ชื่อพระเครื่อง | เหรียญกษาปณ์ ๕๐ สตางค์ ปีพ.ศ. ๒๕๐๐ อลูมินั่มบรอนซ์ # 4 |
รายละเอียด | เหรียญกษาปณ์ ๕๐ สตางค์ ปีพ.ศ. ๒๕๐๐ อลูมินั่มบรอนซ์
เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนปี ๒๕๐๐ อายุ ๕๙ ปีแล้ว คนไทยจำนวนมากไม่มีโอกาศได้ใช้ครับ มีโอกาศเก็บไว้เก็บเลยครับ
ตราแผ่นดินในอดีต
เครื่องหมายอื่นๆ ที่แทรกอยู่ในตรา แต่เห็นได้ไม่สู้ชัดเจนนัก คือ เครื่องราชกกุธภัณฑ์ทั้ง 5 อันเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นพระเจ้าแผ่นดินโดยสมบูรณ์ ดังบรรยายต่อไปนี้
ตรงกลางภาพส่วนบนสุดเป็นภาพพระมหาพิชัยมงกุฎ
บนมุมซ้ายด้านบนของโล่เป็นส่วนหนึ่งของพระแสงขรรค์ชัยศรี และพระแส้หางจามรี
บนมุมขวาด้านบนของโล่เป็นส่วนหนึ่งของธารพระกรไม้ชัยพฤกษ์ และพัดวาลวิชนี
ส่วนฉลองพระบาทเชิงงอนแยกอยู่ริมฐานฉัตรด้านละ 1 ข้าง
เบื้องหลังตราแผ่นดินที่มีลักษณะเป็นจีบคล้ายผ้าม่าน คือ ฉลองพระองค์ครุยทอง
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ เสวกเอก หม่อมเจ้าประวิช ชุมสาย พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมสาย กรมขุนราชสีหวิกรม ผูกตราประจำประเทศขึ้นเป็นครั้งแรกใน พ.ศ. 2416 โดยอิงกับหลักการผูกตราของทางยุโรปที่เรียกกันว่า Heraldry (หม่อมราชวงศ์คึกฤทธิ์ ปราโมช เคยแปลคำนี้ลงในหนังสือเรื่อง ฝรั่งศักดินา เอาไว้ว่า มุทราศาสตร์) ตรานี้เรียกกันโดยทั่วไปว่า ตราแผ่นดินหรือตราอาร์ม อันมีลักษณะดังต่อไปนี้
ส่วนบนสุดตรงกลาง คือ ภาพพระมหาพิชัยมงกุฎเปล่งรัศมี หมายถึงความเป็นพระมหากษัตริย์ ภายใต้พระมหาพิชัยมงกฎเป็นภาพจักรและตรีไขว้ เรียกว่า ตรามหาจักรี อันเป็นพระบรมราชสัญลักษณ์ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นเครื่องหมายแทนนามราชวงศ์จักรี ความหมายโดยรวมจึงแปลว่า พระมหากษัตริย์แห่งพระราชวงศ์จักรี
ทางด้านซ้ายและขวาของพระมหาพิชัยมงกฎเป็นรูปฉัตร 7 ชั้น อันเป็นเครื่องหมายแห่งราชาธิปไตย ที่เป็นฉัตร 7 ชั้น ก็เพราะว่าเป็นฉัตรสำหรับใช้ประกอบกับนพปฏลมหาเศวตฉัตร (ฉัตร 9 ชั้น) ซึ่งเป็นเครื่องหมายแสดงพระราชอิสริยศของพระมหากษัตริย์ การใช้รูปดังกล่าวจึงเป็นการประกาศให้รู้ว่า ดินแดนสยามอยู่ภายใต้ร่มพระบรมโพธิสมภารของพระมหากษัตริย์ผู้เป็นสยามินทราธิราช
ใต้ลงมาเป็นรูปโล่แบ่งออกเป็น 3 ห้อง โดยส่วนบนแบ่งเป็น 1 ห้อง ส่วนล่างเป็น 2 ห้อง มีความหมายดังนี้
ห้องด้านบนเป็นภาพช้าง 3 เศียร หมายถึง สยามเหนือ, สยามกลาง และสยามใต้ พื้นโล่เป็นสีเหลือง
ห้องล่างด้านขวาเป็นภาพช้างเผือก หมายถึงประเทศราชลาวล้านช้าง (กรุงศรีสัตนาคนหุต) พื้นโล่เป็นสีแดง
ห้องล่างด้านซ้ายเป็นภาพกริชคดและกริชตรงไขว้กัน หมายถึง หัวเมืองประเทศราชมลายู พื้นโล่เป็นสีชมพู
ความหมายโดยรวมของรูปสัญลักษณ์ภายในโล่จึงหมายถึงขอบขัณฑสีมาทั้งหมดของประเทศสยามในเวลานั้น
ต่อจากฉัตรทางด้านขวาเป็นภาพคชสีห์ประคองฉัตร ส่วนทางด้านซ้ายเป็นภาพราชสีห์ประคองฉัตร คชสีห์หมายถึงข้าราชการฝ่ายกลาโหม ซึ่งเป็นใหญ่ทางฝ่ายทหาร ส่วนราชสีห์หมายถึง ข้าราชการฝ่ายมหาดไทย ซึ่งเป็นใหญ่ทางฝ่ายพลเรือน ทั้งสองฝ่ายนี้มีหน้าที่ป้องกันพระราชอาณาจักรและค้ำจุนพระราชบัลลังก์
ส่วนขอบโล่ด้านล่างสุดล้อมรอบด้วยพระมหาสังวาลนพรัตน์รัตนราชวราภรณ์ หมายถึง พระพุทธศาสนา มีที่มาจากเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นโบราณมงคลนพรัตนราชวราภรณ์์ที่สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งพระมหาสังวาลนพรัตน์รัตนราชวราภรณ์ก็นับเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องราชอิสริยาภรณ์ชนิดนี้ด้วย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ กำหนดให้พระราชทานแก่พระบรมวงศานุวงศ์ และข้าราชการที่กระทำคุณงามความดีต่อชาติอย่างใหญ่หลวง โดยเงื่อนไขสำคัญในการพระราชทานนั้นกำหนดไว้อย่างชัดเจนว่า จะพระราชทานให้แก่บุคคลที่เป็นพุทธมามกะเท่านั้น |
ราคาเปิดประมูล | 80 บาท |
ราคาปัจจุบัน | 90 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!) |
เพิ่มขึ้นครั้งละ | 10 บาท |
วันเปิดประมูล | - 03 พ.ย. 2559 - 22:24:05 น. |
วันปิดประมูล | - 05 พ.ย. 2559 - 00:39:03 น. (ปิดประมูลแล้ว) |
ผู้ตั้งประมูล | พญาวัน (504)
|