ร่วมเสนอความคิดเห็น
หัวข้อกระทู้ :
หลวงพ่อพระใส
(D)
หากท่านใดที่มีความสนใจ หรือชื่นชอบในองค์ หลวงพ่อพระใส หรือสมาชิคท่านใด มีองค์หลวงพ่อพระใส ไม่ว่าจะรุ่นไหน อยากจะให้เช่าหรือโชว์ เชิญมาคุยกันทางนี้นะครับ 081-0613859
โดยคุณ
ลูกพระใส
(
2.3K
)
[ส. 06 ต.ค. 2550 - 16:20 น.]
โดยคุณ
pusit
(
1.7K
)
[ส. 06 ต.ค. 2550 - 16:32 น.] #161267 (1/24)
ครับ....
โดยคุณ
นกสีขาว
(
6
)
[ส. 06 ต.ค. 2550 - 20:34 น.] #161355 (2/24)
ยินดีที่ได้รู้จักครับและก็...หากมีโอกาสครับ...
โดยคุณ
tonphuphan
(
49
)
[ส. 06 ต.ค. 2550 - 20:49 น.] #161358 (3/24)
จากหนองคายหรือเปล่าคราบ
โดยคุณ
apimuk
(
1.5K
)
[อา. 07 ต.ค. 2550 - 00:39 น.] #161476 (4/24)
***ใจความสั้นไปนิด ยังไม่เก็ท ยินดีต้อนรับครับผม***
โดยคุณ
supan999
(
0
)
[อา. 07 ต.ค. 2550 - 04:46 น.] #161511 (5/24)
เป็นงง.............5555555555555
โดยคุณ
aekeve
(
0
)
[อา. 07 ต.ค. 2550 - 12:08 น.] #161611 (6/24)
สวัสดีครับ คุณพระใส เอาโอกาสหน้าแล้วกันครับ
โดยคุณ
ลูกพระใส
(
2.3K
)
[อา. 07 ต.ค. 2550 - 15:33 น.] #161671 (7/24)
(D)
หลวงพ่อพระใส
โดยคุณ
No-War
(
4.5K
)
[อา. 07 ต.ค. 2550 - 19:06 น.] #161719 (8/24)
(D)
สวัสดีครับผม...ยินดีที่ได้รู้จักครับ
https://www.g-pra.com/webboard/show.php?Category=member&No=37086
โดยคุณ
เด็กตลาดช่องแค
(
450
)
[จ. 08 ต.ค. 2550 - 07:59 น.] #161909 (9/24)
สวัสดีครับยินดีที่ได้รู้จักครับคุณลูกพระใส อย่างไรรบกวน เขียนแผนที่วัดและประวัติให้หน่อยนะครับ เคยไปทำงานฝั่งลาว ว่าจะไปกราบแต่ไปไม่ถูกนะครับ ขอบคุณล่วงหน้านะครับ
ว่าแต่อย่าลืมอ่านกฏกติกา ด้วยนะครับผม
https://www.g-pra.com/information/information.php?Category=info
โดยคุณ
ลูกพระใส
(
2.3K
)
[จ. 08 ต.ค. 2550 - 21:37 น.] #162343 (10/24)
(D)
ขอความสุขสวัสดิ์จงมีแด่ทุกท่านที่ได้สดับและอ่านเรื่องนี้เถิด
พระเสริม พระสุกและพระใส หล่อขึ้นจากทองสีสุก ( โลหะสำฤทธิ์ที่มีทองคำเป็นส่วนผสมหลัก ) เมื่อปี พ.ศ. 2109 โดยพระราชธิดาของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช กษัตริย์ล้านช้าง ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมอุทรเดียวกัน 3 พระองค์ ทรงพระนามว่า เสริม สุก และใส โปรดให้ช่างลาวล้านช้างหล่อพระพุทธรูปประจำพระองค์ เพื่อความเป็นสิริมงคลมีขนาดลดหลั่นกันตามลำดับ
ในพิธีการหล่อพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์นั้น พระภิกษุและฆราวาสช่วยกันทำการสูบเตาหลอมทองอยู่ตลอดถึง 7 วัน แต่ทองก็ยังไม่ละลาย พอถึงวันที่ 8 มีเพียงพระภิกษุสูงอายุรูปหนึ่งกับสามเณรรูปหนึ่งสูบเตาอยู่ ก็ปรากฏมีชีปะขาวคนหนึ่งมาอาสาสูบเตาแทนพระและเณร แต่วันนั้นญาติโยมต่างเห็นบรรดาชีปะขาวสูบเตาอยู่เป็นจำนวนมาก เมื่อพระภิกษุและสามเณรฉันเพลเสร็จแล้วก็จะไปสูบเตาต่อ ปรากฏว่าได้มีผู้เททองลงเบ้าทั้ง 3 จนเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่เห็นชีปะขาวอยู่แม้แต่คนเดียว การหล่อพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ สำเร็จลงด้วยดีอย่างน่าอัศจรรย์ พระราชธิดาเสริม สุก และใส ต่างถวายนามของตนเป็นนามของพระพุทธรูป ได้แก่ พระเสริมเป็นพระพุทธรูปประจำพระราชธิดาองค์พี่ พระสุกเป็นพระพุทธรูปประจำพระราชธิดาองค์กลาง และพระใสเป็นพระพุทธรูปประจำพระราชธิดาองค์สุดท้อง
สมเด็จ ฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงลงความเห็นเกี่ยวกับพระพุทธรูปทั้ง 3 องค์นี้ว่า เป็นพระพุทธรูปล้านช้างที่งดงามยิ่งกว่าพระพุทธรูปองค์อื่น ๆ และทรงสันนิษฐานเรื่องการสร้างเป็น 2 ประการ คือ อาจจะเป็นพระพุทธรูปที่สร้างจากเมืองหนึ่งเมืองใดทางตะวันออกของอาณาจักรล้านช้าง และต่อมาตกอยู่ในเขตล้านช้าง หรืออาจสร้างขึ้นในเขตล้านช้างโดยฝีมือช่างลาวพุงขาว
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ครั้งเจ้าอนุวงศ์ เจ้าผู้ครองอาณาจักรล้านช้างก่อกบฏ คิดประกาศเอกราชไม่ขอขึ้นตรงต่อกรุงรัตนโกสินทร์อีกต่อไป พระองค์ทรงโปรดให้สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาศักดิพลเสพและเจ้าพระยาบดินทร์เดชา เป็นแม่ทัพยกทัพไปปราบ และได้ตั้งค่ายทหารที่เมืองพานพร้าว ทหารไทยเข้าตีเมืองเวียงจันทน์จนเจ้าอนุวงศ์หนีไปจากเวียงจันทน์ ในครั้งนั้นได้อัญเชิญพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาจากเมืองเวียงจันทน์หลายองค์ ได้แก่ พระแซกคำ พระฉันสมอ พระเสริม พระสุก พระใส พระแก่นจันทน์ พระเงินหล่อ พระเงินบุ พระสรงน้ำ มาเก็บรักษาไว้ที่เมืองพานพร้าว และได้มีการสร้างพระเจดีย์เพื่อประดิษฐานจารึกพระนาม พระเจดีย์ปราบเวียง ต่อมาเจ้าอนุวงศ์ได้ร่วมกับพวกญวนเข้ายึดเมืองเวียงจันทน์คืนและตีค่ายพานพร้าว ทหารฝ่ายเจ้าอนุวงศ์ได้ทำการรื้อพระเจดีย์ปราบเวียง และนำพระพุทธรูปที่บรรจุอยู่ทั้งหมดกลับเวียงจันทน์ ต่อมาทหารไทยเข้ายึดค่ายพานพร้าวคืนและตีเมืองเวียงจันทน์ ทำลายเมืองเวียงจันทน์ กำแพงเมือง ป้อมเมือง และหอคำ จนกลายเป็นทะเลเพลิง เหลือไว้แต่วัดสีสะเกดและสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองบางแห่ง และได้มีการนำพระพุทธรูปจำนวนหนึ่งข้ามกลับมาฝั่งไทย
การอัญเชิญพระเสริม พระสุก พระใส จากเมืองเวียงจันทน์
มีเรื่องเล่าเป็นตำนานต่อกันมาว่าพบพระพุทธรูปที่ภูเขาควาย ( เนื่องจากชาวเมืองได้นำไปซ่อนไว้เพื่อหนีภัยสงคราม ) จึงนำขึ้นประดิษฐานบนแพไม้ไผ่อัญเชิญมาทางลำน้ำงึมออกลำน้ำโขง เมื่อถึงบริเวณปากน้ำงึมเฉียงกับบ้านหนองกุ้งเมืองหนองคาย ( ปัจจุบันอยู่ในเขตอำเภอโพนพิสัย ) เกิดพายุฝนตกหนักพัดแท่นที่ประดิษฐานพระสุกจมน้ำ สถานที่นั้นต่อมาจึงเรียกว่า เวินแท่น และในที่ใกล้ ๆ กันองค์พระสุกจมก็หายไปในแม่น้ำโขง และสถานที่นั้นต่อมาเรียกว่า เวินพระสุก หรือ เวินสุก ส่วนพระเสริมและพระใสได้ อัญเชิญมาถึงเมืองหนองคายอย่างปลอดภัย
พระเสริมนั้นประดิษฐานอยู่ที่วัดโพธิ์ชัย ส่วนพระใสประดิษฐานอยู่ที่วัดหอก่อง ( วัดประดิษฐ์ธรรมคุณ ) ต่อมายุครัชกาลที่ 4 พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะอัญเชิญพระเสริมมาประดิษฐานยังพระบวรราชวัง พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้า ฯ ให้ขุนวรธานีและข้าหลวง ( เหม็น ) ไปอัญเชิญพระเสริมและพระใสมายังพระนคร เมื่อครั้งอัญเชิญพระเสริมและพระใสมายังพระนครนั้น กล่าวกันว่าพระใสแสดงปาฏิหาริย์ เกวียนที่ประดิษฐานพระใสหักลงตรงหน้าวัดโพธิ์ชัย ซ่อมก็หักอีก วัวลากเกวียนไม่ยอมเดิน ทั้งเชิญและบวงสรวงก็ไม่เป็นผล สุดท้ายทหารจึงอัญเชิญพระใสประดิษฐานที่วัดโพธิ์ชัยแทน ส่วนพระเสริมอัญเชิญไปกรุงเทพ ฯ ( ปัจจุบันหลวงพ่อพระใสเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดหนองคายประดิษฐานที่วัดโพธิ์ชัย อำเภอเมือง ) ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2408 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดให้อัญเชิญพระเสริมจากพระบวรราชวัง ไปประดิษฐานยังพระวิหารวัดปทุมวนาราม มาจนถึงปัจจุบัน. ( วัดอยู่ตรงเชิงสถานีรถไฟฟ้า บีทีเอสสยาม ขอผู้มีจิตเลื่อมใสโปรดไปนมัสการสักครั้งในชีวิต )
โดยคุณ
ลูกพระใส
(
2.3K
)
[จ. 08 ต.ค. 2550 - 21:42 น.] #162349 (11/24)
คาถาบูชาหลวงพ่อพระใส
อะระหังพุทโธ โพธิชโย เสยยะคุโณ
โพธิสัตโต มหาลาโภ ปิยัง มะมะ ภะวันตุโณ โหตุ สัพพะทา
วัดโพธิ์ชัย ตั้งอยู่ที่ถนนโพธิ์ชัย ในเขตเทศบาลเมือง จ.หนองคาย
แผนที่ วัดโพธิ์ชัย
http://tripandtrek.com/map/show.php?Category=&No=276
โดยคุณ
เด็กตลาดช่องแค
(
450
)
[อ. 09 ต.ค. 2550 - 15:16 น.] #162659 (12/24)
มีประโยชน์มากครับขอบคุณครับ
โดยคุณ
prariwat
(
386
)
[พ. 10 ต.ค. 2550 - 20:53 น.] #163285 (13/24)
ยินดีที่ได้รู้จักครับ
โดยคุณ
kanjantara
(
2.6K
)
[ศ. 12 ต.ค. 2550 - 10:21 น.] #163992 (14/24)
(D)
ผมส่งรูปมาให้ดูครับ ผมก็เป็นคนหนองคายครับ
กานต์ จันทระ
081-9646495
โดยคุณ
peterdriverbkk
(
3.8K
)
[ศ. 12 ต.ค. 2550 - 19:33 น.] #164279 (15/24)
(D)
สวัสดีครับ ยินดีต้อนรับครับ มาเป็นเพื่อน เป็นพี่ เป็นน้องกันนะครับ
https://www.g-pra.com/guaranteepra/index.php?action=showpralist&show_club=46&show=cluball
โดยคุณ
ลูกพระใส
(
2.3K
)
[อา. 14 ต.ค. 2550 - 12:57 น.] #165019 (16/24)
กานต์ จันทระ
ผมจะโอนเงินให้วันนี้เลยะครับ
ถ้ามีพระใสมาใหม่รบกวนโพรสทางนี้ให้ชมหน่อยนะครับ
แทน ลูกพระใส
โดยคุณ
kanjantara
(
2.6K
)
[พ. 17 ต.ค. 2550 - 12:02 น.] #166745 (17/24)
(D)
เหรียญผอม ผงรุ่นแรก เอามาให้ชมกัน
โดยคุณ
kanjantara
(
2.6K
)
[พ. 17 ต.ค. 2550 - 12:05 น.] #166747 (18/24)
(D)
ฐานสูง สวยๆมาให้ชม
โดยคุณ
kanjantara
(
2.6K
)
[พ. 17 ต.ค. 2550 - 12:07 น.] #166750 (19/24)
(D)
รูปถ่าย หลังตะกรุด
โดยคุณ
ลูกพระใส
(
2.3K
)
[พ. 17 ต.ค. 2550 - 17:36 น.] #166885 (20/24)
รูปถ่ายหลังตะกรุด ผมมี 2 อัน
ฐานสูงสวยหาเจออีกฝากกันบ่างสิ
ผง 20 พิมพ์ใหญ่ใช้ไหม
โดยคุณ
goodmondays
(
4.8K
)
[พ. 17 ต.ค. 2550 - 19:48 น.] #166969 (21/24)
ดีครับ ขอให้FBขึ้นกระชูดนะครับ
โดยคุณ
kanjantara
(
2.6K
)
[พฤ. 18 ต.ค. 2550 - 12:01 น.] #167343 (22/24)
ไม่ใช่ผงปี 20 สังเกตจากใต้ฐาน เขียนว่า หลวงพ่อใส แต่ปี20 เขียนว่า หลวงพ่อพระใส ครับ
ผมไม่ใจว่า ปี2500 กว่า หรือ2510 กว่า
กานต์
โดยคุณ
ลูกพระใส
(
2.3K
)
[พฤ. 18 ต.ค. 2550 - 21:51 น.] #167612 (23/24)
สวนมากก็จะมี กรุ เจ้าคุณเวธี ที่ดังๆ
ส่วนใหญ่พระที่เจ้าคณเวธีทำจะมีจำนวนมาก
รุ่นที่คุณกานต์มีอาจหนึ่งในนั้น
แต่อาจจะทำขึ้นมาเพื่อแจกให้คนสำคัญ
โดยที่ไม่ได้มีไว้ให้บูชาผมว่าหน้าจะเป็นแบบนี้นะครับ
เพราะรุ่นก่อนเจ้าคุณเวธีทำก็จะมีแต่พระที่เป็นองค์ลอยซะมากกว่า
แทน
โดยคุณ
jungjung
(
1.3K
)
[อา. 21 ต.ค. 2550 - 18:58 น.] #168734 (24/24)
ผมมีเก็บไว้เยอะครับ กริ่ง ปี 09 ซึ่งถือเป็นรุ่นแรก(รุ่นนี้ผมเล่นไม่ตอกครับ) ปี 12 ตอกโค๊ด กริ่งรุ่น 2 ฐาน สูง เนื้อผง ปี 20 พิมพืเล็ก --ใหญ่ พระพิมพ์เล็บมือ พระปางลีลาเนื้อชิน กริ่งปี 37 ปี 41 แต่ผมไม่มีเวลาถ่ายภาพเลยครับ ไว้ว่างๆจะโทรไปคุยด้วนะครับ บางทีผมอาจจะขอเก็บไว้เพียง 1-2 องค์ที่เหลือจะออกให้ท่านที่สนใจครับ
!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!
Copyright ©G-PRA.COM
www1