รุ่นยามเฝ้าแผ่นดิน 2550
ปรากฏการณ์สะท้านฟ้าคงจะไม่บ่อยครั้งนักที่องค์จตุคามรามเทพจะอนุญาตให้จัดสร้าง &#8220ดวงตราสุริยัน-จันทรา&#8221 ขึ้นมาเพื่อจำหน่ายจ่ายแจกให้กับประชาชนผู้ศรัทธา เพราะในการสร้างแต่ละครั้งย่อมต้องมีเหตุและปัจจัยที่เหมาะสม ดังเช่นในการสร้างรุ่นแรกในปี 2530 และรุ่นที่สองในปี 2548 ซึ่งจะเห็นได้ว่า ร่วม 20 ปีที่ผ่านมามีดวงตราสุริยัน-จันทราเพียงแค่ 2 รุ่นเท่านั้น
ด้วยเหตุดังกล่าว การที่องค์จตุคามรามเทพอนญาตให้ &#8220สนธิ ลิ้มทองกุล&#8221 จัดสร้างดวงตราสุริยัน-จันทรา &#8220รุ่นยามเฝ้าแผ่นดิน&#8221 ขึ้นมาเพื่อมอบให้กับสมาชิกมูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินในปี 2550 จึงนับได้ว่าเป็นวาระอันพิเศษสุดที่ต้องบอกว่า หาได้ยากยิ่ง และทำให้รุ่นยามเฝ้าแผ่นดินเป็นวัตถุมงคลหลักเมืองนครศรีธรรมราชอีกรุ่นหนึ่งที่มีความศักดิ์สิทธิ์เหนือฟ้าเหนือดินเลยทีเดียว
นอกจากนั้น ความพิเศษสุดอีกประการหนึ่งก็เห็นจะเป็นในเรื่องของ &#8220มวลสาร&#8221 ที่ใช้ในการจัดสร้าง เพราะองค์พ่อได้มีคำสั่งให้ไปรวบรวมผงพิเศษจากสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ทั้งในประเทศไทยและในต่างประเทศมาดำเนินการจัดสร้าง และหนึ่งในผงศักดิ์สิทธิ์ที่ต้องกล่าวถึงเป็นลำดับแรกคือ ผงศักดิ์สิทธิ์จากเทวาลัยในอินเดียภาคใต้ฝั่งตะวันออกที่ พล.ต.ท.สรรเพชญ ธรรมาธิกุลเป็นผู้รวบรวมเอาไว้
ผงศักดิ์สิทธิ์ที่ว่านี้มาจากเทวาลัยสำคัญ 11 เทวาลัยด้วยกันคือ
1.เทวาลัยมีนากษีสุนทรเรศวร ที่เมืองมะทุไร เทวาลัยแห่งนี้สร้างขึ้นในสมัยพุทธศตวรรษที่ 12 มีซุ้มประตูหรือโคปุระถึง 12 แห่ง และมีโคปุระประธานสูงกว่า 50 เมตร มีมณฑปประดิษฐานรูปเทพเจ้าเหลือคณานับ มีเสาวิหารนับพันต้นแกะสลักสวยงามด้วยศิลปะปัลลวะ
2.เทวาลัยศรีรังคัม แห่งเมืองติรูจิระปัลลิ เทวาลัยแห่งนี้สร้างด้วยหินขนาดใหญ่ที่สุดในรัฐทมิฬนาดู มีซุ้มประตูหรือโคปุระจำนวน 21 ซุ้ม มีกำแพงแก้ว 7 ชั้นแกะสลักขึ้นอย่างสวยงาม และเป็นจุดศูนย์กลางของการแสวงบุญแห่งหนึ่งในอินเดียใต้
3.เทวาลัยชมพูเกศวร แห่งเมืองติรูจิระปัลลิ เทวาลัยแห่งนี้ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของเทวาลัยศรีรังคัมระหว่างแม่น้ำกาเวรีและแม่น้ำโกลดิลัมอันศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่ประดิษฐานศิวลึงค์แห่งธาตุน้ำ จึงเป็นศูนย์กลางของการแสวงบุญที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของอินเดียใต้
4.เทวาลัยพฤหทิศวร แห่งเมืองตันชาวูร์ สร้างด้วยหินแกรนิต ปรางค์ประสาทองค์ประธานสูงถึง 66 เมตร ด้านหน้ามีศาลาลัยประดิษฐานรูปโคนันทิ ซึ่งแกะสลักขึ้นจากหินก้อนมหึมาก้อนเดียวสำหรับนักแสวงบุญไปกราบไหว้บูชา
5.เทวาลัยกะปาเลศวรและเทวาลัยอัฏฐลักษมี แห่งเมืองเชนไนหรือเมืองมัทราส ซึ่งเป็นเมืองหลวงของรัฐทมิฬนาดู ก่อสร้างพระปรางค์สูงใหญ่ด้วยหินแกรนิต มีรูปปูนของเทวดามากมายนับพันองค์ ทาสีฉูดฉาดหลากหลายวิจิตรงดงาม นักแสวงบุญเดินทางไปขอพรมากมาย
6.เทวาลัยมหาพลิปุรัม ตั้งอยู่ชายฝั่งทะเลของเมืองมหาพลิปุรัมหรือเมืองมามัลละปุรัม ซึ่งเคยเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรปัลลวะ และเคยติดต่อสัมพันธ์กับอาณาจักรศรีวิชัยในสมัยพุทธศตวรรษที่ 12
7.เทวาลัยไกลาสนาถและเทวาลัยศรีเอกามพรนาถ แห่งเมืองกาญจีปุรัมซึ่งเคยเป็นศูนย์กลางของอาณาจักรปัลลวะ มีความเจริญรุ่งเรืองมาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 9 ได้เผยแพร่รูปแบบตัวอักษรปัลลวะเข้ามายังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อันเป็นรากฐานของตัวอักษรไทยที่พัฒนามาจนถึงปัจจุบัน
8.เทวาลัยศรีเวงกะเตศวร แห่งเมืองติรุปติ ตั้งอยู่ใกล้ภูเขาติรูมาลาอันศักดิ์สิทธิ์ สร้างขึ้นด้วยฝีมือช่างชั้นครู จึงเป็นศิลปกรรมที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่ง ได้รับยกย่องว่าเป็นสำนักวาติกันแห่งตะวันออก
9.เทวาลัยศรีกาลหัสติวิหาร แห่งเมืองศรีกาลหัสติ ศูนย์รวมจิตใจของชาวอินเดียภาคใต้ที่มีความสำคัญแห่งหนึ่ง เพราะมีรูปเคารพของนักบวชฮินดูที่มีชื่อเสียงประดิษฐานอยู่ถึง 63 ท่านและมีการประกอบพิธีกรรมโบราณ เช่น การบูชาไฟ การบูชาพระราหู
10.มหาสถูปแห่งอมราวดี เคยเป็นศูนย์กลางของพุทธศาสนาที่ยิ่งใหญ่ในสมัยราชวงศ์สตวาหนะ ซึ่งมีอำนาจปกครองอินเดียเมื่อราว พ.ศ.500 ความเจริญรุ่งเรืองของอาณาจักรอมราวดีได้แพร่หลายศิลปะอารยธรรมเข้ามาสู่ดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และความรู้เกี่ยวกับมหาศักราช ซึ่งเอกสารโบราณของไทยเคยใช้จารึกมาก่อนพุทธศักราช
11.มหาสถูปนาคารชุน แห่งเมืองชุนกอนด้า ซึ่งปัจจุบันบ้านเมืองเดิมถูกน้ำในเขื่อนยักษ์แห่งแม่น้ำกฤษณาท่วม จึงได้ย้ายสถูปเจดีย์ ภาพแกะสลักเก่าแก่เก็บรวบรวมไว้ในพิพิธภัณฑ์ เมืองนี้เป็นบ้านเกิดของอาจารย์นาคารชุนโกณฑะ มหาเถระผู้มีชื่อเสียงของศาสนาพุทธ นิกายมหายาน เคยดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยนาลันทา และผู้ก่อตั้งปรัชญาปารมิตา
นอกจากนั้น ยังมีการนำมวลสารสำคัญๆ จากสถานที่ต่างๆ อีกมากมายเพื่อทำให้รุ่นยามเฝ้าแผ่นดินเปี่ยมไปด้วยความศักดิ์สิทธิ์ เช่น ผงธูปจากปราสาทนครวัด ประเทศกัมพูชา ผงธูปจากมหาเจดีย์ชเวดากอง ประเทศพม่า ผงธูปจากด่านเจดีย์ 3 องค์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น ขณะเดียวกันยังได้นำน้ำจากท่าสำคัญๆ มาใช้เป็นส่วนผสมอีกด้วย เช่น น้ำจากท่าพระจันทร์ น้ำจากท่าพระอาทิตย์ เป็นต้น
ทั้งนี้ ในการดำเนินงาน องค์จตุคามรามเทพได้อนุญาตให้มูลนิธิยามเฝ้าแผ่นดินจัดสร้างเป็น 2 สีด้วยกันคือ สีขาวจำนวน 39,999 องค์ และสีแดงจำนวน 39,999 องค์ ขณะเดียวกันก็ได้มีการอนุญาตให้จัดสร้างพิเศษเป็นสีดำเพื่อมอบให้กับลูกศิษย์ที่ใกล้ชิดอีกจำนวนไม่มากนัก
สำหรับรูปแบบในการจัดสร้างนั้น จัดทำเป็นพิมพ์น้ำตาลแว่นมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 เซนติเมตรเหมือนกับรุ่นแรกและรุ่น 2 แต่ด้านหน้ามีการเปลี่ยนแปลงโดยทั้งราหู 8 ตัวและองค์จตุคามรามเทพมีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิม พร้อมทั้งตัดองค์ประกอบอื่นๆ ออกไปคือ รูป 12 นักษัตรและกงจักรที่อยู่ล้อมรอบองค์จตุคามรามเทพ ขณะที่ด้านหลังยันต์เหมือนเดิม แต่มีการพิมพ์ตัวอักษรคำว่า &#8220ยามเฝ้าแผ่นดิน&#8221 เอาไว้ที่ด้านล่างอีกด้วยs |
|