(D)
-สวัสดีครับ จากการรวบรวมข้อมูลจากที่ปรึกษาพระเครื่องหลายๆท่านมาเป็นเวลากว่า 4 เดือน ผมจึงได้สรุปข้อมุลทั้งหมดได้ดังนี้ครับ
1.พระกริ่งพระชัยวัฒน์ ญส วัดบวรนิเวศฯ มีการหล่อ 2 แบบคือ หล่อในพิธีที่วัดบวรนิเวศฯ ( หล่อโบราณป็นช่อ ) และหล่อที่โรงงานแถวพรานนก
2.พระกริ่งพระชัยวัฒน์ ญส ที่หล่อที่วัดบวรนิเวศฯ จะหล่อด้วยกรรมวิธีหล่อโบราณแบบเบ้าเท ซึ่งจะได้พระออกมาเป็นช่อๆละประมาณไม่เกิน 20 องค์ แบ่งเป็นพระกริ่งไม่เกิน 10 องค์และพระชัยวัฒน์ไม่เกิน 10 องค์ แล้วนำช่อพระมาตัดออกเป็นองค์ๆเพื่อนำมาเจาะก้น บรรจุเม็ดกริ่งแล้วปิดก้นพระด้วยแผ่นเงิน การเชื่อมปิดก้นจะไม่สนิทและไม่เรียบร้อยเหมือนเทหล่อที่โรงงาน
3.พระกริ่งพระชัยวัฒน์ ญส ที่หล่อที่โรงงานแถวพรานนก จะหล่อด้วยกรรมวิธีหล่อโบราณแบบเบ้าเหวี่ยง ซึ่งจะได้พระออกมาเป็นช่อเหมือนกันแต่ก้นกลวง แล้วนำช่อพระมาตัดออกเป็นองค์ๆ เพื่อบรรจุเม็ดกริ่งแล้วปิดก้นพระด้วยแผ่นเงิน หรือแผ่นทองคำ การเชื่อมปิดก้นจะสนิทและเรียบร้อยเนื่องจากมีการแต่งขอบฐานด้วยตะไบทุกองค์
4.พระหล่อทั้ง 2 แบบนี้ ใช้แม่พิมพ์ในการทำหุ่นเทียนตัวเดียวกัน ดังนั้นพิมพ์จะเหมือนกัน 100 % จะแตกต่างกันเฉพาะเนื้อเกินตามซอกขององค์พระในพระที่หล่อที่วัดบวรนิเวศน์และผิวจะหยาบกว่าเล็กน้อย ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของพระหล่อโบราณแบบเบ้าเทเท่านั้น ส่วนพระที่หล่อด้วยวิธีหล่อโบราณแบบเบ้าเหวี่ยง พระจะเรียบร้อยกว่าและ ผิวพระจะตึงกว่าเล็กน้อย
5.พระหล่อทั้ง 2 แบบนี้ เนื้อพระและผิวไฟตามซอกจะเหมือนกัน 100 % ไม่สามารถแยกความแตกต่างกันได้
6.ลายมือจารที่ก้นพระของพระที่หล่อทั้ง 2 แบบนี้ มีลายมือที่แตกต่างกัน 3-4 แบบอย่าง ทำให้ไม่สามารถแยกได้ว่า ลพ.คูณ จารก้นพระทั้ง 2 แบบนี้ทั้งหมดหรือไม่ เนื่องจากยังไม่มีตัวอย่างลายมือของ ลพ.คูณ สมัยเมื่อปี 19 ให้เปรียบเทียบหลายๆลายมือ แต่ในเบื้องต้นคาดว่าจะมีพระเกจิอาจารย์จารหลายท่าน เนื่องจากลายจารไม่เหมือนกันทั้งหมด
-ดังนั้นทางคณะที่ปรึกษาพระเครื่องจึงมีความเห็นตรงกันว่า พระกริ่งพระชัยวัฒน์ ญส วัดบวรนิเวศฯ นี้เป็นพระแท้ทั้ง 2 แบบ เพียงแต่หล่อคนละกรรมวิธีเท่านั้น ส่วนลายมือจารเป็น ลพ.คูณจารก้น พร้อมกับมีพระเกจิอาจารย์ท่านอื่นจารด้วย
-หากเพื่อนๆสมาชิกมีข้อมูลเพิ่มเติมมากกว่านี้กรุณาส่งมาทางเว็บไซต์ฯได้เลยครับ ขอบคุณมากครับ
( ขอขอบคุณคุณมานะ บุญคุณ เอื้อเฟื้อภาพและข้อมูลองค์ข้างต้นซึ่งเป็นพระกริ่ง ญส หล่อ ด้วยกรรมวิธีหล่อโบราณแบบเบ้าเทที่วัดบวรฯ ) |