กระจ่างพระเครื่อง
จริงใจไม่บิดเบือนจากใจ aumphorn พระร้านนี้ทุกองค์จะเน้นที่สวยๆเดิมๆเป็นหลัก
โทรศัพท์ : 08-2440-9828 โทรสาร : - อีเมล : aumphornk@hotmail.com
ยูสเซอร์เนมของเจ้าของชมรม : aumphorn

  หลวงปู่ทวด วัดประสาท ปี06 เนื้อผงดำ สมบูรณ์


(ดูรูปใหญ่คลิ๊กที่รูป)

(ดูรูปใหญ่คลิ๊กที่รูป)


(ดูรูปใหญ่คลิ๊กที่รูป)

 

ประเภท   พระเนื้อดิน
เนื้อผงว่าน
ชื่อพระ   หลวงปู่ทวด วัดประสาท ปี06 เนื้อผงดำ สมบูรณ์
ราคาxxxx บาท.
สถานะ   ( 0 )
ชมรม   กระจ่างพระเครื่อง
วันที่แก้ไข   15 ม.ค. 2554 16:16:44
รายละเอียด
************ความเป็นมา หลวงปู่ทวด วัดประสาท ปี2506********** วัดประสาทบุญญาวาส ได้ถูกสร้างขึ้นด้วยแรงศรัทธา ประมาณปี พ.ศ.๒๓๗๖ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจาอยู่หัว...แรกเริ่มเดิมทีวัดนี้มีชื่อวัดว่า “วัดคลองสามแสน” ตั้งชื่อนี้ขึ้นมาเพราะว่า วัดอยู่ใกล้กับคลองสามแสน ซึ่งปัจจุบัน เรียกว่า “คลองสามเสน” แต่ชาวบ้านแถบนั้นนิยมเรียกว่า”วัดขวิด”หรือ”วัดมะขวิด” ซึ่งอาจเป็นเพราะว่าบริเวณนั้นมีต้นมะขวิดเป็นจำนวนมาก และในเวลาต่อมาได้มีการตั้งชื่อวัดขึ้นมาอย่างเป็นทางการ ในปี พ.ศ.๒๔๘๗ ว่า “วัดประสาทบุญญาวาส จนถึงปี พ.ศ.๒๔๙๘ ก็เกิดไฟไหม้ครั้งใหญ่ขึ้น ทำให้สิ่งปลูกสร้างหลายอย่างในวัดเกิดความเสียหายแทบทั้งหมด จะมีก็แต่ศาลาการเปรียญไม้สักเท่านั้นซึ่งต่อมาทางวัดได้ทำการรักษาสมบัติสำคัญหลังนี้ไว้เป็นอย่างดี และมีการห้ามไม่ให้ใช้งานศาลาหลังนี้เป็นอันขาด เนื่องจากศาลาการเปรียญไม้สักหลังนี้เก่าแก่มากแล้ว หากมีผู้คนขึ้นไปเป็นจำนวนมากอาจทำให้ชำรุดทรุดโทรมลงไปอีกหรืออาจจะพังลงมาได้ และปัจจุบันศาลาการเปรียญหลังนี้ทางกรมศิลปากรได้ทำการขึ้นทะเบียนไว้เป็นโบราณสถานสำคัญของชาติไว้เรียบร้อยแล้ว และที่วัดแห่งนี้ยังมีข้อมูลที่เชื่อมโยงผูกพันกับ”หลวงปู่ทวดเหยียบน้ำทะเลจืด” ที่กล่าวขานสืบกันมาว่า ในยุคกรุงศรีอยุธยาหลวงปู่ทวดได้ธุดงค์เพื่อไปศึกษาวิชาความรู้ที่พระนครศรีอยุธยา และได้หยุดแวะพักการเดินทาง ณ.ที่บริเวณนี้ก่อน และได้สันนิษฐานกันว่าบริเวณนี้อาจเป็นวัดเล็กๆหรือ สำนักสงฆ์ เท่านั้น ******ความเป็นมาในการสร้างพระวัดประสาทบุญญาวาส หลังจากเกิดเหตุไฟไหม้ครั้งใหญ่ขึ้นที่วัดประสาทบุญญาวาส ในปี พ.ศ.๒๔๙๘ (ซึ่งทราบมาว่าก่อนหน้านี้ได้เกิดไฟไหม้มาครั้งหนึ่งแล้วแต่ไม่ได้เสียหายมากนัก) อาจารย์ทิม เจ้าอาวาสวัดช้างให้ ได้นิมิตเห็นหลวงปู่ทวด ซึ่งทราบมาว่าก่อนหน้านี้อาจารย์ทิมได้นิมิตเห็นหลวงปู่ทวดมาแล้วครั้งหนึ่งในครั้งก่อนที่จะมีการสร้างหลวงปู่ทวดเนื้อว่านปี ๒๔๙๗ (รายละเอียดหาอ่านได้ทั่วไปจะขอกล่าวถึงเหตุการณ์สำคัญที่มีการสร้างหลวงปู่ทวดวัดประสาทเท่านั้น) และในครั้งนี้อาจารย์ทิมได้นิมิตถึงหลวงปู่ทวดอีกครั้ง ซึ่งในนิมิตไม่มีใครรู้รายละเอียดมากนักแต่ได้ใจความสำคัญทำนองว่า หลวงปู่ทวดได้บอกให้อาจารย์ทิมเดินทางไปบูรณะวัดประสาทบุญญาวาส เพราะเกิดเหตุไฟไหม้ครั้งใหญ่ขึ้น ทำให้วัดชำรุดทรุดโทรมไปมาก และขาดปัจจัยที่จะช่วยบูรณะปฏิสังขรวัด พระอาจารย์ทิมจึงเดินทางขึ้นกรุงเทพเพื่อตรวจสอบว่าการที่เกิดนิมิตเช่นนี้เป็นเรื่องจริงหรือไม่ และได้รับการยืนยันจากเจ้าอาวาสวัดเอี่ยมวรนุชซึ่งมีความสนิทชิดเชื้อกันว่าเป็นความจริงดั่งที่นิมิตไว้ (ความสัมพันธ์ของอาจารย์ทิม กับเจ้าอาวาสวัดเอี่ยมฯดูได้ตาม Link http://www1.g-pra.com/webboard/show.php?Category=show&No=106627 ) อาจารย์ทิมจึงได้เดินทางไปวัดประสาทเพื่อสำรวจดูความเสียหายรอบบริเวณวัด และได้ปรึกษาหารือกับพระครูสมุห์อำพล เจ้าอาวาสวัดประสาทฯ เพื่อหาแนวทางในการบูรณะวัดประสาทบุญญาวาส ......ในปี ๒๕๐๒ ได้มีการสร้างพระหลวงปู่ทวดวัดประสาทฯขึ้นครั้งแรก โดยพระอาจารย์ทิม ได้นำแม่พิมพ์และมวลสารที่ใช้ในการสร้างพระหลวงปู่ทวดเนื้อว่าน ปี๒๔๙๗ มาใช้สร้างหลวงปู่ทวดวัดปราสาท ปี๒๕๐๒ ซึ่งเป็นการสร้างหลวงปู่ทวดครั้งแรกของวัดประสาท ซึ่งเป็นพิมพ์ที่ด้านหลังมีเจดีย์และไม่มีเจดีย์ และบางข้อมูลบอกว่าหลวงปู่ทิมได้นำหลวงปู่ทวดเนื้อว่านปี๒๔๙๗ และหลวงปู่ทวดเนื้อว่าน วัดดีหลวง ที่ติดตัวมาด้วย นำมาถอดพิมพ์ และทำเป็นแม่พิมพ์ และหลวงปู่ทวดที่สร้างขึ้น ในปี ๒๕๐๒ ครั้งนี้ ได้รับมวลสารสำคัญหลายอย่างจากหลายเกจิอาจารย์มาเป็นส่วนผสมอีกด้วย อาทิเช่น มวลสารศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อสด วัดปากน้ำ ซึ่งได้รับมาตั้งแต่ปี ๒๔๙๗ และชิ้นส่วนที่แตกหักชำรุดของพระสมเด็จบางขุนพรหม (ซึ่งปลุกเสกโดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ในปี ๒๔๑๓) ที่เปิดกรุปี๒๕๐๐ ซึ่งพระครูบริหารคุณวัตร เจ้าอาวาสวัดใหม่อมตรสได้มอบให้ เพื่อเป็นส่วนผสมในการสร้างหลวงปู่ทวดพิมพ์นี้ และอาจารย์ทิมได้นำมวลสารที่ใช้สร้างหลวงปู่ทวด ปี๒๔๙๗ มาใช้เป็นส่วนผสมอีกด้วย หลวงปู่ทวดเนื้อว่านที่สร้างขึ้นครั้งนี้ ได้แก่หลวงปู่ทวด เนื้อว่านดำ หลวงปู่ทวดเนื้อว่านแดง และหลวงปู่ทวดเนื้อว่านขาว ซึ่งด้านหลังจะมีทั้งมีเจดีย์และไม่มีเจดีย์ โดยจำนวนการสร้างทั้งหมดประมาณ ๓๐๐๐ องค์ *****และต่อมาในปี๒๕๐๕-๒๕๐๖ พระอาจารย์ทิม เจ้าอาวาสวัดช้างให้ได้หารือกับ พระครูสมุห์อำพล เจ้าอาวาสวัดประสาทฯ ถึงแนวทางที่จะบูรณะวัดขึ้นมาใหม่ จึงได้ทำการนิมนต์พระเกจิอาจารย์ทั่วประเทศในขณะนั้นมาร่วมปรึกษาหารือกันถึงแนวทางในการบูรณะวัดประสาทฯ และได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี และได้วางแผนจัดทำพิธีที่ยิ่งใหญ่ขึ้นในปี๒๕๐๖ และเกจิอาจารย์หลายท่านได้มอบมวลสารศักดิ์สิทธิ ผงวิเศษ ผงพุทธคุณและวัตถุมงคลต่างๆ อีกทั้งยังมีผู้มีจิตศรัทธาได้มอบให้อีกเป็นจำนวนมาก เพื่อให้เป็นส่วนผสมในการสร้างพระวัดประสาทฯ ขึ้นมาในครั้งนั้น โดยมีเกจิอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงโด่งดังในยุคนั้น 108 รูปมาร่วมประกอบพิธีในครั้งนั้น ****ตัวอย่างมวลสารที่ใช้ในการสร้างพระวัดประสาทฯปี๒๕๐๖ อาจารย์ทิม วัดช้างให้ ตำนานแห่งการสร้างหลวงปู่ทวด ได้อนุเคราะห์นำพระหลวงปู่ทวดพิมพ์หลังเตารีด พิมพ์ใหญ่ พิมพ์กลาง และพิมพ์เล็ก นำมาถอดพิมพ์ และทำเป็นแม่พิมพ์ ขึ้นมา อีกทั้งยังมอบมวลสารในการสร้างหลวงปู่ทวด ปี๒๔๙๗ ให้อีกจำนวนหนึ่ง พระครูบริหารคุณาวัตร เจ้าอาวาสวัดใหม่อมตรส ได้มอบผงพระสมเด็จบางขุนพรหมที่ชำรุดแตกหักจากกรุบางขุนพรหม ซึ่งๆด้เปิดกรุในปี๒๕๐๐ มามอบให้จำนวนหนึ่ง วัดปากน้ำได้มอบผงที่ใช้ในการสร้างพระผงวัดปากน้ำให้จำนวนหนึ่ง ท่านเจ้าคุณเทพสิทธินายก (หลวงปู่นาค) วัดระฆังโฆสิตาราม ได้มอบผงพุทธคุณที่ใช้เป็นส่วนผสมของพระสมเด็จของหลวงปู่นาควัดระฆังให้จำนวนหนึ่ง พระอธิการบุญช่วย วัดใหม่พัฒนาราม มอบผงพุทธคุณของหลวงพ่อพัฒน์ ให้จำนวนหนึ่ง ท่านเจ้าคุณอินทรสมาจารย์ (เงิน) วัดอินทรวิหาร มอบผงและพระสมเด็จรุ่นพล.ต.อ.เผ่าที่ชำรุดให้จำนวนหนึ่ง พระอาจารย์หนำ อดีตเจ้าอาวาส วัดคลองมะดัน สุพรรณบุรี มอบผงพุทธคุณและพระหลวงพ่อโหน่งที่ชำรุด หลวงพ่อแทน วัดธรรมเสน ราชบุรี มอบผงและแร่ต่างๆ .ให้จำนวนหนึ่ง ท่านพระครูรัก ขิตจันต์ (หลวงพ่อถิร์) วัดป่าเลไลยก์ มอบผงพุทธคุณ ให้จำนวนหนึ่ง พระอาจารย์นก อดีตเจ้าอาวาสวัดสมรโกฏ มอบผงพุทธคุณ ให้จำนวนหนึ่ง พระอาจารย์เจียม วัดไร่ขิง มอบผงพุทธคุณให้จำนวนหนึ่ง หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง มอบผงพระชำรุด และว่านจำปาศักดิ์ให้จำนวนหนึ่ง เจ้าอาวาส วัดนิกรชยาราม ปัตตานี มอบแร่และว่านให้จำนวนหนึ่ง พระอาจารย์ฉัตร วัดสุขเกษม สุพรรณบุรี มอบผงมหาราชให้จำนวนหนึ่ง ท่านพระครูนนทวุฒาจารย์ วัดบางแพรกใต้ มอบผงพุทธคุณให้จำนวนหนึ่ง พระอาจารย์บุญเทียม วัดกษัตราธิราช อยุธยา มอบผงพุทธคุณให้จำนวนหนึ่ง หลวงพ่อแต้ม วัดพระลอย สุพรรณบุรี มอบผงพุทธคุณให้จำนวนหนึ่ง หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว มอบผงพุทธคุณให้จำนวนหนึ่ง อาจารย์เทพ สาริกบุตร ถวายชนวนในการหล่อพระกริ่งให้จำนวนหนึ่ง พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมพลฑิฆัมพร ได้มอบถวายชนวนและมวลสารที่ใช้การสร้างพระหลวงปู่ทวดวัดช้างให้ .ให้จำนวนหนึ่ง อาจารย์นิรันดร์ แดงวิจิตร ถวาย ชนวนพระกริ่งวัดสุทัศน์ให้จำนวนหนึ่ง นายพุต ถวายผงวัดตาลและวัดไก่เตี้ย ให้จำนวนหนึ่ง นายเกื้อ หิตะพงษ์ กระท่อมสุขใจนาประดู่ ปัตตานี ถวายดินดำ ว่านกากยายักษ์ และว่านต่างๆ ให้จำนวนหนึ่ง นายบุญชู ชัยนาท ถวายไคลเสมาวัดปากคลองมะขามเฒ่า ให้จำนวนหนึ่ง ฯลฯ *******เกจิอาจารย์ที่ร่วมพิธีในครั้งนี้ ทราบแค่พอสังเขปดังนี้**** อาจารย์ทิม วัดช้างให้ หลวงพ่อคล้าย วัดสวนขัน หลวงพ่อดิษฐ์ วัดปากสระ หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม หลวงพ่อกวย วัดโฆสิตาราม หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค หลวงพ่อทบ วัดชนแดน หลวงปู่ทิม วัดระหารไร่ หลวงปู่เขียว วัดหรงบน หลวงพ่อจง วัดหน้าต่างนอก หลวงปู่ดู่ วัดสะแก หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง หลวงปู่นาค วัดระฆังฯ หลวงปู่หิน วัดระฆังฯ หลวงพ่อโบ๊ย วัดมะนาว พระอาจารย์นำ วัดดอนศาลา หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยา หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ หลวงพ่อเต๋ วัดสามง่าม หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง หลวงพ่อบุญมี วัดเขาสมอคอน หลวงพ่อเหรียญ วัดบางระหงส์ หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว หลวงพ่อแช่ม วัดนวลนรดิษฐ์ หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ หลวงพ่อแก้ว วัดช่องลม หลวงพ่อกัน วัดเขาแก้ว หลวงพ่อสุด วัดกาหลง หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี หลวงพ่อครื้น วัดสังโฆ หลวงพ่อผล วัดเทียนดัด หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม หลวงพ่อชื้น วัดญาณเสน หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพระองค์ หลวงพ่อฑูรย์ วัดโพิ์นิมิตร เจ้าคุณเจีย วัดโพธิ์ เจ้าคุณประหยัด วัดสุทัศน์ หลวงพ่อดี วัดเหนือ หลวงพ่อแขก วัดหัวเขา หลวงพ่อยิ้ม วัดเจ้าเจ็ด หลวงพ่อทองสุข วัดสะพานสูง หลวงพ่อมิ่ง วัดกก หลวงพ่อเฮี้ยง วัดป่าฯ หลวงพ่อจวน วัดหนองสุ่ม หลวงพ่ออั้น วัดพระญาติ หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช หลวงพ่อสอน วัดสิงสาง หลวงพ่อแทน วัดธรรมเสน หลวงพ่อเทียน วัดโบสถ์ หลวงพ่อนิล วัดครบุรี หลวงพ่อทองอยู่ วัดท่าเสา หลวงพ่อบุดดา วัดกลางชูศรี หลวงพ่อเมี้ยน วัดโพธิ์กบเจา ฯลฯ และการทำพิธี ในครั้งนั้นได้ทำถึงสองครั้ง ครั้งแรก ทำพิธีโดยทางวัดเอง รวม 3 วัน 3 คืน คือตั้งแต่วันที่ 13-15 พฤศจิกายน 2506 ครั้งที่สอง ได้ประกอบพิธีพุทธาภิเษกโดยรวมเกจิอาจารย์ทั่วประเทศ โดยรายนามตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้น รวมกับเกจิอาจารย์ที่ยังไม่ได้เอ่ยนามรวม 108 รูป ในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2506 ข้อมูลที่ได้นำมาเสนอ ผมได้รวบรวมมาจากหลายแหล่ง และนานมากแล้ว จึงจำไม่ได้ว่าข้อมูลใหนของใครมาจากหนังสือเล่มใหน ขอยืนยันว่าผมเป็นผู้รวบรวมแบบนี้คนแรก ขอขอบพระคุณเจ้าของข้อมูลทุกท่านมา ณ.ที่นี้ด้วยนะครับ
  ยอดจอง 0  คน สมัครสมาชิก

 


Copyright ©G-PRA.COM
www1