(0)
รูปหล่อเหมือนหลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา







ชื่อพระเครื่องรูปหล่อเหมือนหลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา
รายละเอียดหนึ่งในพระเกจิอาจารย์ชื่อดัง ยุคกึ่งพุทธกาลที่เป็นตำนานแห่งเมืองนครปฐม
"พระครูภาวนากิตติคุณ" หรือ "หลวงพ่อน้อย อินทสาโร" อดีตเจ้าอาวาสวัดธรรมศาลา
สหธรรมิกร่วมยุคสมัยกับหลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี, หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม, หลวงปู่เส่ง วัดกัลยาณ์ เป็นต้น

ไม่ว่าวันเวลาจะผ่านไปกี่ปี ชื่อเสียงของพระเกจิอาจารย์รูปนี้ก็ไม่มีวันจางหายไปในใจศิษยานุศิษย์ผู้เลื่อมใสศรัทธา

ท่านเกิดที่บ้านหนองอ้อ ต.ธรรมศาลา อ.เมือง จ.นครปฐม เมื่อวันที่ 12 พ.ค.2426 เวลา 04.00 น. ตรงกับสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตามดวงชะตาในแผ่นเงินที่เก็บเป็นประวัติ ณ วัดธรรมศาลา ปรากฏดังนี้ ปีมะแม เบญจศก ปริติมาสวารอธิถสุรทิน จุลศักราช 1245 วันที่ 12 พฤษภาคม พุทธศักราช 2426 เวลา 04.00 น. พระลักษณาสถิต ราศรีเมษฤกษ์ที่ 7-นาฑีฤกษ์ 52 มีนามว่า เพ็ชฒฤกษ์ จันทร์องศา 14 ลัคนา 37 พุทธรักษา ธัมมรักษา สังฆรักษา บิดารักษา พระอินทร์รักษา พระ... รักษา พระพรหมรักษา เทวดารักษา มารดารักษา "พระอาจารย์น้อย"

โยมบิดาชื่อ "แสง" โยมมารดาชื่อ "อ่อน" โยมพี่เป็นหญิงชื่อ "ปู๋" ในเยาว์วัยโยมบิดาได้นำหลวงพ่อไปฝากไว้กับท่านพระครูปริมานุรักษ์ (นวม) เจ้าอาวาสวัดธรรมศาลา ในยุคนั้นเพื่อการศึกษาเล่าเรียนและรับการอบรม จนมีความรู้ ความสามารถในการอ่านและเขียนภาษาไทยกับภาษาขอม กระทั่งอายุ 15 ปี บิดาได้นำไปฝากไว้กับท่านพระอธิการชา เจ้าอาวาสวัดสามกระบือเผือก เพื่อศึกษาต่อและบรรพชาเป็นสามเณร

โดยระหว่างที่เป็นสามเณรได้ไปมา หาสู่ระหว่างวัดสามกระบือเผือกกับวัดธรรมศาลา เป็นประจำ จวนโยมบิดาและโยมมารดาถึงวัยชรามีโรคภัยเบียดเบียน ท่านจึงได้สึกจากสามเณร มาช่วยเหลือครอบครัว ในการประกอบอาชีพ ณ บ้านหนองอ้อ อันเป็นภูมิลำเนาเดิม

เมื่อ อายุครบ 20 ปีจึงเข้าอุปสมบท ณ วัดธรรมศาลา เมื่อวันที่ 28 พ.ค.2446 มีพระอธิการทอง วัดละมุด อ.นครชัยศรี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูปริมานุรักษ์ (นวม) วัดธรรมศาลา เป็นพระ กรรมวาจาจารย์ และพระสมุห์แสง วัดใหม่ เป็นพระอนุสาวนาจารย์ มีนามฉายาว่า "อินทสโร"

หลังอุปสมบทแล้ว มีความสนใจศึกษาทางด้านวิปัสสนาธุระสมถะและไสยเวท ได้ศึกษาพระธรรมวินัยเป็นเบื้องต้นจากอาจารย์หลายองค์ได้แก่ พระอธิการทอง วัดละมุด พระครูปริมานนุรักษ์ (นวม) พระครูทักษินานุกิจ (แจ้ง) พระสมุห์แสง วัดใหม่ รวมทั้งอาจารย์ อู๊ด ที่เป็นฆราวาส โดยอาศัยที่หลวงพ่อ มีความรู้ภาษาขอมมาแต่เดิมและมีสมาธิมั่นคงแน่วแน่ จึงให้การศึกษาทางพุทธาคมของท่านเป็นไปอย่างรวดเร็ว ร่ำเรียนวิชาชนิดไหนก็สำเร็จ

"พระครูภาวนากิตติคุณ" หรือ "หลวงพ่อน้อย อินทสาโร" อดีตเจ้าอาวาสวัดธรรมศาลา อ.เมือง จ.นครปฐม อุปนิสัยรักสงบ มีความเคร่งขรึมและสำรวมอยู่เป็นเนืองนิตย์ ไม่ชอบแสดงออกให้ผู้ใดได้ทราบว่า มีดีอย่างไร แต่มีสิ่งที่แสดงออกหลายประการ

เช่น วาจาศักดิ์สิทธิ์จนเป็นที่เลื่องลือ การแผ่เมตตาด้วยสื่อสัมพันธ์ทางกระแสจิตจนทำให้สัตว์ป่าคือ วานรที่มาอาศัยอยู่มีความเชื่องและเข้าใจ ประหนึ่งเป็นศิษย์ที่รู้ภาษาของท่าน รวมทั้ง นก กา ไก่ ที่มาอาศัยอยู่ในวัด ท่านก็ให้ความคุ้มครองสัตว์ทั้งหลายในขอบเขตของวัดจนไม่มีผู้ใดกล้าเข้ามาทำ อันตรายได้

ดังปรากฏมีนักเลงปืนมือฉมังมาลองยิงนกในวัดอยู่เนืองๆ โดยไม่ปรากฏว่าผู้ใดได้นกไปแม้แต่ตัวเดียว ทำเอานักเลงปืนขยาดไปตามๆ กัน ที่สำคัญ ข่าวนี้ได้ร่ำลือออกไปจากลูกศิษย์จนเป็นที่ทราบกันอยู่ทั่วไป จากเหตุการณ์ครั้งนั้นและในระยะหลังบ้าง จึงทำให้ลูกศิษย์ได้เข้าใจหลวงพ่อเกี่ยวกับกฤตยาคมมากขึ้น

ด้านการปกครองวัดในระยะแรกที่ "หลวงพ่อน้อย" ครองวัดที่ยังมิได้มีโรงเรียนเทศบาล จะมีลานอันร่มรื่นแห่งหนึ่งที่บริเวณหน้าพระอุโบสถหลังเดิม ลานนี้จะมีต้นลั่นทมปลูกอยู่หลายต้น ในฤดูออกดอกจะมีบรรยากาศเต็มไปด้วยความชื่นตาชื่นใจและบริเวณพื้นที่นั้นจะ โล่งเตียนอยู่เป็นเนืองนิตย์ เพราะหลวงพ่อรักษาให้สถานที่มีความสะอาดร่มรื่นสงัดเงียบอันเหมาะกับเป็นที่ ตั้งของพระอารามในพระพุทธศาสนา โดยท่านจะคอยปรามมิให้ผู้ใดมาทำลายความร่มรื่นดังกล่าว

ในสมัยที่ หลวงพ่อท่านยังมีความแข็งแรงโดยมิต้องมีผู้พยุงเดินนั้น ท่านจะแสดงพระธรรมเทศนาอยู่เป็นประจำเพื่อสั่งสอนอุบาสกอุบาสิกา ให้ประพฤติแต่คุณงามความดี และในฤดูกาลเข้าพรรษา ท่านจะเปิดโอกาสให้พระบวชใหม่ (นวกะ) ได้ถามปัญหาธรรมต่างๆ ที่ข้องใจ แต่ส่วนใหญ่ท่านจะใช้วิธีใกล้ชิด เพื่อให้พระนวกะเกิดความเกรงใจไม่ประพฤติปฏิบัติในหนทางที่ไม่บังควรต่อสม ณเพศ เช่น ในเวลาฉันจังหันท่านก็นิมนต์พระนวกะมาฉันใกล้ๆ โดยท่านจะนั่งนิ่งพิจารณาเป็นครู่ใหญ่ เมื่อเวลาฉันก็จะเฉลี่ยโดยทั่วถึงอันสร้างความอิ่มอกอิ่มใจให้กับญาติโยมที่ นำของมาถวายเป็นอย่างยิ่ง

ที่ผ่านมาใครก็ตามที่มาพบ ท่านมักสอนธรรมะเสมอ โดยมักจะเตือนสติไม่ให้ตั้งอยู่ในความไม่ประมาท หมั่นประกอบแต่กรรมดี นอกจากนี้ ท่านยังสั่งสอนเยาวชนที่เข้าศึกษาในโรงเรียนประชาบาลของวัดธรรมศาลา ด้วยการแสดงพระธรรมเทศนาเป็นประจำทุกวันโกน เพื่อต้องการให้เยาวชนมีความประ พฤติและความเพียรพยายาม ในการศึกษาเล่าเรียนเพื่อความเจริญในทางจิตใจ และก้าว หน้าในบวรพระพุทธศาสนา ด้วยความดีพร้อมในศีลจริยาวัตรทั้งมวลของหลวงพ่อ จึงได้สร้างความเคารพยำเกรง ให้กับบุคคลทั่วไป

"หลวงพ่อน้อย" มีคุณวิเศษหลายประการ โดยเฉพาะเกี่ยวกับวิชาการฝังลูกนิมิต การเสกทรายและการลงไม้หลักมงคลซึ่งใช้สำหรับการประกอบพิธีวางศิลาฤกษ์นั้น ท่านมีชื่อเสียงโด่งดังมาก จนปรากฏว่าสังฆเสนาสนะทั้งหลาย ที่ท่านได้สร้างไว้ ล้วนมีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่น่าอัศจรรย์ ดังมีเรื่องเล่าขานว่า โจรใจบาปหยาบช้าที่เข้ามาโจรกรรมสิ่งของมีค่าภายในปูชนียสถานวัตถุเหล่านั้น ไม่อาจเล็ดลอดออกไปได้ ถึงออกไปแล้วก็ต้องกลับมาให้จับจนได้

ในงานพุทธาภิเษกต่างๆ "หลวงพ่อน้อย อินทสาโร" อดีตเจ้าอาวาสวัดธรรมศาลา อ.เมือง จ.นครปฐม มักจะได้รับนิมนต์ให้ร่วมปลุกเสกด้วยแทบทุกครั้ง โดยช่วงเบื้องปลายชีวิตท่านได้รับนิมนต์ไปร่วมในพิธีพุทธาภิเษก ณ ที่อื่นๆ อยู่เนืองๆ เช่น เมื่อปีพ.ศ.2500 ได้เข้าร่วมชุมนุมพระอาจารย์ 1,782 รูปในพิธีพุทธาภิเษกสร้างพระสมเด็จและรูปสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต) เป็นอนุสรณ์กึ่งพุทธกาล

มีบันทึกประวัติในหนังสือชุมนุมพระอาจารย์ ความสำคัญมีว่า "พระอาจารย์น้อย อินทสโร อายุ 77 ปี พรรษา 57 เจ้าอาวาสวัดธรรมศาลา ตำบลธรรมศาลา ลงทางมหาอุตม์ กันกระทำ มหานิยม คลอดบุตรง่าย-ปลอด ภัย กันภยันตรายต่างๆ เลี้ยงบุตรง่าย ก็เด็กขี้อ่อน กันแท้งลูก ใส่ก้นถุง-มีเงินใช้ไม่ขาด มีอำนาจ"

นอกจากนี้ พิธีเททองหล่อพระพุทธรูปพระกริ่งที่สำคัญอีกครั้งหนึ่ง ที่วัดประสาทบุญญาวาท เมื่อประมาณปีพ.ศ.2508 ท่านร่วมลงแผ่นโลหะปลุกเสกไปเข้าพิธีด้วย ปรากฏว่าแผ่นโลหะนี้ เมื่อใส่ไปในเบ้าหลอมกลับไม่ละลาย ซึ่งเป็น 1 ใน 5 ของพระอาจารย์ที่เกิดปรากฏการณ์แบบเดียวกันจนเป็นที่โจษจันในอิทธิ ปาฏิหาริย์มาแล้วครั้งหนึ่งในหมู่ลูกศิษย์ย่อมรู้กันดี ในระยะหลังที่ได้ของดีจากหลวงพ่อไปแล้วต่างได้ประสบการณ์ในอิทธิปาฏิหาริย์
*ลงพระเพิ่มทุกวันคับ
ราคาเปิดประมูล6,450 บาท
ราคาปัจจุบัน8,050 บาท (!!! ปิดประมูลแล้ว !!!)
เพิ่มขึ้นครั้งละ50 บาท
วันเปิดประมูล - 29 ก.ค. 2567 - 15:24:06 น.
วันปิดประมูล - 31 ก.ค. 2567 - 02:25:52 น. (ปิดประมูลแล้ว)
ผู้ตั้งประมูลNoomNatthapong (290)


(0)
 
ราคาปัจจุบัน :     8,050 บาท
เพิ่มขึ้นครั้งละ :     50 บาท

!!! ปิดประมูลแล้ว !!!

ผู้ชนะประมูล    ต้นกรมทาง (1.7K)

 

Copyright ©G-PRA.COM
www1