ร่วมเสนอความคิดเห็น

หัวข้อกระทู้ : สำหรับนักสะสมธนบัตร(แบ้งค์)โดยเฉพาะ



(D)


สวัสดีเพื่อนๆนักสะสมธนบัตร ขออธิบายคำว่า unc ย่อมาจากภาษาอังกฤษคำว่า Uncirculate แปลความหมายว่า ธนบัตรที่พิมพ์ออกมาสภาพใหม่ ยังไม่เคยผ่านการใช้เรียกว่า 100%...
..และเท่าทีสังเกตุมีการประมูลธนบัตรทั้งเก่าทั้งใหม่ ส่วนที่ใหม่จริงก็จะลงคำว่า unc ส่วนที่ใหม่ไม่จริงผ่านการล้างทำความสอาดผิวมา(ว่าจ้างมืออาชีพ)ทำออกมาดูสภาพใหม่สอาดสอ้าน เรียบไม่มีรอยยับและไม่มีรอยพับ มองผิวเผินดูเหมือนธนบัตรใหม่ หากท่านใดที่ไม่มีประสบการณ์ก็จะดูไม่ออก เข้าใจว่าเป็นธนบัตรใหม่..
..ผมจะให้ข้อสังเกตุธนบัตรใหม่ที่ผ่านการล้างผิวมา(ใหม่ไม่จริง)มีข้อหลักๆดังนี้
...1.ธนบัตรจะบางกว่าสัมผัสด้วยมือก็พอรู้สึกได้ว่าจะบางและนุ่มมือกว่าธนบัตรที่ไม่ผ่านการล้าง...
...2.สีของธนบัตรจะจางอ่อนไม่เข้มเท่าของจริงถึงจะผ่านการใช้งานมาอย่างหนัก...
...3.ถ้าฉบับไหนที่ผ่านการใช้งานมาพอประมาณนำไปส่องผ่านแสงไฟจะเห็นมีเส้นรอยพับชัดเจน...
...4.พื้นผิวธนบัตรผ่านการล้างมาหนักก็จะเห็นชัดเจนว่าไม่เรียบจะเป็นขุยๆมีเส้นใยโผ่ลให้เห็นชัดเจน..
..จากกระดานประมูลเท่าที่ผมไปร่วมประมูลด้วยหลายรายการเจ้าของกระทู้จะโพสประมาณว่า ใบนี้สภาพใหม่สวยมาก(แต่ไม่ยอมแจ้งว่ามีผ่านการล้างผิวมา)อาจจะสื่อให้เข้าใจผิดคิดว่าเป็นธนบัตรใหม่ คำว่า unc นั้นหมายถึงแบงค์ใหม่ ต้องอยู่ในสภาพใหม่ไม่มีรอยเปื้อนรอยด่างหรือสนิมเปอะไปหมด..
...หากมีรอยเปื้อนเล็กๆน้อยๆที่ไม่เด่นชัดจริงๆก็พออนุโลมได้(unc) แต่จะไม่ค่อยพบเห็นรอยเปื้อนเล็กๆน้อยๆ ส่วนใหญ่จะส่งไปล้างผิวใหม่...เหมือนเหรียญที่นำไปรมดำใหม่ เพียงแต่เราไม่สังเกตุเท่านั้นเอง..

.....มาดูความแตกต่างกันครับ ธนบัตร ฉบับละ 100 บาทฉบับบนผ่านการล้างมา มองดูผิวเผินเหมือนแบงค์ใหม่ไม่มีรอยพับแลดูเรียบ เทียบกับฉบับล่างที่ผ่านการใช้งานปกติดูเก่ากว่ามีรอยพับ แต่สีจะเข้มกว่าฉบับที่ล้างผิว

.....ส่วนรูปที่สองถ่ายภาพขอบให้ชมดูกันชัดๆ ฉบับบนที่ล้างผิวจะเป็นขุยๆ หากได้สัมผัสจริงทั้งสองฉบับก็จะรู้สึกได้ว่าความหนาบางจะไม่เท่ากันครับ

โดยคุณ tanakiton (1.5K)  [พ. 18 มิ.ย. 2551 - 05:07 น.]



โดยคุณ tanakiton (1.5K)  [พ. 18 มิ.ย. 2551 - 05:21 น.] #303964 (1/6)


(D)


ภาพแรก ฉบับที่อยู่ด้านบนผ่านการล้างผิวมาจะเห็นชัดเจนว่าบางจนมองทลุเห็นลายเส้นของด้านหน้า...

ภาพที่สอง ก็เช่นกันฉบับบน ถ่ายรูปส่องผ่านแสงไฟก็จะเห็นรอยพับตรงกลาง..ในส่วนนี้แบงค์ที่ผ่านการใช้งานและมีรอยพับเดิมอยู่แล้ว ล้างยังไงก็ไม่สามารถทำให้รอยพับหายไปได้นอกจากจะจางลงไปเท่านั้น หากส่องดูธรรมดาไม่ผ่านแสงไฟก็อาจจะไม่เห็นรอยพับ ขอให้เพื่อนๆที่เป็นนักสะสมธนบัตรโปรดระมัดระวังด้วยครับ

โดยคุณ tanakiton (1.5K)  [พ. 18 มิ.ย. 2551 - 05:29 น.] #303969 (2/6)
เพิ่มเติมอีกนิด ราคาธนบัตรใหม่(unc)ต้องใหม่จริง ไม่ใช่ผ่านการล้าง จะต่างกับธนบัตรที่ผ่านการใช้งานราคาจะห่างกันมาก สืบเนื่องธนบัตรอายุอย่างน้อยก็ต้องมี 50-60 ปี เช่นเดียวกับพระเก่าที่คงสภาพผิวเดิมไว้...

โดยคุณ ชมดาวโคราช (4.7K)  [ศ. 20 มิ.ย. 2551 - 08:04 น.] #305182 (3/6)
เยี่ยมครับ คงจะเหมือนกับพระผิวเดิมกับพระที่ผ่านการล้างผิวใช่เปล่าครับ

โดยคุณ คุณอุ๊ (660)  [ส. 28 มิ.ย. 2551 - 00:01 น.] #308571 (4/6)
ขอขอบคุณครับ

โดยคุณ tanakiton (1.5K)  [ส. 13 มี.ค. 2553 - 02:30 น.] #1079891 (5/6)
เปลี่ยนเป็นลิงค์นี้..........ท่านที่ต้องการหาข้อมูลพระแท้-พระเก๊เข้าชมตามลิงค์นี้ครับ..

http://pratare.blogspot.com/

โดยคุณ zoom1 (39)  [ศ. 23 ก.ค. 2553 - 12:00 น.] #1233042 (6/6)
ขอบคุณข้อมูล ผมเก็บธนบัตรเหมือนกัน ได้ความรู้ใหม่

!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!


Copyright ©G-PRA.COM
www1