เรื่อง พระกรุชินเขียว ผมไม่ขอออกความเห็นหรือเถียงว่าชนิดใด มีหรือไม่ แต่อย่าเพิ่งสรุปเลยครับว่าอะไรมีหรือไม่มี อาจเป็นข้อผิดพลาดที่จะทำให้คนรุ่นหลังยึดถือไปตลอด น่าเป็นว่าทางท่านรับตรวจสอบพระ หรือให้ลงประมูลพระ ประเภทชนิดใดก็พอครับ เพราะ
- พระกรุที่ขุดกันในสมัยก่อนมักจะเป็นการลักขุด การที่จะบอกตำแหน่งที่ขุดก็มักปิดบังเนื่องจากกลัวความผิดตามกฏหมาย และหวังว่าบริเวณที่ขุดอาจพบพระอีก ในเบื้องต้นก็มักไม่บอกผู้ใด หรือบอกสถานทีขุดบิดเบือนไป กว่าผู้ขุดความจริงก็ทิ้งเวลามานาน ในปัจจุบันก็ยังมีเหตุการณ์อย่างนี้อยู่สังเกตุได้จากพระที่ขุดพบใหม่ผู้ขุดมักไม่ชี้บอกสถานที่ขุดอย่างเด่นชัด
- กรุพระที่พบในเจดีย์ อาจพบพระหลายยุคหลายสมัย หรือสร้างบรรจุไว้หลายครั้งได้ เนื่องจากกัษตริย์ หรือเจ้านาย แต่ละพระองค์อาจสร้างแต่ละโอกาสบรรจุไปในที่เดียวกันหลายครั้ง หรือด้วยความศรัทธาหรือในการย้ายถิ่นฐานหรือเมืองหลวงบางครั้งก็นำพระที่ต่างยุคต่างสมัยมาบรรจุรวมกัน
- พระที่ขุดพบในบริเวณโบราณสถานใดก็ตาม ยิ่งถ้าเป็นวัดหลวงขนาดใหญ่ อาจมีพระที่ขุดพบหลายครั้ง ตำแหน่งที่ขุดหลายแห่ง หลายชนิด ก็มักเกิดสาเหตุว่า พระที่พบแต่ละครั้งพิมพ์หรือเนื้อ ไม่เหมือนกัน ผู้ที่พบในยุคใดหรือครั้งใดก็มักจะพูดหรือยึดถือในสิ่งที่ตัวเองได้ประสพมาว่าเป็นความจริงถูกต้อง แต่สิ่งที่เกิดก่อนหน้านั้นหรือหลังจากนั้นผู้พูดอาจจะไม่ทราบก็ได้
- พิมพ์พระที่ขุดพบในสถานที่ใดก็ตามอาจมีการพบพระชนิดเดียวกันนี้ในสถานที่อื่นๆ เนื่องจากพระในสมัยโบราณมักจะร่วมช่วยกันสร้างเพื่อสืบต่อศาสนา พระหรือผู้ที่มาร่วมทำพิธีก็อาจมาจากหลายวัด หลังทำพิธีเสร็จก็จะแบ่งแต่ส่วนน้อยไปบรรจุตามถิ่นฐานที่อยู่ของตนเอง ในการสร้างพระปัจจุบันนี้ก็พบเห็นอยู่ว่าเมื่อร่วมกันสร้างพระเสร็จก็มักแบ่งวัตถุมงคลไปแจกผู้ศรัทธากัน ก็มักเกิดปัญหาว่าพระที่ขุดพบพิมพ์เดียวกันแต่ตั้งชื่อไม่ตรงกัน ก็เนื่องจากมีการพบเห็นต่างสถานที่กัน สำหรับตัวผมในเรื่องนี้ผมมักยึดเมืองที่พบมักไม่แยกสถานที่ขุดพบ
- เรื่องค่านิยมในวัดถุที่นำมาสร้างพระหรือเนื้อพระ ก็ขึ้นอยู่กับความนิยมในสมัยนั้นๆ เช่น ในพระเนื้อชินเงินหรือพระเนื้อตะกั่ว ก็มักผสมธาตุปรอทเนื่องจากถือว่าปรอทเป็นวัตถุมงคล(เป็นวัตถุที่เป็นของเหลวหนักเหมือนโลหะแข็งมีการระเหยหายไปเองได้) ซึ่งพระชินเขียวก็มีการสร้างสืบต่อกันมาหลายยุคในยุคอยุธยาของสุพรรณบุรีก็อาจจะมีทำกันได้
- พระกรุสมัยโบราณ ที่มีพิมพ์พระเป็นที่นิยมสวยงาม ในบางครั้งก็ถูกนำไปลอกเลียนถอดแบบ ไปสร้างบรรจุไว้ในสถานที่อื่นหรือถอดแบบมาสร้างพระในยุคถัดมาได้
ผมขอยกตัวอย่างของพระกรุวัดราชบูรณะ จ.อยุธยา บางท่านคิดว่าเป็นพระที่สร้างในสมัยอยุธยา แต่ความจริงตามบันทึกการเปิดกรุของกรมศิลป์ฯ พบว่าพระที่ขุดพบมีถึง สามสมัย คือ อยุธยา ,ลพบุรี ,สุโขทัย รวมทั้งพระที่ถูกลอกเลียนแบบในต่างสมัย มาบรรจุรวมกัน ก็ขอให้ท่านอย่าด่วนสรุปทางสื่อจะเกิดความผิดพลาด หากพระที่สร้างมีอยู่จริงพูดกันปากต่อปาก พระก็อาจถูกลบออกจากระบบวงการพระได้
|