เจริญสุข
พระทุกองค์รับประกันความแท้ตามหลักมาตรฐานสากล peaklg93@hotmail.com
โทรศัพท์ : 083-3463031 โทรสาร : 086-6490420 อีเมล : peaklg93@hotmail.com
ยูสเซอร์เนมของเจ้าของชมรม : มหาเวส

  ตะกรุดจันทร์เพ็ญหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า


(ดูรูปใหญ่คลิ๊กที่รูป)

(ดูรูปใหญ่คลิ๊กที่รูป)


(ดูรูปใหญ่คลิ๊กที่รูป)


(ดูรูปใหญ่คลิ๊กที่รูป)

 

ประเภท   เครื่องราง
และอื่นๆ
ชื่อพระ   ตะกรุดจันทร์เพ็ญหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า
ราคาโทรถาม บาท.
สถานะ   ( 0 )
ชมรม   เจริญสุข
วันที่แก้ไข   16 เมษ. 2559 14:19:46
รายละเอียด
ตะกรุดจันทร์เพ็ญหลวงปู่ศุข วัดปากคลองมะขามเฒ่า เนื้อตะกั่ว ยาวประมาณ 4 นิ้ว,โต 1 ซม. ลายจระเข้ขบฟัน ( นิยม ).... ..ตะกรุดหลวงปู่ศุข (พระครูวิมลคุณากร) วัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท ตามประวัติท่านจะทำตะกรุดใต้น้ำ ในวันเพ็ญเดือน ๑๒ ของทุกปี หากปีไหนตรงกับ วันเสาร์ ยิ่งดียิ่งแกร่ง เพราะเป็นวันแข็ง โดยท่านจะระเบิดน้ำลงไปนั่งบริกรรมจุดเทียนใต้น้ำ ลงไปจารตะกรุดในแม่น้ำหน้าวัด และที่หนองท่าเรือทอง ใกล้กับวัดของท่าน ..เมื่อท่านจารเสร็จแล้ว จะปล่อยตะกรุดให้ลอยขึ้นมาเหนือน้ำ ตะกรุดดอกไหนไม่ลอยขึ้นมา เป็นอันใช้ไม่ได้ และตัวท่านจะตามขึ้นมาจากน้ำ โดยร่างกายของท่าน ตลอดจนสบงจีวรที่ท่านสวมใส่ จะไม่เปียกน้ำแต่ประการใด ..ขั้นตอนการทำแผ่นตะกรุดของหลวงปู่ศุข นับเป็นตำราที่แปลกไม่เหมือนใคร กล่าวคือ ขั้นแรก ต้องเคี่ยวตะกั่วนมกับปรอท ในกระเพาะควายเผือก เป็นเวลาถึง ๗ วัน ๗ คืน ที่ใต้ถุนกุฏิของท่าน โดยท่านจะควบคุมการเคี่ยวตะกั่วด้วยตัวท่านเองเสมอ ถึงกับบางครั้งท่านลงมือเคี่ยวตะกั่วด้วยตัวเองก็มีอยู่บ่อยๆ เสร็จแล้ว ท่านจะนำตะกั่วเหลวนั้นมาเทลงบนสมุดข่อย เมื่อตะกั่วเย็นตัวลงแล้ว ก็จะนำไปตีแผ่ออก แล้วตัดตามขนาดที่ต้องการ คือ ๑ นิ้ว ๑.๕ นิ้ว ๒ นิ้ว ๒.๕ นิ้ว ๓ นิ้ว ๔ นิ้ว จนถึง ๖ นิ้ว (ที่ยาวกว่านี้ก็อาจจะมี แต่ผู้เขียนยังไม่เคยพบเห็น จึงไม่กล้ายืนยัน) ขั้นตอนต่อไป คือ เตรียมพร้อมสำหรับการลงจารอักขระบนแผ่นตะกั่ว เพื่อทำตะกรุด โดยการดำไปลงจารใต้น้ำดังกล่าว ..จึงนับได้ว่า ตะกรุดหลวงปู่ศุข เป็นตำราที่ยากจะหาพระเกจิอาจารย์ท่านใดมาเสมอเหมือนได้ จึงไม่ต้องสงสัยว่า ทำไมทุกวันนี้ ตะกรุดของท่านจึงมีการซื้อขายกันในราคาที่แสนแพง ..หลวงปู่ศุข ละสังขารเมื่อปลายปี ๒๔๖๖ นับถึงวันนี้ (พ.ศ.๒๕๕๒) ตะกรุดของท่านมีอายุการสร้างเกือบ ๑๐๐ ปี นับว่าเป็นตะกรุดที่มีความเก่ามากพอสมควร คาถาอาราธนาพระเครื่อง และตะกรุดหลวงปู่ศุข : ตั้งนะโม ๓ จบ : อิติอะระหังสุคะโต เกสโรนามะเต ประสิทธิเม อิหิอะโห นะโมพุทธายะ คาถาหลวงปู่ศุข : สัตถาเทวะมนุสสานัง พุทธโธภะคะวาติ มะอะอุ ..หลวงปู่ศุข เป็นผู้ที่มีพื้นฐานแก่กล้าในการศึกษาพระเวทอาคมต่างๆ โดยท่านมีจิตใจที่แน่วแน่ มุ่งปฏิบัติอย่างจริงจัง จนเกิดพลังจิตที่กล้าแข็งเป็นอย่างยิ่ง กสิณที่ฝึกประกอบด้วย อาโปกสิณ เตโชกสิณ วาโยกสิณ ปฐวีกสิณ อันเป็นธาตุทั้งสี่ คือ ดิน น้ำ ลม และไฟ จนสามารถแยกธาตุได้ด้วยความชำนาญ ..สำหรับประวัติของ หลวงปู่ศุข เกสโร ท่านเกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน ๔ ขึ้น ๘ ค่ำ ปีวอก พ.ศ.๒๓๙๐ ในรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ณ บ้านข้างวัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท ..ท่านเป็นบุตรของนายน่วม และนางทองดี เกศเวชสุรยา โดยท่านเป็นบุตรชายคนโต มีพี่น้องต่อมาอีก ๘ คน ครอบครัวเป็นชาวไร่ พออายุได้ ๗ ขวบ บิดามารดาได้นำไปฝากกับพระอาจารย์ ที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า (เดิมชื่อว่า วัดอู่ทอง ปากคลองมะขามเฒ่า) เพื่อเล่าเรียนหนังสือไทย และอักขระขอม การเล่าเรียนของท่านอยู่ในเกณฑ์ดี จนมีความเชี่ยวชาญ และแตกฉานในวิชาการต่างๆ เป็นอย่างดี จนกระทั่งอายุได้ ๑๘ ปี ท่านได้อำลาวัดออกไปท่องเที่ยว หาประสบการณ์อยู่พักหนึ่ง และเมื่ออายุได้ ๒๐ ปี ก็หวนกลับไปอุปสมบท เป็นพระภิกษุที่วัดโพธิ์ทองล่าง โดยมี อาจารย์เชย จันทสิริ เจ้าอาวาส เป็นพระอุปัชฌาย์ ..เมื่อบวชแล้วก็ได้ศึกษาพระธรรมวินัย จนบังเกิดความศรัทธาดื่มด่ำในรสพระธรรม รอบรู้ในพระไตรปิฎก และเชี่ยวชาญทางวิปัสสนากรรมฐาน ด้วยเหตุที่ท่านเป็นผู้แตกฉานในภาษา และอักขระเลขยันต์มาก่อน จึงทำให้ท่านก้าวสู่โลกของไสยเวท และคาถาอาคมได้โดยง่าย มีพระอาจารย์เชยซึ่ง เป็นผู้แก่กล้าทางพุทธาคม เป็นอาจารย์สอนวิชาวิปัสสนากรรมฐาน การทำสมาธิจิตเพ่งกสิณจนแตกฉาน และความเชี่ยวชาญในพระเวทอาคมทุกด้าน ความรู้วิชาอาคมต่างๆ ของหลวงปู่ศุข ..กล่าวกันว่า ท่านสามารถปฏิบัติจนเห็นผลได้อย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการผูกหุ่นพยนต์ เสกใบมะขาม เป็นตัวต่อตัวแตน เสกให้คนเป็นจระเข้ เสกหัวปลีให้เป็นกระต่าย ระเบิดน้ำลงไปนั่งบริกรรม ทำตะกรุดโดยจีวรไม่เปียก ซึ่งล้วนแต่เป็นพระเวทขั้นสูง ..แม้แต่ "เสด็จเตี่ย" เสด็จในกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระบิดาแห่งกองทัพเรือไทย ยังประจักษ์ด้วยตัวพระองค์เองมาแล้ว และถึงกับขอถวายพระองค์เป็นศิษย์หลวงปู่ศุข จนมีความผูกพันมาโดยตลอด เสมือนบิดากับบุตร แต่เป็นที่น่าเสียดาย ที่เสด็จในกรมหลวงชุมพรฯ สิ้นพระชนม์ในขณะที่ยังมีพระชนมายุเพียง ๔๔ พรรษา (เมื่อวันที่ ๑๙ พฤษภาคม ๒๔๖๖) ยังความโศกเศร้ามาสู่ทุกฝ่าย รวมทั้งหลวงปู่ศุข เมื่อท่านทราบข่าวถึงกับน้ำตาคลอ และนั่งนิ่งประหนึ่งว่า เป็นการปลงอย่างหนัก กับวัฏสังขาร หรือสังขารที่ไม่เทียงแท้ ..และในปลายปี ๒๔๖๖ หลวงปู่ศุขก็ได้มรณภาพลงด้วยโรคชรา สิริรวมอายุได้ ๗๖ ปี
  ยอดจอง 0  คน สมัครสมาชิก

 


Copyright ©G-PRA.COM