เวียง ห้วยแถลง
รับจัดหา-พระเครื่อง เครื่องราง ยอดนิยม ทั่วไป (พระในร้าน) ดูแลตัวเองได้ มีราคา พิเศษ ทุกองค์ ครับ
โทรศัพท์ : 0816505845 โทรสาร : 0857704527ไล อีเมล : thitinan5845@gmail.com,,
ยูสเซอร์เนมของเจ้าของชมรม : เวียงห้วยเขน

  พระนาคาม เนื้อเงิน


(ดูรูปใหญ่คลิ๊กที่รูป)

(ดูรูปใหญ่คลิ๊กที่รูป)


(ดูรูปใหญ่คลิ๊กที่รูป)


(ดูรูปใหญ่คลิ๊กที่รูป)

 

ประเภท   พระกรุเนื้อชิน
ชื่อพระ   พระนาคาม เนื้อเงิน
ราคา150,000 บาท.
สถานะ  
ชมรม   เวียง ห้วยแถลง
วันที่แก้ไข   16 ก.ค. 2566 01:16:11
รายละเอียด
พระยอดธงกรุนาคามเนื้อเงิน (เงินโบราณนครศรีธรรมราช) พิมพ์ปางมารวิชัยสดุ้งมาร กรุวัดนาคาม (วัดเนกขัมมาราม ในปัจจุบัน) จังหวัดนครศรีธรรมราชพุทธศิลป์สมัยอยุธยายุคต้น ต่อสมัยอู่ทองยุคปลาย อายุพระนับแต่แรกสร้างถึงปัจจุบัน ๔๐๐ ปีเศษ: พระกรุนาคามถูกขุดพบครั้งแรกเมื่อปี ๒๔๘๐ ขณะรื้อโบสถ์หลังเก่า ของวัดนาคามซึ่งชำรุดทรุดโทรมมากเพื่อสร้างใหม่ จึงได้พบพระเครื่องจำนวนหนึ่ง บรรจุอยู่ใต้ฐานพระประธานหลายบาตร อีกส่วนหนึ่งบรรจุอยู่ในเจดีย์หน้าโบสถ์ มีหลายพิมพ์ ส่วนใหญ่เป็น พระพิมพ์นางพญาหลายรูปแบบ นอกนั้นเป็น พระพิมพ์เปิดโลกพิมพ์ห้ามญาติ พระยอดธงเนื้อเงิน พิมพ์สะดุ้งกลับ และพระพิมพ์ลอยองค์ไม่มีฐานรองรับ ทั้งหมดเป็นพระเนื้อชินเงิน ชินตะกั่ว เนื้อเงินแท้ เนื้อทองคำแท้ และเนื้อสัมฤทธิ์ แต่ไม่มีพระเนื้อดินเผาเลยแม้แต่องค์เดียว:: ขุดพบครั้งแรกเมื่อปี พุทธศักราช ๒๔๘๐ ขณะรื้อโบสถ์หลังเก่าของวัดนาคามซึ่งชำรุดทรุดโทรมมากเพื่อสร้างใหม่ จึงได้พบพระเครื่องจำนวนหนึ่ง บรรจุอยู่ใต้ฐานพระประธานหลายบาตร อีกส่วนหนึ่งบรรจุอยู่ในเจดีย์หน้าโบสถ์ มีหลายพิมพ์ ส่วนใหญ่เป็น พระพิมพ์นางพญาหลายรูปแบบ นอกนั้นเป็น พระพิมพ์เปิดโลกพิมพ์ห้ามญาติ พระยอดธง พิมพ์สะดุ้งกลับ และพระพิมพ์ลอยองค์ไม่มีฐานรองรับ ทั้งหมดเป็นพระเนื้อชินเงิน ชินตะกั่ว เนื้อเงินแท้ เนื้อทองคำแท้ และเนื้อสัมฤทธิ์ แต่ไม่มีพระเนื้อดินเผาเลยแม้แต่องค์เดียว: #วัดนาคคามหรือวัดเนกขัมมาราม เดิมเรียกว่า วัดนากคาม คำว่า “นาก” นากในที่นี้คือ นากกินปลา ไม่ใช่นาคที่เป็นพญางู คำว่า “คาม” มีอยู่ ๒ ความหมาย คือ ความหมายตามพจนานุกรม “คาม” แปลว่า หมู่บ้าน มาจากคำว่า คามะ ในภาษาบาลี เช่น ปัจจันตคาม แปลว่า บ้านปลายเขตแดน ในอีกความหมายหนึ่งเป็นภาษาใต้โบราณ แปลว่า ผสมพันธุ์ ก็คือ นากมาหากินในบริเวณนี้ มีทั้งนากตัวผู้และตัวเมีย มันก็ขึ้นมาผสมพันธุ์กัน ชาวบ้านแถบนี้เขาพบเห็นบ่อยๆจึงเรียกบริเวณนี้ว่า “นากคาม” หมายถึง สถานที่นากผสมพันธุ์กัน ต่อมาสถานที่นี้มีผู้ก่อตั้งวัดขึ้นมาเลยเรียกกันว่า “วัดนากคาม” ต่อมาได้มีผู้เขียนคำว่า นากคาม เป็น นาคคาม คำว่านาค มี ๒ ความหมาย คือ ความหมายแรก หมายถึง พญานาค หรือ พญางู ความหมายที่สอง นาค หมายถึง ผู้เตรียมตัวจะบวช เรียกไปเรียกมานานๆเข้า ชื่อนาคคามก็เพี้ยนเป็นหน้ากาม ซึ่งได้เรียกกันเรื่อยมา ต่อมามีผู้รู้บางท่านคิดว่า ชื่อวัดหน้ากามไม่ค่อยเหมาะ เพราะวัดได้ชื่อว่าเป็นสถานที่อยู่ของผู้เว้นจากกาม และพระที่อยู่ในวัดก็เป็นผู้หลีกเว้นจาก จึงได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นวัดเนกขัมมาราม แปลว่า “วัดของผู้ออกจากกาม” วัดนาคคามได้รับการพัฒนาปฏิสังขรณ์โดยเถ้าแก่อึ่งค่ายท่าย ผู้เป็นต้นตระกูลเหมืองแร่หนองเป็ดเหมืองแร่กะทูน เหมืองแร่สำนักเนียน และเหมืองแร่ฉลอง เขตนครศรีธรรมราช และท่านเป็นคุณพ่อของคหบดีชื่อดังแห่งเมืองทุ่งสงนั่นคือ นายวรศักดิ์ อดิเทพวรพันธ์หรือโกหว่า เถ้าแก่อึ่งค่ายท่ายมีจิตศรัทธาได้ทำการรื้ออุโบสถหลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรมมาก ใช้ทำสังฆกรรมไม่ได้และพระอุโบสถหลังเก่าเล็กไป เมื่อรื้อออกทั้งหมดแล้วก็ทำการก่อสร้างใหม่ ในการรื้ออุโบสถออกนี้เองได้พบพระกรุ เป็นทรงพิมพ์นางพญาบรรจุกรุอยู่ใต้ฐานพระประธานจำนวนมากหลายบาตรเรียกกันในวงการพระเครื่องว่าพระกรุนาคคาม เถ้าแก่อึ่งค่ายท่ายจึงให้ช่างคนงานนำบาตรพระไปใส่ แล้วนำไปไว้ตามรูบ้างตามถ้ำบ้าง วางไว้ในโพรงไม้บ้าง ต่อมาต้องรื้อเจดีย์ที่อยู่หน้าโบสถ์ออก ด้วยเพราะต้องการเนื้อที่ขยายสร้างโบสถ์ ก็พบพระกรุนางพญาเพิ่มอีกหลายบาตรบรรจุอยู่ในเจดีย์ พบพระร่วงพระบูชาขนาดหน้าตักตั้งแต่หนึ่งนิ้วขึ้นไปจนถึงขนาดหน้าตักหกนิ้ว ท่านจึงให้นำไปไว้ในสถานที่เหมาะสมหลายแห่ง เมื่อดูจากศิลปะของพระเครื่องเหล่านี้แล้ว ชี้ชัดว่าเป็นพระสมัยอยุธยายุคต้นปลายอู่ทองอายุประมาณ ๔๐๐ ปีเศษ นอกจากนี้ยังได้ขุดพบแม่พิมพ์พระ ซึ่งได้ตกอยู่กับชาวบ้านบางคน มีเตาหล่อหลอมโลหะที่อยู่ถ้ำไทรติดภูเขาวัดนาคคาม และพบเศษโลหะตกหล่นมาก เมื่อขุดพิสูจน์กันหลายครั้งก็พบเศษโลหะทุกครั้ง มีคนเคยขุดพบขวานหิน เครื่องใช้ของมนุษย์สมัยหิน แต่อันเล็กขุดพบหน้าถ้ำพระใหญ่ เขานาคคาม ดูแล้วเป็นปลายสมัยมนุษย์หิน ดูจากเนื้อหินจากขนาดขวานหินแล้ว มั่นใจว่าเป็นยุคหลังสุดประมาณ ๔๐๐ ปีเศษ ฉะนั้นเมื่อสรุปแล้ววัดนาคคามคงสร้างมาแต่สมัยอยุธยายุคต้นประมาณ ๔๐๐กว่าปี
  ยอดจอง 0  คน สมัครสมาชิก


 


Copyright ©G-PRA.COM