเจ้าผู้สร้างโลก กายสีขาว มงกุฎน้ำเต้า ทรงตรีศูลเป็นเจ้าฟ้า พระอุมาภควดี เป็นพระมเหสี
- พระพรหมธาตา เทพเจ้าแห่งพรหมวิหาร กายสีขาว 4 พักตร์ 8 กร มงกุฎน้ำเต้า 5 ยอด ทรงซ้อน ลูกประคำ คนโท คัมภีร์พระเวทย์ มีธนู
- พระนารายณ์ เทพเจ้าผู้รักษาความดี กายสีดอกตะแบก มงกุฎเดินบน มงกุฎชัยห้ายอด ทรงตรี คฑาทอง จักร และสังข์
- พระวิษณุ เทพเจ้าแห่งครูช่างทุกชนิด กายสีเขียว มงกุฎน้ำเต้าทรงลูกดิ่ง และฉาก
- พระคเณศ เทพเจ้าแห่งศิลปะ และวรรณคดี กายสีสัมฤทธิ์ พระเศียรเป็นช้าง สี่กร มงกุฎน้ำเต้ามะเฟือง ทรงวชิระ มีงาข้างเดียว กะโหลกใส่น้ำมนต์ มีเชือกบ่วงบาศก์
- พระปัญจสีขร เทพเจ้าแห่งวิชาการดนตรี กายสีขาว หนึ่งหน้า สี่มือมงกุฎน้ำเต้าสี่ยอด
- พระประโคนธรรพ เทพคนธรรพ์ กายสีหงเสน หรือสีแดงเสน 1 หน้า 2 มือ มงกุฎน้ำเต้า มีวงทักษิณาวรรต ทั้งตัว
- พระพิราพ อสูรเทพบุตร หัวโล้น (พิราพป่า) มีกายเป็นวงทักษิณาวรรต หรือกายม่วงแก่ หนึ่งพักตร์ สองกร สวมกระบังหน้าปากแสยะ ตาจระเข้ อาวุธหอกอยู่เชิงเขาอัคกรรณ มีสวนสำหรับเที่ยวเล่น ปลูกพวาทอง
- พระฤาษี (พระพรตมุณี) พฤฒาจารย์แห่งสรรพวิทยา

ด้านหลังเหรียญเทวบดี ประทับไว้ด้วยพระยันต์มหาจักพรรตราธิราชซึ่งนับเป็นพระยันต์ศักดิ์สิทธิ์ และมีพุทธานุภาพสุดประมาณมีความเป็นมาและรายละเอียดดังนี้

พระยันต์มหาจักพรรตราธิราชนี้ต้นตำหรับเดิมประดิษฐานอยู่ ณ วัดประดู่โรงธรรม กรุงเก่าสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ตามตำรากล่าวไว้ว่า พระพรหมมุนี อยู่วัดปากน้ำประสบได้ลงเป็นตะกรุดคำถวายสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเจ้ามาแล้ว จนกระทั่งพระองค์ได้ครองเมืองลพบุรี สมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นพระราชโอรสสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เมื่อทรงได้เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ได้พระตำรานี้มาจากมหาเถรเทียรราชวัดงู มาจากพระพิชัยวัดท่างูเห่ากับได้มาจากพระอาจารย์คงโหร และได้มาจากท่านอาจารย์ผู้วิเศษสืบๆ มาหาที่อุปมามิได้ต่อมาภายหลังในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้เคยได้มีการประกอบ พิธีลงยันต์ตะกรุดนี้ถวายสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 6 ซึ่งทรงให้มีกาลประกอบพิธีสร้างตะกรุดมหาจักรพรรตราธิราช
อนึ่ง ในวันที่ 2 - 3 พ.ค. 2542 หลวงพ่ออิฏฐ์ ได้ลงยันต์ตะกรุดมหาจักรพรรตราธิราชในแผ่นทองคำ ในพิธีจักรพรรดิมหาพุทธาภิเษก ณ อุโบสถ วัดศรีมหาธาตุวรวิหาร เพื่อถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจากนั้นก็ได้เลิกลงแผ่นยันต์มหาจักรพร รตราธิราช และจัดสร้างเหรียญนี้ขึ้นโดยมีพระยันต์มหาจักรพรรตาธิราชอยู่ด้านหลังเหรียญ “ เทวบดี ” แทน

พิธีประจุพุทธาคมเดี่ยวจากหลวงพ่ออิฎฐ์ ตลอดไตรมาส และยังนำเหรียญเทวบดีทั้งหมดเข้าร่วมในพิธีมหาพุทธาภิเษก พระพุทธชินราชจำลอง รุ่น ญส.ส. ณ พระวิหารหลวง วัดพระศรีมหาธาตุวรวิหาร จ.พิษณุโลก ในวันพฤหัสบดีที่ 23 พฤศจิกายน 2543 อีกครั้งหนึ่ง นับเป็นเหรียญที่ควรค่าแก่การบูชาสักการะ เพื่อความเป็นสิริมงคลอย่างที่สุด เพราะนอกจากจะมีความสวยงามในด้านการพิมพ์ ซึ่งในตัวเหรียญล้วนแล้วแต่เป็นมหาเทพผู้ทรงอิทธิฤทธิ์บุญฤทธิ์ ส่วนในด้านการประจุพุทธาคมก็กระทำกันอย่างเพียบพร้อมสมบูรณ์
ราคาเปิดประมูล1,000 บาท
ราคาปัจจุบัน1,050 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 05 มี.ค. 2554 - 11:56:11 น.
วันปิดประมูล - 06 มี.ค. 2554 - 22:20:43 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลsompawasee (511)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     1,050 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    pakbankaew (8.7K)

 

Copyright ©G-PRA.COM