(0)
พระ กรุวัดชนะสงคราม พิมพ์เปลวเพลิงเล็ก สภาพเดิมๆครับ








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องพระ กรุวัดชนะสงคราม พิมพ์เปลวเพลิงเล็ก สภาพเดิมๆครับ
รายละเอียดการขุดพบพระเนื้อดินดิบ กรุวัดชนะสงคราม
เหตุที่พบพระกรุนี้ ท่านเจ้าคุณพระวิมลกิจจารักษ์ (ศิริ อตฺตาราโม) ได้กรุณาเล่าให้ฟังว่า เมื่อปี พ.ศ. 2496 ท่านเจ้าอาวาสวัดชนะสงครามในขณะนั้น คือท่านเจ้าคุณพระธรรมทัศนาธร (ทองสุก สุทสฺโส) ได้สั่งให้ไปดูสถานที่บริเวณหมู่เจดีย์น้อยใหญ่ ใกล้ศาลาชี (ปัจจุบันเป็นที่ตั้ง ร.ร.วัดชนะสงคราม) เพราะมีผู้มาแจ้งว่า มีคนร้ายลักขุดและพังทำลายพระเจดีย์ ท่านเจ้าอาวาสสั่งว่า หากพบว่ามีรอยชุดค้นจำพระเจดีย์เสียหาย พอที่จะขุดเอาได้ ก็ให้จัดการไปตามที่เห็นสมควร ท่านเจ้าคุณพระวิมลกิจจารักษ์ ซึ่งขณะนั้นมีสมณศักดิ์เป็นพระครูพิศิษฐ์วิหารการ จึงพร้อมด้วยพระสงฆ์สามเณรได้ไปตรวจดูสถานที่ พบว่าพระเจดีย์ถูกทุบขุดคุ้ยพังทำลายหลายแห่ง พวงมิจฉาชีพลักล้วงเอาของมีค่าที่บรรจุไว้ไปเกือบหมดสิ้น พระที่พวกเหล่าร้ายทิ้งหลงเหลืออยู่บ้าง มีพระกรุแบบวัดตะไกรหน้าครุฑ พระโคนสมอแบบอยุธยา พระทรงเทริด (พระงั่ง) ฯลฯ ยังมีพระเจดีย์องค์ใหญ่ซึ่งเป็นเจดีย์ประธานในที่นั้นยังไม่ถูกคนร้ายขุดคุ้ยทำลาย แต่เจดีย์องค์นี้ยอดหักแตกร้าวตลอดจากยอดลงมาถึงคอระฆัง บริเวณฐานก็ผุกกร่อนหลายแห่ง พิจารณาแล้วหากปล่อยไว้คนร้ายคงขุดทำลายเสียหายได้โดยง่าย ของมีค่าหากบรรจุไว้อาจถูกคนร้ายเอาไปเป็นสมบัติของมัน จึงพร้อมใจกันขุด โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจชนะสงครามซึ่งได้รับแจ้งให้มาดูสถานที่คอยอำนวยความสะดวก กันไม่ให้คนภายนอกมาวุ่นวายกับการขุดพระเจดีย์ ผลปรากฏว่าขุดดดยไม่ต้องออกแรงมากมายนัก องค์พระเจดีย์ผุปูนหมดอายุร่วนหมดแล้ว ภายในองค์เจดีย์สร้างเป็นโพรงกลางองค์ถึงคอระฆัง ในนั้นบรรจุพระเครื่องดังปรากฏในภาพเป็นจำนวนมากเก็บลงใส่ปี๊บประมาณ 8 ปี๊บ พบหลักฐานการสร้างและการบรรจะพระเครื่องชุดนี้คือ ไม้แกะสลักเป็นรูปพระสงฆ์ห่มดองคาดประคตอก นั่งสมาธิ ลงรัก ปิดทอง ใต้ฐานรูปแกะสลักนี้บรรจุพระธาตุพระอัครสาวกโมคคัลลาน์ ใบลานจารึกอักษาขอมเลอะเลือนผุกร่อนอ่านได้ไม่ชัดเจน พระทองคำแบบพระวัดตะไกรหน้าครุฑบ้างเล็กน้อย เจ้าหน้าที่กรมศิลปากรผู้ถูกเชิญมาดู ว่าเป็นพระที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 1 หนังสือพิมพ์ในสมัยนั้นลงข่าวเกรียวกราวติดต่อกันอยู่หลายวันและสันนิษฐานว่ากรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาทโปรดให้สร้างแล้วบรรจุไว้ ผู้เขียนได้พยายามสืบเสาะถามจากพระเคระและท่าผู้รู้อีกหลายท่านประกอบกับรูปทรงองค์พระเจดีย์ ตลอดกระทั่งหมู่เจดีย์ในบริเวณนั้น เห็นว่าเจดียืต่าง ๆ เป็นทรงแบบสมัยอยุธยา ความเก่าแก่ของวัสดุที่ใช้ก่อสร้างก็อยู่ในยุคเดียวกัน ทั้งวัดนี้เดิมก็เป็นวัดเล็ก ๆ ซึ่งเรียกกันว่า วัดกลางนา สร้างมาก่อนการสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ ฉะนั้นพระกรุวัดชนะสงครามชุดนี้ต้องสร้างและบรรจุไว้ในสมัยรัชกาลที่ 1 อย่างแน่นอน

อีกประการหนึ่ง วัดชนะสงครามมีประวัติว่า เคยเป็นวัดที่มีการปฏิบัติพระกัมมัฏฐานมาโดยตลอด ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก (รัชกาลที่ 1) จนถึงรัชกาลที่ 2 มีพระมหาเถระรูปหนึ่งซึ่งพอเอ่ยนามท่านขึ้นมาก็เป็นอันรู้กันดดยทั่วไปในวงการของนักนิยมสะสมพระเครื่องเป็นอย่างดี เพราะพระมหาเถระรูปนี้เจริญด้วยวิทยาคุณ อิทธิวัตถุของท่านแต่ละอย่างที่สร้างในสมัยท่านยังมีชีวิตอยู่เป็นสิ่งที่มีค่ามาก ผู้มีไว้ในครอบครองต่างหวงแหนยิ่งนัก พระมหาเถระรูปนี้คือ หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน จ.พิจิตร ท่าานเกิดในปลายรัชกาลที่ 1 (16 ก.ย. 2353) และมีอายุยืนถึง 111 ปี จึงมรณภาพ (20 ก.ย. 2462) ปรากฏว่าหลวงพ่อได้บรรพชาเป็นสามเณรที่วัดชนะสงคราม เล่าเรียนพระกัมมัฏฐานจนกระทั่งอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ ท่านก็กลับไปอุปสมบทยังภูมิลำเนาเดิม แล้วกลับมาเรียนกัมมัฏฐานต่อ ที่นำประวัติของท่านมากล่าวไว้ในที่นี้ก็เพื่อจะแสดงให้เห็นว่า วัดชนะสงครามนี้เป็นนำนักปฏิบัติที่รุ่งเรืองในอดีต มีพระเณรปฏิบัติสมถะวิปัสนาปรากฏชื่อโด่งดังมาดั่งหลวงพ่อเงินนี้ เป็นต้น เป็นหลักฐานยืนยันได้ว่า พระอาจารย์ที่สร้างพระบรรจุไว้ต้องมีลูกศิษย์ มีบริวารและมีคนนับถือนิยมยกย่อยมากในสมัยนั้น จึงสามารถสร้างพระซึ่งถือกันว่าสร้างเพื่อสืบต่ออายุพระพุทธศาสนา และไม่ง่ายนักที่สร้างได้มากมายขนาดนี้ ทั้งการสร้างก็ประณีตสวยงาม หากไม่มีวาสนาบารมี มีคนยกย่องบูชาเป็นอย่างสูงเป็นผู้อุปถัมภ์ย่อมมิอาจสร้างได้สำเร็จ
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน400 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ20 บาท
วันเปิดประมูล - 29 ก.ย. 2554 - 10:20:22 น.
วันปิดประมูล - 01 ต.ค. 2554 - 09:41:18 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลyoon9 (5.7K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     400 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     20 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    peepomas (183)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1