ร่วมเสนอความคิดเห็น

หัวข้อกระทู้ : ฝากข้อมูล 45. ปี 2514 พระชุดวัดท่าเกวียน ฉะเชิงเทรา



(N)


ขอให้ท่านสมาชิกฝากข้อมูลของพระรุ่นนี้ทั้งหมด รวมถึงข้อคิดเห็นต่างๆได้ที่กระดานนี้ครับ

โดยคุณ webmaster3  [พฤ. 23 ต.ค. 2557 - 00:56 น.]



โดยคุณ webmaster3  [พฤ. 23 ต.ค. 2557 - 00:58 น.] #3506743 (1/51)


(N)


เหรียญ ลพ.จันทร์

โดยคุณ webmaster3  [พฤ. 23 ต.ค. 2557 - 00:59 น.] #3506744 (2/51)


(N)


เหรียญ ลพ.จันทร์ รูปไข่

โดยคุณ sabydna (1.3K)  [ส. 25 ต.ค. 2557 - 21:19 น.] #3509694 (3/51)

โดยคุณ jon56 (67)  [จ. 27 ต.ค. 2557 - 12:20 น.] #3510982 (4/51)
ราคาไปถึงไหนเเล้วครับเหรียญลป.จันทร์รูปไข่
อยากทราบว่ามีคนเล่นนิยมกันไหม

โดยคุณ สังสรรค์มงคลเกษม (415)(1)   [จ. 27 ต.ค. 2557 - 16:49 น.] #3511162 (5/51)


(N)
ผมแขวนพระชัยวัฒน์ติดตัวมานานนับสิบปี แล้วแต่ความเชื่อและศรัทธาครับ ส่วนตัวเจ๋งโครตๆ

พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์พุทธวิชิตมาร

[ รายละเอียด ]
พระกริ่ง-พระชัยวัฒน์พุทธวิชิตมาร วัดท่าเกวียน ฉะเชิงเทรา ปี ๒๕๑๔
จัดสร้างโดยท่านเจ้าคุณอดุลสารมุนี(หลวงปู่จันทร์) วัดท่าเกวียน
เจ้าคณะอำเภอพนมสารคาม ฉะเชิงเทรา
วัตถุประสงค์เพื่อหารายได้เข้าทุนมูลนิธิท่านเจ้าคุณพระอดุลสารมุนี
เพื่อช่วยเหลือพระภิกษุและสามเณรที่ยากไร้
โดยสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณสมเด็จพระสังฆราชวัดมกุฎกษัตริยารามทรงจุดเทียนชัย และได้มอบแผ่นชนวนจากวัดมกุฎกษัตริยาราม และวัดสุทัศน์จากสมเด็จพุฒาจารย์(เสงี่ยม) วัดสุทัศน์ฯ ผู้มอบและได้รับแผ่นทอง เงิน นาก จากท่านเจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทร์เป็นผู้ลงแผ่นและอธิษฐานจิตมาด้วย พ.ศ.2513โดยการออกแบบสร้างของนายช่างเกษม มงคลเจริญ เป็นพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ที่สวยงามที่สุดในประเทศ สร้างจำนวนอย่างละ 5,000 องค์และเนื้อทองคำสร้างจำนวน 29 องค์เท่านั้น นอกนั้นเป็นเนื้อนวะทั้งหมด เนื้อเงินไม่มีและจัดพิธีพุทธาภิเษกครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในจังหวัดฉะเชิงเทรา เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2514 โดยคณาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 108 รูป เริ่มพิธีตั้งแต่ 6โมงเย็นตลอดคืนถึง 6 โมงเช้าโดยหลวงปู่นาค วัดระฆังเป็นองค์ดับเทียนชัย คณาจารย์ที่มาร่วมปลุกเสกพอจำได้ และที่จำไม่ได้ก็มีหลายรูป

รายนามพระคณาจารย์นั่งปรกวัตถุมงคล 108 รูป วัดท่าเกวียน ตำบลพนม อำเภอพนมสารคาม ฉะเชิงเทรา 14 มีนาคม พ.ศ.2514
1.หลวงปู่คำมี ถ้ำคูหาสวรรค์ ลพบุรี
2.หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ระยอง
3.หลวงปู่โต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กรุงเทพฯ
4.หลวงพ่อพรหม วัดช่องแค นครสวรรค์
5.หลวงปู่สี วัดถ้ำเขาบุญนาค นครสวรรค์
6.หลวงปู่ศรี วัดสะแก อยุธยา
7.หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี
8.หลวงพ่อสงฆ์ วัดเจ้าศาลาลอย ชุมพร
9.หลวงปู่เม้า วัดสี่เหลี่ยม บุรีรัมย์
10.หลวงพ่อชื่น วัดมาบข่า ระยอง
11.หลวงพ่อหอม วัดชากหมาก ระยอง
12.หลวงพ่อคร่ำ วัดวังหว้า ระยอง
13.หลวงพ่อคง วัดวังสรรพรส จันทบุรี
14.หลวงพ่อทบ วัดชนแดน เพชรบูรณ์
15.พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ วัดดอนศาลา นครศรีธรรมราช
16.หลวงพ่อทิพย์ วัดโพธิ์ทอง บุรีรัมย์
17.หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม นครปฐม
18.หลวงพ่อมุม วัดปราสาทเยอเหนือ ร้อยเอ็ด
19.หลวงพ่อแก้ว วัดช่องลม สมุทรสาคร
20.หลวงพ่อสิม วัดถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่
21.พระอาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยดำรงค์ธรรม สกลนคร
22.หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
23.หลวงพ่อถิร วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี
24.หลวงปู่พริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู ลพบุรี
25.หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม นครปฐม
26.หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง สมุทรสาคร
27.หลวงพ่อเอีย วัดบ้านด่าน ปราจีนบุรี
28.หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง นนทบุรี
29.หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยาณมิตร กรุงเทพน
30.หลวงพ่อทอง วัดก้อนแก้ว ฉะเชิงเทรา
31.หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม นครปฐม
32.หลวงปู่จันทร์ วัดศรีเทพฯ นครพนม
33.หลวงปู่เพิ่ม วัดกลางบางแก้ว นครปฐม
34.หลวงพ่อเนื่อง วัดจุฬามณี สมุทรสาคร
35.หลวงปู่ธูป วัดแค กทม.
36.หลวงพ่อขอม วัดไผ่โรงวัว สุพรรณบุรี
37.หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง นครศรีธรรมราช
38.หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ นครปฐม
39.หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ อยุธยา
40.หลวงพ่อจันทร์ วัดทุ่งเฟื้อ นครศรีธรรมราช
41.หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่(อธิษฐานจิตมา)
42.หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล อุดรธานี
43.หลวงปู่หนู วัดทุ่งแหลม ราชบุรี
44.หลวงพ่อนาถ วัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง กาญจนบุรี
45.หลวงพ่อมี วัดซำป่างาม ฉะเชิงเทรา
46.หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา
47.ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง เชียงใหม่
48.หลวงพ่อหน่าย วัดบ้านแจ้ง อยุธยา
49.หลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขต ขอนแก่น
50.ครูบาดวงดี วัดท่าจำปี เชียงใหม่
51.หลวงพ่อโอด วัดจันเสน นครสวรรค์
52.หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ สุพรรณบุรี
53.หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ นครราชสีมา
54.หลวงพ่อเส็ง วัดบางนา ปทุมธานี
55.หลวงปู่เครื่อง วัดเทพสิงห์หาร อุดรธานี
56.หลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง สระบุรี
57.พระครูเมตยานุรักษ์ วัดวชิราลงกรณ์ นครราชสีมา
58.พระครูสัมฤทธิ์ วัดอู่ทอง สุพรรณบุรี
59.พระวิบูลเมธาจารย์(เก็บ) วัดดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี
60.หลวงพ่อเที่ยง วัดม่วงชุม กาญจนบุรี
61.พระครูกาญจโนปมคุณ(ลำไย) วัดลาดหญ้า กาญจนบุรี
62.หลวงพ่อเจริญ วัดทองนพคุณ เพชรบุรี
63.พระครูไพศาลคณารักษ์ วัดไร่ขิง นครปฐม
64.หลวงพ่อสนิท วัดลำบัวลอย นครนายก
65.หลวงพ่อสีหมอก วัดเขาวังตะโก ชลบุรี
66.พระครูศรีสัตตคุณ วัดสัต***บ ชลบุรี
67.หลวงปู่บุญทัน วัดประดู่ศรี ปราจีนบุรี
68.พระวิสุทธาจารคุณ วัดเกาะหลัก ประจวบคีรีขันธ์
69.พระอาจารย์สุบิน วัดถ้ำไก่แก้ว นครราชสีมา
70.หลวงพ่อมิ วัดสะพาน ธนบุรี
71.พระครูพิชัยณรงค์ฤทธิ์ วัดคอกหมู กทม.
72.พระอาจารย์บำเรอ วัดปากน้ำภาษีเจริญ กทม.
73.พระญาณวิริยาจารย์ วัดธรรมมงคล กทม.
74.พระครูพิทักษ์เขมากร วัดท่าเกวียน ฉะเชิงเทรา
75.หลวงพ่อถึก วัดสนามช้าง ฉะเชิงเทรา
76.หลวงพ่อเม็ด วัดบึงกระจับ ฉะเชิงเทรา
77.หลวงพ่อผิว วัดหนองบัว ฉะเชิงเทรา
78.หลวงพ่อสาย วัดซำป่างาม ฉะเชิงเทรา
79.หลวงพ่อเฮง วัดอ่าวสีเสียด ฉะเชิงเทรา
80.หลวงพ่อสุด วัดกาหลง สมุทรสาคร
81.หลวงปู่จันทร์ โฆสโก อุตรดิตถ์
82.หลวงพ่ออินเทวดา วัดลาดท่าใหม่ จันทบุรี
83.หลวงพ่ออินทร์ วัดปากน้ำภาษีเจริญ กทม.
84.หลวงพ่อกลั่น วัดอินทาราม อ่างทอง
85.หลวงพ่อสาย วัดจันทรเจริญสุข
86.หลวงพ่อไปล่ วัดดาวเรือง ปทุมธานี
87.หลวงพ่อแดง วัดดอนยอ นครปฐม
88.หลวงพ่อเพชร วัดดงยาง ฉะเชิงเทรา
พระเกจิอาจารย์ที่มาร่วมปลุกเสกว่าสุดยอดในยุคนั้นจริงๆ น่าบูชาขึ้นคอครับ

โดยคุณ ผู้จัดการ (2.4K)  [พฤ. 30 ต.ค. 2557 - 18:49 น.] #3513783 (6/51)


(N)
https://www.g-pra.com/webboard/show.php?Category=general_talk&No=478287

นำข้อมูลต่างๆของเหรียญหลวงปู่จันทร์ วัดท่าเกวียน มาฝากไว้เพื่อเป็นข้อมูลอ้างอิงต่างๆครับ

................................................................................................................................................................................................................................................................................................

ป็นวัตถุมงคลอีกรุ่นหนึ่งที่ได้รับการยอมรับว่า หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ปลุกเสก วันนี้ขอนำรายละเอียดเกี่ยวกับเหรียญหลวงปู่จันทร์ วัดท่าเกวียน ปี 2514 มาฝากกันครับ

ในการจัดสร้างวัตถุมงคลของวัดท่าเกวียน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา เมื่อปี พ.ศ.2514 นั้น จัดได้ว่าเป็นการจัดสร้างพระเครื่องที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเมืองแปดริ้วก็ว่าได้ครับ
เนื่องจากได้มีการจัดเตรียมพิธีต่างๆ อย่างยิ่งใหญ่ครบครัน การนิมนต์พระเกจิที่มาร่วมพิธีพุทธิเศกนั้น ต้องบอกว่าเป็นการรวมพระเกจิที่ล้วนแต่มีชื่อเสียงเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน
ในการจัดสร้างวัตถุมงคลนั้น ยังได้ช่างมือหนึ่งในสมัยนั้น ช่างเกษม มงคลเจริญ มาเป็นผู้ออกแบบรูปแบบของวัตถุมงคลแกะบล๊อคแม่พิมพ์ด้วย

วัตถุมงคลที่จัดสร้างในปี 2514 ของวัดท่าเกวียนนั้น มี 3 รูปแบบ ได้แก่

1. พระกริ่งและพระชัยวัฒน์ ซึ่งมีชื่อเรียกว่า "พระพุทธวิชิตมาร ประทานสันติสุข สวัสดี ชินสีห์ ธรรมบพิตร" หรือที่เรียกกันสั้นๆติดปากว่า พระกริ่งพุทธวิชิตมาร หรือ พระกริ่งวิชิตมาร
2. เหรียญรูปเหมือน ลป.จันทร์ ทรงเสมา เนื้อเงินลงยา มีทั้งชนิดองค์พระเป็นเงินและองค์พระเป็นทองคำ หรือ ปัจจุบันเรียกว่า หน้ากากเงิน หน้ากากทอง
3. เหรียญรูปไข่ ด้านข้าง ลป.จันทร์ หรือที่เรียกในปัจจุบันว่าเหรียญหันข้าง

โดยวัตถุมงคลทั้งหมดได้เข้าพิธีพุทธิเศก เมื่อวันที่ 18 มีนาคม พ.ศ.2518 ซึ่งตรงกับวันพฤหัสบดี แรม 7 ค่ำ เดือน 4 ปีกุล จุลศักราช 1332

ในที่นี้จะไม่กล่าวถึงพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์พุทธวิชิตมาร เนื่องจากได้เป็นที่ยอมรับและเล่นหากันมานานแล้ว และมีในหนังสือรวมเล่มวัตถุมงคลของหลวงปู่ทิมแล้ว
ในส่วนของเหรียญนั้นเนื่องจากเป็นพระในพิธีเดียวกัน จึงมีข้อสรุปที่ไม่ยากนัก และปัจจุบันในส่วนของเว๊ปไซท์การันตีพระแห่งนี้ ก็ยอมรับและออกบัตรรับรองเหรียญ
หลวงปู่จันทร์ วัดท่าเกวียน ปี 2514 ว่าหลวงปู่ทิมปลุกเสก

มาดูรายละเอียดกันครับ

CR : ภาพหนังสือการจัดสร้างและข้อมูลบางส่วนจากเว๊ปพระ 8 ริ้ว http://www.pra8rew.com/index.php?topic=1793.0

ต้องขอขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วยครับ

โดยคุณ ผู้จัดการ (2.4K)  [พฤ. 30 ต.ค. 2557 - 18:50 น.] #3513786 (7/51)


(N)


ใบรายละเอีดยการจัดสร้าง หรือ ปัจจุบันเรียกว่าโบว์ชัว

CR ภาพจากเว๊ป พระ 8 ริ้ว ครับ

โดยคุณ ผู้จัดการ (2.4K)  [พฤ. 30 ต.ค. 2557 - 18:52 น.] #3513788 (8/51)


(N)
รูปแบบวัตถุมงคลที่จัดสร้างในปี 2514 ของวัดท่าเกวียน

โดยคุณ ผู้จัดการ (2.4K)  [พฤ. 30 ต.ค. 2557 - 18:52 น.] #3513790 (9/51)


(N)


รายละเอียดรายการจัดสร้าง

โดยคุณ ผู้จัดการ (2.4K)  [พฤ. 30 ต.ค. 2557 - 18:53 น.] #3513791 (10/51)


(N)


รายละเอียดการพุทธาภิเศกที่ระบุไว้ และรายชื่อพระเกจิคณาจารย์บางส่วนที่เข้าร่วมพิธี

โดยคุณ ผู้จัดการ (2.4K)  [พฤ. 30 ต.ค. 2557 - 18:53 น.] #3513793 (11/51)


(N)


นส่วนของรายชื่อพระเกจิคณาจารย์ที่ทางวัดได้นิมนต์มาปลุกเสกนั้น ในหนังสือประวัติการจัดสร้างจะมีลงไว้แค่ 37 รายชื่อ จากการค้นคว้าและสอบถามคนในพื้นที่
ได้รายละเอียดในส่วนนี้คือ การนิมนต์พระเกจิในอดีตนั้นต้องใช้เวลาเป็นอย่างมาก บางรูปต้องใช้เวลาร่วมเดือน เนื่องจากการคมนาคมสัญจรในยุคนั้น ไม่ได้สะดวก
สบายเหมือนในปัจจุบัน การเดินทางส่วนใหญ่จะใช้การเดินทางโดยทางน้ำ รถไฟ และ เดินเท้า ขนาดการนิมนต์พระในจังหวัดเดียวกันแต่ต่างอำเภอ ยังต้องใช้เวลา
เป็นสัปดาห์ๆ ดังนั้นในหนังสือที่มีการจัดพิมพ์จึงยังไม่สามารถลงรายนามพระเกจิคณาจารย์ทั้งหมดได้ เนื่องจากกำลังอยู่ในระหว่างการนิมนต์อีกเป็นจำนวนมาก โดย
ในพิธีพุทธิเศกนั้น มีพระเกจิคณาจารย์ 100 กว่ารูป เข้าร่วมในพิธีอันยิ่งใหญ่นี้ของวัดท่าเกวียน เมื่อปี พ.ศ.2514

........................................................................................................................................................................................................................................................................................

ส่วนข้อความนี้คัดลอกมาจากเว๊ปพระ 8 ริ้ว ครับ

รายนามพระคณาจารย์ที่มาร่วมพิธีพุทธาภิเษก ที่เห็นรายชื่ออยู่ในใบบอกบุญใบนี้ พึ่งจะมีรายชื่อพระคณาจารย์อยู่เพียง 36 รูป จะเห็นได้ว่า ในรายชื่อที่ 37 ระบุไว้ว่า
"ยังมีพระอาจารย์ต่างๆที่ยังมิได้ลงรายชื่ิอ คณะกรรมการกำลังนิมนต์อยู่อีกมาก" นั่นเพราะว่าในใบบอกบุญใบนี้ ทางวัดได้ทำออกมาในช่วงแรกๆของการจัดสร้างวัตถุมงคล
ซึ่งคงจะเป็นปลายปี 2513 ตามที่กล่าวไปแล้ว และได้นิมนต์พระคณาจารย์ไปแล้วบางส่วน (36 รูป) ในขณะที่ออกใบบอกบุญใบนี้ พระกับกรรมการวัดที่รับหน้าที่ไปนิมนต์
พระคณาจารย์มาปลุกเสกวัตถุมงคลชุดนี้ ก็ยังอยู่ในระหว่างเดินทางออกนิมนต์พระคณาจารย์ โดยเดินทางไปในจังหวัดต่างๆทั่วทุกภาคของประเทศไทย
เรียกว่ามีพระดังๆอยู่ตรงไหน ที่ไหน ไปหมด และนำรายนามพระคณาจารย์ที่รับนิมนต์กลับมาบอกทางวัดเป็นระยะๆ เพื่อให้ฝ่ายเตรียมการต้อนรับ จัดเตรียมการต้อนรับ
ได้อย่างไม่ขาดตกบกพร่อง และเป็นเสมือนข่าวดีที่ทางวัดรอรับฟังข่าวอยู่ ตรงนี้ได้รับฟังจากคนเฒ่าคนแก่ ที่อยู่ร่วมในพิธีเล่าสู่ให้ฟังครับ (ลองไปสืบถามจากคนเฒ่าคนแก่
ในท้องที่ตลาดพนมสารคามดูครับ จะพูดตรงกันแบบนี้จริงๆ) ส่วนหลวงพ่อนรรัตน์ (รายนามที่ 2) หรือเจ้าคุณนรฯ ตามที่เราเรียกกันในสมัยนี้ ท่านได้มรณภาพไปก่อนพิธี
แต่ทางวัดได้เตรียมอาสนะที่นั่งไว้ให้ท่าน และกล่าวกันว่าท่านมาจริงๆ โดยผู้ที่ชงน้ำชาถวายพระนับจำนวนพระที่นั่งอยู่ในแต่ละแถวแล้วชงน้ำชามาถวายตามที่นับ
ผลปรากฎว่าเหลือน้ำชา 1 ที่ ทำให้ผู้ที่ชงน้ำชาแปลกใจ และเมื่อสอบถามกันจนได้ความแล้วจึงเกิดความศรัทธาเจ้าคุณนรฯเป็นอย่างมาก ถึงกับเช่าวัตถุมงคลทุกชนิดของ
ท่านเจ้านรฯเก็บไว้มากมาย

รายนามพระคณาจารยที่ปรากฎในใบบอกบุญใบนี้ ยังคงมีเพียง 36 รูป ไม่ครบ 108 รูป แต่ได้มีผู้นำรายชื่อพระคณาจารย์จากเอกสารชิ้นอื่นไปเผยแพร่ไว้ในเว็บไซต์ต่างๆ
มากมาย เมื่อเห็นครั้งแรกๆผมเองไม่ค่อยเชื่อ คิดว่าเป็นการโปรโมทพระ ประมาณนั้นเสียมากกว่า เพราะหลักฐานที่เห็นก็มักเป็นเพียงใบถ่ายเอกสาร กับการเล่าต่อๆกันมา
เลยคิดว่าเป็นการโปรโมทพระซะละมั้ง แต่เมื่อมาเจอใบบอกบุญใบนี้ซึ่งเป็นตัวจริงเสียงจริง เลยทำท่าอยากจะเชื่อ แต่ก็ยังสงสัยอยู่ในเรื่องพระคณาจารย์ที่มาปลุกเสก
แต่เมื่อเทียบเคียงรายชื่อพระคณาจารย์ดู ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ เพราะรายชื่อพระคณาจารย์ที่ทางวัดนิมนต์มาปลุกเสกไปตรงกับรายชื่อพระคณาจารย์ที่เอามาเผยแพร่ไว้ใน
เว็บไซต์ต่าง ตรงกันหลายชื่อมากๆ (ในเว็บไซต์ต่างๆมีรายนามพระคณาจารย์ที่มีหลักฐานและพอจำได้อยู่ 89 รูป โดยข้อมูลระบุว่าได้ข้อมูลมาจากพระ จิรวัฒน์)
ส่วนในใบบอกบุญที่พบเจอมา มีรายชื่อพระคณาจารย์อยู่ 36 รูป เมื่อคัดรายชื่อที่ซ้ำกันออกไป จะมีรายชื่อพระคณาจารย์รวมแล้ว 105 รูป ซึ่งคงขาดตกหายไปเพียง
3 รายชื่อเท่านั้น ที่สำคัญอยู่ตรงนี้ครับ รายนามพระคณาจารย์ที่มาปลุกเสกในยุคนั้น ตอนนี้ได้กลายเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียงโด่งดังในระดับประเทศมากมายหลาย
องค์ด้วยกัน ซึ่งในตอนนั้นท่านอาจมีชื่อเสียงโด่งดัง เพียงแค่ในระดับภาคเท่านั้น เพราะยุคนั้น สื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆไม่เฟื่องฟูเหมือนสมัยนี้ครับ

........................................................................................................................................................................................................................................................................................


โดยคุณ ผู้จัดการ (2.4K)  [พฤ. 30 ต.ค. 2557 - 18:54 น.] #3513794 (12/51)
รายนามพระเกจิคณาจารย์ที่เข้าร่วมพิธีพุทธาภิเศก เมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2514 หลังจากรวบรวมตัดรายชื่อที่ซ้ำกันออกแล้ว จะปรากฏดังนี้ครับ

1. พระพุทธมนต์วราจารย์ วัดสุทัศน์ ฯ กทม.
2. หลวงพ่อนรรัตน์ วัดเทพศิรินทร์ ฯ กทม. ( มรณภาพก่อนวันงาน)
3. พระรักขิตวันมุนี (ลพ.ถิร) วัดป่าเลไลย์ สุพรรณบุรี
4. พระราชพุทธิรังสี วัดโสธร ฉะเชิงเทรา
5. พระราชสุทธาจารย์ วัดวชิราลงกรณ์ กทม.
6. พระครูปัญญาโชติวัฒน์(ลพ.เจริญ)วั ดทรงนพคุณ
7. พระครูกาญจโนปมคุณ วัดลาดหญ้า
8. พระครูสังฆรักษ์ (ลพ.สัมฤทธิ์) วัดอู่ทอง
9. พระครูประภัศร์ธรรมาภรณ์ (ลพ.แต้ม) วัดพระลอย
10.อาจารย์วิริยังค์ วัดธารมงคล
11. อาจารย์สีนวล วัดทุ่งสาธิต
12. พระครูพิชัยณรงค์ฤทธิ์ วัดสิตาราม กทม.
13.หลวงพ่อเทียม วัดกษัตราธิราช กทม.
14.อาจารย์ผ่องจินดา วัดจักรวรรดิราชาวาส กทม.
15.หลวงพ่อเส่ง วัดกัลยา ณ มิตร กทม.
16.หลวงพ่อบุตร วัดพรหมวิหาร เพชรบุรี
17.หลวงพ่อเมือง วัดท่าแหน ลำปาง
18.พระอาจารย์บำเรอ วัดปากน้ำภาษีเจริญ กทม.
19. หลวงพ่อสา วัดราชนัดดาราม กทม.
20. หลวงพ่อโด่ วัดนามะตูม ชลบุรี
21. หลวงพ่อหอม วัดชากหมาก ระยอง
22. หลวงพ่อผาง วัดอุดมคงคาคีรีเขตต์ ขอนแก่น
23. หลวงพ่อขอม วัดโพธาราม สุพรรณบุรี
24. หลวงพ่อเอีย วัดบ้านด่าน ปราจีนบุรี
25. หลวงพ่อโต๊ะ วัดประดู่ฉิมพลี กทม.
26. พระอธิการโต วัดบ้านกล้วย นครราชสีมา
27. หลวงพ่อปลัดมิ วัดสิงห์ กทม.
28. พระอาจารย์สนิท วัดลำบัวลอย นครนายก
29. พระมหาเอี่ยม วัดราชนัดดาราม กทม.
30. หลวงพ่อกก วัดดอนขมิ้น กาญจนบุรี
31. พระครูประดิษฐ์ สุตาคม วัดสนามช้าง ฉะเชิงเทรา
32. พระมหาอินทร์ วัดปากน้ำภาษีเจริญ กทม.
33. หลวงพ่อทอง วัดก้อนแก้ว ฉะเชิงเทรา
34. พระครูเฮง วัดนาเหล่ายก ฉะเชิงเทรา
35. พระอาจารย์ไสว วัดลำมหาชัย ฉะเชิงเทรา
36. พระอาจารย์สาย วัดซำป่าง่าม ฉะเชิงเทรา
37. หลวงปู่คำมี ถ้ำคูหาสวรรค์ ลพบุรี
38. หลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ระยอง
39. หลวงพ่อพรหม วัดช่องแคนครสวรรค์
40. หลวงปู่สี วัดถ้ำเขาบุญนาค นครสวรรค์
41. หลวงปู่ศรี วัดสะแก อยุธยา
42. หลวงพ่อแดง วัดเขาบันไดอิฐ เพชรบุรี
43. หลวงพ่อสงฆ์วัดเจ้าศาลาลอย ชุมพร
44. หลวงปู่เม้าวัดสี่เหลี่ยม บุรีรัมย์
45. หลวงพ่อชื่น วัดมาบข่า ระยอง
46. หลวงพ่อคร่ำ วัดวังหว้า ระยอง
47. หลวงพ่อคงวัดวังสรรพรส จันทบุรี
48. หลวงพ่อทบวัดชนแดน เพชรบูรณ์
49. พระอาจารย์นำ แก้วจันทร์ วัดดอนศาลา นครศรีธรรมราช
50. หลวงพ่อทิพย์ วัดโพธิ์ทอง บุรีรัมย์
51. หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม นครปฐม
52. หลวงพ่อมุมวัดปราสาทเยอเหนือ ร้อยเอ็ด
53. หลวงพ่อแก้ว วัดช่องลม สมุทรสาคร
54. หลวงพ่อสิม วัดถ้ำผาปล่อง เชียงใหม่
55. พระอาจารย์วัน วัดถ้ำอภัยดำรงค์ธรรม สกลนคร
56. หลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง สิงห์บุรี
57. หลวงปู่พริ้ง วัดโบสถ์โก่งธนู ลพบุรี
58. หลวงพ่อแช่ม วัดดอนยายหอม นครปฐม
59. หลวงพ่อทองอยู่ วัดใหม่หนองพะอง สมุทรสาคร
60. หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง นนทบุรี
61. หลวงพ่อเต๋ คงทอง วัดสามง่าม นครปฐม
62. หลวงปู่จันทร์ วัดศรีเทพฯ นครพนม
63. หลวงปู่เพิ่มวัดกลางบางแก้ว นครปฐม
64. หลวงพ่อเนื่องวัดจุฬามณี สมุทรสาคร
65. หลวงปู่ธูป วัดแค กทม.
66. หลวงพ่อคลิ้ง วัดถลุงทอง นครศรีธรรมราช
67. หลวงพ่อเปิ่น วัดบางพระ นครปฐม
68. หลวงพ่อพรหม วัดขนอนเหนือ อยุธยา
69. หลวงพ่อจันทร์ วัดทุ่งเฟื้อ นครศรีธรรมราช
70. หลวงปู่แหวน วัดดอยแม่ปั๋ง เชียงใหม่ (อธิษฐานจิตมา)
71. หลวงปู่ขาว วัดถ้ำกลองเพล อุดรธานี
72. หลวงปู่หนู วัดทุ่งแหลม ราชบุรี
73. หลวงพ่อนารถ วัดศรีโลหะราษฎร์บำรุง กาญจนบุรี
74. หลวงพ่อมี วัดซำป่างาม ฉะเชิงเทรา
75. หลวงพ่อนอ วัดกลางท่าเรือ อยุธยา
76. ครูบาธรรมชัย วัดทุ่งหลวง เชียงใหม่
77. หลวงพ่อหน่ายวัดบ้านแจ้ง อยุธยา
78. ครูบาดวงดีวัดท่าจำปี เชียงใหม่
79. หลวงพ่อโอด วัดจันเสน นครสวรรค์
80. หลวงพ่อมุ่ย วัดดอนไร่ สุพรรณบุรี
81. หลวงพ่อคูณ วัดบ้านไร่ นครราชสีมา
82. หลวงพ่อเส็งวัดบางนา ปทุมธานี
83. หลวงปู่เครื่อง วัดเทพสิงห์หาร อุดรธานี
84. หลวงพ่อตาบ วัดมะขามเรียง สระบุรี
85. หลวงพ่อไปล่ วัดดาวเรือง ปทุมธานี
86. พระวิบูลเมธาจารย์ วัดดอนเจดีย์ สุพรรณบุรี
87. หลวงพ่อเที่ยง วัดม่วงชุมกาญจนบุรี
88. หลวงพ่อสายวัดจันทร์เจริญสุข สมุทรสงคราม
89. พระครูไพศาลคณารักษ์ วัดไร่ขิง นครปฐม
90. หลวงพ่อสีหมอก วัดเขาวังตะโก ชลบุรี
91. พระครูศรีสัตตคุณ วัดสัตหีบ ชลบุรี
92. หลวงปู่บุญทัน วัดประดู่ศรี ปราจีนบุรี
93. พระวิสุทธาจารคุณ วัดเกาะหลัก ประจวบคีรีขันธ์
94. พระอาจารย์สุบิน วัดถ้ำไก่แก้ว นครราชสีมา
95. หลวงพ่อแดง วัดดอนยอ นครปฐม
96. พระครูพิชัยณรงค์ฤทธิ์ วัดคอกหมู กทม.
97. หลวงพ่อเพชร วัดดงยาง ฉะเชิงเทรา
98. พระครูพิทักษ์เขมากร วัดท่าเกวียน ฉะเชิงเทรา
99. หลวงพ่อเม็ด วัดบึงกระจับ ฉะเชิงเทรา
100.หลวงพ่อผิว วัดหนองบัว ฉะเชิงเทรา
101.หลวงพ่อเฮง วัดอ่าวสีเสียด ฉะเชิงเทรา
102.หลวงพ่อสุด วัดกาหลงสมุทรสาคร
103. หลวงปู่จันทร์ โฆสโก อุตรดิตถ์
104. หลวงพ่ออินเทวดา วัดลาดท่าใหม่ จันทบุรี
105. หลวงพ่อกลั่น วัดอินทาราม อ่างทอง
106. ......................................................
107. ......................................................
108. ......................................................

โดยคุณ ผู้จัดการ (2.4K)  [พฤ. 30 ต.ค. 2557 - 18:55 น.] #3513796 (13/51)


(N)


พระเกจิคณาจารย์ที่เข้าร่วมพิธีปลุกเสก ผมลองเลือกมา 20 รูป ในอดีตคงไม่มีใครคาดคิดว่าท่านจะมีชื่อเสียงโด่งดังและวัตถุมงคลของท่านล้วนแต่มีราคาสูงแทบทั้งสิ้นในปัจจุบันนี้


โดยคุณ ผู้จัดการ (2.4K)  [พฤ. 30 ต.ค. 2557 - 18:55 น.] #3513798 (14/51)
ในส่วนของจำนวนการจัดสร้างนั้น เนื่องจากไม่ได้มีการบันทึกไว้ จากการสอบถามคนในพื้นที่ รายละเอียดที่ผมรวบรวมได้ พอมีรายละเอียดดังนี้ครับ

1. เหรียญทรงเสมาลงยา องค์พระเป็นทองคำ มีการลงยา 2 สี คือ สีแดง กับ สีน้ำเงิน จำนวนการจัดสร้าง ไม่น่าเกิน 300 เหรียญ
2. เหรียญทรงเสมาลงยา องค์พระเป็นเงิน มีการลงยา 2 สี คือ สีแดง กับ สีน้ำเงิน จำนวนการจัดสร้าง ไม่น่าเกิน 500 เหรียญ
3. เหรียญรูปไข่หันข้าง เนื้อเงิน จำนวนจัดสร้าง ประมาณ 200 เหรียญ
4. เหรียญรูปไข่หันข้าง เนื้อนวะโลหะ จำนวนจัดสร้างหลักพันเหรียญ ประมาณ 2-3,000 เหรียญ
5. เหรียญรูปไข่หันข้าง เนื้อทองแดง จำนวนจัดสร้างหลักหมื่นเหรียญ (น่าจะประมาณ 2-3 หมื่นเหรียญ)

จำนวนทั้งหมดเป็นข้อมุลที่ได้จากการสอบถามคนในพื้นที่ ผู้ที่เล่นหาสะสมวัตถุมงคลรุ่นนี้ และจากพระสงฆ์ในวัดท่าเกวียน ตอนที่ผมได้เข้าไปช่วยงานถ่ายรูป
ตอนที่วัดจัดสร้างพระกริ่งพุทธวิชิตมาร รุ่น 2 เมื่อปี 2554 หากท่านใดมีข้อมูลที่เพิ่มเติมไปจากนี้ขอนำมาลงให้เป็นความรู้กันด้วยนะครับ


โดยคุณ ผู้จัดการ (2.4K)  [พฤ. 30 ต.ค. 2557 - 18:56 น.] #3513800 (15/51)


(N)


มาดูรูปแบบวัตถุมงคลกันครับ

เหรียญทรงเสมาลงยา มี 2 แบบ คือ องค์พระเป็นเงิน และ องค์พระเป็นทองคำ ลงยา มีสีแดง กับ น้ำเงิน เหรียญเสมาลงยานี้หาพบได้ยากครับโดยเฉพาะในสภาพที่สวยสมบูรณ์


โดยคุณ ผู้จัดการ (2.4K)  [พฤ. 30 ต.ค. 2557 - 18:57 น.] #3513801 (16/51)


(N)


องค์นี้เป็นเหรียญเสมาลงยา องค์พระเป็นเงิน

ขออนุญาตเจ้าของภาพเดิมและผู้ครอบครองในปัจจุบันด้วยครับ

ขอบคุณครับ

โดยคุณ ผู้จัดการ (2.4K)  [พฤ. 30 ต.ค. 2557 - 18:57 น.] #3513803 (17/51)


(N)


หรียญรูปไข่หันข้าง เนื้อเงิน จัดสร้างประมาณหลักร้อยเหรียญครับ

โดยคุณ ผู้จัดการ (2.4K)  [พฤ. 30 ต.ค. 2557 - 18:58 น.] #3513804 (18/51)


(N)


เหรียญรูปไข่หันข้าง เนื้อนวะโลหะ จัดสร้างประมาณหลักพันเหรียญครับ (ประมาณ 2-3 พันเหรียญ)

โดยคุณ ผู้จัดการ (2.4K)  [พฤ. 30 ต.ค. 2557 - 18:58 น.] #3513806 (19/51)


(N)


เหรียญรูปไข่หันข้าง เนื้อทองแดง จัดสร้างประมาณหลักหมื่นหรียญครับ (ประมาณ 2-3 หมื่นเหรียญ)

โดยคุณ ผู้จัดการ (2.4K)  [พฤ. 30 ต.ค. 2557 - 18:59 น.] #3513808 (20/51)


(N)


เหรียญรูปไข่หันข้าง เนื้อทองแดง จัดสร้างประมาณหลักหมื่นหรียญครับ (ประมาณ 2-3 หมื่นเหรียญ)

โดยคุณ ผู้จัดการ (2.4K)  [พฤ. 30 ต.ค. 2557 - 19:10 น.] #3513820 (21/51)


(N)
นวะโลหะ กับ ทองแดง เนื่องจากไม่ได้มีการตอกโค๊ตแยกเนื้อ ดังนั้น ให้สังเกตุที่เนื้อสีผิวของเหรียญเป็นหลักครับ โดยนวะโลหะสีจะออกเข็มๆกว่า บางองค์ก็ออกเหลือง บางองค์ออกไปทางแก่เงินก็มีครับ

จากภาพ ซ้ายนวะโลหะ ขวา ทองแดง ครับ

...............................................................................................................................................................................................................................................................................................

ข้อมูลจากเว๊ป พระ 8 ริ้ว ครับ

รายการจัดสร้างวัตถุมงคลในครั้งนั้น (อย่าลืมดูราคาด้วยนะครับ) ส่วนจำนวนการสร้างไม่ได้ระบุไว้ แต่ที่พบเห็นมากคือเหรียญเนื้อทองแดง พระกริ่ง พระชัย นอกนั้น
"หายาก" แม้กระทั่งเหรียญหันข้างเนื้อนวโลหะซึ่งราคาตอนออกให้ทำบุญ เพียงแค่ 30 บาท บ่งบอกว่าต้นทุนการสร้างไม่แพง น่าจะมีปริมาณมาก แต่กลับกลายเป็นว่าพบเจอน้อยไม่ต่างไปจากเนื้อเงินและเงินลงยา ซึ่งคิดไปคิดมาน่าจะเป็นจริงแบบที่เค้าบอกกันอีกว่า แผ่นเงิน ทอง นาค ที่คณะกรรมการนิมนต์พระ นำติดตัวไปเพื่อให้พระคณาจารย์เขียนอักขระเลขยันต์ เพื่อนำมาเป็นส่วนหนึ่งของมวลสารสร้างพระ ส่วนหนึ่งได้ถูกนำมาหลอมรวมกับเนื้อนวโลหะที่เตรียมไว้ แล้วรีดเป็นแผ่น แล้วนำมาปั๊มเป็นเหรียญนวโลหะเพื่อแจกให้กับคณะศิษย์ที่จะติดตามมากับพระคณาจารย์จากจังหวัดต่างๆ เราจึงพบเห็นเหรียญเนื้อนวโลหะของวัดท่าเกวียนมีสีแปลกๆ บางองค์แก่ไปในทางสีเงิน บางองค์แก่ไปในทางสีเหลืองนวล อมทอง บางองค์ออกสีกลับดำ แถมยังมีบางองค์มีสองสามสีในองค์เดียวกัน ที่หนักเข้าไปอีกคือบางองค์มีรอยจ้ำเงินทองนาค กระจายตัวอยู่ทั่วเหรียญ สวยงามมาก บ่งบอกให้เห็นว่ามีแผ่นเงินทองนาคผสมเข้าไปด้วยจริงๆ ถ้าเจอเหรียญเนื้อนวโลหะแล้วลองส่อง สังเกตดูครับ

...............................................................................................................................................................................................................................................................................................

โดยคุณ ผู้จัดการ (2.4K)  [พฤ. 30 ต.ค. 2557 - 19:11 น.] #3513821 (22/51)


(N)


ชมภาพสวยๆกันอีกครั้งครับ

โดยคุณ ผู้จัดการ (2.4K)  [พฤ. 30 ต.ค. 2557 - 19:11 น.] #3513822 (23/51)


(N)

โดยคุณ ผู้จัดการ (2.4K)  [พฤ. 30 ต.ค. 2557 - 19:11 น.] #3513823 (24/51)


(N)


ทองแดง เท่าที่พบเห็นมี 2 บล๊อค ซึ่งจะอธิบายต่อไปครับ

โดยคุณ ผู้จัดการ (2.4K)  [พฤ. 30 ต.ค. 2557 - 19:12 น.] #3513824 (25/51)


(N)


เหรียญหลวงปู่จันทร์ วัดท่าเกวียน ปี 2514 เท่าที่พบเห็น จะมี 2 บล๊อคด้วยกัน คือ

1. บล๊อคเลข 4 ขีด หรือที่เรียกกันว่า บล๊อค 4 ขีด โดยเลข ๔ ด้านหลังเหรียญ จะมีเส้นขีดยาวจากหางเลข ๔ มาถึงหัว ม ของ คำว่า พนม

2. บล๊อคด้านหน้า มี ขีด 3 ขีด หรือ 3 เส้น บริเวณด้านซ้ายของเหรียญ บริเวณใบหน้าหลวงปู่

ซึ่งทั้ง 2 บล๊อคนี้จะมีอย่างใดอย่างหนึ่งครับ คือ ถ้าด้านหน้ามีเส้น 3 เส้น ด้านหลังจะไม่มีเลข 4 ขีด , หากด้านหลังเป็นบล๊อค 4 ขีด จะไม่มี 3 ขีดด้านหน้าครับ

อันไหนเป็นบล๊อคนิยมก็แล้วแต่การเล่นหากันครับ อันนี้แยกจากเหรียญที่เคยสัมผัสและผ่านตามาครับ ส่วนเหรียญที่มีทั้งด้านหน้า 3 ขีด และ หลัง 4 ขีด ยังไม่เคยพบเจอครับ แต่ที่ด้านหน้าและด้านหลังไม่มีขีดเลยทั้ง 2 ด้าน ผมเจอประมาณ 2 -3 เหรียญ (ที่ผ่านตาผมนะครับ)


โดยคุณ ผู้จัดการ (2.4K)  [พฤ. 30 ต.ค. 2557 - 19:13 น.] #3513825 (26/51)


(N)
เปรียบเทียบให้ดูกันชัดๆครับ

โดยคุณ ผู้จัดการ (2.4K)  [พฤ. 30 ต.ค. 2557 - 19:13 น.] #3513826 (27/51)


(N)


เหรียญรุ่นนี้จัดสร้างร่วมสมัยกับเหรียญของหลวงปู่ทิม วัดละหารไร่ ครับ เหรียญผูกพัทธสีมา ปี 2517 ดูจากยันต์ด้านหลังเหรียญ มีการใช้ยันต์สามหรือยันต์ใบพัดเหมือนกัน มีลักษณะที่คล้ายคลึงกันมาก แตกต่างกันในองค์ประกอบในการจัดวางเท่านั้น


โดยคุณ ผู้จัดการ (2.4K)  [พฤ. 30 ต.ค. 2557 - 19:14 น.] #3513827 (28/51)


(N)
ในส่วนของพระกริ่ง-พระชัยวัฒน์ พุทธวิชิตมารนั้น เล่นหาและยอมรับกันมานานแล้วครับ และมีในหนังสือรวมวัตถุมงคลของหลวงปู่ทิม เรียบร้อยแล้วครับ


โดยคุณ ผู้จัดการ (2.4K)  [พฤ. 30 ต.ค. 2557 - 19:14 น.] #3513828 (29/51)


(N)
ในส่วนของเว๊ปการันตีพระแห่งนี้ ปัจจุบันก็ออกบัตรให้กับวัตถุมงคลรุ่นนี้แล้วเช่นกัน โดยระบุชัดเจนว่า หลวงปู่ทิม ปลุกเสก ขออนุญาตเจ้าของพระเจ้าของบัตรด้วยครับ

ขอบคุณครับ

โดยคุณ ผู้จัดการ (2.4K)  [พฤ. 30 ต.ค. 2557 - 19:15 น.] #3513830 (30/51)


(N)
พระรุ่นนี้ถ้าดูจากประวัติการจัดสร้างต่างๆแล้ว น่าใช้บูชาเป็นอย่างยิ่งครับ จัดเป็นของดีราคาถูกครับ เฉพาะพระเกจิคณาจารย์ที่ร่วมปลุกเสกในครั้งนั้น พุทธคุณไม่ต้องพูดถึงครับ

ท่านใดมีข้อมูลต่างๆเพิ่มเติม ก็นำลงมาแชร์เป็นความรู้กันนะครับ จะได้เป็นแนวทางในการศึกษาสะสมของผู้สนใจครับ

ขอบคุณครับ


โดยคุณ ผู้จัดการ (2.4K)  [พฤ. 30 ต.ค. 2557 - 19:16 น.] #3513831 (31/51)


(N)
การเดินทางมาวัดท่าเกวียน กราบหลวงปู่จันทร์ ที่วิหารหลวงปู่จันทร์

วัดท่าเกวียน ตั้งอยู่ที่ อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา อยู่ในตลาดพนมสารคามครับ หากเดินมางมาจากกรุงเทพ ใช้เส้นทางถนนสาย 304 มุ่งหน้าไปโคราช เจอสีแยกพนมสารคาม ให้เลี้ยวซ้ายเข้าตลาดพนมสารคามครับ เลี้ยวซ้ายจากแยกพนมสารคามไปไม่ถึง 1 กม. ซ้ายมือจะมีร้าน 7/11 ครับ ให้เลี้ยวซ้ายเข้าไปเลยครับ เลี้ยวไปนิดเดียวก็จะเจอโรงเรียนวัดท่าเกวียน และ วัดท่าเกวียน อยู่ในบริเวณเดียวกันครับ


โดยคุณ ผู้จัดการ (2.4K)  [พฤ. 30 ต.ค. 2557 - 19:17 น.] #3513832 (32/51)


(N)


ทางวัดได้จัดสร้างวิหารหลวงปู่จันทร์ไว้ครับ อยู่ติดกับวัด ภายในประดิษฐานรูปเหมือนขนาดเท่าองค์จริงของหลวงปู่จันทร์ ให้กราบไหว้สักการะบูชาครับ


โดยคุณ ผู้จัดการ (2.4K)  [พฤ. 30 ต.ค. 2557 - 19:18 น.] #3513833 (33/51)


(N)


ภายในวิหารครับ

โดยคุณ ผู้จัดการ (2.4K)  [พฤ. 30 ต.ค. 2557 - 19:19 น.] #3513834 (34/51)


(N)


หลวงปู่จันทร์ วัดท่าเกวียน อ.พนมสารคาม จ.ฉะเชิงเทรา

โดยคุณ ผู้จัดการ (2.4K)  [พฤ. 30 ต.ค. 2557 - 19:20 น.] #3513837 (35/51)


(N)


หลวงปู่จันทร์ เป็นพระที่ชาวพนมสารคมและฉะเชิงเทรา ให้การเคารพนับถือเป็นอย่างมากครับ เนื่องจากท่านได้สร้างคุณาปการณ์ในด้านต่างๆไว้มากมาย ไม่ว่าเป็นทางศาสนา การศึกษา โรงเรียนประจำเภอก็ใช้ชื่อของท่านในการตั้งชื่อโรงเรียน เนื่องจากท่านเป็นผู้ดำริให้จัดสร้าง โรงเรียนประจำอำเภอขึ้น และอีกหลายๆประการครับ


โดยคุณ ผู้จัดการ (2.4K)  [พฤ. 30 ต.ค. 2557 - 19:21 น.] #3513839 (36/51)


(N)


วัตถุมงคลรุ่นใหม่ๆที่วัดยังมีให้บูชากันครับ

โดยคุณ ผู้จัดการ (2.4K)  [พฤ. 30 ต.ค. 2557 - 19:22 น.] #3513842 (37/51)


(N)


อุโบสถ วัดท่าเกวียนในปัจจุบัน การจัดสร้างวัตถุมงคลของทางวัด เมื่อปี 2514 วัตถุประสงค์ส่วนหนึ่งก็เพื่อสร้างอุโบสถของทางวัดครับ

โดยคุณ ผู้จัดการ (2.4K)  [พฤ. 30 ต.ค. 2557 - 19:34 น.] #3513847 (38/51)


(N)


ยังไม่มีของปลอมครับ เล่นหาเก็บกันได้อย่างสบายใจครับ

โดยคุณ ผู้จัดการ (2.4K)  [พฤ. 30 ต.ค. 2557 - 19:36 น.] #3513849 (39/51)


(N)


อายุเหรียญ 40 กว่าปี ผิวเหรียญส่วนใหญ่จะออกผิวปรอทหรือปีกแมงทับครับ

โดยคุณ ผู้จัดการ (2.4K)  [พฤ. 30 ต.ค. 2557 - 19:38 น.] #3513850 (40/51)


(N)
คงเป็นประโยชน์ในการศึกษา-สะสม กันบ้างนะครับ

ขอบคุณครับ

โดยคุณ hemman (3.3K)  [ศ. 31 ต.ค. 2557 - 23:57 น.] #3514907 (41/51)

โดยคุณ เด็กใหม่ (4.1K)  [อา. 02 พ.ย. 2557 - 08:59 น.] #3515863 (42/51)
ยอดเยี่ยมครับ ท่านผู้จัดการ ข้อมูลแน่น ชัดเจน ต่อไปการเล่นหาน่าจะเพิ่มความนิยมขึ้น ยังนับเป็นของดี ราคาถูก ซึ่งอันที่จริง พระรุ่นนี้ ก็มีการเล่นหา เป็นพระนอกวัดที่หลวงปู่ทิมเสกมานานแล้วครับ และ ต้องขอบคุณทางเวปด้วย ที่ช่วยตรวจสอบข้อมูล จนสามารถออกบัตรรับรองว่าหลวงปู่ทิมปลุกเสก ขอบคุณอีกครั้งครับ

โดยคุณ thanet (1.1K)(1)   [ส. 22 พ.ย. 2557 - 02:31 น.] #3532214 (43/51)
สุดยอดครับ เป็นประโยชน์มากๆเลยครับ นับถือครับ

โดยคุณ Phusit55 (227)(1)   [ส. 29 พ.ย. 2557 - 16:17 น.] #3537609 (44/51)
ขอบคุณครับเป็นประโยชน์มากเลยครับผม

โดยคุณ poooj (146)  [พฤ. 11 ธ.ค. 2557 - 22:05 น.] #3545609 (45/51)
ชอบครับ

โดยคุณ ข้าวโอ๊ด (1.3K)  [อ. 15 ก.ย. 2558 - 22:31 น.] #3678701 (46/51)
ยังมีสมเด็จเนื้อผง หลังยันต์สามวัดท่าเกวียนอีกนะครับที่เข้าร่วมปลุกเศกในคราวนั้น แต่สมเด็จชุดนี้ได้จัดสร้างมาก่อนหน้านี้แล้วและที่พิเศษยังได้นำสมเด็จหลังยันต์สามนี้ใส่ลังไปให้หลวงปู่ทิมปลุกเศกที่วัดอีกด้วยนะครับ จาก..คนพื้นที่ครับ

โดยคุณ poooj (146)  [พ. 13 เม.ย. 2559 - 07:31 น.] #3734034 (47/51)
สุดยอดครับ ออกแบบสวยดี ปลอมยาก ปีได้เก่า ปี 2514 ครับ

โดยคุณ น้องนา (587)  [จ. 19 ธ.ค. 2559 - 14:24 น.] #3790312 (48/51)
แล้วพระผง มีไม๊คะ

โดยคุณ thanommit (598)  [อ. 04 เม.ย. 2560 - 15:23 น.] #3806212 (49/51)
ขอบคุณมากครับ สำหรับข้อมูลดีๆ ที่เป็นประโยชน์แก่สมาชิกครับ

โดยคุณ noyranong (1.5K)  [อ. 09 พ.ค. 2560 - 23:40 น.] #3810717 (50/51)
ขอบคุณมากๆครับ.

โดยคุณ poooj (146)  [พ. 18 เม.ย. 2561 - 12:39 น.] #3862280 (51/51)
ชอบครับ พิธีดี พระสวย เป็นเหรียญปั้ม หายาก

!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!


Copyright ©G-PRA.COM
www1