รายละเอียด | นัต (พม่า: Nat.png‌; MLCTS: nat; อังกฤษ: nat; IPA: [naʔ]) ออกเสียง น่ะต์ [1] หมายถึงผีของชาวพม่า เป็นความเชื่อพื้นเมืองที่มีมาก่อนที่พุทธศาสนาจะเข้ามาในพม่า นัตเป็นผีบรรพบุรุษ ลักษณะกึ่งผีกึ่งเทวดา คล้ายเทพารักษ์ คอยดูแลคุ้มครองสถานที่ที่ตนเมื่อครั้งยังมีชีวิตมีความสัมพันธ์อยู่ โดยอาจจะมีศาลลักษณะคล้ายศาลเพียงตาตั้งบูชาอยู่ในสถานที่นั้น ๆ
เมื่อพระเจ้าอโนรธามังช่อ แห่งราชวงศ์พุกาม นำศาสนาพุทธนิกายเถรวาทจากมอญเข้าสู่พม่า ในพุทธศตวรรษที่ 18 ความเชื่อเรื่องนัตจึงถูกผสมผสานเข้ากับศาสนาพุทธ นัตถูกยกระดับให้เป็นนัตหลวง คือ นัตระดับประเทศ โดยพระองค์ได้ทำการตั้งศาลนัตหลวงขึ้นที่เขาโปปา หรือเรียกว่า มหาคีรีนัต 1,300 เมตร ใกล้เมืองพุกาม มีทั้งหมด 37 องค์ โดยองค์สำคัญคือ นัตตัจจาเมง (หรือ นัตสักรา หรือ พระอินทร์), นัตพระเจ้าตะเบ็งชะเวตี้, นัตโยนบะเยง (นัตพระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์) เป็นต้น
นัตสององค์นี้ศิลป์เก่า ตัวเป็นเรซิ่น ฐานเป็นไม้ ทาสีเดิม เก่าได้อายุ ฐานกว้าง 4 นิ้ว สูง 6 นิ้ว |