(D)
*หลวงพ่อโตบางกะทิงเป็นพระศิลปะอยุธยาบริสุทธิ์ ดูได้จากองค์พระหลวงพ่อโตวัดพนัญเชิง ลักษณะ จะล้ำอวบอ้วนสมบูรณ์ ทำให้นึกไปว่าหลวงพ่อโตบางกะทิงก็คือหลวงพ่อโตวัดพนัญเชิงพิมพ์เล็กก็เป็นไปได้ครับ นั่นก็แสดงให้เห็นว่าพระทั้ง 2 พิมพ์นี้น่าจะสร้างในยุคเดียวกัน เช่นเดียวกับการสร้างพระพุทธชินราชและพระพุทธชินราชใบเสมานั่นเอง อย่างไรก็ตามกรุงงศรีอธุธยามีประวัติยาวนาน ตั้งแต่เริ่มสร้างกรุงปี 1893 จนเสียกรุงครั้งที่ 2 ปี 2310 รวมเวลาแล้วถึง 417 ปี
*จากหลักฐานการค้นพบไว้ว่าหลวงพ่อโตพบที่กรุวัดบางกะทิง ซึ่งวัดนี้เป็นวัดเก่าแก่สร้างปลายสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยพระยาสีหราชเดโชเป็นผู้สร้างวัดนี้ แต่สร้างยังไม่เสร็จพอมาถึงแผ่นดินของพระเพทราชา พระญาติราชวงค์บ้างพลูหลวงได้สร้างเพิ่มเติมจนเสร็จตั้งชื่อใหม่ว่า..วัดใหม่บางกะทิง
*ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 รัตนโกสินทร์ พระยาประสิทธิ์(น้อย) ได้ทำการย้ายวัดห่างจากวัดเก่า 1 เส้น แล้วเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น.. วัดใหม่พระยามัคคาราม ต่อมาในปี 2481 สมัยพระครูพิศิษฐ์สังฆการเป็นเจ้าอาวาสได้เปลี่ยนชื่อกลับมาเป็นวัดบางกะทิงเช่นเดิม โดยครั้งนั้นท่านได้พัฒนาวัดโดยการรื้อโบสถ์หลังเก่าที่ชำรุดทรุดโทรม และเอาวัดลูกนิมิตท่านได้พบหลวงพ่อโตเนื้อดินฝังรวมอยู่กับลูกนิมิตจำนวน 1 โองใหญ่ นับได้หลายหมื่นองค์ ท่านได้นำแจกชาวบ้านที่มาร่วมทำบุญสร้างกุศลในการสร้างโบสถ์หลังใหม่แล้วเสร็จในปี 2489 โดยท่านได้นำพระหลวงพ่อโตจำนวนหนึ่งฝังใต้ฐานพระประธานตั้งแต่นั้นมา
*พระเนื้อดินหลวงพ่อโตมี 2 พิมพ์ด้วยกันคือพิมพ์สมาธิกับพิมพ์มารวิชัย พิมพ์สมาธิจะพบมากว่า ลักษณะเป็นพระดินเผาองค์พระล้ำด้านหลังจะเป็นหลักเรียบปรากฎลายกาบหมาก มีลักษณะการหดตัวเนื้อพระ เนื้อพระจะเป็นดินกองกึ่งหยาบกึ่งละเอียด มีทั้งลงรักปิดทองเดิม นอกจากนั้นยังพบหลวงพ่อโตเนื้อชินเงินและชินตะกั๋วอีกด้วย
*พุทธคุณของหลวงพ่อโตจากประสบการณ์ของผู้ที่นำไปใช้พบว่าพลวงพ่อโตเด่นด้านคงกระพันชาตรี ป้องกันภัยนอกนั้นยังมีเมตตามหานิยมครบถ้วนอีกด้วย
*อย่างไรก็ตามหลวงพ่อโตลางกระทิงถือว่าเป็นศิลปะอยุธยาบริสุทธิ์อายุมากกว่า 400 ปีน่าอนุรักษ์สืบทอดและยังทรงคุณค่าสูงครับ
|