ร่วมเสนอความคิดเห็น

หัวข้อกระทู้ : พระถำเสือ กรุใหม่



(D)


อาจารย์หมอและผู้รู้พิจารณาให้ด้วยครับ

โดยคุณ peat1979 (979)  [อ. 21 ส.ค. 2550 - 15:41 น.]



โดยคุณ peat1979 (979)  [อ. 21 ส.ค. 2550 - 16:28 น.] #139173 (1/8)


(D)
เพิ่มเติมครับ

โดยคุณ Nithipat (637)(1)   [อ. 21 ส.ค. 2550 - 18:50 น.] #139220 (2/8)
ไม่ดีครับ ผิดพิมพ์ครับเขาดีสลักองค์นี้

โดยคุณ digitalpicture (4.6K)  [พ. 22 ส.ค. 2550 - 01:40 น.] #139426 (3/8)
ดูแล้วไม่ชอบค๊าบบพี่ลองความเห็นของพี่ท่านอื่นอีกทีนะค๊าบบ
==================================================================
แวะชมเวปบอร์ดร้านพระเครื่อง AllThaiOriginal ไปที่นี่ค๊าบบ>>>>> http://a.bbznet.com/digitalpicture
แวะชมเวปร้านพระเครื่อง DigitalPicture ในเวป g-pra.com ไปที่นี่ค๊าบบ>>>>> https://www.g-pra.com/guaranteepra/index.php?action=showpralist&show=clubnew&show_club=18
==================================================================

โดยคุณ peat1979 (979)  [ศ. 24 ส.ค. 2550 - 08:53 น.] #140469 (4/8)
ข้าพเจ้าจะข้ามประวัติการสร้าง ผู้สร้าง ขอกล่าวแต่เฉพาะพิมพ์ทรงและเนื้อพระก็แล้วกันนะครับ

ในเรื่องของพิมพ์ทรง พระถ้ำเสือกรุใหม่ อ.มนัส โอภากุล ได้กล่าวไว้ในหนังสือพระเครื่องฉบับหนึ่งว่า พระพิมพ์ถ้ำเสือที่ออกมาจากกรุนั้น มีทั้งหมด 3 วัด คือวัดถ้ำเสือ วัดเขาวง(วัดคีรีวงศ์) และวัดเขากำแพง ทั้ง 3 กรุรวมกันมีมากกว่า 70 พิมพ์ แต่มีบางพิมพ์ที่ซ้ำกัน จึงสามารถรวมรวมพิมพ์ต่าง ๆ ได้ทั้งหมด 65 พิมพ์ (ซึ่งอาจมีมากกว่านี้)
พิมพ์หลัก ๆ จะมี พิมพ์เล็ก พิมพ์กลาง พิมพ์ต้อ พิมพ์จิ๋ว (ไม่มีพิมพ์ใหญ่) โดยที่พิมพ์หลัก ๆ เหล่านี้จะแยกซอยย่อยเป็นพิมพ์เล็ก ๆ อีก เช่น หน้าแก่ , หน้าหนุ่ม , หน้านาง , หน้ากลม , หน้ายักษ์ , หน้านกฮูก , ตุ๊กตา , ปากนูน , ปากหนา , สองหู , แก้มตอบ , หนวด และอื่นๆ อีกมากมาย

ในส่วนของเนื้อพระ หากเป็นวัดเขาดีสลัก จะมีทั้งแบบเนื้อละเอียดและเนื้อหยาบ โดยเฉพาะจากถ้ำละมุด จะเป็นเนื้อละเอียดเนียนแน่น แม้ขนาดผู้ชำนาญเองก็ยังเห็นว่าเป็นพระกรุเก่าอยู่นั่นเอง ส่วนจากถ้ำประทุนกับซากเจดีย์หักบนยอดเขา และที่วัดเขาวง จะมีลักษณะหยาบ แต่ก็ไม่มีเม็ดกรวดทรายเจือปนอยู่ด้วยแม้แต่เม็ดเดียว แต่ก็ดูง่ายกว่าเนื้อละเอียด เพราะของปลอมจะทำแบบเนื้อละเอียดทั้งสิ้น และอ.มนัส ย้ำอีกว่า ไม่เคยพบพระถ้ำเสือปลอมที่ทำเป็นเนื้อหยาบเลย เนื่องจากกรุเก่าเป็นเนื้อละเอียดเสียส่วนใหญ่ (นอกจากกรุหนองกุฏิเท่านั้นที่เป็นเนื้อหยาบ)
ในเนื้อพระชนิดหยาบบางองค์ จะปรากฏ “แร่ทรายเงินและทรายทอง” ซึ่งข้าพเจ้าไม่ขอกล่าวถึง เพราะต้องอธิบายหลายขั้นตอน เอาเป็นว่า จากการทดลองของ อ.มนัส สรุปได้ว่า ไม่ใช่เปลือกหอยแน่นอน เพราะเปลือกหอยถ้าถูกเผาไฟ จะไหม้กลายเป็นเถ้า แต่เกล็ดทองเป็นเกล็ดของทองคำ ส่วนเกล็ดเงิน อ.มนัส บอกว่า จนด้วยเกล้า เกล็ดทั้ง 2 แบบนี้ไม่ใช่จะมีทุกองค์ในเนื้อหยาบ จึงไม่ใช่ข้อสรุปทั้งหมด การจะส่องเห็น บางครั้งต้องหาเหลี่ยมหามุม เพื่อให้สะท้อนกับแสง

เดี๋ยวข้าพเจ้าต้องขอตัวไปทำงานก่อน แล้วจะกลับมาพูดถึงความแห้งผากของเนื้อพระและเทคนิคของ อ.มนัส ในการแยกระหว่างการดูพระกรุกับพระปลอมหรือเกจิ

โดยคุณ peat1979 (979)  [ศ. 24 ส.ค. 2550 - 16:43 น.] #140679 (5/8)
ความแห้งผาก หมายถึง แห้งชนิดไม่มีความชื้นเจือปนอยู่เลย แต่ต้องเข้าใจด้วยว่า พระถ้ำเสือกรุใหม่ทุกองค์ไม่ว่าจะเนื้อละเอียดหรือเนื้อหยาบ ภายในเนื้อพระจะมีโพรงอากาศอยู่อย่างแน่นอน จะแน่นเป็นหินหรือทึบเป็นกระจกก็หาได้ไม่ ดังนั้นเมื่อความชื้น ไม่หลงเหลืออยู่ในเนื้อพระ ถ้าเราเอาแปลงขนอ่อนปัดเบา ๆ กลับไปกลับมาพอประมาณ ความมันก็จะปรากฏขึ้นบนผิวพระทันที พอเอาพระแช่น้ำแล้วเอาขึ้นมา ความมันบนผิวพระจะหายไปสิ้น เมื่อพระแห้งพอเอาแปลงปัดแบบเดิมอีก ความมันบนผิวพระก็จะขึ้นมาอีก ยิ่งถ้าใช้ใบตองแห้งปัดก็ยิ่งเพิ่มความมีน้ำมีนวลมากขึ้นเท่านั้น อ.มนัส สันนิษฐานว่า ความแห้งผากแบบนี้เกิดขึ้นเพราะการเข้าเอาไปฝังกรุ ความร้อนภายในกรุอาจมีถึง 70-80 องศาเซลเซียส หรืออาจถึง 100 ก็ได้ เมื่อเวลาผ่านไปจาก 100 วัน เป็น 100 ปี หรือ 1,000 ปีความชื้นในโพรงอากาศของเนื้อพระย่อมหายไปสิ้น ความชื้นที่อยู่นอกกรุไม่สามารถแทรกเข้าไปได้

เทคนิคของ อ.มนัส ในการไขความกระจ่างระหว่างพระกรุกับพระปลอมหรือพระเกจิ คือ ให้เอาพระทดลองแช่ในน้ำ (น้ำอุ่นหรือน้ำเย็นก็ได้) หากเป็นพระเกจิ หรือพระปลอม จะไม่มีพรายน้ำพวยพุ่งขึ้นมาจากองค์พระ แต่จะมีฟองน้ำขนาดใหญ่ประมาณหัวไม้ขีดไฟเกาะติดอยู่กับผิวพระ 2-3 ฟอง และนาน ๆ จะหลุดลอยขึ้นสู่ผิวน้ำเสียฟองหนึ่ง ยิ่งเป็นพระเนื้อดินใหม่ๆ อาจจมแบบไม่มีฟองเลยก็ได้

หากเป็นพระถ้ำเสือกรุใหม่ หากเอาแช่น้ำ จะเห็นพรายน้ำเป็นสายพวยพุ่งขึ้นจากองค์พระ คล้ายกับฟองโซดา ที่เราเอาผสมกับเหล้าก่อนจะกินนั่นแหละครับ บางองค์ก็มีสายเดียว บางองค์ก็หลายสาย นานไม่น้อยกว่า 4-5 นาที หากท่านอยากฟังเสียงนกร้องจิ๊บ ๆ จ๊อด ๆ ให้ใช้น้ำน้อย ๆ พอท่วมองค์พระ พรายน้ำจะพุ่งขึ้นสู่ผิวน้ำ หากเอาหูแนบฟังใกล้ ๆ จะได้ยินเสียง จิ๊บ ๆ จ๊อด ๆ เมื่อเอาขึ้นจากน้ำพักเดียวก็แห้งสนิท ยิ่งถ้าใช้ลมปากเป่าก็ยิ่งแห้งเร็วขึ้น หากเป็นของเกจิหรือของปลอม ไม่แห้งง่าย ๆ อาจใช้เวลาหลายนาทีหรือหลายชั่วโมง ก็ยังไม่แห้ง อ.มนัส ท่านบอกว่าเคยเอาของปลอมแช่น้ำดู ทิ้งไว้ทั้งคืน ก็ยังพบว่าชื้นอยู่

นอกจากนี้ อ.มนัส ยังได้อธิบายต่อว่าพระเนื้อหยาบจะดูง่ายกว่าเพราะในเนื้อหยาบบางองค์ที่หัก เห็นเนื้อใน หากดูที่เนื้อจะพบว่า แห้งมากจนแทบไม่มียางอยู่เลย คนทำปลอมก็ไม่อยากทำ เพราะทำยาก มักทำเนื้อละเอียดเนียน เพราะสวยแถมลวงตาได้ง่ายกว่า

ไม่ว่าจะเป็นเนื้อพระหรือความแห้งขององค์พระที่ตั้งกระทู้นั้น ข้าพเจ้าได้ทำการทดลองตามข้อแนะนำของ อ.มนัส จนหมดสิ้นแล้ว และผลออกมาเป็นที่น่าพอใจว่า พระองค์นี้เป็นพระกรุแน่นอน 100 % ส่วนพิมพ์พระนั้น ดังที่ได้เกริ่นมาแต่ต้นว่า มีถึง 60-70 พิมพ์ และอาจมากกว่านั้น ข้าพเจ้าจึงไม่สามารถที่จะสรุปเอาเองได้ แม้จะมีรูปในหนังสือให้ดูประกอบ แต่ก็ยังไม่สามารถชี้ชัดได้แบบเด็ดขาด เพราะพิมพ์ทรงละม้ายคล้ายกันมาก ผู้ที่จดจำพิมพ์และแยกแยะได้ทั้งหมดข้าพเจ้าต้องขอคาราวะด้วยใจ ขนาดเซียนพระในงานประกวดยังดูผิดกันมาตั้งหลายคน

ผมอธิบายมาแบบนี้อาจทำให้ อ.หมอเมืองเพชร หนักใจนิด ๆ ที่จะฟันธง แต่ผมก็ต้องยอมรับกับทุกความคิดเห็น เพราะเราไม่ได้เล่นคนเดียว ทุกคนก็ต้องยอมรับในพระของเราด้วย มันจึงจะเป็นมาตรฐานสากล ยังไงก็ด้วยความเคารพทั้งสองท่านด้านบนที่แสดงความคิดเห็นครับ


โดยคุณ joerama4 (215)  [พฤ. 30 ส.ค. 2550 - 03:27 น.] #143127 (6/8)
พระไม่แท้ครับ

โดยคุณ peat1979 (979)  [จ. 03 ก.ย. 2550 - 14:25 น.] #144960 (7/8)
ขอบคุณครับ พี่ joerama4

โดยคุณ หมอเมืองเพชร  [จ. 03 ก.ย. 2550 - 23:14 น.] #145405 (8/8)
จากรูปพระผิดพิมพ์ไม่แท้ครับ

!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!


Copyright ©G-PRA.COM
www1