ร่วมเสนอความคิดเห็น

หัวข้อกระทู้ : @@@ เนื้ออัลปาก้า มีส่วนผสมอะไรบ้างครับ @@@

(D)
ช่วยแนะนำหน่อยครับ พี่ๆๆ ที่น่ารักทุกท่านครับๆๆ

โดยคุณ hopeman (1.8K)  [อ. 28 ก.ค. 2552 - 20:03 น.]



โดยคุณ พ่อน้องจ้าว (856)  [พ. 29 ก.ค. 2552 - 07:57 น.] #756243 (1/3)
เนื้ออัลปาก้า มีส่วนผสม ของทองเหลือง เป็นหลัก และส่วนผสมรอง เป็น นิเกิล และเงิน เหตุผล ถ้าเป็นทองเหลือง อย่างเดียว เนื้อจะนิ่ม ชำรุดง่าย จึงเพิ่ม ส่วนผสมอื่น ให้แข็งขึ้น เช่น นิเกิล ,ส่วนเงิน น่าจะทำให้เกิดสีขาวใสเงา แต่ปัจจุบัน ไม่รู้ว่าใส่กันหรือเปล่า

โดยคุณ wichean15 (6K)  [พ. 29 ก.ค. 2552 - 19:55 น.] #757344 (2/3)
ไม่ยืนยันเรื่องความถุกต้อง นะครับ

(&#30333&#37509, literally "white copper")

อยากรู้เลยลองไปค้นดู ภาษาอังกฤษ สะกด Alpacca อ่าน แอล-แพก-ก้า การสะกดคล้ายกับ Alpaca (สัตว์สี่เท้าขนยาวในอเมริกาใต้ เผ่าพันฺุธุ์เดียวกับอูฐ ลูกพี่ลูกน้องกับตัว ลาม่า - Llama) แต่มี C สองตัว ดั้งเดิมจีนเป็นคนทำ ภาษาอังกฤษเรียก paktong ไม่ทราบไทยจะมีชื่อจีนหรือเปล่า ภาษาจีนเขียน &#30333&#37509 แปลตรงๆว่าทองแดงขาว ชื่อ Alpacca เดิมเป็นชื่อการค้าที่บริษัทเยอรมันที่ประดิษฐ์ขึ้นมาตั้งให้ เลยใช้กันจนเป็นชื่อที่รู้จักทั่วไป ชื่ออื่นก็มีเช่น German silver, new silver แต่ไม่มีเงินผสมอยู่ยกเว้นของใช้บางอย่างอาจเคลือบด้วยเงิน ส่วนประกอบ มี ทองแดง (Cu) นิกเกิ้ล (Ni) มักจะมีสังกะสี (Zn) ด้วยแต่ไม่เสมอไป แต่ไม่มีเงิน (Ag)

แรกเริ่มใช้กันมากในการทำช้อนซ่อมมีดทีเคลือบเงิน กับทำของใช้อย่างอื่นที่เคลือบเงิน เรียก electroplated nickel silver (EPNS)

ใช้ในการทำซิปกางเกงกระโปรง ดอกกุญแจดีๆ เครื่องประดับเทียม เครื่องดนตรีเช่น ฉิ่ง ฉาบ แซกโซโฟน เครื่องดนตรีแพงๆมักใช้โลหะผสมนี้เพราะเงาเหมือนเงิน ไม่ต้องขัด ไม่ต้องเคลือบด้วยแลคเค่อ ใช้เป็นรางรถไฟไฟฟ้า (ของเล่น) เพราำะออกไซด์ก็ยังนำไฟฟ้าได้ (ถ้าใช้อย่างอื่นเวลาออกไซด์เกาะหนารถไฟจะไม่แล่นเพราะเป็นฉนวนกันไฟฟ้าไปตัวรถจักร์)

ใช้ในการทำเหรียญแบบเหรียญบาท (ไม่ทราบว่าของเราทำด้วยอะไร อาจใช่)

ในด้านอุตสาหกรรม ใช้ในอุปกรณ์เรือ กับ เครื่องใช้พวกก๊อกน้ำ เพราะไม่ขึ้นสนิม แล้วยังใช้ในเส้นลวดทำความร้อน (heating coils) เพราะมีความต้านทานไฟฟ้าสูง


จาก
http://www.vcharkarn.com/vcafe/86451

โดยคุณ ๙อุอากะสะ (3.1K)  [พฤ. 30 ก.ค. 2552 - 12:49 น.] #758712 (3/3)
ได้ความรู้มากเลย ขอบคุณมากครับ

!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!


Copyright ©G-PRA.COM
www1