(N)
พอผมดีได้พบเทคนิคใหม่ในเว็บไซด์ สำหรับการถ่ายรูปพระโดยการนำแว่นขยายหรือกล้องส่องพระมาทาบบนเลนส์โทรศัพท์มือถือแล้วใช้ยางเอ็นลัด เห็นว่าเข้าท่าดีเลยลองถ่ายรูปพระดูปรากฎว่าถ่ายติดตำหนิชัดเจนดีก็เลยถ่ายรูปชี้ตำหนิเหรียญท่านเจ้าคุณศรี วัดอ่างศิลาปี 2504 หลังสายฝน ซึ่งเห็นว่าควรจะเผยแพร่ตำหนิจุดตายเนื่องจากเหรียญฝีมือเรียนแบบฝีมือออกมาระบาดในพื้นที่เยอะ บางคนหลงเช่าซื้อมาในราคาสูงโดยเฉพาะเหรียญเนื้อเงิน แต่กลับได้ของฝีมือไปบูชา ครับมาชมกันเลยครับนี่เป็นการชี้ตำหนิด้วยรูปถ่ายที่แสดงตำหนิอย่างชัดเจน ซึ่งพยายามถ่ายรูปมาหลายครั้งแต่ไม่สำเร็จเพิ่งจะมาสำเร็จเห็นตำหนิชัดเจนก็คราวนี้หล่ะครับ (ต้องขออนุญาตออกตัวก่อนนะครับว่า ไม่ใช่ช่างถ่ายภาพแต่อยากถ่ายภาพให้สวยเหมือนช่างถ่ายภาพ และไม่ใช่เซียนพระนะครับแต่ใช่ประสบการณ์นะครับ)
ด้านหน้าเหรียญ
1. ที่ระหว่างซอกคอกับหัวไหล่ข้างขวาของรูปเหมือนท่านเจ้าคุณศรี จะมีกากบาท (ส่านนี่เป็นพื้นฐานของเหรียญรุ่นนี้และเหรียญฝีมือเรียนแบบก็ทำได้ใกล้เคียงทีเดียวครับ)
2. ปลายสระอาของคำว่า "ศิลา"จะมีเส้นยาวไม่ตรงนักลากไปชนติ่งหูข้างซ้ายของรูปเหมือนท่านเจ้าคุณศรี (ส่านนี่เหรียญฝีมือเรียนแบบก็ทำได้แต่ขาดความคมชัดกว่าเหรียญแท้)
3. เส้นหน้าผากจะมีความคมชัด ซึ่งเส้นหน้าผากในตำแหน่งเหนือคิ้วข้างซ้ายของรูปเหมือนท่านเจ้าคุณศรี สังเกตุให้ดีจะคล้ายรากไม้โดยที่ปลายจะแตกแขนงออกเป็นสามแฉก (ส่านนี่เหรียญฝีมือเรียนแบบบางฝีมือไม่ปรากฎให้เห็น และบางฝีมือก็ทำได้แต่ขาดความคมชัดกว่าเหรียญแท้)
4. ที่ปลายหางไม้หันอากาศของคำว่า "วัด" จะมีเส้นติ่งยื่นอยู่ข้างใต้จึงดูคล้ายกับเป็นเส้นแฉก (ส่านนี่เหรียญฝีมือเรียนแบบก็ทำได้แต่ขาดความคมชัดกว่าเหรียญแท้)
5. เส้นขอบในเหนือหาง ส.เสือของคำว่า "สมาจาร" จะแตกออกเป็นสองเส้นมีร่องตรงกลาง (ส่านนี่เหรียญฝีมือเรียนแบบก็ทำได้แต่ขาดความคมชัดกว่าเหรียญแท้)
6. ที่เปลือกตาบนข้างซ้ายของรูปเหมือนท่านเจ้าคุณศรี เมื่อเอียงหัวเหรียญลงแล้วส่องไปที่เปลื่อกตาจะเป็นลักษณะตาสองชั้นเป็นครีบคมๆวิ่งคู่กันและตรงกลางจะเป็นร่องลึกคมๆเช่นกัน ข้อดีสำหรับตำหนินี้คืออยู่ในส่วนที่ซ่อนลึกดังนั้นส่วนใหญ่ตำหนินี้จะไม่สึกหายไปตามสภาพเหรียญที่แขวนใช้งานมามากยกเว้นอาจจะมีคราบฝุ่นหรือคราบไคลบดบังเท่านั้น(ส่วนนี้เป็นการค้นพบโดยบังเอิญซึ่งเคยพยายามหาตำหนินี้จากเหรียญอาจารย์อื่นๆก็ไม่พบลักษณะตำหนิเช่นนี้ถือเป็นลักษณะพิเศษสำหรับเหรียญรุ่นนี้ และเหรียญฝีมือเรียนแบบฝีมือใดๆก็ไม่มีตำหนินี้เช่นเดียวกัน เป็นที่ตำหนิของเหรียญแท้ชัดเจนจึงถือเป็นจุดตายที่จะใช้เป็นจุดตัดสินว่าเหรียญแท้หรือฝีมือเรียนแบบ ผมได้นำรูปถ่ายมาแสดงให้เห็นกันจะๆจากสองเหรียญที่มีในมือคือกะไหล่ทองและเหรียญเนื้อเงิน ตำหนินี้ ณ ตอนนี้ถือเป็นภูมิคุ้มกันที่ดีทีเดียวครับ แต่ในอนาคตไม่แน่ว่าเหรียญฝีมือเรียนแบบอาจจะพยายามทำตำหนินี้ให้เหมือนจนได้ ก็อาจเป็นไปได้นะครับ)
ด้านหลังเหรียญ
7. รูเจาะหูเหรียญไม่ใหญ่โตเหมือนเหรียญเกจิอาจารย์อื่น และรูหูเหรียญมักจะเจาะเบี่ยงไปทางขวามือเรา ดังนั้นเนื้อหูเหรียญข้างซ้ายมือเราจึงมีพื้นที่มากและจะมีเส้นขนแมวอยู่ทั่วไปในพื้นที่นี้ (ส่วนนี้เหรียญฝีมือเรียนแบบบางฝีมือจะเจาะรูขนาดใหญ่ และบางฝีมือจะเจาะขนาดรูและตำแหน่งใกล้เคียงเหรียญแท้ทีเดียวแต่ยังขาดเส้นขนแมวที่ว่ามา)
8. เส้นสายฝนจะเป็นเส้นนูนสาดกระจายทั่วไปบนพื้นเหรียญจะเป็นส้นคมชัดบ้างตื้นบ้างเป็นมิติแตกต่างกัน และจะพาดผ่านยันต์และตัวหนังสืออย่างไม่สะดุด สามารถที่จะเลือกจดจำเส้นสายฝนทั้งตำแหน่งการพาดผ่านและทั้งมิติความคมชัดของเส้นสายฝนหากจำเส้นสายฝนให้แม่นหลายๆจุดหรือหลายๆเส้นก็ถือว่าเป็นภูมิคุ้มกันเหรียญฝีมือเรียนแบบให้ท่านได้ (ส่านนี่เหรียญฝีมือเรียนแบบบางฝีมือมีปรากฎเส้นสายฝนให้เห็นแต่เลือนลาง และบางฝีมือก็ทำได้ครบด้วยการถอดพิมพ์จึงขาดความคมชัดและขาดมิติกว่าเหรียญแท้) |