(D)
พระเครื่องชุดภูธราวดีนี้ พุทธลักษณะเป็นพระปางปางห้ามญาติซึ่งเลียนแบบพุทธลักษณะมาจากพระร่วงโรจน์ฤทธิ์ที่วัดพระปฐมเจดีย์ ด้านหลังมียันต์ตัว "นะ"ขึ้นยอดเป็นอุนาโลมอยู่ในกรอบรูปสามเหลี่ยมลักษณะคล้ายพระเจดีย์มีขนาดกว้างประมาณ1 ซม. สูงประมาณ 2.3 ซม. มีทั้งสีน้ำตาลแบบเนื้อดินผสมว่านและสีดำแบบว่านผสมผงซึ่งส่วนผสม สำคัญ ๆ ของพระเครื่องเนื้อดินผสมผงชุดภูธราวดี ได้แก่
1. ดินจากสังเวชนียสถาน ทั้ง 4 แห่งในประเทศอินเดีย
2.ว่านสำคัญ ทั้งว่านยา ว่านไสยศาสตร์ ยาแก้ยากันต่าง ๆ และว่านหายากชนิดต่าง ๆ ประมาณ 400 ชนิด
3.ดินจากหลักเมืองและจากภูเขา หรือสถานที่ชื่อเป็นมงคลทั่วราชอาณาจักร
4.ตะไคร่จากพระเจดีย์องค์สำคัญ ๆ เช่นจากพระปฐมเจดีย์จังหวัดนครปฐม , จากวัดบรมธาตุ จังหวัดนครศรีธรรมราช ฯลฯ
5.พระผงแตกหักจากพระสมเด็จฯ ผงแตกหักจากพระนางตรา , ผงจากพระ๕ณาจารย์ทั่งราชอาณาจักรที่มีชื่อเสียงในสมัยนั้น(พศ.2505-2506 ) ตลอดจนน้ำพระพุทธมนต์จากพิธีสำคัญ ต่าง ๆ ในการจัดสร้างพระพิมพ์พระร่วงโรจน์ฤทธิ์ จำนวน 168,000 องค์ ทุก ๆ 100 องค์จะมีพระคะแนนที่เป็นพิมพ์พิเศษแตกต่างออกอีกไป 1 องค์ เช่น พระพิมพ์พระนางตรา , พระพิมพ์ทวารวดี, พระพิมพ์วัดประตูทอง เป็นต้น รวมจำนวนพระพิมพ์คะแนนพิมพ์ละประมาณไม่เกิน 1,680 องค์ นอกจากนี้ยังมีพิมพ์พิเศษที่มีจำนวนน้อยยิ่งกว่า พิมพ์คะแนน อันได้แก่ พิมพ์พระสังกัจจายน์ ซึ่งไม่ถูกระบุในประวัติการจัดสร้าง ตลอดจนพระกริ่ง และ พระบูชาภูธราวดี หน้าตัก 5 นิ้ว ที่ไม่สามารถระบุจำนวนการสร้างที่แน่ชัดได้
ส่วนผสมที่สำคัญสำหรับการหล่อพระกริ่งและพระบูชาธวารวดีซึ่งเท่าที่ปรากฏหลักฐานมีเฉพาะเนื้อนวะโลหะได้แก่
1.ทองคำ
2. เงิน
3. ทองแดง
4.ดีบุก
5.พลวง
6.สังกะสี
7.เจ้าน้ำเงิน
8.เหล็กละลายตัว
9.เหล็กธรรมดาและเหล็กไหล
ซึ่งก่อนการจัดสร้างพระเนื้อโลหะได้มีการจัดส่งทั้งแผ่นเงิน,ทอง,นาค,เงิน,ดีบุก ให้คณาจารย์ต่าง ๆ ทั้งที่มาเข้าร่วมในพิธีด้วยตนเอง และไม่ได้เข้าร่วมพิธีลงจารอักขระ มาด้วย
พิธีพุทธาภิเศกของพระชุดภูทราวดี มีทั้งสิ้น 3 ครั้งด้วยกันได้แก่
-ครั้งที่1 และครั้งที่2 ที่จังหวัดนครศรีธรรมราชโดยทั้งการกดพิมพ์พระเนื้อดิน และหล่อพระเนื้อโลหะต้องเตรียมการและจัดทำกันอยู่เป็นเดือน ๆ โดยผู้ที่กดพิมพ์ มีทั้งทหาร ตำรวจ พลเรือน ข้าราชการ ผู้ที่กดพิมพ์และช่วยหล่อพระจะต้องนุ่งห่มขาว รับศีลสมาทานทุกวัน หากผู้ใดออกนอกปะรำพิธี ก่อนกลับเข้าในพิธี ต้องประพรมน้ำพระพุทธมนต์ก่อน รวมถึงต้องรับศีลใหม่ ผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดต้องถือพรมจรรย์ ห้ามรับของต่อมือผู้หญิงรวมถึงห้ามคนนนอกและผู้หญิงเข้าใกล้ในเขตพิธีด้วย เมื่อเข้าที่เป็นที่เรียบร้อย จึงใช้ไม้ที่มีนามเป็นมงคลลงเลขอักขระเป็นเชื้อเพลิง เมื่อสุมไฟได้ที่ จะต้องมีพระสวดชัยมงคลคาถา 9 รูป เมื่อนำพระขึ้นมาจะต้องประพรมด้วยน้ำมันจัทน์หอมอย่างดีจึงจะนำไปเข้าพิธีพุทธาภิเศกต่อไป( เป็นเรื่องแปลกที่ขณะที่จัดสร้างพระชุดนี้ได้เกิดมหาวาตภัยขึ้นที่แหลมตะลุมพุก วิหารทั่วไปในวัดล้วนได้รับความเสียหายแต่ภายในเขตพิธีอันได้แก่ วิหารหลวง ไม่มีสิ่งใดได้รับความเสียหายเลยแม้แต่กระเบื้องมุงหลังคาสักแผ่นเดียว
ครั้งที่ 3 ทำพิธีพุทธาภิเศกที่จังหวัดนครปฐม มีทั้งพราหมณ์ พระไทย พระจีน พระญวน ในนิกายต่าง ๆ
รายนามพระคณาจารย์ต่าง ๆ เท่าที่รวบรวมได้ซึ่งปรากฏหลักฐานว่าเข้าร่วมพิธีพุทธาภิเศกของพระเครื่องชุดภูธราวดีได้แก่
1.สมเด็จพระสังฆราชเป็นองค์ประธานพิธีที่หน้าองค์พระปฐม เมื่อ 24 เมษายน 2506
2.พระมหาวีรวงศ์-พิธีเดียวกับสมเด็จพระสังฆราช
3.พระอาจารย์ปาน วัดเขาอ้อ
4.พระอาจารย์คง วัดบ้านสวน
5.หลวงพ่อหมุนวัดเขาแดงตะวันออก
6.อาจารย์นำ วัด ดอนศาลา ( ขณะเข้าพิธียังเป็นฆราวาสอยู่และมีรูปถ่ายปรากฏเป็นหลักฐาน)
7.หลวงพ่อเต๋วัดสามง่าม
8.หลวงพ่อน้อย วัดธรรมศาลา
9.หลวงปู่เพิ่ม วัดกลาบางแก้ว
10. หลวงพ่อเงิน วัดดอนยายหอม
ฯลฯ
นอกจากนี้มีเกจิฯ อีกมากมายที่สลับสับเปลี่ยนหมุนเวียนกันเข้าพิธีพุทธาภิเศก ทั้ง 3 ครั้ง และไม่ได้มีหลักฐานบันทึกไว้
มูลเหตุแห่งการสร้างและผูดำเนินการจัดสร้าง
พระเครื่องชุดนี้สร้างขึ้นจากความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้าของนายตำรวจ 2 ท่านได้ แก่
1. พล.ต.ท ประชา บูรณธนิต ท่านผู้นี้มีชื่อเสียงโด่งดังทางสายปราบปราม เคยพิชิตเสือชื่อดังต่าง ๆ ในยุคหลังสงครามที่โด่งดังในภาคกลางมากมายเช่น เสือใบ , เสือเจริญ , เสือผาด มีฉายาว่าเป็นมือปราบหนังเหนียว เนื่องจากการปะทะกับพวกโจรขณะเดินทางจากนครปฐม เข้ากรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2495 โดยปรากฏหลักฐานว่าในขณะเกิดเหตุ ท่านพกพระท่ากระดาน และลูกม ของหลวงปู่เหรียญวัดหนองบัว ( น่าจะเป็นสาเหตุให้พระท่ากระดานมีราคาสูงมาตั้งแตครั้งนั้น )
2.พล.ต.ต ขุนพันธรักราชเดช นามเดิม ชื่อ บุตร์ พันธรักษ์ ่านผู้นี้มีเสียงโด่งดังทางสายปราบปรามเช่นกัน มีฉายาเป็นภาษายาวี "รรยอกะจิ"เคย พิชิต เสือร้ายที่มีชื่อเสียงโด่งดังทางภาคใต้ทางแถบเทือกเขาบูโดจังหวัดนราธิวาส เช่น ขุนโจร อาแวสะดอ ที่กล่าวกันว่าหนังเหนียวเพราะเขี้ยวหมูทอง แดง อ้ายดำหัวแพร เป็นต้น ท่านผู้นี้เป็นศิษย์ฆราวาสของสำนักเขาอ้ออันโด่งดัง
นอกจากนี้ยังมีบุคคลสำคัญที่ช่วยในการจัดเตรียมวัสดุมงคลเพื่อการจัดสร้างพระ โดย พลตรี พระวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภาณุพันธ์ยุคล
มูลเหตุในการจัดสร้างพระเครื่องชุดนี้นอกเหนือจากศรัทธ่อันแรงกล้าที่มีต่อพระพุทธศาสนาของคณะผู้ร่วมจัดสร้างเพื่อที่จะนำไปแจกจ่ายให้ผูศรัทธา และมีปรากฏในบันทึกของพล.ต.ท. ประชา ฯ ว่าได้มีการจัดพระเครื่องชุดนี้ ทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่พระตำหักจิตรลดารโหฐาน เมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2506 โดยรายการที่จัดพระเครื่องทูลเกล้าถวายมีดังนี้
1. พระเครื่องภูธราวดี 309 องค์ ในจำนวนนี้มีเลี่ยมทองคำรวม 5 องค์
2.พระเครื่องคะแนน ปางปฐมเทศนาจำนวน 3 องค์
3.พระเครื่องคะแนนพิมพ์พระนางตราจำนวน 3 องค์
4.พระเครื่องคะแนนพิมพ์ประตูทอง จำนวน 3 องค์
5.พระกริ่งภูธราวดีสร้างด้วยนวโลหะจำนวน 2 องค์
6.พระกริ่งยอดธงภูธราวดีสร้างด้วยนวโลหะจำนวน9 องค์ (จัดสร้างเฉพาะเพื่อทูลเกล้าถวาย 9 องค์เท่านั้น)
เท่าที่เขียนมาทั้งหมดนี้มีจุดมุ่งหมายอย่างเดียวเพียงเพื่อเล่าสู่กันฟังเท่านั้นนับวันจะหาพระชุดนี้ดูได้น้อยเต็มที ใครที่พบหากสนใจก็เชิญเก็บได้นะครับ ผมไม่ได้เก็บพระชุดนี้ไว้เลยมีเพียงองค์เดียวที่เป็นแบบไว้ถ่ายรูปเท่านั้น รูปประกอบต่าง ๆ ก็นำมาจากหนังสือ ผิดพลาดประการใดก็ขออภัย ด้วยครับ สำหรับท่านที่เป็นผู้รู้ขอขอบคุณที่เสียสละเวลามาอ่านครับ
จริงใจต่อกัน |