(0)
*** พระสมเด็จวัดโนนผึ้ง หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล รุ่นแรก ปี 40 เนื้อผงพุทธคุณ เม็ดพระธาตุงอก + เส้นเกศา *** สวยเข้มขลัง หายากสุดๆ พร้อมบัตรรับรอง





ชื่อพระเครื่อง*** พระสมเด็จวัดโนนผึ้ง หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล รุ่นแรก ปี 40 เนื้อผงพุทธคุณ เม็ดพระธาตุงอก + เส้นเกศา *** สวยเข้มขลัง หายากสุดๆ พร้อมบัตรรับรอง
รายละเอียดพระสมเด็จที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดของหลวงปู่หมุน คือพระสมเด็จวัดโนนผึ้ง
สร้างปี 2540 ขนาดกว้าง 2.2 ซ.ม.สูง 3.3 ซ.ม
และขอทำนายว่าต่อไปราคาจะแพงมาก

องค์นี้เป็นเนื้อผงพุทธคุณ ๑๐๘ งดงามสุดคลาสสิคเข้มขลัง
เนื้อแกร่งแน่นละเอียดหนึกนุ่มเก่าถึงยุค ตัวอักษรและยันต์ด้านหลังคมลึกชัดเจน
ขอบข้างทุกด้านตัดคมสวยงามมาก พุทธคุณสุดยอดเกินคำบรรยาย

องค์นี้พิเศษมาก มีเส้นเกศาและเม็ดพระธาตุงอกขึ้นมาจากภายในผิวพระตลอดเวลา
ซึ่งถ้าเราหมั่นสังเกตุบ่อยๆ จะพบว่าเกิดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มีทั้งสีแก้วใส
และสีขาวขุ่น หรือออกแดงอมชมพูก็มี ลักษณะการงอกจะเริ่มจาก
เป็นเม็ดเล็กๆก่อนบางจุด และเม็ดจะค่อยๆขยายใหญ่ขึ้นและเพิ่ม
จำนวนมากขึ้น บางเม็ดก็มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่บางเม็ดต้องใช้
กล้องส่องจึงจะเห็น(ตามภาพข้างล่าง) ซึ่งผมถ่ายรูปเฉพาะที่พอจะเห็น
ได้เท่านั้น จุดอื่นๆกระจายอยู่ทั่วองค์พระ แต่ต้องใช้กล้องส่องครับ

มีท่านผู้รู้ได้ให้ข้อมูลไว้ว่า เม็ดพระธาตุที่งอกขึ้นใหม่นี้มีความศักดิ์สิทธิ์มาก
แต่จะเกิดขึ้นกับในเฉพาะพระสมเด็จเนื้อผงบางองค์ของผู้ที่แขวน
ห้อยบูชาที่มีบุญญาบารมีสูง และสวดบริกรรมภาวนาอยู่เสมอเท่านั้น
ซึ่งมักจะพบเห็นแต่ในพระสมเด็จของพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)
ได้แก่ พระสมเด็จวัดระฆัง พระสมเด็จวัดบางขุนพรหม และ
พระสมเด็จวัดเกศไชโย เท่านั้น ซึ่งมีโอกาสจะพบเจอได้ยากมากๆ

วันนี้ขอนำเสนอออกสู่สายตาเพื่อนสมาชิกผู้รักษ์นิยมพระสมเด็จ
และแบ่งให้ท่านได้นิมนต์ไปศึกษาบูชาในราคาพิเศษ
เพื่อเป็นการส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เป็นองค์สุดท้ายครับ
ราคาเปิดประมูล100 บาท
ราคาปัจจุบัน2,900 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 22 ธ.ค. 2554 - 17:57:23 น.
วันปิดประมูล - 24 ธ.ค. 2554 - 06:42:55 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลเทพอินทรา (1.7K)


(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1 - 22 ธ.ค. 2554 - 18:02:46 น.



เม็ดพระธาตุจะงอกขึ้นมาจากภายในผิวองค์พระตลอดเวลา
หมั่นสังเกตุบ่อยๆ จะพบว่าเกิดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ มีทั้งสีแก้วใส
และสีขาวขุ่น หรือออกแดงอมชมพูก็มี


ลักษณะการงอกจะเริ่มจากเป็นเม็ดเล็กๆก่อนบางจุด และ
เม็ดจะค่อยๆขยายขนาดใหญ่ขึ้นและเพิ่มจำนวนมากขึ้น


ข้อมูลเพิ่มเติม 2 - 22 ธ.ค. 2554 - 18:25:12 น.



บางเม็ดก็มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า แต่บางเม็ดต้องใช้กล้องส่อง
จึงจะเห็น ซึ่งผมถ่ายรูปเฉพาะที่พอจะเห็นได้เท่านั้น
จุดอื่นๆจะมีกระจายอยู่ทั่วองค์พระ แต่ต้องใช้กล้องส่องครับ

ตรงบริเวณมุมพระมีเส้นเกศาสีขาวโผล่พ้นผิวพระขึ้นมาประมาณ 1 เซนติเมตร

เกล็ดสีเหลืองทองที่เห็นประปรายอยู่ที่ด้านหน้าองค์พระ (รูปบน)
คือแผ่นทองคำเปลวที่ติดบูชาในพิธีมาแต่เดิมตั้งแต่ออกจากวัด
และลงเหลืออยู่เท่าที่เห็นจากการหลุดร่อนออกไป
เนื่องจากได้ผ่านการแขวนใช้บูชามาเป็นระยะเวลายาวนาน


ข้อมูลเพิ่มเติม 3 - 22 ธ.ค. 2554 - 18:32:50 น.



พระธาตุพุทธสาวก

นับตั้งแต่สมัยพุทธกาลเป็นต้นมา มีพระสงฆ์จำนวนมากมาย ที่ปฏิบัติตามแนวทางที่
องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงวางเอาไว้ และมีความเพียรพยายามอย่างยิ่ง
จนกระทั่งสามารถยกจิตก้าวบรรลุสู่ภูมิธรรมขั้นต่างๆ นับแต่พระโสดาบันเป็นต้นไป
และสิ่งที่สามารถยืนยันได้ว่าท่านเหล่านั้นสามารถบรรลุภูมิธรรมขั้นสูงได้ก็คือ พระธาตุ
ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีพระอริยสงฆ์มากมายที่สามารถปฏิบัติธรรมจนกระทั่งอัฐิกลายเป็น "พระธาตุ"
และมีลักษณะแตกต่างกันมากมาย ซึ่งสามารถแยกออกได้เป็น 2 กลุ่ม ดังนี้

1. พระสาวกสมัยพุทธกาลและสมัยโบราณ โดยพระสาวกสมัยพุทธกาลนั้น คือ
พระสาวกที่ดำรงขันธ์อยู่ในช่วงสมัยพุทธกาล จนกระทั่งถึงภายหลังพุทธกาลไม่นาน
ส่วนพระสาวกสมัยโบราณ คือ พระสาวกที่ดำรงขันธ์ในช่วงภายหลังพุทธปรินิพพานจนถึง
ประมาณพุทธศตวรรษที่ 24 พระสาวกในกลุ่มนี้จึงมีเป็นจำนวนมาก ทั้งที่ปรากฏนามและไม่ปรากฏนาม
ในตำรา พระสาวกสมัยพุทธกาลที่เป็นที่รู้จักกันโดยทั่วไป เช่น พระโมคคัลลาน์ พระสารีบุตร เป็นต้น
และพระสาวกสมัยโบราณที่เป็นที่รู้จักกันดีโดยทั่วไป เช่น พระอุปคุต เป็นต้น

2. พระสาวกสมัยปัจจุบัน พระสาวกสมัยปัจจุบันนั้น คือช่วงตั้งแต่ก่อน พ.ศ.2500 เล็กน้อย
กระทั่งถึงปัจจุบัน ซึ่งมีมากมายหลายองค์ และแต่ละองค์ก็มีพระธาตุลักษณะต่างๆมากมาย
ทำให้ได้สามารถศึกษาลักษณะและวิธีการแปรเปลี่ยนเป็นพระธาตุจากส่วนต่างๆของร่างกาย
ซึ่งนำไปเปรียบเทียบกับลักษณะการเกิดของพระบรมสารีริกธาตุ
และพระธาตุพระสาวกสมัยโบราณได้ ดังเช่น หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต เป็นต้น

พระสาวกธาตุสมัยพุทธกาลและสมัยโบราณ

ตามตำราพระธาตุของโบราณ ได้กล่าวถึงลักษณะพระธาตุของพระอรหันต์ผู้ซึ่งทรงขันธ์อยู่ในสมัยพุทธกาล
และหลังพุทธปรินิพพานไม่นาน มีระบุลักษณะของพระธาตุพระอรหันต์เหล่านี้ไว้ 47 องค์
และ ในอรรถกถา* ระบุลักษณะพระธาตุของพระอรหันต์ในสมัยพุทธกาลไว้อีก 3 องค์
ซึ่งซ้ำกับในตำราพระธาตุของโบราณ 2 องค์ รวมปรากฏลักษณะพระธาตุ
ของพระอรหันต์ทั้งสิ้น 48 องค์ ได้แก่

1.พระสารีบุตร
2.พระโมคคัลลานะ
3.พระสีวลี
4.พระองคุลิมาละ
5.พระอัญญาโกณฑัญญะ*
6.พระอนุรุทธะ
7.พระกัจจายะนะ
8.พระพิมพาเถรี
9.พระสันตติมหาอำมาตย์*
10.พระภัททิยะ
11.พระอานนท์
12.พระอุปปะคุต
13.พระอุทายี
14.พระอุตตะรายีเถรี
15.พระกาฬุทายีเถระ
16.พระปุณณะเถระ
17.พระอุปะนันทะ
18.พระสัมปะฑัญญะ
19.พระจุลลินะเถระ
20.พระจุลนาคะ
21.พระมหากปินะ
22.พระยังคิกะเถระ
23.พระสุมณะเถระ
24.พระกังขาเรวัตตะ
25.พระโมฬียะวาทะ
26.พระอุตระ
27.พระคิริมานันทะ
28.พระสปากะ
29.พระวิมะละ
30.พระเวณุหาสะ
31.พระอุคคาเรวะ
32.พระอุบลวรรณาเถรี
33.พระโลหะนามะเถระ
34.พระคันธะทายี
35.พระโคธิกะ
36.พระปิณฑะปาติยะ
37.พระกุมาระกัสสะปะ
38.พระภัทธะคู
39.พระโคทะฑัตตะ
40.พระอนาคาระกัสสะปะ
41.พระคะวัมปะติ
42.พระมาลียะเทวะ
43.พระกิมิละเถระ
44.พระวังคิสะเถระ
45.พระโชติยะเถระ
46.พระเวยยากัปปะ
47.พระกุณฑะละติสสะ
48.พระพักกุละ*

พระสาวกธาตุสมัยปัจจุบัน

พระสาวกเหล่านี้ ได้ปฏิบัติธรรม และก้าวขึ้นสู่ชั้นอริยบุคคลในพระพุทธศาสนา
เมื่อมรณภาพลง ภายหลังจากการฌาปณกิจแล้วก็บังเกิดสิ่งอันน่าอัศจรรย์ใจต่างๆเกิดขึ้น
เมื่อกระดูกที่โดนเผาไฟแล้วก็ดี เส้นผม ฟัน หรือกระทั่งชานหมาก ที่มิได้โดนเผาไฟด้วย
ไม่ว่าเก็บไว้ตามสถานที่ใดก็แล้วแต่ ค่อยๆแปรเปลี่ยนเป็นผลึกใหญ่น้อย สีสันต่างๆ คล้ายกรวดคล้ายแก้ว
เพิ่มลดจำนวนได้เอง หรือ จะเรียกให้ถูกว่า กระดูกของท่านเหล่านั้น ได้แปรเปลี่ยนเป็น 'พระธาตุ'
ซึ่งมีรายนามพระสาวกปัจจุบันที่พบว่าสิ่งของที่เกี่ยวเนื่องด้วยท่าน
มีการแปรเปลี่ยนสภาพเป็นพระธาตุแล้ว ดังนี้

1.หลวงปู่มั่น ภูริทัตโต วัดป่าสุทธาวาส สกลนคร

2.พระสุพรหมยานเถร (พรหมา พรหมจักโก) วัดพระพุทธบาทตากผ้า ลำพูน

3.หลวงปู่สิงห์ทอง ธัมมวโร วัดป่าแก้วบ้านชุมพล สกลนคร

4.หลวงปู่ครูบาบุญปั๋น ธัมมปัญโญ วัดร้องขุ้ม เชียงใหม่

5.หลวงปู่คำตัน ฐิตธัมโม วัดป่าดานศรีสำราญ หนองคาย

6.พระโพธิญาณเถร (ชา สุภัทโท) วัดหนองป่าพง อุบลราชธานี

7.หลวงปู่เข่ง โฆษธัมโม วัดป่าสีห์พนม สกลนคร

8.พระญาณสิทธาจารย์ (สิม พุทธจาโร) วัดถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่

9.พระอุดมสังวรวิสุทธิเถร (วัน อุตตโม) วัดถ้ำอภัยดำรงธรรม สกลนคร

10.พระครูอินทวุฒิกร (ต่วน อินทปัญโญ) วัดกล้วย อยุธยา

11.พระครูวิเวกพุทธกิจ (เสาร์ กันตสีโล) วัดดอนธาตุ อุบลราชธานี

12.หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล อุดรธานี

13.หลวงปู่จวน กุลเชฏโฐ วัดเจติยาคีรีวิหาร หนองคาย

14.พระราชสังวรญาณ (พุธ ฐานิโย) วัดป่าสาลวัน นครราชสีมา

15.พระครูศาสนูปกรณ์ (บุญจันทร์ กมโล) วัดสันติกาวาส อุดรธานี

16.หลวงปู่คำฟอง มิตตภานี วัดป่าศรีสะอาด สกลนคร

17.พระราชวุฒาจารย์ (ดูลย์ อตุโล) วัดบูรพาราม สุรินทร์

18.หลวงปู่หลุย จันทสาโร วัดถ้ำผาบิ้ง เลย

19.หลวงปู่แหวน สุจิณโณ วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่

20.หลวงปู่มหาบุญมี สิริธโร วัดป่าวังเลิง มหาสารคาม

21.หลวงปู่สาม อกิญจโน วัดป่าไตรวิเวก สุรินทร์

22.หลวงปู่กอง จันทวังโส วัดสระมณฑล อยุธยา

23.พระครูพรหมเทพาจารย์ (เทพ ถาวโร) วัดท่าแคนอก(เทพนิมิตร) ลพบุรี

24.หลวงปู่เมตตาหลวง (สิงห์ สุนทโร) วัดเทพพิทักษ์ปุณณาราม นครราชสีมา

25.สมเด็จพระมหามุนีวงศ์ (สนั่น จันทปัชโชโต) วัดนรนารถสุนทริการาม กรุงเทพฯ

26.หลวงพ่อประยุทธ์ ธัมยุทโต วัดป่าผาลาด กาญจนบุรี

27.หลวงปู่หล้า เขมปัตโต วัดบรรพตคีรี(ภูจ้อก้อ) มุกดาหาร

28.พระภาวนาวิสุทธิเถร (กัมพล กัมพโล) วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพฯ

29.พระครูขันตยาภรณ์ (คำ ขันติโก) สุสานไตรลักษณ์ เชียงใหม่

30.พระครูสุคันธศีล (คำแสน อินทจักโก) วัดสวนดอก(บุปผาราม) เชียงใหม่

31.หลวงปู่กุ่น จิรกุโล วัดศาลพันท้ายนรสิงห์ สมุทรสาคร ดูรูป

32.หลวงปู่ปั่น สุจิณโณ วัดพรพระร่วงประสิทธิ์ กรุงเทพฯ อ่าน/ดูรูป

33.พระครูประสิทธิธรรมญาณ (แบน กันตสาโร) วัดมโนธรรมาราม(นางโน) กาญจนบุรี

34.พระครูพิสิษฐ์อรรถการ (คล้าย จันทสุวัณโณ) วัดสวนขัน นครศรีธรรมราช

35.พระราชพรหมยาน (วีระ ถาวโร) วัดจันทาราม(ท่าซุง) อุทัยธานี

36.พระครูนิยุตธรรมสุนทร (ยิด จันทสุวัณโณ) วัดหนองจอก ประจวบคีรีขันธ์

37.หลวงปู่มหาปราโมทย์ ปาโมชโช วัดป่านิโครธาราม อุดรธานี

38.พระครูสุวัณโณปมคุณ (คำพอง ติสโส) วัดป่าพัฒนาธรรม(ถ้ำกกดู่) อุดรธานี

39.พระสุธรรมคณาจารย์ (เหรียญ วรลาโภ) วัดอรัญญบรรพต หนองคาย

40.พระนพีสีพิศาลคุณ (ทองอินทร์ กุสลจิตโต) วัดสันติธรรม เชียงใหม่

41.พระครูการุณยธรรมนิวาส (หลวง กตปุญโญ) วัดป่าสำราญนิวาส

42.หลวงปู่ชื้น พุทธสโร วัดญาณเสน อยุธยา

43.พระครูจิตตวิโสธนาจารย์ (หนู สุจิตโต) วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่

44.หลวงปู่ขาน ฐานวโร วัดป่าบ้านเหล่า เชียงราย

45.หลวงปู่ตื้อ อจลธัมโม วัดอรัญญวิเวก นครพนม

46.หลวงตาประสิทธิ์ ถาวโร วัดถ้ำยายปริก ชลบุรี

47.หลวงปู่ผาง จิตฺตคุตฺโต วัดอุดมคงคาคีรีเขต ขอนแก่น

48.พระครูสุทธิธรรมรังษี (เจี๊ยะ จุนโท) วัดป่าภูริทัตตปฏิปทาราม ปทุมธานี

49.พระครูวรวุฒิคุณ (อิน อินโท) วัดคันธาวาส (ทุ่งปุย) เชียงใหม่

50.ครูบาคำหล้า สังวโร สำนักสงฆ์ห้วยขุนสวด พะเยา

51. หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล วัดบ้านจาน จ.ศรีสะเกษ

52. หลวงปู่สรวง ( เทวดาเล่นดิน ) วัดไพรพัฒนา จ.ศรีสะเกษ


ข้อมูลเพิ่มเติม 4 - 22 ธ.ค. 2554 - 18:39:50 น.



ภาพตัวอย่างเม็ดพระธาตุที่เกิดขึ้นบนด้านหน้าขององค์พระสมเด็จโนนผึ้ง หลวงปู่หมุน ฐิตสีโล


ข้อมูลเพิ่มเติม 5 - 22 ธ.ค. 2554 - 18:57:22 น.



ไม่ต้องเป็นกังวลกับคำว่า "สภาพใช้" ในบัตรรับรองพระแท้นะครับ

เพราะพระสมเด็จโนนผึ้งที่มีเม็ดพระธาตุงอก มักจะเกิดขึ้น
เฉพาะกับองค์พระที่ผ่านการแขวนห้อยบูชาจากผู้ที่มีบุญบารมีสูง
และได้สวดบริกรรมภาวนาสม่ำเสมออยู่เป็นนิจเท่านั้นครับ


 
ราคาปัจจุบัน :     2,900 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Artuy (151)(2)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1