หัวข้อกระทู้ : => หล่อโบราณเทดินไทย ภูมิปัญญาไทยที่ควรช่วยกันอนุรักษ์............... |
(N)
การหล่อพระในสมัยก่อน วิทยาการความรู้ เครื่องไม้เครื่องมือ ทางการหล่อมีน้อยกว่าในปัจจุบัน และด้วยความตั้งใจจริง จิตศรัทธาของญาติโยม จึงมักหล่อแบบโบราณและจัดพิธีเททองหล่อพระ จะเห็นได้ว่าพระเครื่องที่หล่อ และเป็นที่นิยมมากๆ เช่น พระกริ่งปวเรศ พระกริ่งวัดสุทัศเทพวราราม สมัยสมเด็จพระสังฆราชแพ เจ้าคุณศรีสนธิ์ ท่านเจ้ามา วัดสามปลื้ม หลวงพ่อเงิน วัดบางคลาน หลวงปู่ทวดเบตงหรือพิมพ์เตารีด วัดช้างไห้ พ.ศ.2505 ล้วนแต่เป็นการหล่อโบราณทั้งสิ้น
แต่ปัจจุบัน ส่วนใหญ่งานหล่อพระมักต้องการปริมาณจำนวนมาก สะดวก สบาย รวดเร็ว สวยงามและประหยัด จึงมักใช้เทคนิควิธีสมัยใหม่แบบหล่อปูนวิทยาศาสตร์ (ปูนนอก) ใช้การหล่อเหวี่ยง หล่อดูดสูญญากาศ งานที่ออกมาจะเหมือนกันทุกองค์
การหล่อพระแบบโบราณเทดินไทย กรรมวิธีขั้นตอนต่างๆ รวมทั้งค่าใช้จ่ายและความเสียหายของชิ้นงานมีมาก พระแต่ละองค์หล่อออกมาจะไม่เหมือนกันเลย มีตำหนิ ผิวพรรณ วรรณ ต่างกัน ซึ่งการหล่อโบราณเทดินไทย ในปัจจุบันแทบไม่มีเลย เพราะจะต้องเตรียมชนวนมวลสาร แผ่นยันต์ และประกอบพิธีเททองหล่อ ซึ่งต้องใช้ค่าใช้จ่ายสูงมาก ส่วนใหญ่ถ้าไม่ได้จัดพิธีหรือไม่เห็นมากับตา มักจะแอบอ้างว่าหล่อโบราณ สังเกตุจากความเรียบร้อยขององค์พระ ผิวพรรณ วรรณ จะไม่เป็นธรรมชาติ ผิวดินมูลวัวจะซุยกระจาย ไม่เกาะยึดแน่นองค์พระ
ในการจัดสร้างพระพุทธชินราช - สมเด็จพระนเรศวรมหาราช รุ่นมหาจักรพรรดิ ได้ใช้กรรมวิธีหล่อโบราณเทดินไทย ในส่วนของพระพุทธชินราชย้อนยุคอินโดจีน และ พระกริ่งสมเด็จพระนเรศวรปราบหงสากรรมวิธีแบบโบราณแท้ๆ ทรงไว้ซึ่งเสน่ห์แห่งภูมิปัญญาไทย
วันนี้นำขั้นตอนการหล่อโบราณ เทดินไทยมาให้ชมกันครับ ว่ามีขั้นตอนการดำเนินการอย่างไรบ้าง คนสมัยก่อนเก่งครับ แม้ความพร้อมต่างๆไม่เหมือนทุกวันนี้ แต่งานที่สร้างสรรค์ออกมา สวยงามและมีคุณค่าเป็นอย่างยิ่งครับ
มาชมกันครับ...... |
|
|