เข้าไปดูตรง พระกรุ"เล่นง่าย ดูง่าย"
พระกรุเป็นพระที่นับวันจะหายากขึ้นทุกวัน พระกรุส่วนใหญ่จะเป็นพระเนื้อชินและเนื้อดินส่วนน้อยจะเป็นชนิดอื่น เช่น โลหะสำริด ว่าน ฯลฯ
พระ กรุเนื้อชินแบ่งออกเป็นชนิดต่างๆ เช่น ชินเงิน ชินแก่ตะกั่ว ชินเขียว และชินตะกั่วสนิมแดง หลักการดูพระทุกประเภทนี้เหมือนกันหมด ก็คือ
1. พิมพ์พระ สำคัญ 50%
2. เนื้อพระ สำคัญ 25%
3. ความเก่าของพระ สำคัญ 25%
รวมกันเป็น 100% โดยการดูพระเนื้อชินเหมือนกันกับการดูพระหล่อโบราณของพระเกจิอาจารย์ต่างๆ
พิมพ์พระเนื้อชินจะมีตำหนิในพิมพ์เหมือนเหรียญหล่อเกจิอาจารย์ซึ่งเราต้องทราบว่าจุดไหนเป็นตำหนิในแม่พิมพ์พระ ไม่ใช่เป็น ตำหนิขององค์พระซึ้งเกิดจากการเทพระ เช่น เนื้อเกิน รอยยุบ เทไม่ติดพิมพ์ เป็นต้น การดูตำหนิในแม่พิมพ์พระให้ดูจากพระแท้พิมพ์เดียวกันหลายๆ องค์ แล้วสังเกตุดูว่าจุดไหนที่ทุกองค์มีเหมือนกันหมดทุกองค์ถือเป็นตำหนิในแม่พิมพ์เช่น พระหูยานลพบุรี พิมพ์ใหญ่หน้ายักษ์ จะมีเนื้อเกินบริเวณซอกแขนขวา และรอยฟันหนูในบริเวณซอกแขนซ้าย เป็นต้น
1. พระเนื้อชินเงิน ส่วนผสมหลักจะเป็นตะกั่วผสมกับธาตุต่างๆ เช่น สังกะสี ดีบุก พลวง ปรอท ฯลฯ เพราะฉะนั้นเนื้อหาหลักจะมีสีคล้ายตะกั่ว แต่มีความแวววาวออกขาวคล้ายเงินหรือปรอทบริเวณผิวพระโดยเฉพาะองค์ที่ไม่ได้ ถูกสัมผัส เช่น พระกรุวัดราชบูรณะ พระกรุช่างกลปี 08 ลพบุรีเป็นต้น
2. พระเนื้อชินแก่ตะกั่ว ก็คือพระชินเงินที่มีส่วนผสมของตะกั่วมากนั้นเอง จะคล้ายกับตะกั่ว แต่จะมีผิวปรอทบางๆ อยู่บ้าง เนื้อพระจะอ่อนกว่าชินเงินทั่วไป เช่น พระชินราชใบเสมา พิษณุโลก, พระมเหศวร สุพรรณบุรี, พระกำแพงขาว กำแพงเพชร เป็นต้น
3. พระชินเขียว "ชินเขียวสนิมไข" เป็นคำกล่าวโบราณของพระเนื้อชินเขียว ซึ่งมักจะมีไขคล้ายไข่แมงดาเกาะติดอยู่ตามผิวพระ เนื้อพระจะมีสีเขียวอ่อน และจะมีจุดไฝดำแทรกอยู่ในเนื้อพระทุกองค์เสมอ เช่น พระยอดอัฎฐารส จ.พิษณุโลกเป็นต้น
4. พระตะกั่วสนิมแดง ก็คือเนื้อตะกั่วบริสุทธิ์นั่นเอง เมื่อพระเนื้อตะกั่วถูกความร้อนและความชื้นในกรุเป็นเวลาหลายร้อยปีจะเกิด สนิมตะกั่วทที่มีสีส้มถึงแดงขึ้นบริเวณผิวพระพร้อมกับไขขาวๆ ซึ่งจะมีความแตกต่างกันของสนิมแต่ละกรุ เพื่อนๆ จะต้องศึกษาสนิมแต่ละกรุไว้นะครับ
1. แนวทางดูธรรมธาติความเก่าของพระเนื้อชินพระเนื้อชิน ถ้าเป็นพระสวย จะเห็นคราบปรอทคลุมองค์พระทั้งองค์ โดยเฉพาะด้านหน้า แต่คราบจะไม่เสมอกันทั้งองค์ ดูเผินๆ เหมือนพระใหม่แต่หากส่องดูจะพบว่าปรอทมีความแห้งไม่แวววาวเหมือนของใหม่ และควรจะมีรอยปริรานหรือรอยระเบิดจากสนิมชินเงินบริเวณพื้นผิวองค์ด้านหน้า หรือด้านหลัง ซึ่งจะมีทุกองค์ไม่มากก็น้อย ส่วนพระใช้ช้ำ บนพื้นผิวที่ถูกสัมผัสมากๆ ก็จะมีลักษณะแวววาวหม่นๆ ของตะกั่วผสมเงิน จะพบปรอทเล็กน้อยตามซอกองค์พระ มักจะพบรอยปริรานและรอยระเบิดผุจากสนิมตีนกาเสมอ
2. พระชินแก่ตะกั่ว พระชินแก่ตะกั่วมักจะไม่มีรอยปริรานหรือระเบิดของชินให้เห็นเนื้อจากตะกั่ว มีความอ่อนตัวอยู่ แต่จะพบคราบสนิมชินตะกั่วเป็นคราบดำๆ อยู่ตามซอกต่างๆ ขององค์พระ ส่วนบริเวณที่มีการสัมผัสมากจะคล้ายตะกั่ว
3. พระชินเขียว พระชินเขียวที่มีอายุเก่าแก่จะขึ้นไขคล้ายไข่แมงดาไขจะมีความมันชื้นอยู่ในตัวไม่แห้ง
4. พระตะกั่วสนิมแดง พระเนื้อตะกั่วเมื่ออยู่ในกรุที่มีความร้อนชื้นเป็นเวลาหลายร้อยปีจะเกิด สนิมตะกั่วสีแดงขึ้นและคลุมด้วยคราบไขคล้ายหินปูนอีกชั้นหนึ่งเมื่อล้างคราบ หินปูนออกด้วยกรรมวิธีที่ถูกต้อง ก็จะเห็นผิวสนิมแดงที่เป็นธรรมชาติ คือ ปริราน เหมือนใยแมงมุมทั่วๆ ทั้งองค์พระที่เป็นสนิมแดงนั้นๆ |
|