(N)
พระสมเด็จปิลันทน์ พระพิมพ์ซุ้มประตู วัดระฆัง คราบกรุ ไขหนา สภาพสวย ขนาด 1.8 x 2.8 ซม. ((( 45,000 บาท )))
พระสมเด็จปิลันทน์ 'พระสองสมเด็จฯ' เด่นเมตตามหานิยม
ประวัติพระพุทธบาทปิลันทน์
พระสมเด็จปิลันทน์ วัดระฆัง เป็นพระเนื้อผงใบลานเผาส่วนใหญ่เนื้อออกสีเทาๆ พระสมเด็จปิลันทน์ ถ้าจะเรียกให้ถูกต้องก็คือ "พระสมเด็จพระพุทธุปบาทปิลันทน์"สร้างโดยหม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ ทัต เสนีวงศ์ พระสมเด็จปิลันทน์ ซึ่งเป็นพระของวัดระฆังฯ ที่มีการสร้างยาวนานอีกองค์หนึ่ง หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ ทัต เสนีวงศ์ เป็นเจ้าวังหลัง และทรงอุปสมบทเป็นนาคหลวงที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ประทับอยู่ที่วัดระฆังฯ และศึกษาพระบาลีปริยัติธรรมกับ เจ้าประคุณสมเด็จฯ โดยตรงมาตั้งแต่ต้นจนได้เปรียญ 7 ประโยค และเป็นศิษย์ที่ทรงสมณศักดิ์สูงที่สุดของเจ้าประคุณสมเด็จฯ อีกด้วย ต่อมาได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ทรงสมณศักดิ์ที่ หม่อมเจ้าพระพุทธุปบาทปิลันทน์ในรัชกาลที่ 4 อันเป็นสมณศักดิ์ที่ทรงพระราชทานถวายเฉพาะ แด่พระเถระที่เป็นพระราชวงศ์เท่านั้น และทรงสมณศักดิ์สุดท้ายเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ หม่อมเจ้าพระสมเด็จพระพุฒาจารย์ แล้วโปรดให้ไปครองวัดเชตุพนฯ
พระสมเด็จปิลันทน์ วัดระฆังถ้าจะเรียกให้ถูกต้องเต็มความก็คือ พระสมเด็จพระพุทธุปบาทปิลันทน์ สร้างโดยหม่อมเจ้าสมเด็จพระพุฒาจารย์ ทัด เสนีวงศ์ ในสมัยที่ท่านดำรงสมณศักดิ์ที่ หม่อมเจ้าพระพุทธุปบาทปิลันทน์ ณ วัดระฆังฯ ท่านทรงเป็นศิษย์เอกของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี นับตั้งแต่ทรงช่วยเจ้าประคุณสมเด็จฯ สร้างพระสมเด็จฯ เป็นต้นมา และได้ทรงสร้างพระเครื่องฯ ของท่านขึ้นมาบ้างในปีพ.ศ. 2411 ภายหลังจากที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้สร้างพระสมเด็จฯ มาแล้ว 2 ปี แต่มิได้ทรงสร้างโดยลำพังพระองค์เดียว หากอาราธนาให้เจ้าประคุณสมเด็จฯ ร่วมสร้างด้วย และขอผงวิเศษห้าประการของเจ้าประคุณสมเด็จฯ มาเป็นอิทธิวัตถุผสมเป็นหลักของมวลสาร ดังนั้น พระเครื่องฯ ชนิดนี้คนรุ่นเก่าๆ ที่ทราบประวัติการสร้างจึงนิยมเรียกว่า "พระสองสมเด็จฯ" แต่นักนิยมพระเครื่องทั่วๆไปนิยมเรียกว่า "พระสมเด็จปิลันทน์" เมื่อเจ้าประคุณสมเด็จฯ สิ้นแล้วท่านจึงได้บรรจุพระเครื่องฯ เหล่านี้ไว้ในพระเจดีย์องค์หนึ่ง ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของพระอุโบสถ โดยอุทิศส่วนกุศลถวายเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ โต พรหมรังสี ผู้เป็นพระอาจารย์
พระปิลันทน์ มีหลายพิมพ์ ล้วนแล้วแต่เป็นฝีมือการแกะแม่พิมพ์ของช่างหลวงทั้งสิ้น เพราะแต่ละพิมพ์ล้วนมีความงดงามวิจิตรอลังการ ยากที่ช่างฝีมือชาวบ้านธรรมดาจะทำได้ พิมพ์ที่ถือว่าสุดยอด ของ พระปิลันทน์ ก็คือ พิมพ์ซุ้มประตู เนื้อพระจะออกไปในทางเทาอมดำ บางท่านก็ว่าเป็นเขียวอมดำและมีคราบไขขาวเกาะแน่นหนา ซึ่งทำให้ง่ายต่อการพิจารณายิ่งขึ้น(พระปลอมไขขาวจะหลุดล่อนง่าย)ในส่วนของพระที่บรรจุกรุ ได้มีการขุดพบครั้งแรกเมื่อปี ๒๔๗๑
"สมเด็จพระพุฒาจารย์"มีพระนามเดิมว่า "หม่อมเจ้าทัต เสนีย์วงศ์"
เป็นพระโอรสใน กรมหลวงเสนีย์บริรักษ์ ( พระองค์เจ้าแดง )ใน กรมพระราชวังบวรสถานภิมุข ( วังหลัง ) ประสูติเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๖๔ ในสมัยรัชกาลที่ ๒อุปสมบทเมื่อปี พ.ศ.๒๓๘๕ จำพรรษา ณ วัดระฆังฯ
ต่อมาปี พ.ศ.๒๔๑๓ ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดระฆังฯ แทน สมเด็จพระพุฒาจารย์ ( โต พรหมรังสี )ซึ่งชราภาพแล้ว สมเด็จพระพุฒาจารย์ (ทัต) มรณภาพปี พ.ศ.๒๔๔๓
การสร้างพระเครื่องสมเด็จพระปิลันทน์ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในช่วงปี พ.ศ.๒๔๐๗ ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ "พระพุทธบาทปิลันทน์"ในช่วงปีดังกล่าว สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ยังมีชีวิตอยู่
จึงสันนิษฐานว่า เจ้าพระคุณสมเด็จฯโต จะแผ่เมตตาประกอบพิธีปลุกเสกให้ด้วย
พระสมเด็จปิลันทน์ วัดระฆัง พุทธลักษณะ
เป็นพระที่มีทั้ง พิมพ์นั่งสมาธิบนฐานต่าง ๆ และพิมพ์ยืน
จำแนกพิมพ์
พระปิลันทน์เป็นพระที่มีพิมพ์จำนวนมาก แต่จำแนกตามพิมพ์ที่นิยมกันได้ดังนี้
1. พระพิมพ์ซุ้มประตู ------> สุดยอด
2. พระพิมพ์ครอบแก้วใหญ่
3. พระพิมพ์ครอบแก้วเล็ก
4. พระพิมพ์เปลวเพลิงใหญ่
5. พระพิมพ์เปลวเพลิงกลาง
6. พระพิมพ์เปลวเพลิงเล็ก
7. พระพิมพ์สี่เหลี่ยมปรกโพธิ์ใหญ่
8. พระพิมพ์สี่เหลี่ยมปรกโพธิ์เล็ก
9. พระพิมพ์สี่เหลี่ยมปรกโพธิ์เล็ก ครอบแก้ว
10. พระพิมพ์ประทานพร หรือปฐมเทศนา
11. พระพิมพ์โมคคัลลาน์ - สารีบุตร
12. พระพิมพ์ฐานสามชั้น ซุ้มสาม
พุทธคุณที่เล่าสืบทอดกันมา เด่นทาง เมตตามหานิยม
วิธีบูชา พระสมเด็จวัดระฆัง เพื่อให้เกิดพุทธคุณสูงสุด ควรปฏิบัติดังนี้
- อานุภาพพระสมเด็จวัดระฆัง
ผู้ที่มีจิตใจที่ดี บริสุทธิ์ผ่องใส จะได้รับอานุภาพที่ดี จากพระสมเด็จ ณ วัดแห่งนี้
๑. บูชาเพื่อความเจริญรุ่งเรืองในกิจการงาน และความผาสุขของชีวิต
ผู้มีติดตัวไว้ จะทำให้เกิดโภคทรัพย์ ในสุจริตวิถี
๒. คุ้มครองป้องกันภัยอันตราย ให้แคล้วคลาดจากภัย ทั้งหลายทั้งปวง เฉพาะในผู้ที่เป็นสุจริตชน
ผู้ทำมาหากินด้วยแรงกาย แรงสติปัญญา ในทำนองครองธรรม ในทางตรงกันข้าม พวกมิจฉาชีพดำรง
ชีวิตด้วยความเดือดร้อนของบ้านเมืองและประชาชน ตลอดจนถึงการขัดต่อศีลธรรม อันดีงาม
แม้มีพระสมเด็จไว้ครอบครอง หรือมีส่วนเกี่ยวข้องผ่านมือ ก็จะไม่พบความสุข
หาความเจริญที่ยั่งยืนให้แก่ชีวิตได้ยาก
- วิธีอาราธนา พระสมเด็จวัดระฆัง
ตั้งนะโม ๓จบ ระลึกถึง เจ้าประคุณพระสมเด็จพุฒาจารย์ (โต) พรหมรังสี แห่งวัดระฆังโฆษิตาราม
หากสวดคาถาชินบัญชร บทเต็มได้ ควรสวด ๑จบ หรือหากมีเวลาน้อย ให้สวดบทย่อ ๑๐จบ มีดังนี้
" ชินะปัญชะระปะริตัง มังรักขะตุสัพพะทา " ก่อนที่จะนำ พระสมเด็จติดตัวไป ให้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
- ท่องคาถาแสดงความเคารพต่อองค์พระสมเด็จ
เมื่อยกสร้อยขึ้นจะคล้องคอ องค์พระอยู่ในอุ้มมือ พนมมือแล้วท่องคาถา อาราธนาดังต่อไปนี้
" โอมมะศรี มะศรี พรหมรังสี นามะเตโช มหาสมโณ มหาปัญโญ
มหาลาโภ มหายะโส สัพพะโสตถี ภะวันตุเม "
- เมื่อจบแล้ว ให้ท่องคาถา ขอโชคลาภ ว่า
"ปุตตะกาโม ละเภปุตตัง ธนะกาโม ละเภธะนัง
อัตถิ กาเย กายะยายะ เทวานัง ปิยะยัง สุตวา"
- เมื่อคล้องคอแล้ว ท่องคาถา คุ้มครองชีวิต ให้แคล้วคลาดปลอดภัยว่า
" อิติปิโสภะคะวา ยะมะราชาโน ท้าวเวสสุวัณโณ
มรณังสุขัง อรหังสุคโต นะโมพุทธายะ "
หากทำได้เช่นนี้ทุกวัน ชีวิตท่านจะเกิดมงคล จักพบแต่ความสุขความเจริญ และนิรันตรายทั้งปวง |