(0)
เหรียญหลวงพ่อ ด๊วด วัดกลางคลองสี่ ไม่แพง






รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องเหรียญหลวงพ่อ ด๊วด วัดกลางคลองสี่ ไม่แพง
รายละเอียดพระครูธัญญโศภิต เดิมชื่อ ด๊วด นามสกุล ลิ้มทองน้อย เกิดวันที่ ๑๐ มีนาคม ๒๔๒๗ ที่ตำบลท่าทราย อำเภอเมืองนนทบุรี เป็นบุคคลที่ ๖ ของนายลิ้ม นางทองน้อย มีพี่น้องร่วมบิดามารดาด้วยกัน ๖ คน คือ

* นางครุ คลังเงิน
* นายดุ๊ ลิ้มทองน้อย
* นางหอม ปราบภัย
* นางพร้อม นิลบรรจง
* นายแอ๊ด ลิ้มทองน้อย
* พระครูวิเศษธัญญโศภิต (ด๊วด ลิ้มทองน้อย)

เมื่อยังเยาว์ได้ไปอยู่วัดเชิงท่า อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี เรียนหนังสืออยู่กับวัดอ่านออกเขียนได้พอสมควร จึงลาออกจากวัด ไปอยู่กินกับบิดามารดา ช่วยประกอบสัมมาอาชีพช่วยทำนาร่วมกับพี่น้อง โดยปกติสุขตลอดมา ครั้นเมื่ออายุได้ ๒๕ ปี ได้ออกบรรพชาอุปสมบท ณ พัทธสีมาวัดออเงิน ตำบลออเงิน อำเภอบางเขน จังหวัดพระนคร ซึ่งมีอธิการนุ่มเป็นอุปัชฌายะ พระครูราชปริต (ลับแล) วัดบวรมงคล เป็นกรรมวาจาจารย์ พระอธิการญัติอุตตโม วัดสายไหม เป็นอนุสาวนาจารย์ เมื่อวันที่ ๖ มีนาคม ๒๔๕๐

พ.ศ.๒๔๕๑ จำพรรษาเรียนปริยัติธรรมที่วัดสายไหม ๑ พรรษา

พ.ศ.๒๔๕๒- ๒๔๕๓ ไปจำพรรษาอยู่ที่วัดทอง ร่างกุ้ง ประเทศพม่า รามัญ

พ.ศ.๒๔๕๔ กลับมาประเทศไทย จำพรรษาอยู่วัดสนามเหนือ อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี

พ.ศ.๒๔๕๕ มาเป็นเจ้าอาวาสวัดกลางคลองสี่

พ.ศ.๒๔๗๓ เป็นอุปัชฌายะ

พ.ศ.๒๔๘๐ ได้รับตราตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลลาดสวาย (เป็นเจ้าคณะตำบลมาก่อน)

พ.ศ.๒๔๘๑ เป็นองค์การเผยแผ่ประจำอำเภอลำลูกกา

พ.ศ.๒๔๙๖ ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระครูวิเศษธัญญโสภิต

พ.ศ.๒๕๐๗ เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นโท



การปกครอง

พ.ศ.๒๔๕๕ ได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสแล้วได้เปิดการศึกษาโรงเรียนประชาบาล เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๖ ขึ้นที่วัดกลางคลองสี่ เป็นแห่งแรกในอำเภอลำลูกกา

พ.ศ.๒๔๗๐ ได้เปิดโรงเรียนนักธรรมขึ้นที่วัดกลางคลองสี่ก่อน ในอำเภอลำลูกกาให้เจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป มีภิกษุและสามเณรทั้งในวัด และนอกวัดมาอาศัยศึกษาเล่าเรียนจนปรากฏว่า มีนักเรียนสอบไล่นักธรรมชั้นตรีในปีแรกส่งเข้าสอบ ๕ รูป ได้ทั้งหมด ๕ รูป ปีต่อมามีการศึกษามากขึ้นเป็นลำดับ มากบ้าง น้อยบ้าง จนกระทั่งมีนักธรรม ตรี โท เอก เสมอมา ส่วนบาลีท่านได้ส่งภิกษุ สามเณรไปศึกษาในพระนครบ้าง และที่มีการศึกษาบาลีที่ไหน ท่านก็กรุณาส่งไปเรียนจนได้เป็นพระเปรียญก็มีมากรูปด้วยกัน สำหรับภิกษุที่เป็นนักธรรมในสำนักวัดกลางคลองสี่ ท่านก็ได้ส่งออกไปเป็นเจ้าอาวาสในวัดต่าง ๆ มีหลายวัด ศิษยานุศิษย์ของท่านที่ได้รับดำรงตำแหน่งก็มีอยู่

การปฏิสังขรณ์

เมื่อดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสแล้ว ได้ปฏิสังขรณ์เสนาสนะ อาทิ เช่น

พ.ศ.๒๔๖๑ สร้างหอสวดมนต์ ๑ หลัง ราคา ๑๓๐๐ บาท

พ.ศ.๒๔๗๑ สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม ราคา ๑๓๐๐ บาท

พ.ศ.๒๔๗๒ สร้างกุฏิ ๑ หลัง ราคา ๑๓๐๐ บาท

พ.ศ.๒๔๗๔ สร้างกุฏิ ๑ หลัง ราคา ๑๒๕๐ บาท

พ.ศ.๒๔๘๐ สร้างพระอุโบสถ ๑ หลัง ราคา ๔๐๐๐ บาทเศษ

พ.ศ.๒๔๙๐ บูรณะศาลาการเปรียญขึ้นใหม่ ราคา ๓๘๐๐ บาท

พ.ศ.๒๔๙๑ สร้างกุฏิ ๑ หลัง ราคา ๒๐๐๐๐ บาท

พ.ศ.๒๔๙๑ สร้างถังจุน้ำได้ ๑๗๐๐ ปี๊บ ราคา ๔๐๐๐ บาท

พ.ศ.๒๔๙๒ สร้างกุฏิ ๑ หลัง ราคา ๒๔๐๐๐ บาท

พ.ศ.๒๕๐๑ สร้างกุฏิ ๑ หลัง ราคา ๔๐๐๐๐ บาท

พ.ศ.๒๕๐๑ สร้างศาลาท่าน้ำ ๑ หลัง ราคา ๑๐๐๐๐ บาท

พ.ศ.๒๕๐๒ สร้างศาลาการเปรียญ ๑ หลัง ราคา ๑๔๒๕๑๐ บาท

พ.ศ.๒๕๐๒ สร้างวิหาร ๑ หลัง ราคา ๓๐๐๐ บาท

ตลอดจนได้สร้างถนนคอนกรีต ๕ แถว ยาว ๕ เส้น ๑๐ วา ๑ สาย นอกนั้นยาว ๑ เส้นขึ้นไป

การศึกษา

พ.ศ.๒๔๖๖ ได้เป็นผู้ดำเนินการเปิดโรงเรียนประชาบาล และโรงเรียนนักธรรมขึ้น เป็นโรงเรียนแรกที่วัดกลางคลองสี่ อำเภอลำลูกกา

พ.ศ.๒๔๗๑ เป็นกรรมการควบคุมการสอบธรรมสนามหลวงตลอดเรื่อยมาจนถึง พ.ศ.๒๕๐๗

พ.ศ.๒๔๗๓ เป็นกรรมการตรวจข้อสอบนักธรรมตรี

นับว่าประวัติการณ์ที่ท่านได้ริเริ่มก่อสร้างเสนาสนะ และเริ่มการศึกษาประชาบาลขึ้นในครั้งนั้น เพื่อความเหมาะสมกับท้องถิ่น ด้วยความอุตสาหะวิริยะ ด้วยดีตลอดมา ควรแก่การเชิดชูบูชาและนับถือเป็นหลักปฏิบัติได้เป็นอย่างดี

งานเผยแผ่

ท่านเป็นนักเผยแผ่ที่ดีมาก กล่าวคือท่านเป็นนักปฏิบัติที่เคร่งครัด ต่อพระธรรมวินัย เป็นที่น่าเลื่อมใสศรัทธาแก่ผู้พบเห็นมาก เรื่องนี้ท่านผู้ที่เป็นสัทธิวิหาริกอันเตวาสิก ตลอดจนผู้ที่คุ้นเคยกับท่านย่อมทราบได้เป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้การอบรมสั่งสอนเผยแผ่ธรรมของท่านจึงได้ผลดี เป็นที่เชื่อถือของเจ้าคณะผู้บัญชาการ จึงเห็นสมควรแต่งตั้งเป็นองค์การเผยแผ่ของอำเภอลำลูกกา แต่ส่วนมากท่านใช้วิธีการเผยแผ่แบบอุปนิสินกถา (นั่งสนทนาอย่างใกล้ชิด) มากกว่าขึ้นธรรมาสน์เทศน์หรือแบบปาฐกถา โดยปรกติแล้วท่านมีพลานามัยดีตลอดมา แต่ด้วยเหตุความชราภาพของท่านก็มีอันเป็นไป คือ เมื่อปี พ.ศ.๒๔๗๘ ได้อาพาธด้วยโรคไส้ติ่ง ได้ทำการรักษาอยู่ที่โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า ก็หายเป็นปรกติ ต่อมาครั้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๙๘ ท่านได้เริ่มอาพาธด้วยโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ ก็ได้ไปรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาลสงฆ์ จนกระทั่งหายเป็นปรกติตลอดมา จนกระทั่งเมื่อวันที่ ๑๒ ๒๕๑๓ ท่านได้อาพาธด้วยโรคลม เมื่อเวลา ๑๗.๐๐ น. ได้มีพระภิกษุสามเณรตลอดจนศิษยานุศิษย์ของพุทธบริษัท วัดกลางคลองสี่ได้มาเฝ้าถวาย พยาบาลดูอาการป่วยของท่านตลอดจนกระทั่งรุ่งเช้าของวันที่ ๑๓ ตุลาคม ๒๕๑๓ เลา ๐๖.๐๐ น. เศษ ก็ได้ถวายอาหารต้มแก่ท่าน เมื่อท่านฉันเสร็จก็หลับลงไปบ้างตื่นบ้างด้วยอาการของโรคยังทรงอยู่ ศิษยานุศิษย์ตลอดจนพระภิกษุ สามเณรก็เฝ้าดูอาการตลอดมา ครั้นถึงเวลา ๑๐.๓๐ น. เศษ ได้จัดถวายอาหารเพลแด่ท่านโดยป้อนอาหารให้ท่าน จนกระทั่งเห็นอาการของท่านผิดปรกติ ท่านอาจารย์ทองอินทร์ ซึ่งนั่งปฏิบัติท่านอยู่ ณ ที่นั้น จึงอุทานขึ้นว่า “หลวงปู่เป็นอะไร” ในเมื่อเห็นอาการของท่านคงจะใกล้ดับลง จึงจัดแจงเปลี่ยนสบง จีวร ตลอดจนสังฆาฏิให้ท่านใหม่ พร้อมทั้งได้นำพัดยศที่ท่านได้พระราชทานเป็นพระครูชั้นสัญญาบัตรของท่าน มาตั้งไว้ต่อหน้าใกล้ท่านได้มองเห็น เมื่อท่านมองเห็น ท่านก็ได้ยกมือประณม แล้วก็เอามือมาประสานกันที่หน้าอกของท่านแล้วเหลียวดู พระภิกษุสามเณร และศิษยานุศิษย์ที่มาพยาบาลอยู่ ณ ที่นั้น แล้วท่านก็พูดขึ้นว่า “อยู่กันดีดีนะ” แล้วท่านก็เงียบไปด้วยอาการอันสงบในท่ามกลางศิษยานุศิษย์ ทั้งบรรพชิตและคฤหัสถ์ที่เฝ้าพยาบาลอยู่ ทุกคนก็ได้แต่มองด้วยความรู้สึกเสียดาย และอาลัยอย่างยิ่ง สุดที่จะพรรณนา เมื่อเวลา ๑๑.๓๑ น. เป็นอันสิ้นสุดแห่งชีวิตของท่านครั้งสุดท้ายไม่มีวันที่จะกลับคืนได้อีกแล้ว

_______________________________________________________________

คัดจาก : หนังสือ กายนคร ของ นายแปลก สนธิรักษ์

พิมพ์เนื่องในงานพระราชทานเพลิงศพ พระครูธัญญโศภิต

ณ เมรุวัดกลางคลองสี่ วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๕๑๕
ราคาเปิดประมูล10 บาท
ราคาปัจจุบัน110 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ10 บาท
วันเปิดประมูล - 21 ม.ค. 2555 - 18:39:04 น.
วันปิดประมูล - 23 ม.ค. 2555 - 21:43:38 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลp7harit (5K)(1)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     110 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     10 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    ศิษย์วัดกลาง (1.2K)(2)

 

Copyright ©G-PRA.COM