(0)
พระปิดตาหลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง ปากเกร็ด นนทบุรี พิมพ์สะดือจุ่น








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระปิดตาหลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง ปากเกร็ด นนทบุรี พิมพ์สะดือจุ่น
รายละเอียดพระปิดตาหลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง ปากเกร็ด นนทบุรี พิมพ์สะดือจุ่น
หลวงพ่อทองสุข อินทสาโร (พระครูนนทกิจโสภณ) ชื่อเดิมของท่านก็คือ “ทองสุข” ถือกำเนิดในสกุล บุญมี โยมบิดาชื่อ นายคง โยมมารดาชื่อ นางแพ เกิดเมื่อวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ.2446 ณ ตำบลหนองขนาน อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี มีพี่น้องร่วมสายเลือด 5 คน ได้แก่ นางพลอย บุญมี เป็นพี่สาวคนโต, นายสาย บุญมี, และนางเพียง บุญมี หลวงพ่อทองสุขเป็นคนที่ 5 เข้าเรียนหนังสือหนังหาเมื่อครั้งโตพอจำความได้ที่วัดข้างบ้าน คือ วัดเพรียง โดยอยู่ในความอุปถัมภ์ของอาจารย์จ้อย อดีตเจ้าอาวาสวัดเพรียงพออายุได้แค่ 13 ปี ก็เดินทางไปเรียนหนังสือที่วัดหนองหว้า จนกระทั่งอายุได้ 18 ปี ก็กลับมาช่วยครอบครัวทำมาหากินได้ช่วงระยะเวลาหนึ่งก็ถูกหมายเกณฑ์ไปรับ ราชการทหารประจำทหารราบ ณ จังหวัดเพชรบุรีจนครบ 2 ปี 1 เดือน มียศเป็น “สิบตรี” เมื่อปลดประจำการแล้วก็ไปตั้งหลักอยู่ที่บ้านได้พักใหญ่ แล้วจึงลงสมัครเป็นตำรวจ ได้ยศเท่ากับตอนออกจากราชการทหาร คือ สิบตรี เป็นตำรวจชั้นผู้น้อย เจ้านายก็ย้ายไปอยู่ภาคใต้หลายจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นพัทลุง, ชุมพร, สงขลา นราธิวาส เคยไปอยู่ราชการมาแล้วทั้งนั้น กลับบ้านเกิดอีกครั้ง คิดดูก็แล้วกัน ทางราชการให้ท่านได้แค่สิบเอก
เหมือนข้าราชการตำรวจชั้นผู้น้อยอื่นๆ นั่นแหละ เป็นตำรวจไม่ได้ดี ก็ต้องเลือกออกไปเข้าวัดเข้าวาและบวช ที่วัดนาพรหม จังหวัดเพชรบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2470 ตอนนั้นอายุยังแค่ 24 ปี อุปสมบทแล้วจึงไปจำพรรษา ณ วัดหนองหว้า ได้ 1 พรรษา ท่านก็ออกปฏิบัติธุดงควัตรจนพบกับอาจารย์เพ็ง คนอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ได้คบกันเป็น “สหายธรรม” หรือ “สหธรรมิก” ชักชวนกันไปจำพรรษาอยู่ที่นนทบุรี ณ วัดท่าเกวียน ตำบลคลองข่อย อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ระหว่างนั้น ได้ยินกิตติศัพท์หลวงปู่กลิ่น จนทรงสี แห่งวัดสะพานสูง ได้ไปมาหาสู่ท่านบ่อยๆ ในที่สุดจึงฝากตัวเป็นลูกศิษย์คอยปรนิบัติรับใช้ท่านและ หลวงปู่กลิ่น ท่านก็เมตตา ถ่ายทอดวิชาอาคมตลอดจนการปฏิบัติธรรม ระหว่างจำพรรษาอยู่ วัดสะพานสูง หลวงพ่อทองสุข เข้าสอบสนามหลวงผ่านเปรียญธรรมถึงขั้น นักธรรมเอก ทำให้ หลวงปู่กลิ่น รู้สึกพอใจความอุตสาหะของท่านมาก ดังเป็นที่ทราบกันดีว่า หลังจาก หลวงปู่กลิ่น จนทรงสี ละสังขาร “หลวงพ่อทองสุข อินทสาโร ได้รับการแต่งตั้งให้รักษาการเป็นเจ้าอาวาสวัดสะพานสูง ก่อนในช่วงระยะเวลาประมาณปีกว่า ดังกล่าวแล้ว ท่านก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส วัดสะพานสูง และ พระครูนนทกิจโสภณ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2501 นอกจากนั้นยังได้เป็นเจ้าคณะตำบล และพระอุปัชฌาย์ ในบั้นปลายชีวิตบรรพชิต หลวงพ่อทองสุข อินทสาโร อาพาธอยู่หลายวัน แล้วจึงถึงแต่กาลมรณภาพ เมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ.2525 เวลา 08.00 นง ณ โรงพยาบาลในกรุงเทพมหานคร สิริอายุรวม 79 ปี 19 วัน 55 พรรษา
เมื่อเอ่ยถึงวัดสะพานสูง นักนิยมพระเครื่องรุ่นเก่าและรุ่นใหม่ ต้องนึกถึง “พระปิดตา” ควบคู่กันไป เพราะว่าวัดสะพานสูง ปากเกร็ด นนทบุรี เป็นที่รู้จักกันดีว่า “พระปิดตาวัดสะพานสูงนั้นเป็นหนึ่งในยุทธจักรของพระ ปิดตา” นักนิยมพระเครื่องทั้งเก่าและใหม่ ถ้าไม่รู้จักพระปิดตาวัดสะพานสูงแล้วละก็ถือว่าเชยแหลก ถึงไม่เคยเห็นก็ต้องได้ยิน

พระปิดตาวัดสะพานสูงนั้น อยู่ในระดับเดียวกับพระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดหนัง และวัดทอง ค่าบูชาหรือเป็นแสนแทบทุกองค์
หลวงปู่เอี่ยม อดีตเจ้าอาวาสวัดสะพานสูง ซึ่งเป็นเจ้าตำรับสร้างพระปิดตาจนโด่งดัง เป็นที่ชื่นชอบ และเป็นที่ต้องการของผู้นิยมพระเครื่องทั้งหลาย
หลังจากที่หลวงปู่เอี่ยม มรณภาพไปแล้ว หลวงปู่กลิ่น ได้รับการสืบทอดและตำรับการสร้างพระปิดตามาจากหลวงปู่เอี่ยม ท่านได้สร้างพระปิดตาออกในลักษณะเดียวกันกับของหลวงปู่เอี่ยม
อาจารย์ของท่าน และผู้ที่เป็นลูกมือคนสำคัญของหลวงปู่กลิ่นก็คือ “หลวงพ่อทองสุข” ซึ่งคลุกคลีเอาใจใส่ปรนนิบัติอยู่อย่างใกล้ชิด วิชาการตำรับตำราได้รับการถ่ายทอดวิชาจากหลวงปู่กลิ่นจนหมดสิ้น
โดยเฉพาะวิชาการสร้างพระปิดตาของวัดสะพานสูง หลวงปู่กลิ่นได้ถ่ายทอดให้หลวงพ่อทองสุข จนหมดสิ้น ถือได้ว่า หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง ได้รับการถ่ายทอดเป็นองค์สุดท้ายของวัดสะพานสูง
หลังจากหลวงปู่กลิ่นมรณภาพลงแล้ว หลวงพ่อทองสุขก็ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าอาวาส วัดสะพานสูง สืบต่อแทน
เมื่อเป็นเจ้าอาวาสแล้ว หลวงพ่อทองสุขได้จัดสร้างพระปิดตา ตามตำราของหลวงปู่เอี่ยม ซึ่งได้รับถ่ายทอดมาจากหลวงปู่กลิ่น โดยตลอดซึ่งทำให้พระปิดตาของหลวงปู่ มีพุทธคุณสูงส่ง ทั้งทางด้าน เมตตามหานิยม และ ด้าน มหาอุตม์ เช่นเดียวกับพระปิดตาของหลวงปู่เอี่ยมและหลวงปู่กลิ่น
หลวงพ่อทองสุข ท่านได้แจกเหรียญและพระปิดตาที่ท่านสร้างให้กับบรรดาลูกศิษย์ของท่าน เมื่อนำไปบูชาแล้วเกิดอภินิหารมากมาย โดยเฉพาะทางด้านเมตตามหานิยมและทางด้านการค้าการขายดีเยี่ยมจริงๆ
หลังจากที่หลวงพ่อทองสุขได้มรณภาพลงไปแล้ว พระปิดตาของท่านก็แทบจะหมดหายไปด้วย เพราะบรรดาลูกศิษย์ของท่านต่างก็ทราบกันดีว่า ต่อไปจะหาพระปิดตาของวัดสะพานสูงที่มีการสร้างถูกต้องตามตำราทุกประการได้ ยาก
เพราะผู้ที่จะสืบทอดเรียนรู้จากหลวงพ่อทองสุขไม่มีอีกแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้โอกาสที่จะได้พระปิดตาของหลวงพ่อทองสุข แห่งวัดสะพานสูงไว้บูชาไม่ใช่จะง่ายเสียแล้ว แถมมีเนื้อของพระอยู่ครบทุกสูตร เหมือนประหนึ่งนำเอาทั้ง 2 เกจิอาจารย์มารวมกัน คือ หลวงปู่เอี่ยม และ หลวงปู่กลิ่น ออกมาเป็นปิดตาหลวงพ่อทองสุข ใครได้บูชาพระปิดตาหลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง อยู่เป็นประจำแล้ว ท่านและครอบครับจะมีแต่ความสุข แคล้วคลาด ปลอดภัย มีเงินมีทองมากมายเข้ามา บูชาขึ้นคอได้เลยครับ สภาพนี้ หายากครับ มีอีกหลายรายการคลิ้กรูปค้อนได้เลยไม่ผิดหวังครับ
ราคาเปิดประมูล25 บาท
ราคาปัจจุบัน1,025 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ25 บาท
วันเปิดประมูล - 25 พ.ค. 2554 - 16:36:57 น.
วันปิดประมูล - 26 พ.ค. 2554 - 18:00:48 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลipong (5.3K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     1,025 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     25 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    som_o (366)(1)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1