ร่วมเสนอความคิดเห็น

หัวข้อกระทู้ : พระ ลพ.พรหม เนื้อชาร์ปรถไฟ เท่าที่ทราบครับ..



(D)


***...เรื่อง พระ ลพ.พรหม เนื้อชาร์ปรถไฟ เท่าที่ทราบครับ..
.........***..ประวัติการสร้าง พระรูปเหมือน ..**..หลวงพ่อพรหมพิมพ์ ก้นระฆัง โค๊ด ๑๕ โค๊ด ๙๐ และ โค๊ด ๙๙๙ และแบบพิมพ์ หูกาง ตอกโค๊ด ๑๕ เนื้อชาร์ปรถไฟ..**..จัดสร้างโดยอดีตพนักงานการรถไฟ แขวงงานรถพ่วง ปากน้ำโพ ร่วมกับ พนักงาน ด้านการเดินรถ พนักงานด้านบำรุงทาง แขวงนครสวรรค์ และ พนักงาน หมวดศิลาที่สถานีรถไฟ ช่องแค โดยขออนุญาต ลพ.พรหม วัดช่องแค จัดสร้างพระรูปเหมือน หลวงพ่อพรหม แบบพิมพ์ ก้นระฆังปี 2512 และตอกโค๊ด..๑๕ โค๊ด ๙๐ และ โค๊ด ๙๙๙ และแบบพิมพ์ หูกาง ตอกโค๊ด ๑๕ โดยให้หลวงพ่อพรหมอธิฐานจิต และปลุกเสกให้..เนื่องในโอกาส ฉลองครบรอบอายุ 90 ปี ของ ลพ.พรหม ในปีพศ.2517 ...โดยใช้เศษเนื้อชาร์ปรถไฟ ที่การรถไฟไม่ใช้แล้ว จากหน่วยงาน ต่างๆดังนี้คือ 1.เศษเนื้อชาร์ปรถไฟ จากแขวงงานรถพ่วง ปากน้ำโพ 2.เศษเนื้อชาร์ปรถไฟ จากโรงซ่อมรถพ่วงอุตรดิตถ์ 3.เศษเนื้อชาร์ปรถไฟ จากหน่วยซ่อมรถพ่วงที่โรงงานมักกะสัน วัตถุประสงค์ เพื่อ นำไปแจกจ่ายให้กับพนักงานรถไฟในส่วนต่างๆ โดยการตอกโค๊ด ไว้เป็นสัญลักษณ์ต่างๆกันในแต่ละหน่วยงานมีดังนี้
1.โค๊ดตัวเลข ๙๐ (ไทยใหญ่ และไทยเล็ก) มอบให้กับ พนักงาน ด้านการเดินรถ และพนักงานด้านบำรุงทาง แขวงนครสวรรค์ จำนวนพระที่สร้างประมาณ 4000 องค์
2.โค๊ดตัวเลข ๙๙๙ (ไทยใหญ่ และไทยเล็ก) มอบให้กับ พนักงานที่ปฏิบัติงานตามรายทาง สถานีรถไฟ และ พนักงาน หมวดศิลาที่สถานีรถไฟ ช่องแค จำนวนพระที่สร้างประมาณ 4000 องค์
3.โค๊ดตัวเลข ๑๕ มอบให้กับ พนักงานรถไฟ ในส่วนกลาง ในกรมรถไฟ (หัวลำโพง ,มักกะสัน, ยศเส, นพวงศ์) จำนวนพระที่สร้างประมาณ 4000 องค์ (พิมพ์หูกาง +พิมพ์ก้นระฆัง)
…………………………………………
หมายเหตุ..
...ข้อมูลทั้งหมดได้มาจาก อดีตพนักงานการรถไฟ แขวงงานรถพ่วง ปากน้ำโพ ผู้ขออนุญาต หลวงพ่อพรหมจัดสร้างพระพิมพ์ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งปัจจุบันได้เกษียณอายุราชการ จากการรถไฟฯไปเกือบ 10 ปี แล้วครับ..และปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่นะครับ..
..................................................................................................
***...พระชุดนี้เป็นการจัดสร้างโดยการขออนุญาตโดยตรงจากหลวงพ่อพรหม และเป็นการสร้างโดย คณะลูกศิษย์ในหน่วยงานการรถไฟฯ ส่วนต่างๆ และจำนวนพระส่วนใหญ่อยู่ในความครอบครองของลูกศิษย์ในหน่วยงานการรถไฟฯ ซึ่งทุกๆคนต่างหวง และเคารพบูชา ต่อองค์ ลพ.พรหม จึงทำให้ ไม่มีพระหมุนเวียนในสนามพระ โดยทั่วไปเหมือนพระรุ่นอื่นๆ ของ หลวงพ่อ...

..............จึงเรียนมาด้วยความเคารพครับ..และเพื่อเป็นข้อมูลให้เพื่อนๆสมาชิกครับ...........

.....นายหัว...รถไฟ.....

โดยคุณ kaigreenline (6K)  [พ. 02 เม.ย. 2551 - 00:58 น.]



โดยคุณ เด็กตลาดช่องแค (450)  [พ. 02 เม.ย. 2551 - 08:17 น.] #261445 (1/6)
ก่อนอื่นต้องขอแย้งข้อมูลนะครับ ในส่วนที่กล่าวถึง หมวดศิลา ช่องแค เรื่อง โค๊ด 999 ที่ว่าทำแจกหมวดศิลาช่องแค ตั้ง 4000 องค์

เห็นว่าไม่ตรงกัน ที่เห็นอย่างนี้ผมเองเป็นคนพื้นที่ถึงไม่ได้อยู่ที่หมวดศิลา แต่อยู่ที่ตลาดช่องแค แต่ผมก็มีญาติดอง เป็นพนักงาน

รถไฟ อยู่ที่ หมวดศิลา ปัจจุบันท่านเสียชีวิต แล้ว อยู่แต่ภรรยา ทุกวันนี้ ภรรยาท่านก็ยังอยู่ในหมวดศิลา คืออยากบอกว่า รุ่นนี้ คน

ช่องแค ไม่เล่นครับนอกจากไม่เล่นแล้วกรรมการรุ่นเก่ายุดที่หลวงพ่อยังอยู่จนถึงอาจารย์แบ๊ง จะเล่นเฉพาะรุ่นที่ตอก 90 อารบิก

ไม่เล่นรุ่นที่ตอก 90 ไทย หรือ 999 ไทย ที่สำคัญ ผมเกิดที่ช่องแค ถึงผมจะมาเรียนหนังสือที่กรุงเทพฯ ผมเอง และญาติดองผม ไม่

เคยเห็นรุ่น นี้มากก่อน ถ้าแจกพนักงานที่หมวดศิลาช่องแคจริง ตั้ง 4000 องค์ ทำไมผมไม่เคยเห็น เพิ่งมาเห็นเมื่อประมาณ 4-5 ปีนี้

เอง ผมไม่ได้หมายถึง ตามสนามพระนะ ผมหมายถึงตามหิ่งบูชาหรือตามบ้านแม้แต่ในหมวดศิลาก็ตาม 4000 ไม่ใช่จำนวนน้อย

นะครับ อยากให้เทียบ รุ่น ปี 15 รูปไข่ก็ทำอยู่ประมาณ 5000 องค์ แผ่นปั๊มรูปเหมือน ปี 12 ทำแค่ 2000 องค์
หรือรุ่นพระเนื้อผง ที่ด้านหน้าเป็นคล้ายรูปเหมือนก้นระฆัง ด้านหลังเป็นใบโพธิทำแค่ไม่กี่ร้อยองค์ ของสายตาผิว ตาฉั่น คน

ตอกโค๊ดระฆังทำ (แต่วงการไม่รู้ไม่ยอมรับ) ผมยังเจอบ่อยกว่าครับ ทำไมผมไม่เคยเห็นรุ่น 90 999 เลขไทย ทำตั้ง 4000 องค์แจก

หนักงานรถไฟ ในหมวดศิลา และหมวดศิลา มีไม่ถึง100 หลังคาเรือนนะครับ ถ้าเอาสมัยปี 17 ประชากรที่อยู่ก็คงไม่ถึง 1000 คน

หรอก ถ้าคิดว่าประชากรถึง 1000 คน ครอบครัวละ 10 คน มี 100 หลัง ก็ เฉลี่ยคน ละ 4 องค์ ต่อคน ไม่น้อยนะครับ แต่ทำไมผม

เคยเห็น ผมกลับเห็น โค๊ด 90 อารบิก มากกว่าอีก ตามบ้านที่หมวดศิลา ผมแย้งเฉพาะข้อมูลคุณนะ แต่เมื่อประมาณปี 38-40 ผมได้

ไปพร้อมญาติดองผมไปกราบ หลวงพ่อบัวเผื่อน(ไม่รู้เขียนถูกเปล่า) ที่วัดหลังเขา ผมเจอรุ่นนี้ ตอกโค๊ด 90 ไทย
ผมถามทั้งว่ารุ่นนี้ใครทำ ท่านบอก "พนักงานรถไฟทำ"
ผมถามต่ออีกว่า "แล้ว 90 ปีนี้หมายถึง หลวงพ่ออายุ 90 ปีหรอก"
ท่านบอกว่าไม่ใช่ "หมายถึง 1990" ก็คือปี 2533
ตอนนั้นผมก็ไม่ได้ใส่ใจเรื่องโค๊ดว่าเป็นอย่างไร คือไม่ได้สังเกต แต่เห็นเป็นคล้ายเลขไทย อีกอย่างผมก็รู้มาก่อนว่า ถ้าทันหลวงพ่อ

90 ปี ต้องเป็นอารบิก โค๊ดเดียวกับที่แจกแม่ครัวปี 17 เพราะเลขไทย มาปี 17เหมือนกันแต่มาปลายปี หลวงพ่อท่านไม่ได้ปลุกเสธ

ท่านล้มป่วยอยู่ จังให้อาจารย์แบ๊งปลุกเสธ จึงไม่สนใจ แต่ที่ผมเห็นในสนาม ในระยะหลัง ไม่ได้เจาะจงว่าweb นี้นะครับ ผมพูด

โดยรวม เท่าที่สังเกต ไม่ว่า 90 ปี หรือ 999 ปี ผมเห็น มีแตกต่างกัน 3 แบบ ผมเองก็ยังแปลกใจเลยไม่รู้ว่า ว่าโค๊ดไหนปีไหนแน่

ทุกวันนี้ก็ยังงงอยู่

ส่วนรุ่นอื่นผมไม่แย้งละกัน แต่ใช่ผมจะเห็นด้วยนะครับ เพราะผมเองไม่สามารถยืนยันได้ นอกจากที่คุณกล่าวอ้างถึงหมวดศิลา

ช่องแค และยอมรับครับมีรุ่นชาร์ปรถไฟที่พนักงานรถไฟทำจริงครับ แต่จำนวนน้อยมาก ไม่ใช่เป็นพันแบบนี้ โดยเฉพาะที่เข้า

พิธีปี 16 มีหลายพิมพ์ ไม่ใช่แค่พิมพ์ แบบก้นระฆัง ผมเดินสนาม ผมเจอแค่ องค์เดียว (แต่ตามบ้านผมจะเจอมากกว่า)

โดยคุณ เอกสังวาลย์ (1.3K)  [พ. 02 เม.ย. 2551 - 10:53 น.] #261542 (2/6)
เข้ามาดูครับ
เป็นคนหนึ่งที่ศึกษาพระหลวงพ่อพรหม
กระทู้น่าสนใจมากทีเดียว...คงต้องมีต่ออีกยาว
แล้วจะมาดูใหม่

โดยคุณ kaigreenline (6K)  [พ. 02 เม.ย. 2551 - 12:05 น.] #261594 (3/6)


(D)


กราบเรียน คุณ เด็กตลาดช่องแค และสมาชิกที่เคารพ ครับ

..............ตามที่คุณ เด็กตลาดช่องแค เข้าใจผิดคิดว่าสร้างแจก**..หมวดศิลา ..4000 องค์ ไม่ใช่ ..นะครับ..***.....หมวดศิลา...ได้รับไปเพียง 10 องค์ เท่านั้นเองครับ ปัจจุบันยังทำงานอยู่การรถไฟฯใกล้เกษียณอายุราชการแล้วครับ...และที่ว่า หมวดศิลามีส่วนร่วมนั้น ก็แค่ในนามเท่านั้นครับ พระบางส่วนยังอยู่กับ อดีตพนักงานการรถไฟ ฯที่มีส่วนร่วมกันจัดสร้างครับ
................. กราบเรียนชี้แจงอีกเรื่องหนึ่งครับ ที่ช่วงนี้เห็นพระชุดนี้ออกมาใน เว็ป G-pra มากพอสมควรแต่นับดูจริงๆแล้ว ยังไม่ถึง 200 องค์เลยนะครับ แบบนี้เขาเรียกว่ารังแตกมากว่านะครับ ผมทำงานให้การรถไฟฯมา 20 กว่าปี ก่อนหน้านี้ สะสมพระชุดนี้ไว้ได้เพียง ไม่กี่องค์ และราคาก็ไม่สูงเท่าในปัจจุบันนะครับ
.................และสำหรับท่านสมาชิก...และเซียนพระที่บอกว่า..มันเก๊.....ที่ไม่มีข้อมูล และข้อเท็จจริง....คิดว่าพระ ลพ.พรหม ชุดนี้เก๊ ช่วยเช่าหาไว้ให้หน่อยนะครับ.... กระผม **..นายหัว. รถไฟ....Kaigreenline..**..ยินดีรับเช่าพระชุดนี้ทุกพิมพ์ ทุกองค์ ในราคาเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมาครับ..**....โดยเฉพาะ..พิมพ์ ก้นระฆัง ที่ตอกโค๊ด พ ในใบโพธิ์ ปี 13 อยากได้มากๆครับ....

โดยคุณ kaigreenline (6K)  [พ. 02 เม.ย. 2551 - 23:44 น.] #261953 (4/6)
***..ประวัติการสร้าง พระรูปเหมือน ..**..หลวงพ่อพรหมพิมพ์ ก้นระฆัง โค๊ด พ ในใบโพธิ์ จัดสร้างโดยคุณ วินัย อยู่เย็น อดีตพนักงานการรถไฟฯ สังกัดฝ่าย การช่างกล ปัจจุบันได้เกษียณอายุราชการไปนานแล้วครับ ร่วมกับ หลวงพ่อ ผิว ซึ่งเป็นพระลูกวัดช่องแค ในขณะนั้น และเป็นพระลูกศิษย์ หลวงพ่อพรหม ทำการขออนุญาต หลวงพ่อพรหมจัดสร้างพระรูปเหมือนหลวงพ่อพรหม แบบพิมพ์ก้นระฆัง เนื้อชาร์ปรถไฟ โดยถอดแบบมาจาก พระรูปเหมือนพิมพ์ก้นระฆัง ปี 12 ของพระอาจารย์ (ลพ.พรหม) แต่เพื่อมิให้สับสนและปนกับพระที่พระอาจารย์สร้างไว้ก่อนหน้า ปี 12 แล้วนั้น จึงแกะแม่พิมพ์ ตัว ผ เพิ่มไว้ที่ด้านหน้า ตรงสังฆาฏิ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ จัดสร้างในกรณีพิเศษ เพื่อแจกให้กับลูกศิษย์สายพนักงานรถไฟ ฝ่ายการช่างกล โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติงานบนหัวรถจักร ที่ลงพักค้างคืนกลางแปลง ที่สถานีรถไฟ ช่องแค และมอบพระส่วนหนึ่ง ประมาณ 100 องค์ให้ที่โรงงานมักกะสัน ที่ได้นำเศษ เนื้อชาร์ปรถไฟมาถวายเพื่อใช้เป็นวัสดุในการจัดสร้างพระในครั้งนั้น ซึ่งเป็นพระรุ่นแรกที่ใช้เศษเนื้อชาร์ปสร้างครับ
***...จำนวนพระที่สร้าง ประมาณ 500 องค์ ( พระที่สร้างได้จริงๆ 479 องค์ ข้อมูลจากผู้ที่ทำหน้าที่ตอกโค๊ดพระชุดนี้ครับ ปัจจุบันยังปฏิบัติงานอยู่ในการรถไฟฯใกล้เกษียณอายุราชการแล้วนะ ครับ)
........ในการสร้างพระครั้งนี้ไม่ใช่มีเพียงแค่พิมพ์ก้นระฆังโค๊ด พ ในใบโพธิ์ เท่านั้นนะครับ ยังมีพิมพ์ หล่อโบราณแบบพิมพ์หลวงพ่อเดิม ที่ฐานด้านหลังระบุ ปี พศ. 2513 จำนวน 200 องค์ แบบพิมพ์หูกาง ด้านหลังตอกโค๊ดเลข ๕ จำนวน 200 องค์ แบบพิมพ์หน้ากาก ( ถอดพิมพ์ ปี 2512 ลพ.พรหม ) จำนวน 12 องค์
***..ประวัติการสร้าง พระรูปเหมือน ..**..หลวงพ่อพรหมพิมพ์ ก้นระฆัง โค๊ด ๑๕ โค๊ด ๙๐ และ โค๊ด ๙๙๙ และแบบพิมพ์ หูกาง ตอกโค๊ด ๑๕ เนื้อชาร์ปรถไฟ..**..จัดสร้างโดยอดีตพนักงานการรถไฟ แขวงงานรถพ่วง ปากน้ำโพ ร่วมกับ พนักงาน ด้านการเดินรถ พนักงานด้านบำรุงทาง แขวงนครสวรรค์ และ พนักงาน หมวดศิลาที่สถานีรถไฟ ช่องแค โดยขออนุญาต ลพ.พรหม วัดช่องแค จัดสร้างพระรูปเหมือน หลวงพ่อพรหม แบบพิมพ์ ก้นระฆังปี 2512 และตอกโค๊ด..๑๕ โค๊ด ๙๐ และ โค๊ด ๙๙๙ และแบบพิมพ์ หูกาง ตอกโค๊ด ๑๕ โดยให้หลวงพ่อพรหมอธิฐานจิต และปลุกเสกให้..เนื่องในโอกาส ฉลองครบรอบอายุ 90 ปี ของ ลพ.พรหม ในปีพศ.2517 ...โดยใช้เศษเนื้อชาร์ปรถไฟ ที่การรถไฟไม่ใช้แล้ว จากหน่วยงาน ต่างๆดังนี้คือ 1.เศษเนื้อชาร์ปรถไฟ จากแขวงงานรถพ่วง ปากน้ำโพ 2.เศษเนื้อชาร์ปรถไฟ จากโรงซ่อมรถพ่วงอุตรดิตถ์ 3.เศษเนื้อชาร์ปรถไฟ จากหน่วยซ่อมรถพ่วงที่โรงงานมักกะสัน วัตถุประสงค์ เพื่อ นำไปแจกจ่ายให้กับพนักงานรถไฟในส่วนต่างๆ โดยการตอกโค๊ด ไว้เป็นสัญลักษณ์ต่างๆกันในแต่ละหน่วยงานมีดังนี้
ดังนี้
1.โค๊ดตัวเลข ๙๐ (ไทยใหญ่ และไทยเล็ก) มอบให้กับ พนักงาน ด้านการเดินรถ และพนักงานด้านบำรุงทาง แขวงนครสวรรค์ จำนวนพระที่สร้างประมาณ 4000 องค์
2.โค๊ดตัวเลข ๙๙๙ (ไทยใหญ่ และไทยเล็ก) มอบให้กับ พนักงานที่ปฏิบัติงานตามรายทาง สถานีรถไฟ และ พนักงาน หมวดศิลาที่สถานีรถไฟ ช่องแค จำนวนพระที่สร้างประมาณ 4000 องค์
3.โค๊ดตัวเลข ๑๕ มอบให้กับ พนักงานรถไฟ ในส่วนกลาง ในกรมรถไฟ (หัวลำโพง ,มักกะสัน, ยศเส, นพวงศ์) จำนวนพระที่สร้างประมาณ 4000 องค์ (พิมพ์หูกาง +พิมพ์ก้นระฆัง)
…………………………………………
หมายเหตุ..
...ข้อมูลทั้งหมดได้มาจาก อดีตพนักงานการรถไฟ แขวงงานรถพ่วง ปากน้ำโพ ผู้ขออนุญาต หลวงพ่อพรหมจัดสร้างพระพิมพ์ดังกล่าวข้างต้น ซึ่งปัจจุบันได้เกษียณอายุราชการ จากการรถไฟฯไปเกือบ 10 ปี แล้วครับ..และปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่นะครับ..
..................................................................................................
***...พระชุดนี้เป็นการจัดสร้างโดยการขออนุญาตโดยตรงจากหลวงพ่อพรหม และเป็นการสร้างโดย คณะลูกศิษย์ในหน่วยงานการรถไฟฯ ส่วนต่างๆ และจำนวนพระส่วนใหญ่อยู่ในความครอบครองของลูกศิษย์ในหน่วยงานการรถไฟฯ ซึ่งทุกๆคนต่างหวง และเคารพบูชา ต่อองค์ ลพ.พรหม จึงทำให้ ไม่มีพระหมุนเวียนในสนามพระ โดยทั่วไปเหมือนพระรุ่นอื่นๆ ของ หลวงพ่อ...
..................................................*****.......******......*****...............................................................
............ขอขอบคุณ อดีตพนักงานการรถไฟ ฝ่ายการช่างกล พนักงานการรถไฟฯ ผู้ทำหน้าที่ตอกโค๊ด พนักงานการรถไฟฯ สังกัด หัวรถจักรบางซื่อ และอดีต นายสถานีรถไฟ ช่องแค ฯลฯ

โดยคุณ แควน้อย (3)  [จ. 14 เม.ย. 2551 - 10:10 น.] #268019 (5/6)
นี่คือข้อมูลจากเจ้ากรมหลวงพ่อพรหม วัดช่องแคทั้ง 2 ท่านเลยครับ สุดยอดเลยครับพี่ๆ ของจริงต้องได้รับข้อมูลแบบนี้ อาจจะแย้งกันบ้างนิดหน่อย แต่มีเหตุผลของแต่ละท่านครับ แต่พระจริงก็คือของจริงครับ กระแสของหลวงพ่อแรงขึ้นๆทุกวันครับ

โดยคุณ kaigreenline (6K)  [ศ. 13 มิ.ย. 2551 - 03:21 น.] #301159 (6/6)


(D)


**...ประวัติการสร้าง พระหลวงพ่อพรหม เนื้อชาร์ปรถไฟ... **
.....................................................
***..ประวัติการสร้าง พระรูปเหมือน..หลวงพ่อพรหมเนื้อช้าร์ปรถไฟ จัดสร้างโดย คุณ วินัย อยู่เย็น อดีตพนักงานการรถไฟฯ สังกัดแขวงรถพ่วงปากน้ำโพ ฝ่าย การช่างกล ( ตำแหน่งที่ดำรงท้ายสุดคือ พนักงานขับรถไฟ ) ได้เกษียณอายุราชการไปแล้ว ( ปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่ ) ได้หารือร่วมกับ หลวงพ่อ ผิว ซึ่งเป็นพระลูกวัดช่องแค และเป็นพระลูกศิษย์ หลวงพ่อพรหมในขณะนั้น ว่าทางพนักงานการรถไฟฯ.อยากจะสร้างพระที่เป็นรูปเหมือนหลวงพ่อพรหมขึ้น เพื่อที่จะแจกจ่ายให้กับพนักงานการรถไฟฯไว้ติดตัวเพื่อบูชา และมอบให้ทางวัดเพื่อแจกจ่ายให้ชาวบ้านทั่วไปบ้าง ประกอบกับในช่วงเวลาดังกล่าวได้มีชาวบ้าน และบุคคลทั่วไปต่างก็สร้างพระมาถวายให้ ลพ.พรหม ทำการปลุกเสกให้ด้วยความเคารพในตัว ลพ.พรหม หลายคณะหลายบุคคล ซึ่งคุณวินัยฯ.ได้หารือกับเพื่อนพนักงาน และผู้บังคับบัญชาแล้วเห็นว่า เศษเนื้อชาร์ปรถไฟ ที่ทางการไม่ใช้แล้ว และไม่สามารถนำกลับมาใช้งานอีกได้ ส่วนใหญ่จะถูกทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ และเพื่อเป็นเอกลักษณ์เฉพาะประจำหน่วยงานของ การรถไฟฯ เศษเนื้อชาร์ปรถไฟ เป็นวัสดุที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว และเป็นวัสดุที่ บุคลภายนอกจะหารวบรวมให้เป็นจำนวนมากได้ยากมากเมื่อนำมาทำเป็นชิ้นงานออกมาแล้วจะยากแก่การปลอมแปลง จึงได้ทำการขออนุญาต หลวงพ่อพรหมจัดสร้างพระรูปเหมือนหลวงพ่อพรหมขึ้น
หลังจากที่ทางวัดได้มีการจัดสร้างพระชุดหลวงพ่อพรหมรุ่นเสาร์ 5 ปี พศ.2512 แล้ว ทางคุณวินัย อยู่เย็นและคณะ จึงได้มีการขออนุญาตจัดสร้างพระขึ้นดังต่อไปนี้.
1. สร้างรูปเหมือนหล่อโบราณโดยแกะแม่พิมพ์ขึ้นใหม่ ไม่ทราบชื่อผู้แกะแม่พิมพ์ ลักษณะไม่เหมือนรูปหล่อของหลวงพ่อในชุดใด เมื่อหล่อไปจะแก้ไขพิมพ์ไปทำให้บุคลที่ได้ครอบครองในภายหลังเกิดความสับสน ลักษณะเนื้อโลหะที่ใช้ ทราบจากผู้ที่มีส่วนร่วมในการหล่อพระบอกว่ามีส่วนผสมของเนื้อเงิน ผสมกับ เนื้อชาร์ปรถไฟ จำนวนการสร้างประมาณ 100 องค์
หลังจากที่สร้างพระรูปเหมือนดังที่กล่าวในข้อ 1. แล้วพระที่ได้มีรูปแบบ ที่ไม่น่าพอใจจึงได้มีการขออนุญาต ทำพระขึ้นมาใหม่ดังนี้.
1.1 แบบพิมพ์ก้นระฆัง เนื้อชาร์ปรถไฟ ตอกโค๊ตใต้ฐาน เป็นตัว พ อยู่ในใบโพธิ์ โดยถอดแบบมาจาก พระรูปเหมือนพิมพ์ก้นระฆัง ปี 2512 ของพระอาจารย์ (ลพ.พรหม) แต่เพื่อมิให้สับสนและปนกับพระที่พระอาจารย์สร้างไว้ก่อนหน้าคือ ปี 2512 แล้วนั้น จึงแกะแม่พิมพ์ ตัว ผ เพิ่มไว้ที่ด้านหน้า ตรงสังฆาฏิ เพื่อเป็นสัญลักษณ์ จัดสร้างในกรณีพิเศษ เพื่อแจกให้กับลูกศิษย์สายพนักงานรถไฟ ฝ่ายการช่างกล โดยเฉพาะผู้ปฏิบัติงานบนหัวรถจักร (พนักงานขับรถไฟ) ที่ลงพักค้างคืน ที่สถานีรถไฟช่องแค ซึ่งในอดีตสถานีรถไฟ ช่องแค เป็นศูนย์รวมของพนักงานการรถไฟฯ.อยู่หลายฝ่าย เช่นการเดินรถ, ช่างกล,ฟืน,หิน และเอกชนที่รับเหมาช่วงงานอีกมาก ( พระที่สร้างเน้นมอบฝ่ายช่างกล ) และได้มอบพระส่วนหนึ่ง ประมาณ 100 องค์ให้ที่โรงงานรถไฟมักกะสัน เนื่องจากได้มอบเศษ เนื้อชาร์ปรถไฟมาถวายเพื่อใช้เป็นวัสดุในการจัดสร้างพระในครั้งนั้น ซึ่งเป็นพระรุ่นแรกที่ใช้เศษเนื้อชาร์ปสร้าง.จำนวนพระ ประมาณ 500 องค์ ( พระที่สร้างได้จริงๆ 497 องค์ ข้อมูลจากผู้ที่ทำหน้าที่ตอกโค๊ดพระชุดนี้ คือ คุณ อัมพร ดวงทอง ปัจจุบันยังปฏิบัติงานอยู่ที่แขวงรถพ่วงปากน้ำโพ (ใกล้เกษียณอายุราชการแล้ว )
***&#8230ลักษณะเนื้อพระ&#8230 ในพระชุดนี้เป็นพระที่เริ่มสร้างจากเศษเนื้อชาร์ป ที่ได้มาจากเศษชาร์ปที่เกิดจากการละลายเนื่องจากขาดการหล่อลื่น (รถพ่วงเพลาร้อน..) เนื้อชาร์ปจะละลายตกลงในอ่างน้ำมันของหม้อเพลาล้อรถไฟ เนื้อชาร์ปจะดำเป็นก้อน เนื่องจากมีน้ำมันเพลาจับเกาะอยู่ที่ผิวของชาร์ปที่ละลาย เมื่อหล่อพระออกมาแล้วผิวพระส่วนมากจะมีผิวสีออกดำเหมือนผิวตะกั่วเก่า ของปลอมจะทำได้ใกล้เคียงมาก โดยใช้ตะกั่วผสมชาร์ป แต่จะมีเนื้อชาร์ป ผสมเป็นส่วนน้อย เนื่องจากหายาก
โค๊ดที่ใช้ตอกใต้ฐาน เป็นตัว พ อยู่ในใบโพธิ์( เดิมผู้สร้างตั้งใจทำให้เป็นตัว พ ในดอกบัว ) พระอีกส่วนหนึ่งไม่ทราบจำนวนที่แน่ชัด แต่เป็นจำนวนที่น้อยมากจะไม่ตอกโค๊ดที่ใต้ฐานแต่จะมีจาร ตัว มะ อะ อุ แทน และยังมีพระอีกประมาณ 10 องค์ที่ คุณ อัมพรฯ.ได้นำพระมาเจาะที่ใต้ฐานและนำเกศา,จีวร,ผงพุทธคุณ ของหลวงพ่อมาบรรจุไว้
1.2 พิมพ์หล่อโบราณแบบพิมพ์หลวงพ่อเดิม ที่ฐานด้านหลังระบุ ปี พศ. 2513 สร้างจำนวนประมาณ 200 องค์ ผู้ที่แกะแม่พิมพ์คือ คุณ ประสิทธิ์ ประภัทสร
1.3 พิมพ์หูกาง ด้านหลังตอกโค๊ดเลข ๕ สร้างจำนวนประมาณ 200 องค์
1.4 พิมพ์แบบแผ่นปั๊ม ( ถอดพิมพ์แผ่นปั๊ม ปี 2512 ลพ.พรหม ) สร้างจำนวน 12 องค์
***&#8230เนื้อพระในการสร้างครั้งต่อมาช่วงหลังจากที่ได้สร้างพระเนื้อชาร์ปครั้งแรกแล้ว จะเป็นเศษชาร์ปที่ได้จากการขูดผิวหน้ากาบเพลาชาร์ปให้เรียบ โรงซ่อมรถพ่วงปากน้ำโพ ทำให้เนื้อพระที่หล่อได้มีความสวยขึ้นกว่าเดิม สีพระจะมีหลายสีเช่นผิวขาวเหมือนผิวปรอทที่เกิดจากดีบุก, ผิวปรอทเหลือบทองเกิดจากขณะที่หลอมเนื้อชาร์ป แล้วไฟแรงเกินไปจะมีลักษณะเหมือนไฟไหม้สีผิว พระที่ได้จึงมีสีออกเหลือบทองเนื้อพระชนิดนี้ เมื่อถูกจับต้อง โดนเหงื่อจากการนำไปใช้บูชาจะมีสีเหมือนสนิมแดงบนผิว เกิดจากคราบสนิมของนิเกิล และแทรกอยู่ตามซอกองค์พระ&#8230.

&#8230..ผิวพระแบ่งออกได้เป็นสองแบบคือแบบที่เป็นเส้นเสี้ยนสั้นๆคล้ายฝอยขัดหม้อ และแบบเป็นเม็ดหรือเกล็ด แบบเกล็ดน้ำตาลทราย ซึ่งผิวพระทั้งสองแบบนี้เกิดจากขั้นตอนในการหล่อพระ
หลังจากที่มีการสร้างพระชุดนี้ออกมาแล้วทางพนักงานการรถไฟและบุคคลทั่วไปมีความต้องการที่จะได้พระไว้บูชาเป็นจำนวนมากจึงมีการจัดหาวัสดุที่จะสร้างพระคือเศษช้าร์ปรถไฟมอบให้ทางคุณวินัยฯ.และคณะรวบรวมเพื่อขออนุญาตสร้างพระขึ้นอีก วัสดุที่ได้ มีที่มาดังนี้ จากพนักงานโรงงานรถไฟที่มักกะสัน จากพนักงานโรงงานที่อุตรดิตถ์ จากพนักงานรถพ่วงปากน้ำโพ จากพนักงานหน่วยซ่อมที่แม่น้ำ และหน่วยพนักงานซ่อมที่ช่องแคอีกด้วย ทางคุณวินัยและคณะจึงมีการสร้างพระขึ้นอีกครั้งการสร้างเริ่มตั้งแต่ปลายปี 2513 เป็นต้นมา การสร้างไม่มีการกำหนดเวลาที่แน่นอน จะสร้างไปเรื่อยๆแล้วแต่วัสดุและเวลาจะอำนวย เพราะคณะผู้จัดสร้างล้วนแต่มีหน้าที่ประจำที่จะต้องปฏิบัติอยู่แล้ว สร้างจนถึงประมาณปลายเดือนพฤศจิกายน ปี 2516 เศษเนื้อชาร์ปรถไฟหมด และประกอบกับแบบแม่พิมพ์เริ่มชำรุด จึงได้หยุดการสร้าง จำนวนพระที่สร้างได้ รวมทั้งสิ้นประมาณ 10000 องค์ เศษ
2. พระชุดหลังที่กล่าวได้ว่าเป็นชุดที่ 2 ที่จัดสร้างตั้งแต่ปลายปี 2513 เป็นต้นมามีแบบพิมพ์ดังนี้
2.1 พิมพ์ก้นระฆังแบบที่1 สร้างประมาณ 4000 องค์แยกตามโค๊ดได้ 2 แบบ แบบละประมาณ 2000 องค์
- แบบที่ 1 ใต้ฐานพระตอกโค๊ดเลข ๙๙๙ ตัวเลขไทยจะเป็นตัวใหญ่
- แบบที่ 2 จะตอกโค๊ด ๙๙๙ ตัวเลขไทยจะเป็นตัวเล็ก พิมพ์นี้จุดมุงหมายสำหรับแจกพนักงานฝ่ายช่างกลโดยเฉพาะ
2.2 พิมพ์ก้นระฆังแบบที่ 2 สร้างประมาณ 4000 องค์ แยกตามโค๊ดได้ 2 แบบ แบบละประมาณ 2000 องค์
- แบบที่ 1 ใต้ฐานพระตอกโค๊ดเลข ๙0 ตัวเลขไทยใหญ่
- แบบที่ 2 ตอกโค๊ดเลข ๙0 ตัวเลขไทย เล็ก
แบบโค๊ดทั้ง 2 แบบ ตัวเลขไทยใหญ่ สำหรับแจกพนักงานตั้งแต่ระดับชั้น ตรี ขึ้นไป ส่วนตัวเลขไทยเล็ก สำหรับแจกพนักงานโดยทั่วไป

พระที่สร้างเมื่อถึงปี 2515 ได้มีการสร้างพระเพิ่มอีก 1 พิมพ์โดยใช้แบบแม่พิมพ์ดียวพิมพ์หูกางที่ตอกโค๊ดเลข ๕ ไทยด้านหลัง แต่ตอกโค๊ดเลข ๑๕ ในวงกลมแทน และโค๊ดเลข ๑๕ นี้ยังได้ใช้ตอกลงในพิมพ์ก้นระฆังด้วย พิมพ์ก้นระฆังตอกเลข ๑๕ ในวงกลม สร้างประมาณ 500 องค์ พระที่ตอกโค๊ตเลข ๑๕ นี้ทางผู้สร้างเจตนามอบให้กับ พนักงานรถไฟ ในส่วนกลาง ในกรมรถไฟ (หัวลำโพง ,มักกะสัน, ยศเส, นพวงศ์)
ในปี 2515 นั้นทางคณะผู้สร้างเห็นว่าในปี 2516 จะเป็นปีที่จะมีการปลุกเสกพระในพีธีเสาร์ 5 จึงได้มีการสร้างพระสมเด็จหลังยันต์ 10 ขึ้น เมื่อสร้างพระไประยะหนึ่งแม่พิมพ์เกิดรอยแตกชำรุดขึ้นเรื่อยๆพระที่ได้โดยมากจะเป็นพิมพ์ปล๊อกแตกพระที่สมบูรณ์จริงๆ มีน้อย พระสมเด็จมีจำนวนการสร้างประมาณ 1000 องค์โค๊ดที่ใช้ตอกเพื่อมิให้สับสนกับพิมพ์อื่นจึงใช็โค๊ดเลข ๑๕ อยู่ในวงกลมตอก บริเวณใหล่ขวาขององค์พระ( แม่พิมพ์แกะต่างหากไม่เหมือนของวัด )
ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในข้างต้นพระที่สร้างจะทำการสร้างไปเรื่อยๆเมื่อคุณ วินัย ฯ ทำขบวนมาลงพักค้างคืนที่สถานีรถไฟช่องแค ก็จะนำพระที่หล่อเสร็จมามอบให้หลวงพ่ออธิฐานจิต หลวงพ่อจะอธิฐานจิตให้ตลอดคืนตอนเช้าเมื่อจะทำขบวนรถไฟกลับ จึงจะมารับพระคืนและก็ได้นำมาแจกต่อๆกันไป ดังนั้นพระชุดนี้บุคคลภายนอกจึงไม่ค่อยทราบประวัติ หรืออีกนัยหนี่งที่ทำเช่นนี้ก็เป็นเพราะต้องการหลีกเลี่ยงการมีปัญหากับทางคณะกรรมการวัด พระที่สร้างเมื่อสร้างมาจนถึงประมาณเดือนพฤศจิกายนปี 2516 จึงหยุดสร้าง และมีพระที่เหลืออยู่กับคุณวินัยที่ยังไม่ได้แจกให้กับเพื่อนพนักงาน จำนวนมากพอสมควร คุณวินัยฯ.ได้นำมาเข้าพิธี ปลุกเสกครั้งสุดท้าย.เนื่องในโอกาส ฉลองครบรอบอายุ 90 ปี ของ ลพ.พรหม ในปีพศ.2517 โดยคุณวินัย ฯ.ได้นำพระจำนวนดังกล่าวมาเข้าร่วมในพิธีโดยการใส่มาในปี๊ปน้ำมันก๊าด จากที่ได้ทราบมาพระที่คุณ วินัยฯ.ได้สร้างมานี้ตั้งแต่ที่ได้เริ่มสร้าง ปี 2513 &#8211 ปี 2516 เมื่อทางวัดมีพีธี ปลุกเสกหากคุณวินัยฯ. มีพระเหลืออยู่ คุณ วินัย ฯ.จะนำเข้าร่วมพิธีปลุกเสกกับทางวัดทุกครั้ง
หลังจากปลายปี 2516 เป็นต้นมาทางบุคลทั่วไป และแม้แต่พนักงานเองในบางกลุ่มได้กล่าวถึงคุณวินัยฯ.และพระชุดนี้ไปในทางที่ไม่ค่อยดีต่างๆนาๆ ทางคุณวินัยฯ จึงไม่ได้มีการนำพระชุดนี้ออกมาแจกจ่ายอีกเลย แม้แต่บุคลที่สนิท เมื่อมาเยี่ยมคุณ วินัย ฯก็ไม่เคยได้รับพระชุดนี้ ถ้าสนิทมากๆ คุณวินัยฯ.ก็จะให้พระที่เป็นพระเนื้อผง ( จะไม่ขอกล่าวในที่นี้ ) ในระยะหลังมานี้

&#8230เหตุที่มีพระออกมาหมุนเวียนในสนามมากพอสมควร เป็นเพราะทายาท บุตรหลาน ของผู้ที่มีพระอยู่ในครอบครอง โดยมากจะเป็นบุคลในการรถไฟฯ ที่ได้รับพระตกทอดกันมา แต่ไม่รู้ประวัติความเป็นมา แต่ภายหลังได้ทราบจากสื่อ หนังสือพระเครื่องต่างๆบ้าง หรือทราบจากการสืบเสาะหาจากทางบุคคลที่ต้องการบ้าง จึงรู้ว่าเป็นพระที่มีราคา จึงมีการนำออกมาแลกเปลี่ยนหมุนเวียนกัน ผู้ที่มีส่วนร่วมในการสร้างปัจจุบันยังมีชีวิตอยู่อีกหลายคน และที่ไม่สามารถจะอ้างถึงนามบุคลเหล่านั้นได้เพราะยังไม่ได้ขออนุญาตโดยตรงจากท่านเหล่านั้น
&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230
............ขอขอบคุณ คุณ อัมพร ดวงทอง พนักงาน การรถไฟฯผู้ทำหน้าที่ตอกโค๊ดพระทั้งหมดที่ได้กล่าวข้างต้น ปัจจุบันยังปฏิบัติงานอยู่ที่แขวงรถพ่วงปากน้ำโพ (ใกล้เกษียณอายุราชการแล้ว ) และอดีตพนักงานการรถไฟ ฝ่ายการช่างกล พนักงานการรถไฟฯ สังกัดงานสารวัตรรถจักรบางซื่อ พนักงานการรถไฟฯ สังกัดแขวงรถพ่วงปากน้ำโพ และอดีตนายสถานีรถไฟ ช่องแค ฯลฯ
&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230&#8230.

รวบรวมข้อมูลโดย คุณ จรัญ ปั้นโฉม ผู้ช่วยสารวัตรแขวงงานสารวัตรรถจักรบางซื่อ
คุณ สุภศักดิ์ แสนเย็น พนักงานรถจักร ๖ งานรถพ่วงปากน้ำโพ
คุณ เศกสรร คงไพรสันต์ พนักงานรถจักร ๖ งานสารวัตรรถจักรบางซื่อ

....ชาร์ปคือ อะไร ???
....ชาร์ป คือ ชิ้นส่วนประกอบส่วนหนึ่งที่ใช้ใน รถจักรไอน้ำ และ รถพ่วง ในรถยุคแรกๆ ของรถไฟ ทำหน้าที่เดียวกับ ..บูทลูกปืนล้อรถ ในปัจจุบันนี่แหละครับ (ในสมัยรถจักรไอน้ำ ยังไม่มี บูทลูกปืน ครับ) ..และปัจจุบันเลิกใช้ ชาร์ปมานานแล้วนะครับ โดยการเปลี่ยนมาใช้ บูทลูกปืน แทนครับ..
...เนื้อชาร์ปรถไฟ..ทำปลอมไม่ได้นะครับ..เพราะการรถไฟเลิกใช้ชาร์ปรถไฟ..มานานแล้วครับ..และเนื้อชาร์ปรถไฟก็ไม่มีขายตามท้องตลาดทั่วไป ..เหมือน เนื้อเงิน เนื้อตะกั่ว เนื้อทองเหลือง ทองแดง นะครับ..

!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!


Copyright ©G-PRA.COM
www1