(0)
เหรียญเจ้าสัว เนื้อทองแดง หลวงพ่อพร วัดบางแก้ว สร้าง 20,413 เหรียญ ( 1 )
รายงานผลโหวต
จากรูปพระแท้
0%
[0]
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง
0%
[0]
จากรูปพระเก๊
0%
[0]
พระดูยากจากรูป
0%
[0]
จำนวน
โหวต
ร่วมแสดงความคิดเห็น
จากรูปพระแท้
จากรูปพระแท้แต่ข้อมูลไม่ถูกต้อง
จากรูปพระเก๊
พระดูยากจากรูป
ความคิดเห็น:
กรุณารอสักครู่...
ชื่อพระเครื่อง
เหรียญเจ้าสัว เนื้อทองแดง หลวงพ่อพร วัดบางแก้ว สร้าง 20,413 เหรียญ ( 1 )
รายละเอียด
เหรียญเจ้าสัว เนื้อทองแดง หลวงพ่อพร วัดบางแก้ว สร้าง 20,413 เหรียญ ( 1 )
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ครั้งแรกในรอบ 10 ปีที่พลิกตำราการสร้างเจ้าสัวตำรับสายวัดกลางบางแก้วอย่างแท้จริงให้พลิก ฟื้นจากตำนานอันโด่งดังให้มีชีวิตกลับฟื้นคืนด้วยฝีมือพ ระเกจิอาจารย์ผู้สืบทอดวิชาสายวัดกลางบางแก้วมาจนหมดสิ้น "หลวงพ่อพร วัดบางแก้ว" ศิษย์เอกของหลวงปู่เจือ เป็นที่ทราบกันดีว่าเหรียญเจ้าสัวที่โด่งดังอันดับหนึ่งของประเทศต้องยกให้ เหรียญเจ้าสัวในสายวัดกลางบางแก้ว โดยเหรียญเจ้าสัวที่สร้างโดยหลวงปู่บุญมีสนนราคานับล้าน เหรียญเจ้าสัวรุ่นต่อมาหรือเหรียญเจ้าสัว 2 ที่สร้างโดยตำรับวัดกลางบางแก้วปี 2535 ปัจจุบันมีสนนราคาสูงและหาทำยายาก นับจากนั้นเป็นต้นมาตำราการจัดสร้างเหรียญเจ้าสัวในสายวัดกลางบางแก้วได้ถูก ปิดผนึกลงจนเกือบจะกลายเป็นตำนานแต่โชคดีที่ในปี 2555 นี้ ศิษย์เอกในสายวัดกลางบางแก้วอย่างหลวงพ่อพรได้ดำริจัดสร้างเหรียญเจ้าสัว รุ่นแรกของท่านขึ้นโดยจัดสร้างตามตำราของหลวงปู่บุญและวัดกลางบางแก้วทุก ประการทำให้ผู้คนต่างสนใจและจับจองกันเป็นเจ้าของอย่างท่วมท้นด้วยว่าเป็น เหรียญเจ้าสัวรุ่นแรกของหลวงพ่อพรและที่สำคัญ ที่สุดคือ "จัดสร้างเท่าจำนวนที่สั่งจองเท่านั้น" ไม่มีเผื่อเหลือเผื่อขาด วันนี้ชื่อเสียงของ พระครูพิจิตรสรคุณ (พร ปภากโร) แห่งวัดบางแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ดังกระหึ่มทั่วสารทิศ ในฐานะพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบและพุทธาคมแกร่งกล้าไม่เป็นรองใคร ปลุกเสกวัตถุมงคลทุกรุ่นล้วศักดิ์สิทธิ์เข้มขลัง เป็นที่แสวงหาของผู้ศรัทธาและนักสะสมวัดบางแก้ว สันนิษฐานว่าสร้างแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี กาลเวลาผ่านไปหลายร้อยปี ทำให้ชำรุดทรุดโทรมอุดมไปด้วยต้นไม้ใบหญ้ารกรุงรัง พระอุโบสถหลังเก่าทรุดเอียงและปูนแตกร้าวจนเห็นก้อนอิฐขนาดใหญ่ด้านใน เคยมีเจ้าอาวาสครองวัดมาหลายรูป เท่าที่สืบค้นประวัติได้มีดังนี้ หลวงปู่ศุข หลวงปู่กลิ่น หลวงพ่อพัฒน์ หลวงพ่อจอน หลวงพ่อจันทร์ หลวงพ่อเก่า และหลวงพ่อปุ่น และสุดท้ายคณะสงฆ์เห็นควรให้ พระครูพิจิตรสรคุณ (พร ปภากโร) มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสถึงปัจจุบันนี้ ว่ากันว่าวัดบางแก้ว มีอดีตพระเกจิ อาจารย์ยุคเก่าที่ผู้คนให้ความเคารพนับถืออยู่ ๒ รูป นั่นคือ หลวงปู่กลิ่น และหลวงพ่อพัฒน์ ต่างก็มีวิชาอาคมแก่กล้าเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว แต่ข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ หายาก จึงไม่ได้รับการเผยแพร่เท่าที่ควร มีเพียงรูปหล่อหลวงพ่อพัฒน์ประดิษฐานอยู่ในวัด และ " งาช้างดำ " ยาวข้างละ ๑ วา สีดำสนิทเหมือนนิล ที่ชาวบ้านนำมาถวาย พระครูศีลกัณตาภรณ์ หรือหลวงพ่อปุ่น กันตสีโร อดีตเจ้าอาวาสไว้ ซึ่งสร้างความเดือดร้อนใหญ่มาให้วัด เพราะคลื่นมหาชนต่างหลั่งไหลมาขอดู ขอชม บางรายอยากได้ไปครอบครอง จนต้องเก็บรักษากันสุดชีวิต ครั้นหลวงพ่อปุ่นมรณภาพปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ทิ้งของล้ำค่า " งาช้างดำ " ไว้เคียงคู่วัด จนในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ หลวงพ่อพร ย้ายจากวัดกลางบางแก้วมาเป็นเจ้าอาวาสวัดบางแก้ว ก็รักษางาช้างดำสืบต่อมา
ประวัติของ พระครูพิจิตรสรคุณ หรือหลวงพ่อพร เกิดเมื่อวันที่ ๑๘ เม.ย. พ.ศ. ๒๕๐๖ ที่ ต.สระกระเทียม อ.เมือง จ.นครปฐม บิดาชื่อ หลำ มารดาชื่อ สะอิ้ง นามสกุล บัวคำ วัยเด็กเรียนหนังสือที่โรงเรียนสระกระเทียมวิทยาคมจบชั้นมัธยมปีที่ ๓ ก็ออกมาทำงานช่วยเหลือครอบครัว ไปทำงานโรงงานใน ต.บางขุนแก้ว อ.นครชัยศรี นานกว่า ๑ ปี บิดามารดาอยากให้บวชทดแทนบุญคุณ จึงพาไปฝากพระปลัดใบ วัดกลางบางแก้ว ช่วยเป็นธุระให้ในปลายปี พ.ศ. ๒๕๒๕ โดยพระครูพิจิตรสรคุณ หรือหลวงพ่อพร เล่าว่า สมัยนั้นมีโอกาสใกล้ชิดพระพุทธวิถีนายก หรือหลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว แล้วศรัทธามาก บารมีท่านสูงจริง ๆ อยากบวชอยู่กับท่าน จึงหมั่นท่องขานนาคจนเชี่ยวชาญ ตั้งใจจะให้ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ ปรากฏว่า หลวงปู่เพิ่ม มรณภาพเสียก่อนในวันที่ ๖ ม.ค. ๒๕๒๖ ตอนนั้นเสียใจมาก แต่ไหน ๆ ตั้งใจแล้ว จึงเข้าพิธีอุปสมบทเมื่อวันที่ ๒๗ มี.ค. ๒๕๒๖ โดยนิมนต์พระครูวิบูลย์สิริธรรม วัดตุ๊กตา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดใบ คุณวีโร วัดกลางบางแก้ว เป็นพระ กรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์คำ วัดตุ๊กตา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา" 8220;ปภากโร " เมื่ออุปสมบทเป็นพระสงฆ์แล้ว พระภิกษุพร ก็จำพรรษาอยู่วัดกลางบางแก้ว มีความสนิทสนมกันดีกับ พระปลัดใบ มีโอกาสช่วยงานวัดมากมาย ทั้งช่วยบดส่วนผสมยาจินดามณี เรียนวิชาอาคมต่าง ๆ ซึ่งพระปลัดใบ ได้ถ่ายทอดให้หมดสิ้นไม่ปิดบัง โดยเฉพาะวิชาทำเบี้ยแก้ ที่ได้รับถ่ายทอดโดยตรงจากหลวงปู่เพิ่ม ครั้นพระปลัดใบมรณภาพ พระภิกษุพร ก็ไปปรนนิบัติ พระครูสิริชัยคณารักษ์ (สนั่น) เจ้าคณะอำเภอและเจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้วรูปถัดมา รวมทั้งไปรับใช้ใกล้ชิด หลวงปู่เจือ ปิยสีโล จนมรณภาพ ก็รับหน้าที่จูงสังขารลงจากศาลา ครั้นวัดกลางบางแก้ว ก่อสร้างพิพิธภัณฑ์พระพุทธวิถีนายกเสร็จสิ้น พระครูสิริชัยคณารักษ์ (สนั่น) มอบหมายให้ ภิกษุพร คอยดูแล จุดนี้เองทำให้มีโอกาสค้นคว้าตำราและวิชาต่าง ๆ ที่เก็บไว้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จวบถึงยุคหลวงปู่บุญ หลวงปู่เพิ่ม จนแกร่งกล้ารวมทั้งเคยได้รับการถ่ายทอดวิชาจาก หลวงปู่เจือ มาอีกไม่น้อย ยิ่งทำให้เก่งกาจยิ่งขึ้นเป็นทวีคูณ ภายหลังคณะสงฆ์เห็นว่า ภิกษุพร มีความรู้มีความสามารถ จึงมีมติให้ไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางแก้วตามที่ญาติโยมเรียกร้องขอมา ซึ่งภิกษุพรก็ไม่ทำให้ผิดหวัง มุ่งมั่นพัฒนาวัดบางแก้วอย่างต่อเนื่องเจริญรุ่งเรืองตามลำดับ จนได้รับสมณศักดิ์ที่ "พระครูพิจิตรสรคุณ"อย่างไรก็ตาม แม้ท่านจะทุ่มเทแรงกายแรงใจพัฒนาวัดสักเท่าใด สิ่งที่ยังขาดแคลนก็คือ ทุนทรัพย์มหาศาล เพราะเสนาสนะ พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ และสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ล้วนชำรุดทรุดโทรม พระครูพิจิตรสรคุณ จึงตัดสินใจนำความรู้และวิทยาคมที่เล่าเรียนมา จัดสร้าง " เหรียญเจ้าสัว " รุ่นแรกของวัดบางแก้วขึ้น เพื่อมอบให้ญาติโยมที่ทำบุญเป็นที่ระลึก เหรียญรุ่นนี้ดีนอก-ดีในครบถ้วน เพราะใช้ชนวนพระชัยวัฒน์เก่าของ หลวงปู่บุญ ปี พ.ศ. ๒๔๔๔ และชนวนเหรียญเจ้าสัวปี พ.ศ. ๒๕๓๕ หล่อหลอมเป็นชนวนมงคลผสมในเหรียญรุ่นนี้ โดยจัดพิธีเททองหลอมรวมชนวนมวลสารทั้งหมดรวมทั้งเททองนำฤกษ์ เหรียญชุดเนื้อชนวนไปแล้ว ๕๐๐ เหรียญ เมื่อวันที่ ๑๙ พ.ค. ๒๕๕๕ ตรงกับวันเสาร์ เวลา ๐๙.๓๙ น. ยึดฤกษ์เศรษฐี " มหัทธโนฤกษ์ " โดยในพิธีมีการเชิญคหบดีระดับเจ้าสัวจำนวน 9 ท่านมาเป็นประธานร่วมงานเอาเคล็ดให้เหรียญเจ้าสัวร่ำรวยเหมือนเจ้าสัวสมชื่อ นั่นเอง จากนั้นนำชนวนไปผสมหล่อเหรียญเจ้าสัวเนื้ออื่น ๆ และเปิดให้ผู้สนใจเช่าบูชาสั่งจองตั้งแต่วันที่ ๖ มิ.ย. ๒๕๕๕ เป็นต้นมา เวลา ๐๙.๓๙ น. ตาม " มหัทธโนฤกษ์ " ในตำแหน่ง " อำมฤตโชค " มหามงคลสูงสุดเรื่องโชคลาภ และจะเปิดจองถึงวันที่ ๙ ส.ค. ๒๕๕๕ เวลา ๐๘.๐๐ น. ตาม " มหาสิทธิโชค มหัทธโนฤกษ์ " แล้วนำชนวนทั้งหมดไปจัดสร้างตามจำนวนสั่งจอง โดยพระครูพิจิตรสรคุณ จะทำพิธีปลุกเสกเดี่ยวในพรรษาตามตำรับหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จนออกพรรษา จะเปิดให้รับเหรียญในวันที่ ๙ พ.ย. ๒๕๕๕ เวลา ๐๙.๓๙ น. ในฤกษ์ " มหาสิทธิโชค มหัทธโนฤกษ์ " เป็นต้นไป
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ปี พ.ศ.2555 เททองเมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2555 โดยผู้สร้าง คือ หลวงพ่อพร วัดบางแก้ว ซึ่งเป็นศิษย์ผู้ถ่ายทอดพุทธาคมมาจาก " หลวงปู่เจือ " ครั้งนี้หลวงพ่อพรได้รับ ชนวนโลหะทั้งหมด ที่เหลือจากการสร้างปี พ.ศ. 2535 แล้วชนวนของหลวงปู่เจือ รุ่นต่าง ๆ มาผนวกผสมลงไป สร้างขึ้นมาเป็นเหรียญเจ้าสัวรุ่นนี้ ซึ่งมี เนื้อทองคำ 45 เหรียญ , เนื้อเงิน 3,350 เหรียญ , เนื่อนวโลหะ 2,120 เหรียญ , เนื้อทองแดง 20,413 เหรียญ , เนื้อชนวน 500 เหรียญ และเนื้อแร่ 27,085 เหรียญ หลวงพ่อพร วัดบางแก้ว ปลุกเสกเดี๋ยวตลอดไตรมาส ขณะนี้ปลุกเสก " ไตรมาส " เสร็จแล้วในวันออกพรรษา เริ่มทยอยแจกจ่ายแก่ผู้สั่งจอง ตั้งแต่วันที่ 9 พฤศจิกายน 2555 มีผู้สั่งจองไปรับของกันแล้ว ผู้ที่ไม่ได้จองเกิดอาการอยากได้ " เหรียญเจ้าสัวรุ่นนี้ " เพราะเห็นว่าดีทั้งเนื้อหา พิธีกรรม และการปลุกเสกเดี๋ยวโดยหลวงพ่อพร ทำให้ราคาขยับขึ้นไปมาก
***************************************************
เหรียญเจ้าสัว วัดกลางบางแก้ว เป็นที่ต้องการของนักสะสม เนื่องมาพุทธคุณ ที่มาเป็นชื่อเรียกของเหรียญ ด้วยพุทธาคม ของหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว และ สืบพุทธาคมมาสู่หลวงปู่เพิ่ม ( สองเจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้ว ) และ มาสู่ หลวงปู่เจือ ( ท่านไม่ใช่เจ้าอาวาส ) และ มาสู่ หลวงพ่อพร แห่ง วัดบางแก้ว ( ไม่ใช่วัดกลางบางแก้ว ) ดังนั้นถือว่าเป็นรุ่นแรก ของวัด และ ของท่าน เหรียญรุ่นแรกของท่านราคาสูงแล้วครับ และ ยังเป็นที่ต้องการของนักสะสมครับ เพราะมองว่ามีอนาคต เหรียญเจ้าสัวเพิ่งออกมาราคายังพอเก็บได้ครับ แล้วอย่างนี้ไม่เก็บไว้บ้างหรือครับ ตอก 2 โค๊ต และ 1 จาร เพื่อการันตี ว่าผ่านมือหลวงพ่อทุกองค์
****************************************
ราคาเปิดประมูล
291 บาท
ราคาปัจจุบัน
411 บาท
(!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ
10 บาท
วันเปิดประมูล
- 21 ม.ค. 2556 - 20:35:57 น.
วันปิดประมูล
- 23 ม.ค. 2556 - 12:50:54 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูล
มนตรีฉิมพาลี
(
1K
)
(0)
ข้อมูลเพิ่มเติม 1
- 21 ม.ค. 2556 - 20:39:26 น.
ด้านข้างครับ
ข้อมูลเพิ่มเติม 2
- 21 ม.ค. 2556 - 20:42:03 น.
ด้านข้างครับ
ข้อมูลเพิ่มเติม 3
- 21 ม.ค. 2556 - 20:42:35 น.
ครั้งแรกในรอบ 10 ปีที่พลิกตำราการสร้างเจ้าสัวตำรับสายวัดกลางบางแก้วอย่างแท้จริงให้พลิก ฟื้นจากตำนานอันโด่งดังให้มีชีวิตกลับฟื้นคืนด้วยฝีมือพ ระเกจิอาจารย์ผู้สืบทอดวิชาสายวัดกลางบางแก้วมาจนหมดสิ้น "หลวงพ่อพร วัดบางแก้ว" ศิษย์เอกของหลวงปู่เจือ เป็นที่ทราบกันดีว่าเหรียญเจ้าสัวที่โด่งดังอันดับหนึ่งของประเทศต้องยกให้ เหรียญเจ้าสัวในสายวัดกลางบางแก้ว โดยเหรียญเจ้าสัวที่สร้างโดยหลวงปู่บุญมีสนนราคานับล้าน เหรียญเจ้าสัวรุ่นต่อมาหรือเหรียญเจ้าสัว 2 ที่สร้างโดยตำรับวัดกลางบางแก้วปี 2535 ปัจจุบันมีสนนราคาสูงและหาทำยายาก นับจากนั้นเป็นต้นมาตำราการจัดสร้างเหรียญเจ้าสัวในสายวัดกลางบางแก้วได้ถูก ปิดผนึกลงจนเกือบจะกลายเป็นตำนานแต่โชคดีที่ในปี 2555 นี้ ศิษย์เอกในสายวัดกลางบางแก้วอย่างหลวงพ่อพรได้ดำริจัดสร้างเหรียญเจ้าสัว รุ่นแรกของท่านขึ้นโดยจัดสร้างตามตำราของหลวงปู่บุญและวัดกลางบางแก้วทุก ประการทำให้ผู้คนต่างสนใจและจับจองกันเป็นเจ้าของอย่างท่วมท้นด้วยว่าเป็น เหรียญเจ้าสัวรุ่นแรกของหลวงพ่อพรและที่สำคัญ ที่สุดคือ "จัดสร้างเท่าจำนวนที่สั่งจองเท่านั้น" ไม่มีเผื่อเหลือเผื่อขาด วันนี้ชื่อเสียงของ พระครูพิจิตรสรคุณ (พร ปภากโร) แห่งวัดบางแก้ว อ.นครชัยศรี จ.นครปฐม ดังกระหึ่มทั่วสารทิศ ในฐานะพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบและพุทธาคมแกร่งกล้าไม่เป็นรองใคร ปลุกเสกวัตถุมงคลทุกรุ่นล้วศักดิ์สิทธิ์เข้มขลัง เป็นที่แสวงหาของผู้ศรัทธาและนักสะสมวัดบางแก้ว สันนิษฐานว่าสร้างแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี กาลเวลาผ่านไปหลายร้อยปี ทำให้ชำรุดทรุดโทรมอุดมไปด้วยต้นไม้ใบหญ้ารกรุงรัง พระอุโบสถหลังเก่าทรุดเอียงและปูนแตกร้าวจนเห็นก้อนอิฐขนาดใหญ่ด้านใน เคยมีเจ้าอาวาสครองวัดมาหลายรูป เท่าที่สืบค้นประวัติได้มีดังนี้ หลวงปู่ศุข หลวงปู่กลิ่น หลวงพ่อพัฒน์ หลวงพ่อจอน หลวงพ่อจันทร์ หลวงพ่อเก่า และหลวงพ่อปุ่น และสุดท้ายคณะสงฆ์เห็นควรให้ พระครูพิจิตรสรคุณ (พร ปภากโร) มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสถึงปัจจุบันนี้ ว่ากันว่าวัดบางแก้ว มีอดีตพระเกจิ อาจารย์ยุคเก่าที่ผู้คนให้ความเคารพนับถืออยู่ ๒ รูป นั่นคือ หลวงปู่กลิ่น และหลวงพ่อพัฒน์ ต่างก็มีวิชาอาคมแก่กล้าเป็นที่เลื่องลือไปทั่ว แต่ข้อมูลและรายละเอียดต่าง ๆ หายาก จึงไม่ได้รับการเผยแพร่เท่าที่ควร มีเพียงรูปหล่อหลวงพ่อพัฒน์ประดิษฐานอยู่ในวัด และ " งาช้างดำ " ยาวข้างละ ๑ วา สีดำสนิทเหมือนนิล ที่ชาวบ้านนำมาถวาย พระครูศีลกัณตาภรณ์ หรือหลวงพ่อปุ่น กันตสีโร อดีตเจ้าอาวาสไว้ ซึ่งสร้างความเดือดร้อนใหญ่มาให้วัด เพราะคลื่นมหาชนต่างหลั่งไหลมาขอดู ขอชม บางรายอยากได้ไปครอบครอง จนต้องเก็บรักษากันสุดชีวิต ครั้นหลวงพ่อปุ่นมรณภาพปี พ.ศ. ๒๕๔๖ ทิ้งของล้ำค่า " งาช้างดำ " ไว้เคียงคู่วัด จนในปี พ.ศ. ๒๕๔๖ หลวงพ่อพร ย้ายจากวัดกลางบางแก้วมาเป็นเจ้าอาวาสวัดบางแก้ว ก็รักษางาช้างดำสืบต่อมา
ประวัติของ พระครูพิจิตรสรคุณ หรือหลวงพ่อพร เกิดเมื่อวันที่ ๑๘ เม.ย. พ.ศ. ๒๕๐๖ ที่ ต.สระกระเทียม อ.เมือง จ.นครปฐม บิดาชื่อ หลำ มารดาชื่อ สะอิ้ง นามสกุล บัวคำ วัยเด็กเรียนหนังสือที่โรงเรียนสระกระเทียมวิทยาคมจบชั้นมัธยมปีที่ ๓ ก็ออกมาทำงานช่วยเหลือครอบครัว ไปทำงานโรงงานใน ต.บางขุนแก้ว อ.นครชัยศรี นานกว่า ๑ ปี บิดามารดาอยากให้บวชทดแทนบุญคุณ จึงพาไปฝากพระปลัดใบ วัดกลางบางแก้ว ช่วยเป็นธุระให้ในปลายปี พ.ศ. ๒๕๒๕ โดยพระครูพิจิตรสรคุณ หรือหลวงพ่อพร เล่าว่า สมัยนั้นมีโอกาสใกล้ชิดพระพุทธวิถีนายก หรือหลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว แล้วศรัทธามาก บารมีท่านสูงจริง ๆ อยากบวชอยู่กับท่าน จึงหมั่นท่องขานนาคจนเชี่ยวชาญ ตั้งใจจะให้ท่านเป็นพระอุปัชฌาย์ ปรากฏว่า หลวงปู่เพิ่ม มรณภาพเสียก่อนในวันที่ ๖ ม.ค. ๒๕๒๖ ตอนนั้นเสียใจมาก แต่ไหน ๆ ตั้งใจแล้ว จึงเข้าพิธีอุปสมบทเมื่อวันที่ ๒๗ มี.ค. ๒๕๒๖ โดยนิมนต์พระครูวิบูลย์สิริธรรม วัดตุ๊กตา เป็นพระอุปัชฌาย์ พระปลัดใบ คุณวีโร วัดกลางบางแก้ว เป็นพระ กรรมวาจาจารย์ และพระอาจารย์คำ วัดตุ๊กตา เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้รับฉายา" 8220;ปภากโร " เมื่ออุปสมบทเป็นพระสงฆ์แล้ว พระภิกษุพร ก็จำพรรษาอยู่วัดกลางบางแก้ว มีความสนิทสนมกันดีกับ พระปลัดใบ มีโอกาสช่วยงานวัดมากมาย ทั้งช่วยบดส่วนผสมยาจินดามณี เรียนวิชาอาคมต่าง ๆ ซึ่งพระปลัดใบ ได้ถ่ายทอดให้หมดสิ้นไม่ปิดบัง โดยเฉพาะวิชาทำเบี้ยแก้ ที่ได้รับถ่ายทอดโดยตรงจากหลวงปู่เพิ่ม ครั้นพระปลัดใบมรณภาพ พระภิกษุพร ก็ไปปรนนิบัติ พระครูสิริชัยคณารักษ์ (สนั่น) เจ้าคณะอำเภอและเจ้าอาวาสวัดกลางบางแก้วรูปถัดมา รวมทั้งไปรับใช้ใกล้ชิด หลวงปู่เจือ ปิยสีโล จนมรณภาพ ก็รับหน้าที่จูงสังขารลงจากศาลา ครั้นวัดกลางบางแก้ว ก่อสร้างพิพิธภัณฑ์พระพุทธวิถีนายกเสร็จสิ้น พระครูสิริชัยคณารักษ์ (สนั่น) มอบหมายให้ ภิกษุพร คอยดูแล จุดนี้เองทำให้มีโอกาสค้นคว้าตำราและวิชาต่าง ๆ ที่เก็บไว้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา จวบถึงยุคหลวงปู่บุญ หลวงปู่เพิ่ม จนแกร่งกล้ารวมทั้งเคยได้รับการถ่ายทอดวิชาจาก หลวงปู่เจือ มาอีกไม่น้อย ยิ่งทำให้เก่งกาจยิ่งขึ้นเป็นทวีคูณ ภายหลังคณะสงฆ์เห็นว่า ภิกษุพร มีความรู้มีความสามารถ จึงมีมติให้ไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบางแก้วตามที่ญาติโยมเรียกร้องขอมา ซึ่งภิกษุพรก็ไม่ทำให้ผิดหวัง มุ่งมั่นพัฒนาวัดบางแก้วอย่างต่อเนื่องเจริญรุ่งเรืองตามลำดับ จนได้รับสมณศักดิ์ที่ "พระครูพิจิตรสรคุณ"อย่างไรก็ตาม แม้ท่านจะทุ่มเทแรงกายแรงใจพัฒนาวัดสักเท่าใด สิ่งที่ยังขาดแคลนก็คือ ทุนทรัพย์มหาศาล เพราะเสนาสนะ พระอุโบสถ ศาลาการเปรียญ และสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ล้วนชำรุดทรุดโทรม พระครูพิจิตรสรคุณ จึงตัดสินใจนำความรู้และวิทยาคมที่เล่าเรียนมา จัดสร้าง " เหรียญเจ้าสัว " รุ่นแรกของวัดบางแก้วขึ้น เพื่อมอบให้ญาติโยมที่ทำบุญเป็นที่ระลึก เหรียญรุ่นนี้ดีนอก-ดีในครบถ้วน เพราะใช้ชนวนพระชัยวัฒน์เก่าของ หลวงปู่บุญ ปี พ.ศ. ๒๔๔๔ และชนวนเหรียญเจ้าสัวปี พ.ศ. ๒๕๓๕ หล่อหลอมเป็นชนวนมงคลผสมในเหรียญรุ่นนี้ โดยจัดพิธีเททองหลอมรวมชนวนมวลสารทั้งหมดรวมทั้งเททองนำฤกษ์ เหรียญชุดเนื้อชนวนไปแล้ว ๕๐๐ เหรียญ เมื่อวันที่ ๑๙ พ.ค. ๒๕๕๕ ตรงกับวันเสาร์ เวลา ๐๙.๓๙ น. ยึดฤกษ์เศรษฐี " มหัทธโนฤกษ์ " โดยในพิธีมีการเชิญคหบดีระดับเจ้าสัวจำนวน 9 ท่านมาเป็นประธานร่วมงานเอาเคล็ดให้เหรียญเจ้าสัวร่ำรวยเหมือนเจ้าสัวสมชื่อ นั่นเอง จากนั้นนำชนวนไปผสมหล่อเหรียญเจ้าสัวเนื้ออื่น ๆ และเปิดให้ผู้สนใจเช่าบูชาสั่งจองตั้งแต่วันที่ ๖ มิ.ย. ๒๕๕๕ เป็นต้นมา เวลา ๐๙.๓๙ น. ตาม " มหัทธโนฤกษ์ " ในตำแหน่ง " อำมฤตโชค " มหามงคลสูงสุดเรื่องโชคลาภ และจะเปิดจองถึงวันที่ ๙ ส.ค. ๒๕๕๕ เวลา ๐๘.๐๐ น. ตาม " มหาสิทธิโชค มหัทธโนฤกษ์ " แล้วนำชนวนทั้งหมดไปจัดสร้างตามจำนวนสั่งจอง โดยพระครูพิจิตรสรคุณ จะทำพิธีปลุกเสกเดี่ยวในพรรษาตามตำรับหลวงปู่บุญ วัดกลางบางแก้ว จนออกพรรษา จะเปิดให้รับเหรียญในวันที่ ๙ พ.ย. ๒๕๕๕ เวลา ๐๙.๓๙ น. ในฤกษ์ " มหาสิทธิโชค มหัทธโนฤกษ์ " เป็นต้นไป
ราคาปัจจุบัน :
411 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :
10 บาท
!!! ปิดประมูลแล้ว !!!
ผู้ชนะประมูล
rinsoda
(
293
)
Copyright ©G-PRA.COM
www1