(0)
เหรียญหล่อ จันทร์ลอย พิธีสิทธัตโถ วัดบรมนิวาส กองทัพธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ร่วมปลุกเศกมากมาย สวยๆครับ






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องเหรียญหล่อ จันทร์ลอย พิธีสิทธัตโถ วัดบรมนิวาส กองทัพธรรมหลวงปู่มั่น ภูริทัตโต ร่วมปลุกเศกมากมาย สวยๆครับ
รายละเอียดพิธีกริ่งสิทธัตโถ รายละเอียด วัดบรมนิวาส(วัดบรมนิวาสราชวรวิหาร)
วัดนี้ถูกสร้างเพื่อถวายให้แด่รัชกาลที่ 4 สมัยที่ท่านยังเป็นพระภิกษุ โดยวัดนี้ถูกสร้างเพื่อให้เป็นวัดฝ่ายอรัญวาสีหรือวัดฝ่ายปฏิบัติ คู่กับวัดบวรนิเวศวิหาร ซึ่งเป็นวัดฝ่ายคามวาสีหรือฝ่ายปริยัติ ด้วยเหตุนี้เมื่อพระป่าสายกรรมฐานเดินทางเข้าสู่กรุงเทพฯ จึงมักมาพำนัก ณ วัดแห่งนี้ ดังนั้นเมื่อทางวัดโดยพระครูสังฆบริรักษ์มโนรมย์ ได้มีดำริจัดทำพระกริ่งที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ(ตามปรารภของสมเด็จพระสังฆราช ญาโณทัย วัดสระเกศ) จึงได้นิมนต์เชิญพระป่าสายกรรมฐานเพื่อร่วมพิธี และมักจะได้รับนิมนต์เสมอถึงแม้ท่านอาจารย์ทั้งหลายจะไม่ค่อยยอมรับนิมนต์ ร่วมปลุกเศกในพิธีต่างๆ

พระกริ่งสิทธัตโถ(มีความหมายว่า ผู้ประทานความสำเร็จ)
พระกริ่งสิทธัตโถที่จัดสร้างโดยพระครูสังฆบริรักษ์ มีทั้งหมดเพียง 5 รุ่นด้วยกัน โดยจัดสร้างขึ้นทั้งหมด 5 ครั้ง ในปี พ.ศ. 2508 2510 2512 2516 และครั้งสุดท้ายคือปี 2517 โดยนำชนวนเดิมจากพิธีดีๆต่างๆทั่วประเทศมาทำการจัดสร้างพระกริ่งสิทธัตโถ และได้นิมนต์เชิญครูบาอาจารย์ต่างๆและพระป่าสายกรรมฐานที่เป็นที่นับถือทั่ว ประเทศมาร่วมพิธี จัดว่าเป็นพิธีดีที่สุดพิธีหนึ่งในประเทศไทย เทียบเท่าพิธี 25 พุทธศตวรรษ กล่าวคือ ดีนอกและดีใน ครบถ้วนตามหลักทุกประการ

ประสบการณ์
ในปี พ.ศ. 2542 พระครูปลัดวินัยวัฒน์ (กิตติ ธีรวีโร) เล่าว่าได้เกิดเพลิงไหม้ ศาลาอุรุพงษ์ ซึ่งเป็นศาลาไม้ขนาดใหญ่ที่สร้างมาเก่าแก่นานกว่า 80 ปี พระเพลิงได้เผาผลาญอย่างรวดเร็วเพราะเป็นไม้เก่าประกอบกับทางเข้า วัดบรมนิวาส เป็นทางคับแคบที่รถดับเพลิงเข้าถึงได้ยากกว่าจะทำการดับเพลิงได้ ศาลาอุรุพงษ์ ก็แทบกลายเป็นจุณแล้วทั้งหลังมีเหลือเพียงตู้ไม้เก่า ๆ ตู้หนึ่งที่ พระเพลิงไม่ได้เผาผลาญ ตั้งโดดเด่นเป็นสง่าอยู่ท่ามกลาง กองเถ้าถ่าน ที่เหลือเพียงควันไฟคละคลุ้งทั่วบริเวณ พระภิกษุ สามเณร และ ชาวบ้าน ที่มุงดู เหตุการณ์จึงตรงเข้าไปสำรวจดูตู้ไม้ตู้นั้นก็พบว่าภายในมี พระกริ่งสิทธัตโถ ตั้งเรียงอยู่บนชั้นไม้ในตู้ที่สภาพยังคงเดิมทั้งที่เป็นไม้เก่า ๆ แม้แต่กระจกตู้ก็ไม่แตกสลายหรือมีคราบเขม่าไฟแต่ประการใดและที่น่า อัศจรรย์อย่างที่สุด ก็คือมี มดจำนวนมาก เข้าไปอาศัยอยู่ในตู้รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อน นับล้านตัว และอีกส่วนหนึ่งเกาะล้อมรอบ พระกริ่งสิทธัตโถ ที่ตั้งเรียงรายอยู่ในตู้หลายสิบองค์จนแทบมองไม่เห็นองค์ พระกริ่ง เลย ประการสำคัญ มดจำนวนนับล้านตัวเหล่านี้ยัง มีชีวิต เหมือนกับไม่ได้ถูก ความร้อน จากพระเพลิงที่ฮือโหม ศาลาอุรุพงษ์ แต่ประการใดสร้างความ อัศจรรย์ใจ ให้กับ พระภิกษุ สามเณร และชาวบ้านที่เข้าไปสำรวจตู้ไม้นั้นเป็นอย่างยิ่ง

“พระกริ่งสิทธัตโถ” ทำการประกอบพิธีเท ทองหล่อเมื่อวันที่ ๑๒ มีนาคม ๒๕๐๘ นั้น หลังจากตกแต่งเรียบร้อยแล้วได้จัดงานสมโภช โดยอาราธนาพระคณาจารย์ผู้ทรงคุณวิเศษมานั่งปรกปลุกเสก ณ พระอุโบสถวัดบรมนิวาส ๔๒ รูปคือ
หลวงปู่นาค วัดระฆังฯ, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, หลวงพ่อเฮี้ยง วัดอรัญญิ กาวาส, หลวงพ่อนอ วัดท่าเรือ, หลวงพ่อมี วัดเขาสมอคอน, หลวงพ่อบี้ วัดลานหอย, หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง, หลวงพ่อสำเนียง วัดเวฬุวัน, หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม, หลวงพ่อคำมี วัดถ้ำคูหาสวรรค์, หลวงพ่อทอง วัดถ้ำจักกระจั่น, หลวงพ่อทรงชัย วัดพุทธมงคลนิมิตร, หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลยก์, หลวงพ่อบัว วัดป่าพรสถิตย์, หลวงพ่อถวัล วัดหนองบัวทองหลวงปู่เทสก์ วัดหินหมากเป้ง,หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล,หลวงพ่อบุญมา วัดป่าสาลวัน,หลวงพ่อจันทร์ วัดศรีภูเวียง,หลวงปู่สิม วัดสันติธรรม,หลวงพ่อบัว วัดหนองแซง,หลวงพ่อคำพอง วัดราษฎร์โยธี,หลวงพ่อคำไหม วัดอรุณรังสี, หลวงพ่อคำผิว วัดป่าหนองแซง,หลวงพ่อวิริยังค์ วัดธรรมมงคล,หลวงพ่อวงษ์ วัดปริวาส, หลวงพ่อชื่น วัดตำหนักเหนือ,หลวงปู่ตื้อ วัดอโศการาม,หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร, หลวงพ่ออินทร์ วัดโบสถ์,หลวงพ่อฝั้น วัดถ้ำขาม,หลวงพ่อจวน วัดภูทอก,หลวงพ่อวัน วัดถ้ำอภัยดำรงค์,หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว, หลวงพ่อทบ วัดชนแดน ซึ่งหลังเสร็จพิธีแล้วได้นำไปให้พระคณาจารย์ที่เป็น “พระอริยสงฆ์” ทำการปลุกเสกเดี่ยวอีก ๒ รูป คือหลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋งและเจ้าคุณนรรัตนฯ วัดเทพศิรินทร์
“พระกริ่งสิทธัตโถ” จึงนับเป็นพระกริ่งที่สร้างสมบูรณ์แบบด้วยพิธีกรรมและการปลุกเสก นับเป็นพระกริ่งในช่วงปีสองพันห้าร้อยที่น่าสักการบูชาอีกรุ่น เพราะมีความศักดิ์สิทธิ์และมีประสบการณ์ให้ประจักษ์มาแล้วหลายครั้ง ซึ่งสามารถปกป้องคุ้มครองภัยอันตรายนานาประการได้ อย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง
พระกริ่งและพระชัยวัฒน์สิทธัตโถที่สร้างในครั้งนั้นมีจำนวนพระกริ่งรวมทั้งสิ้น 3,249 องค์ แบ่งเป็นเนื้อดังนี้
1.เนื้อนวะโลหะ 999 องค์ให้ทำบุญองค์ละ 300 บาท
2.เนื้อปัญจโลหะ ให้ทำบุญองค์ละ 100 บาท
3.เนื้อสัมฤทธิ์ ให้ทำบุญองค์ละ 50 บาท
เนื้อปัญจโลหะ และสัมฤทธิ์รวมกัน 2,250 องค์ ไม่มีการบันทึกแยกจำนวน สำหรับพระชัยวัฒน์มีจำนวนไม่ปรากฏแต่มีจำนวนน้อยมาก มีให้เห็น 2 เนื้อ คือเนื้อนวะโลหะ และเนื้อปัญจโลหะ
พระกริ่งสิทธัตโถรุ่นแรกนี้ มีพบทั้งแบบก้นเรียบ และก้นถ้วย ตอกโค้ดคำว่า “สิทธัตโถ” ลายมือสมเด็จพระสังฆราชอยู่ วัดสระเกศ ที่ฐานด้านหลังรวมทั้งโค้ดสามจุด โค้ดหกจุด โค้ดใบพัด และเลข ๙ ไทย

รับประกันมาตรฐานสากล ชั้น1
----------------------------------------------------------------
ปล. ยังมีพระเครื่องอีกหลายรายการที่ท่านอาจสนใจลองคลิ๊กที่ค้อนดูนะครับ ราคามิตรภาพ
ราคาเปิดประมูล500 บาท
ราคาปัจจุบัน1,500 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ100 บาท
วันเปิดประมูล - 15 ม.ค. 2555 - 11:41:40 น.
วันปิดประมูล - 20 ม.ค. 2555 - 22:27:13 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลpisansorn (1.4K)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     1,500 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     100 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    Esc_key (295)(1)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1