(0)
พระกริ่งพุทธโชติ หลวงปู่ดี วัดเทวสังฆาราม(เหนือ) กาญจนบุรี ป ี 2484 ทลุสี่(นิยม) เนื้อทองผสมกลับแดง สภาพสวยเดิมๆครับ






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระกริ่งพุทธโชติ หลวงปู่ดี วัดเทวสังฆาราม(เหนือ) กาญจนบุรี ป ี 2484 ทลุสี่(นิยม) เนื้อทองผสมกลับแดง สภาพสวยเดิมๆครับ
รายละเอียดพระกริ่งพุทธโชติ หลวงปู่ดี วัดเทวสังฆาราม(เหนือ) กาญจนบุรี ปี 2484 ทลุสี่(นิยม) เนื้อทองผสมกลับแดง สภาพผิวหิ้งเดิมๆ แท้ดูง่าย มันมากๆครับผิวแบบนี้ โดยมากจะดำแต่องค์นี้กลับแดงสุดคลาสสิกครับ พุทธคุณเด่นด้าน เมตตมหานิยม โชคลาภ แคล้วคลาดปลอดภัย คงกระพันชาตรี เป็นเยี่ยม ประสบการณ์มากมาย จนเป็นพระกริ่งที่ได้รับความนิยมที่สุดในสายจังหวัดกาญจนบุรีครับ............. พระกริ่งรุ่นนี้ของท่าน เป็นพระกริ่งศิลปะแบบกริ่งเขมร ฐานบัวฟันปลา พระหัตถ์ซ้ายอุ้มบาตร พระหัตถ์ขวาถือดอกบัว ใต้ฐานก้นถ้วยมีเลขหนึ่งไทยและกากบาท อุดกริ่งแบบฝาเชื่อม และรุ่นนี้มีอีกเนื้อ คือ ทองแดง(สัมฤทธิ์)แต่อุดกริ่งแบบเจาะสะโพก และยังมี เนื้อดินเผา(ละเอียด) มีปีกหลังอูม ด้านหลังมียันต์สองแบบ เลขหนึ่งไทย และอุณาโลม กดจมลงในเนื้อพระ พุทธคุณเด่นทางด้าน แคล้วคลาดคงกระพันชาตรี เมตตามหานิยม โชคลาภ วัตถุมงคลของท่านรุ่นนี้เป็นรุ่นแรกของท่าน ในช่วงปี พ.ศ.2484 ไทยได้เกิดกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสและกลิ่นไอแห่งสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มประทุ ครั้งนั้น พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา ศิษย์ใกล้ชิดและเลื่อมใสศรัทธาในองค์ท่านมาก ได้ขออนุญาตสร้างวัตถุมงคลขึ้นเพื่อแจกจ่ายให้กับทหารที่ไปราชการสงคราม รวมถึงประชาชนทั่วไป เพื่อไว้ปรกปักรักษาคุ้มครอง ให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากสงครามในครั้งนั้น และผู้ได้รับแจกในตอนนั้น แคล้วคลาดปลอดภัยกลับมาทุกคนไม่มีใครได้รับอันตรายใดๆเลย ตั้งแต่บัดนั้นมาพระกริ่งรุ่นนี้จึงได้รับความนิยมตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาถึงปัจจุบัน นอกจากพระกริ่งแล้วรุ่นนี้ยังมีพระพิมพ์อื่นๆอีกหลายพิมพ์ อาทิเช่น 1.พระพุทธชินราช(ครึ่งซีก)หลังยันต์นะ เนื้อทองแดง(สัมฤทธิ์) 2.พระพุทธชินราช(ครึ่งซีก)หลังเรียบ เนื้อทองประสม 3.พระขุนแผน เนื้อดินเผา พิมพ์ใหญ่ หลังยันต์เฑาะ พิมพ์กลาง หลังยันต์เฑาะเช่นกัน และพิมพ์เล็กหลังเรียบ ไม่มียันต์มี 2 เนื้อ เนื้อแดง และเนื้อดำผสมใบลาน 4.พระคงเนื้อดินเผา หลังยันต์อุณาโลม และเนื้อคลุกรักหลังเรียบ 5.พระลืออุดกริ่ง เนื้อดินเผา 6.พระสมเด็จเนื้อดินเผา 7.พระท่ากระดานหล่อโบราณ หลังยันต์นะเนื้อชิน(ได้นำพระที่แตกกรุออกมาที่แตกหักและเสียหายมาหล่อและผสม) 8.พระท่ากระดาน(นิ้วชิด)พิมพ์เล็ก เป็นพระปั้ม เนื้อทองแดงด้านหลังตอกโค้ด ดี ด้านหลัง เป็นต้น หลวงปู่ดี พุทธโชติ ท่านเป็นศิษย์องค์แรกของ หลวงปู่ยิ้ม วัดหนองบัว หลวงพ่อม่วง วัดบ้านทวน และหลวงปู่สุด วัดเหนือ และท่านเป็นพระอาจารย์ของ พระญาณสังวร สงเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก(พระสังฆราชองค์ปัจจุบัน)หลวงปู่ดี ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมากทางด้านเมตตามหาเสน่ห์ จนได้คำขวัญว่า เจ้าชู้ต้องวัดเหนือ จะเป็นเสือต้องวัดใต้ วัดใต้ที่ว่านี้คือ หลวงปู่เปลี่ยน วัดไชยชุมพลชนะสงคราม(ใต้)นั่นเอง.........พระเทพมงคลรังษี ( ดี พุทธโชติเถระ) วัดเทวสังฆาราม ( วัดเหนือ ) จ. กาญจนบุรี ได้รับ สมณศักดิ์ ดังนี้ พ.ศ. 2458 พระครูอดุลยสมณกิจ พ.ศ. 2490 พระวิสุทธิรังษี พ.ศ. 2500 พระมงคลรังษีวิสุทธิ์ (ชั้นราช) พ.ศ. 2506 พระเทพมงคลรังษี ท่านมีนามเดิม ว่า ดี เอกฉันท์ เกิดเมื่อ วัน พฤหัสบดีที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2416 ตรงกับวันขึ้น 12 ค่ำ เดือน 3 ปีระกา ที่ บ้านทุ่งสมอ อำเภอ พนมทวน จังหวัด กาญจนบุรี โยม บิดา-มารดา ชื่อ นาย เทศ และนางจันทร์ เอกฉันท์ ท่านมีพี่ อีก 9 คน และทุกคนได้ถึงแก่กรรมไปก่อนแล้ว โดยท่านเป็นคนสุดท้าย เมื่ออายุได้ 18 ปี ก็ได้บวชเณรที่วัด ทุ่งสมอ โดยมีสมภาร รอด วัดทุ่งสมอ ซึ่งมีศักดิ์เป็นปู่ของท่าน เป็นผู้บวชให้ บวชได้ 6 เดือนก็สึกออกมาช่วยบิดามารดาทำนา เมื่อ อายุครบบวช ก็ได้บวชเป็นพระที่วัดทุ่งสมอนั่นเอง โดยมี พระครู วิสุทธิรังษี ( หลวงพ่อ ช้าง วัดบ้านทวน ) อ. พนมทวน เป็นพระอุปัชฌายะ โดยมี พระอาจารย์ รอด วัดทุ่งสมอ สมภารวัดทุ่งสมอ และพระใบฏีกา เปลี่ยน วัดใต้ ( ต่อมาได้รับสมณศักดิ์ เป็น พระวิสุทธิรังษี เจ้าคณะ จ. กาญจนบุรี ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ได้รับฉายา “ พุทธโชติ ” และได้จำพรรษาอยู่ที่วัด ทุ่งสมอนั้นเอง ในพรรษาแรกท่านพยายามท่องบทสวดมนต์ได้บางบท และพยายามท่องปาติโมกข์ให้จบ แต่เนื่องจากบทปาฏิโมกข์ ในเวลานั้นมีแต่หนังสือขอม สมัยนั้นหาผู้ที่สามารถท่องปาฏิโมกข์ให้จบครบสมบูรณ์ได้ยาก ท่านจึงใช้วิธีไปขอต่อหนังสือเอาจากพระผู้สามารถท่องปาฏิโมกข์ได้วันละเล็กละน้อย จนในที่สุดท่านก็ท่องปาฏิโมกข์ได้ครึ่งหนึ่ง เมื่อออกพรรษาท่านก็ได้ไปเรียนทางวิปัสสนา กับท่าน อาจารย์ อิน วัดห้วยสะพาน ซึ่งวัดอยู่ไม่ไกลกันนัก รวม 15 วัน ครั้นในพรรษาที่ 2 ท่านก็สามารถท่องปาฏิโมกข์ได้จบบริบูรณ์ เมื่อออกพรรษาได้ธุดงค์ไปนมัสการ พระพุทธบาท สระบุรีกับพระอีก 3 รูป ระหว่างทางได้แวะนมัสการหลวงพ่อโต วัดเกษไชโย ที่อ่างทอง จากนั้นจึงไปถึงพระพุทธบาท พักอยู่สามคืนจึงเดินทางกลับ ในพรรษาที่ 3 ได้ไปเรียน วิปัสสนากับท่าน พระอาจารย์ เกิด วัด กกตาล นครชัยศรี อีก 7 วัน หลังจากนั้นจึงกลับมาอยู่วัด ทุ่งสมอตามเดิม ต้นพรรษาที่ 4 พระใบฏีกา เปลี่ยน ( เจ้าอาวาส วัดไชยชุมพลชนะสงคราม ) ชวนท่านมาเรียนบาลีที่วัด ท่านก็มาอยู่ที่วัดใต้ แต่ไม่ได้เรียนบาลี แต่มาท่องบทสวดมนต์แทน จากนั้นจึงไปอยู่กรุงเทพ ที่วัดรังษี ปัจจุบันรวมเข้าไว้ในวัดบวรนิเวศ ซึ่งขณะนั้นท่านเจ้าคุณธรรมกิจเป็นเจ้าอาวาส โดยได้ศึกษาภาษาบาลีกับท่านอาจารย์ลี แต่ศึกษาไปได้เพียงผูกเดียว อาจารย์ผู้สอนก็ลาสิกขาไปเสีย ท่านก็เลยกลับมาอยู่วัดทุ่งสมอตามเดิม ในระหว่างที่อยู่ที่วัดทุ่งสมอนั้น มีพระอาคันตุกะรูปหนึ่ง ชื่อพระอาจารย์ชื่น มาจากวัดในอำเภอ สองพี่น้อง สุพรรณบุรี มาพักอยู่ และได้แนะนำในเรื่องการศึกษา และการปฏิบัติ ให้กับท่าน ซึ่งท่านสนใจอยากจะเรียนปาฏิโมกข์แปลมาก เมื่ออาจารย์ชื่นกลับ ท่านจึงขอติดตามไปด้วย และได้ไปอยู่ที่วัดโบสถ์ เมืองนนทบุรี ที่วัดนี้ท่านได้แสดงความสามารถในเรื่องสวดมนต์ และท่องปาฏิโมกข์จนได้รับคำชมเชยเป็นอันมาก เมื่อออกพรรษา เพื่อนพระด้วยกันชวนเข้ากรุงเทพ มาอยู่ที่วัดสังเวชได้ 3 เดือน ก็ได้ข่าวจากทางบ้านว่าพี่ชายตาย จึงเดินทางกลับไปปลงศพพี่ชาย และพักอยู่ที่วัดทุ่งสมอตามเดิม ในพรรษาที่ 9 มีบวชพระที่วัด โดยมีหลวงพ่อ ยิ้ม วัดหนองบัว เป็นพระอุปัชฌายะ และมีท่านอาจารย์ ทา วัดทุ่งสมอ เป็นคู่สวด บังเอิญวันนั้นท่านอาจารย์ทา ป่วย ไม่สามารถสวดนาคได้ หลวงพ่อยิ้ม จึงให้ท่านสวดแทน เรื่องสวดนาคนี้ท่านเคยปฏิเสธหลวงพ่อยิ้ม ตอนมีบวชพระที่วัดหนองบัวมาครั้งหนึ่งแล้ว แต่ในครั้งนี้ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ เมื่อท่านสวดนาคไปได้ชุดหนึ่ง ก็เป็นที่ถูกใจของพระอุปัชฌายะ โดยได้ชมขึ้นในท่ามกลางสงฆ์ และนับแต่นั้นมา ท่านก็เป็นคู่สวดนาคตลอดมา ในพรรษาที่ 12 ท่านได้มาอยู่ที่วัดรังษีอีก ตั้งใจมาเรียนบาลีแต่ไม่ได้เรียน จึงหันไปเรียนปาฏิโมกข์แปลแทน เมื่อออกพรรษาจึงได้ติดตามพระครูสิงคิบุราคณาจารย์ ( หลวงพ่อสุด ) เจ้าอธิการวัดเทวสังฆาราม ซึ่งรู้จักกันมาก่อน ครั้งญาติโยมนิมนต์ให้ไปสวดที่วัดใต้ ในครั้งนั้นหลวงปู่ดีได้สวดมนต์ผิด แถมเสียงสวดมนต์ของท่านยังดังกว่าพระองค์อื่น การสวดมนต์บทนั้น ก็เลยล่มลงกลางคัน จากครั้งแรกนั้นก็มาพบกันอีกคราวตอนพระครูสิงคิฯ ท่านไปสวดกรรมบวช นายเจียม ที่วัดทุ่งสมอ ในคืนวันจะบวช ท่านเข้าไปนอนในห้องเดียวกับหลวงปู่ดี แล้วท่านมาถามหลวงปู่ดีว่า ทราบไหมว่าเขานิมนต์ใครมาเป็นคู่สวด หลวงปู่ดีตอบว่า ไม่ทราบ ท่านก็เลยบอกกับหลวงปู่ดีว่าญาติโยมเขานิมนต์ให้ฉันมาสวด แต่ท่านไม่สบาย ไม่สามารถสวดได้ ขอให้หลวงปู่ดีช่วยสวดแทน หลวงปู่ดีก็ปฏิเสธ บอกขึ้นว่า ไม่ได้ดอกครับ ผมเป็นลูกบ้านนี้ โยมที่นิมนต์มา เขาเป็นคนมีฐานะเป็นสมุหบัญชี เขาคงจะไม่ยอมแน่ๆ แม้พระครูสิงคิฯ จะบอกว่าท่านจะไปพูดกับญาติโยมให้ หลวงปู่ดีก็ไม่ยอม เมื่อถึงเวลาสวด พระครูสิงคิฯ ท่านก็สวดได้ถึงซ้อมอันตรายิกธรรม จึงขอให้หลวงปู่ดีช่วยสวดต่อ โดยท่านบอกว่า ถ้าให้ท่านสวดต่อจนจบท่านก็ตาย เวลานั้นหลวงปู่ดีอยู่มา 9 พรรษาแล้ว ส่วนพระครูสิงคิฯ ท่านบวชมา 20 พรรษาแล้ว นั่นเป็นครั้งแรกๆที่พระครูสิงคิฯ ได้พบกับหลวงปู่ดี โดยที่หลวงปู่ดีได้เข้าไปช่วยสวดในเวลาที่ท่านไม่สบายมาก การพบกันในคราวหลังนี้ เพราะพระครูสิงคิฯ จะมาทำหนังสือเดินทาง เพื่อไปนมัสการพระเจดีย์ชเวดากอง เมืองร่างกุ้ง ประเทศพม่า เมื่อพ.ศ. 2447 เมื่อหลวงปู่ดีรู้เข้า ท่านจึงอยากไปด้วย จึงได้ไปขออนุญาติพระครูสิงคิฯ ขอเดินทางไปด้วย โดยรับปากว่า สิ่งของ และค่าใช้จ่ายที่จำเป็น หลวงปู่ดีจะจัดหาเตรียมมาเอง ซึ่งพระครูสิงคิฯก็อนุญาติ การไปนมัสการพระเจดีย์ชเวดากองในครั้งนี้ เป็นบุญของพระครูสิงคิฯที่อนุญาติให้หลวงปู่ดีเดินทางไปด้วย เพราะต่อมา ในการเดินทางไปนมัสการพระเจดีย์ชเวดากองในครั้งกระนี้ พระครูสิงคิฯ ซึ่งอาพาธกะเสาะกระแสะทั้งระหว่างทางไป และกลับ ระยะเวลารวม 1 เดือน ก็ได้อาศัยหลวงปู่ดีนี่แหละแสดงน้ำใจ เฝ้าปรนนิบัติ ดูแล ยิ่งกว่าพระ และศิษย์คนใดที่ท่านหวังพึ่ง ในระหว่างทาง แล้วเอาไปร่างกุ้งด้วย เมื่อถึงเมืองไทยแล้ว ครั้งแรกหลวงปู่ดีตั้งใจจะไม่ไปส่งพระครูสิงคิฯ ถึงวัดเทวสังฆาราม โดยจะไปอยู่วัดในกรุงเทพเลย แต่พระครูสิงคิฯ ก็อ้อนวอนขอให้หลวงปู่ดี มาส่งท่านถึงวัดด้วย เมื่อกลับมาถึงวัด ชาวบ้าน กรรมการ และศิษย์ของทางวัดเองก็ดีใจ มาเยี่ยมกันมากมาย เพราะก่อนหน้านี้ได้รับข่าวร้ายทำนองว่าพระครูสิงคิฯ มรณภาพลงเสียแล้วที่กลางทาง แม้แต่ในภายหลัง พระครูสิงคิฯ เองก็ยังปรารภกับหลวงปู่ดีว่า ถ้าไม่ได้หลวงปู่ดีไปร่างกุ้งด้วยกันในครั้งนี้ ท่านก็คงมรณภาพเสียที่กลางทางเป็นแน่ เมื่อเสร็จกิจทั้งปวง หลวงปู่ดีก็มาอยู่กรุงเทพ จากนั้นพระครูสิงคิฯก็มีจดหมายมาถามทุกข์สุขอยู่เสมอ ทุกเดือนมิได้ขาด บางทีท่านลงมากรุงเทพ ก็มาแวะพัก พูดคุยกันเป็นครั้งคราว ในตอนหลังๆ อีก 2 ปีถัดมา พระครูสิงคิฯ ก็อาพาธมากไปไหนมาไหนไม่ได้ จากนั้นท่านก็มีจดหมายมาบอกกับหลวงปู่ดีว่า ท่านไปไหนไม่ได้แล้ว ถ้ามีเวลาว่างขอให้ไปเยี่ยมท่านบ้าง ในไม่ช้าหลวงปู่ดีก็หาโอกาสขึ้นไปเยี่ยมท่านที่วัดเหนือ ท่านก็ให้ศิษย์วัดคนโน้นคนนี้มานิมนต์ให้หลวงปู่ดีอยู่ที่วัดเทวสังฆารามเสีย ในตอนแรกหลวงปู่ดีก็ยังไม่รับปาก แต่ก็ยังช่วยพระครูสิงคิฯ ในกิจการต่างๆ เช่นสวดปาฏิโมกข์ และเทศน์แทนท่าน และมีคราวหนึ่งพระครูสิงคิฯ ก็ได้ให้ทายกหลายคน มาหาหลวงปู่ดี ขอร้องให้ท่านเป็นสมภาร แต่ท่านก็ได้ปฏิเสธไปอย่างเด็ดขาดว่าเป็นไม่ได้เพราะสมภารองค์เดิมท่านยังมีชีวิตอยู่ ในปีนั้น นั่นเองพระครูสิงคิฯ ก็มรณภาพลง กรรมการ และศิษย์วัดและชาวบ้านทั้งหลายจึงมานิมนต์ขอให้ท่านเป็นสมภารอีก คราวนี้ท่านไม่สามารถปฏิเสธได้จึงจำต้องรับเป็นสมภารอย่างเต็มตัว ในปีชวด 2455 หลวงปู่ดี ซึ่งตอนนั้นเป็นสมภารใหม่ๆพร้อมด้วยพระ หรุง ( ต่อมาได้เป็นเจ้าอธิการ วัด ทุ่งสมอ ) พระฮวบ พระหัง ( ต่อมาได้เป็นเจ้าอาวาสองค์ต่อมา ) พระไพ่ กับคณะสงฆ์วัดเทวสังฆารามทั้งหมด ได้พร้อมใจกัน เปลี่ยนการห่มผ้าจากแบบเดิมเป็นห่มแหวก และได้ปฏิบัติพระธรรมวินัยโดยเคร่งครัด ตามพระหรุงที่ได้ห่มแหวกมาก่อนหน้านั้นแล้วหลายปี ในสำนักของพระอาจารย์เภา วัดถ้ำตะโก จังหวัด ลพบุรี ซึ่งในครั้งนี้ พระหรุงได้มาในงานศพ พระครูสิงคิฯ และหลวงปู่ดีได้ชักชวนให้อยู่ด้วยกัน แต่พระหรุง ได้ตั้งข้อแม้ว่า ขอให้เปลี่ยนการห่มผ้าเป็นห่มแหวก และปฏิบัติตามพระธรรมวินัยก่อน ซึ่งหลวงปู่ดีก็เห็นชอบด้วย จึงได้หารือต่อคณะสงฆ์ และหมู่สงฆ์ก็เห็นชอบด้วยโดยพร้อมเพรียงกัน จากนั้นเป็นต้นมา หลวงปู่ดี จึงเป็นประธาน เปลี่ยนการห่มผ้า เป็นห่มแหวกด้วยความพร้อมเพรียงแห่งคณะสงฆ์ และปฏิบัติตามบุพพสิกขาวรรณนา และวินัยมุขตลอดมาจนทุกวันนี้ ในปี พ.ศ. 2458 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระวชิรญาณวโรรสเสด็จมาทรงตรวจการคณะสงฆ์ จังหวัด กาญจนบุรี เมื่อทรงเห็นพฤติการณ์ของพระวัดเทวสังฆารามโดยตลอดแล้ว จึงได้ทรงยกย่องเป็นตัวอย่างของวัดทั้งหลายที่จะเปลี่ยนเป็นห่มแหวก และได้ตรัสถามหลวงปู่ดีถึงจำนวนปีที่ได้เปลี่ยนการห่มผ้าเป็นห่มแหวก และเรื่องผ้ากฐิน และเรื่องแสดงอาบัติเป็นต้น ซึ่งหลวงปู่ดีก็ได้กราบทูลตอบตามที่ได้ปฏิบัติมา เมื่อสมเด็จพระมหาสมณเจ้าได้ฟัง ก็ตรัสว่า ถูกต้อง ในภายหลังเมื่อเสด็จไปวัดอื่นจังหวัดอื่น ก็ได้ทรงแนะนำให้ไปดูตัวอย่างวัดเทวสังฆาราม ต่อจากนั้นก็มีพระจากวัดอื่นมาดูตัวอย่างการปฏิบัติตนของพระวัดเทวสังฆารามอีกหลายต่อหลายครั้ง พระของวัดเทวสังฆาราม มีการปฏิบัติเรียบร้อย ทั้งสม่ำเสมอเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน การปฏิบัติ ตลอดจนขนบธรรมเนียม และระเบียบพิธีการที่ดีอยู่แล้ว ก็ใช้ต่อๆมา ที่บกพร่องก็แก้ไขให้ดียิ่งๆขึ้น ที่ยังไม่มีก็เพิ่มเติมเป็นลำดับ จะเห็นได้ว่าตั้งแต่สมัยก่อนหน้านี้ มาถึงสมัยหลวงปู่ดี ไม่มีสมัยใดๆที่ วัดเทวสังฆารามได้รับการพัฒนาในด้านต่างๆจนเจริญรุ่งเรืองเท่านี้มาก่อน เมื่อเราๆได้รับทราบประวัติของพระเทพมงคลรังษี ( หลวงปู่ดี ) จะเห็นได้ว่า หลวงปู่ดี ไม่ใช่พระวัดเทวสังฆาราม มาก่อน การที่พระครูสิงคิฯ ( หลวงพ่อสุด ) เจ้าอาวาสองค์ก่อนหน้านั้น เลือกหลวงปู่ดี มาเป็นเจ้าอาวาสองค์ต่อไปก็คงจะเป็นคราวที่ พระครูสิงคิฯ เดินทางไปนมัสการพระเจดีย์ชเวดากอง พม่า แล้วหลวงปู่ดีซึ่งก่อนหน้านั้นเคยพบกับท่านไม่กี่ครั้ง ได้ขออนุญาติติดตามไปนมัสการพระเจดีย์ชเวดากองด้วย ในระหว่างทางทั้งไปและกลับ ร่วมเดือนกว่าๆนั้น พระครูสิงคิฯ ไม่สบาย ก็ได้หลวงปู่ดีคอยดูแลปฏิบัติรับใช้ ยิ่งกว่าพระและโยมที่พระครูสิงคิฯ พาไปด้วยเสียอีก ในตอนก่อนจะกลับจากพม่ามาเมืองไทย หลวงปู่ดีไม่อยากกลับไทย อยากจะอยู่ที่พม่าต่ออีกระยะหนึ่ง จึงมาขออนุญาติ พระครูสิงคิฯ ขออยู่ที่พม่าต่อ ซึ่งพระครูสิงคิฯก็ไม่อนุญาติ ขอให้เดินทางกลับมาส่งท่านที่เมืองไทยด้วยกันก่อน ก็แสดงว่าก่อนกลับจากพม่าท่านต้องเล็งหลวงปู่ดีไว้แล้วว่าจะให้หลวงปู่ดีรับภาระเป็นสมภารแทนท่าน ถ้าหากให้หลวงปู่ดีอยู่ที่พม่าต่อ ก็ไม่รู้ว่าเมื่อใดจะได้พบกันอีก และอาจจะไม่ทันการณ์ เพราะท่านรู้ตัวดีว่าอาจอยู่ได้อีกไม่นาน อีกทั้งจะเห็นได้ว่า เมื่อกลับมาถึงเมืองไทยแล้วยังอ้อนวอนขอให้หลวงปู่ดีไปส่งท่านถึง วัดเทวสังฆาราม ( วัดเหนือ ) ที่เมืองกาญจน์อีกด้วย จุดประสงค์ก็คือพระครูสิงคิฯ คงต้องการพาหลวงปู่ดี ไปให้ทายกทายิกาดูตัว จึงปรากฏในภายหลังว่าเมื่อหลวงปู่ดี ไปส่งพระครูสิงคิฯ ที่วัดเทวสังฆารามแล้ว สักพักกลับไปอยู่วัดรังษี ที่กรุงเทพ ท่านก็ยังไปเยี่ยมหลวงปู่ดี เป็นระยะ จนท่านล้มป่วยไปไหนไม่ไหว จึงมีจดหมายมาถึงหลวงปู่ดี ขอให้ไปเยี่ยมท่านบ้าง เมื่อหลวงปู่ดีไปเยี่ยมท่านที่วัดเหนือ ประกอบกับ พระกลึงซึ่งเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงของวัดเทวสังฆาราม และสวดปาฏิโมกข์ได้ได้มรณภาพ พระครูสิงคิฯจึงให้ศิษย์ยานุศิษย์ มาขอร้องอ้อนวอนให้หลวงปู่ดี เป็นสมภาร ครั้งนั้นหลวงปู่ดีก็ปฏิเสธ แต่รับจะอยู่ที่วัดช่วยงานพระครูสิงคิฯ ในการสวดมนต์ เทศ สวดปาฏิโมกข์ ไปก่อน ดังนั้น เมื่อพระครูสิงคิฯ มรณภาพลงในปีนั้น หลวงปู่ดีจึงไม่มีทางปฏิเสธอีก สิริรวมอายุพรรษาได้ 95 ปี และได้รับการแต่งตั้งดังนี้ พ.ศ. 2454 เป็น เจ้าอาวาส วัดเทวสังฆาราม พ.ศ. 2466 ได้รับการแต่งตั้ง เป็นพระอุปัชฌายะ พ.ศ. 2461 เป็น เจ้าคณะแขวงอำเภอ ท่ามะกา พ.ศ. 2469 เป็น รองเจ้าคณะจังหวัด กาญจนบุรี พ.ศ. 2490 เป็น เจ้าคณะจังหวัด กาญจนบุรี เรื่องราวโดยย่อของ พระเทพมงคลรังษี ( หลวงปู่ดี ) แห่งวัด เทวสังฆาราม ( วัดเหนือ ) เกจิอาจารย์ องค์หนึ่งที่มีชื่อมาก ของ จังหวัด กาญจนบุรีที่ได้นำเสนอมานี้ ก็ได้ข้อมูล มาจาก หนังสือ ที่พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ พระมงคลรังษี ( ดี พุทธโชติเถร ) ณ เมรุ วัดเทวสังฆาราม 7 เมษายน 2511 ลำดับเจ้าอาวาส จากอดีต – ปัจจุบัน 1. ท่านสมภาร เสี่ยง ผู้สร้างวัด พ.ศ. 2348 – 2368 2. ท่านอธิการ จู พ.ศ. 2368 – 2375 3. ท่านอธิการ อินทร์ พ.ศ. 2375 – 2380 4. ท่านอธิการ แดง พ.ศ. 2380 – 2387 5. ท่านอธิการ อ่อน พ.ศ. 2387 – 2411 6. ท่านอธิการ กลิ่น พ.ศ. 2411 – 2420 7. ท่านอธิการ เอี่ยม พ.ศ. 2420 – 2424 8. พระครูสิงคิบุรคณาจารย์ ( สุด ) พ.ศ. 2424 – 2458 9. พระเทพมงคลรังษี ( ดี พุทธโชติเถร ) พ.ศ. 2458 – 2510 10. พระอุดมญาณเถร ( หัง ธมสรโร ) พ.ศ. 2510 – 2525 11. พระครูสิงคิคุณธาดา ( กิมซ้า ญาณสํวโร ) พ.ศ. 2525 – 2526 12. พระราชมงคลโมลี ( สนั่น ปญญาธโร ) พ.ศ. 2526 – 2550 13. พระครูอนุกูลกาญจนกิจ ( บุญเพิ่ม อานนโท ) พ.ศ. 2550 – ปัจจุบัน ครับ..........................รับประกันแท้ตลอดชีพ เก้คืนเต็มตลอด 24 ชั่วโมงครับ
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน24,000 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 24 มิ.ย. 2554 - 14:46:11 น.
วันปิดประมูล - 28 มิ.ย. 2554 - 04:44:51 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลelectricalpower (3.2K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 24 มิ.ย. 2554 - 14:47:36 น.



องค์นี้เป็นพิมพ์นิยม ทั้งซอกแขน และ ซอกหู ทลุสี่รู แบบนี้หายากครับ...................


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 24 มิ.ย. 2554 - 14:48:21 น.



สภาพผิวกลับแดง ผิวหิ้งแบบเดิมๆ แท้ดูง่ายมากๆครับ.................


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 24 มิ.ย. 2554 - 14:49:20 น.



เพิ่มภาพมุมด้านข้างให้ชมความมันและดูง่ายจริงครับองค์นี้.......................


ข้อมูลเพิ่มเติม 4 - 24 มิ.ย. 2554 - 14:50:22 น.



ภาพใต้ฐานองค์พระ หล่อยันต์แบบชัดๆครับ...............


ข้อมูลเพิ่มเติม 5 - 24 มิ.ย. 2554 - 17:40:58 น.



ดูรายการพระเพิ่มเติมโดยการ * คลิก * ที่ด้านบน หลังชื่อผู้ตั้งประมูลครับ......................


 
ราคาปัจจุบัน :     24,000 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    คนไม่สำคัญ (1.4K)(2)

 

Copyright ©G-PRA.COM