(0)
หลวงปู่ชอบ ฐานสโม รุ่นพิเศษ สระ 'อี ' สภาพสวยไม่ได้ใช้ครับ








รายงานผลโหวต

จากรูปพระแท้ 0% [0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง     0% [0]
จากรูปพระเก๊ 0% [0]
พระดูยากจากรูป 0% [0]

จำนวน โหวต



ชื่อพระเครื่องหลวงปู่ชอบ ฐานสโม รุ่นพิเศษ สระ 'อี ' สภาพสวยไม่ได้ใช้ครับ
รายละเอียดไม่ออกบัตรลด 300 ออกเพิ่ม100ตามกฏกติกาครับ เคาะไม่เคาะไม่เป็นไรครับ แต่น่าเสียดายหากท่านไม่อ่านข้อความต่อไปนี้ครับ ขอฝากส่วนหนึ่งของประวัติหลวงปู่ผู้มากด้วยบุญบารมี ดังนี้ครับ



ประวัติ ตอนที่ ๒๖. สายน้ำผุดบนภูพาน

ดังได้กล่าวแล้วว่า หลวงปู่และหลวงปู่ขาว เป็นสหธรรมิกที่ถูกอัธยาศัยซึ่งกันและกัน ต่างนับถือกันในในความเด็ดเดี่ยวอาจหาญไม่หวาดหวั่นภยันตราย ต่างยกย่องกันในด้านการภาวนากล้าสละตาย ต่างเคารพกัน ในเชิงภูมิจิต ภูมิธรรมของกันและกัน

ต่างเคยประกาศ...ใครสละตายได้ ไปกับเรา

ปกติเมื่อออกพรรษาแล้ว ท่านทั้งสองก็จะออกวิเวกไปหาที่เงียบสงัดบำเพ็ญความเพียร บางครั้งท่านก็จะแยกย้ายกันไปหาป่าดงพงชัฏ เงื้อมหินผา หรือถ้ำในเขาลึก ด้วยรู้ดีว่า ต่างองค์ต่างมุ่งธรรมแดนพ้นทุกข์ด้วยกัน ทุกข์ยากลำบากแสนเข็ญเช่นไรก็มิได้หวั่นเกรง ด้วยยอมมอบกายถวายชีวิตสละตาย เพื่อธรรมด้วยกัน ความเพียรก็ดี ความอาจหาญเด็ดเดี่ยวก็ดี ท่านเชื่อว่าเป็นสหมิตรเสมอกัน ไม่มีความอ่อนแอท้อแท้ กลัวทุกข์ กลัวยาก กลัวภัย กลัวเจ็บกลัวตาย ให้เพื่อนอีกคนจะต้องห่วงกังวล เสียเวลาทำความเพียรของอีกฝ่ายไป

ท่านชี้แจงว่า ในการเดินธุดงค์นี้ หากได้หมู่พวกที่ใจไม่ถึง “ยอ ๆ แย ๆ หรือ ย็อก ๆ แย็ก ๆ” ตามสำนวนของท่าน...หวาดนั่น กลัวนี่ ก็ลำบากเหมือนกัน โดยเฉพาะถ้ากำลังอยู่บนยอดเขาสูง หรือในป่าลึก เกิดมีใครใจไม่สู้ขึ้นมา กลัวตาย กลัวเจ็บ จะอุ้มหามแบกบ่ากลับมากันอย่างไร...ผู้หนึ่งจะอยู่ ผู้หนึ่งจะไป ผู้หนึ่งจะสู้ภาวนาด้วยจิตกล้า อีกผู้หนึ่งจะลี้หนีด้วยจิตกลัว ท่านจึงมักพอใจจะไปแต่ผู้เดียว ด้วยท่านเป็นผู้อยู่ง่าย มาง่าย ไปง่าย ไม่ต้องกังวลใคร ดังนั้นถ้าจะมีหมู่เพื่อน ท่านก็ต้องเลือกเฉพาะผู้มีจริตนิสัยคล้ายกัน มีธรรมเสมอกัน ดังที่ท่านมักจะไปกับหลวงปู่ขาวบ่อยครั้ง

ครั้งที่ทำให้เกิดเรื่องเล่าขานกันต่อ ๆ มา จนฟังดูประหนึ่งเทพนิยาย ไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้นจริง ๆ ในโลกมนุษย์ นี่ก็เป็นการเดินธุดงค์ของท่านครั้งหนึ่งที่ท่านไปกับหลวงปู่ขาวเหมือนกัน

ท่านเล่าว่า ท่านมีอายุ ๒๗ ปีเท่านั้น

ออกพรรษาแล้ว ท่านก็ชวนหลวงปู่ขาว ออกจากวัด วิเวกไปทางป่าลึกหลังเทือกเขาภูพาน

ป่าลึกบนเทือกเขาภูพานก็เช่นเดียวกันกับป่าเขาแถบอื่นในเมืองไทย ที่ระยะกว่าเจ็ดสิบปีที่ผ่านมาแล้วนั้น ทั้งรกชัฏ และเปรียบเสมือนป่าดงดิบ ยังไม่มีความเจริญ ยังไม่มีถนนตัดผ่านไปใกล้ เป็นที่อยู่ของสัตว์ทวิบาทจตุบาท นานาชนิด ทั้งน่าหวาดกลัวภัย เช่น งู เสือ ช้าง หมี เม่น หมูป่า กระทิง...หรือทั้งน่ารัก น่าสงสาร อย่างเช่น...นกยูง นกเงือก เก้ง ไก่ฟ้า ลิง ค่าง บ่าง ชะนี เลียงผา จะมีให้ได้เห็น หรือได้ยินเสียงโกญจนาทร้องก้องป่าอยู่เสมอ ให้ความรู้สึกว่า “ป่า” หรือ “ถิ่นบริเวณ” นั้นเป็นบ้านเมืองของบรรดาพวกสิงสาราสัตว์เหล่านั้น... มนุษย์ต่างหากที่เป็น “ผู้บุกรุก” ล่วงล้ำก้ำเกินเข้าไปในดินแดนที่อยู่ของเขา...!

ปกติในการเดินธุดงค์ ท่านจะต่างองค์กำหนดจิตภาวนาไปตลอดเวลา ถ้าเดินทางทั้งวัน ก็เท่ากับเดินจงกรมทั้งวัน ถ้าเดินทางตลอดคืน ก็เท่ากับเดินจงกรมตลอดคืน จิตที่ภาวนาจนเป็นสมาธิ ย่อมมีแต่ความสงบเยือกเย็น จิตวิเวก กายวิเวก จิตเบา กายเบา จิตสงบ กายสงบ จิตและกายต่างสงบอยู่ในตัวของตัวเอง

แม้ท่านจะได้ชื่อว่า เดินธุดงค์ไปด้วยกัน แต่ระหว่างที่จิตเร่งทำความเพียรอย่างประชิดติดพัน ประหนึ่งกำลังรุกไล่ข้าศึกให้หมอบราบลงนั้น ท่านก็แทบจะมิได้รู้สึกถึง “ใครอื่น” ที่อยู่ใกล้ พระพุทธองค์เคยทรงพระพุทธพจน์ระหว่างประทับอยู่เชตวันว่า

เอกาสนํ เอกเสยฺยํ

เอโก จร อตนฺทิโต

เอโก ทมยมตฺตานํ

วนนฺเต รมิโต สิยา

ภิกษุพึงเสพที่นั่งคนเดียว ที่นอนคนเดียว พึงเป็นผู้ไม่เกียจคร้าน ด้วยการเที่ยวไปแต่ผู้เดียวในทุกอิริยาบถ เป็นผู้เดียวที่ทรมานตน เป็นผู้ยินดียิ่งในราวป่า

เอกาสนํ เอกเสยฺยํ ผู้บำเพ็ญภาวนา ไม่ละมูลกรรมฐาน แม้นั่งในหมู่ภิกษุตั้งพัน แต่หากทำใจวิเวกเหมือนนั่งอยู่แต่ผู้เดียว แม้อยู่ในที่นอนอันวิจิตร ท่ามกลางภิกษุตั้งพันรูป แต่หากจิตตั้งมั่นอยู่ในข้อกรรมฐาน ก็ชื่อว่าอยู่ในที่นอนคนเดียวเหมือนกัน

เอโก จร อตนฺทิโต เป็นผู้เที่ยวไปแต่ผู้เดียว เป็นผู้ไม่เกียจคร้านในทุกอิริยาบถ

เอโก ทมยมตฺตานํ เป็นผู้เดียวเท่านั้น สามารถทรมานตนประกอบกรรมฐานทั้งหลายได้ในที่พักทุกที่
วนนฺเต รมิโต สิยา เมื่อทรมานตนอย่างนั้น ชื่อว่าเป็นผู้ยินดียิ่ง ในราวป่า อันสงัดจากเสียงทั้งหลาย
จิตของท่านวิเวก กายของท่านวิเวก จิตของท่านเปลี่ยว กายของท่านเปลี่ยว มีความรู้สึกว่าอยู่แต่ผู้เดียวตลอด

อย่างไรก็ดี แม้จิตของท่านทั้งสอง จะมีแต่ความสงบ เยือกเย็น เบิกบานในธรรมอย่างไร ธาตุขันธ์ก็ย่อมต้องการพักผ่อนบ้าง ท่านเล่าว่า การเดินธุดงค์ครั้งนั้น ผ่านเข้าไปในป่าลึกหลังเทือกเขาเป็นวัน ๆ แล้ว ยังไม่ได้พบหมู่บ้านคนเลย อาหารก็ไม่ได้ฉัน แต่นั่นยังพอทำเนา แต่สิ่งที่ธาตุขันธ์ของท่านทั้งสองต้องการอย่างยิ่งคือ น้ำ...!

น้ำในกระติกของหลวงปู่ขาวและท่าน หมดไปตั้งแต่ตอนกลางคืน เดินทางมาคิดว่าจะพอพบบ่อน้ำลำธารให้ได้ดื่มกินก็ไม่มี หรือแม้แต่แอ่งน้ำในรอยเท้าเสือ รอยเท้าช้าง ที่พระธุดงค์เคยได้อาศัย ค่อย ๆ ตักกรอง ก็ไม่พบพานเลย

ทั้งสององค์ทั้งเหนื่อย ทั้งหิว กระหาย อากาศก็เพิ่มความร้อนขึ้น จากเช้าเป็นสาย เป็นบ่าย ก็ยังไม่ได้พบน้ำ ร่างกายขาดอาหารได้เป็นวัน ๆ แต่ขาดน้ำในยามหน้าแล้ง ในป่าบนยอดเขานั้น เป็นภาวะที่ธาตุขันธ์ของท่านจะต้องอุทธรณ์ต่อเจ้าของมาก

แต่ท่านก็ต่างมีความอดทน มิได้ปริปากบ่น สุดท้ายก็ชวนกันนั่งพักใต้ร่มไม้

ดูเหมือนจะไม่ต้องอธิบาย ว่าเมื่อท่านต่างนั่งพัก ท่านจะต่างทำเช่นไร

แน่ที่สุด...ท่านก็ต้องนั่งภาวนา อันเป็นปกติวิสัย ที่ท่านมักจะภาวนาทั้งอิริยาบถ ๔ ...นั่ง ยืน เดิน นอน ไม่ว่าจะอยู่ในอิริยาบถใดก็ตาม...

ท่านนั่งพัก...ท่านก็เลยภาวนาไปด้วย

ท่านเล่าว่า นั่งได้ไม่นาน ก็ได้ยินเวียงดังกรอบแกรบ ๆ ใกล้เข้ามา

เสียงนั้น ดังใกล้เข้ามา...ดังมาก จนท่านต้องลืมตาดู

เห็นน้ำไหลมาจากโคกข้างหน้า เป็นทางน้ำกว้างประมาณศอกหนึ่ง ไหลผ่านใบไม้ที่ร่วงทับถมกันอยู่ในราวป่า เป็นใบไม้สีเหลืองบ้าง แดงบ้าง น้ำตาลบ้าง ถมซับซ้อนกันด้วยเป็นเวลาฤดูใบไม้ร่วง เสียงที่ดังจนรบกวนสมาธิให้ท่านลืมตาขึ้นดูนั้น ก็เป็น เสียงน้ำที่ไหลผ่านใบไม้กรอบแห้งเหล่านั้นนั่นเอง...!!

ท่านได้แหวกใบไม้ออก เห็นน้ำใสสะอาดไหลเอื่อยมา เหมือนเป็นลำธารเล็ก ๆ ได้กรองใส่กระติก ล้างหน้า ล้างตา ได้อาบ ได้ดื่ม ได้กินจนอิ่มเสร็จเรียบร้อย สายน้ำนั้นก็แห้งลงเฉย ๆ เป็นที่น่าอัศจรรย์ใจยิ่งนัก...!!!

เกิดขึ้นได้อย่างไร...!

น้ำผุดขึ้นจากกลางโคก ไหลมาเพียงให้ท่านได้ดื่มกิน อาบน้ำ ล้างหน้าล้างตา ให้คลายความเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้า กรองใส่กระติกน้ำเสร็จเรียบร้อย ก็แห้งลงในดินทรายทันที...!

เกิดขึ้นได้อย่างไร...! อย่างน้อยบุคคลหนึ่งในที่นั้นก็คิดเช่นนี้ ดังนั้นหลวงปู่ขาวจึงได้ซักสหายของท่าน

“ท่านชอบละซี..! ท่านชอบอธิษฐานอย่างไร”

หลวงปู่ปฏิเสธ “ผมไม่ได้อธิษฐานอะไร ผมเพียงแต่คิดเท่านี้ว่า เทวดาฟ้าดินจะไม่สงสารพระบ้างหรือ เทวดาจะปล่อยให้พระอดตายหรือ”

ท่านว่า ท่านก็คิดเพียงเท่านั้นเอง....!

เรื่องนี้แพร่หลายขึ้นมาก็เนื่องด้วยหลวงปู่ขาวนำมาเล่าให้ลูกศิษย์ลูกหาฟังอยู่เสมอ ผู้เขียนเป็นคนหนึ่งที่ได้ฟังกระเส็นกระสายปลายเหตุด้วย ฟังครั้งแรกว่าท่านไปกันกับหมู่พวกกลุ่มใหญ่ แต่ภายหลังเมื่อจะบันทึกทำประวัติของท่านนี้ ได้โอกาสกราบเรียนถาม หลวงปู่ยืนยันว่า ท่านไปกับหลวงปู่ขาวเพียง ๒ องค์เท่านั้น และระยะนั้น ท่านอายุเพียง ๒๗ ปี
คัดลอกจากหนังสือ ฐานสโมบูชา ครับ
ราคาเปิดประมูล3,000 บาท
ราคาปัจจุบัน3,750 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 31 ม.ค. 2555 - 21:11:51 น.
วันปิดประมูล - 07 ก.พ. 2555 - 23:24:29 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลcharity (1.9K)(1)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     3,750 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    subes (276)(2)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1