ร่วมเสนอความคิดเห็น

หัวข้อกระทู้ : เกี่ยวกับ พระสมเด็จวัดระฆังพิมพ์ใหญ่ ไม่ตัดปีก



(D)
พระปีกกว้าง
ไม่ตัดขอบพิมพ์
“พิมพ์ถูก เนื้อใช่” คือ “พระแท้” เป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาตัดสินความแท้ หรือเทียม ของพระเครื่องทุกกรุ และทุกสำนัก
ซึ่งต้องอาศัยหลัก ดังกล่าวนี้ พิจารณาควบคู่กันไป และจะละเลย สิ่งหนึ่งสิ่งใดมิได้
พระแท้นั้น พิมพ์ต้องถูก เนื้อต้องใช่...
จะพิมพ์ถูกต้อง เนื้อไม่ใช่ หรือพิมพ์ไม่ถูกต้อง แล้วเนื้อใช่ไม่ได้อย่างเด็ดขาด
แบบพิมพ์ และเนื้อพระนั้น ในบางกรณีก็ ไม่เหมือนกัน เสมอไป ถึงแม้ว่าจะเป็นพระแท้แน่นอนก็ตาม ซึ่งเราก็ อนุโลม กันได้หากมีเหตุผลอันควร
เช่น พระบางองค์กดพิมพ์ไม่เต็ม อาจแลดูเพี้ยน ๆ ไปบ้าง พระบางองค์กดพิมพ์ซ้ำ ทำให้รายละเอียดต่าง ๆ เขยื้อน พระบางองค์มีขนาดเล็ก หรือใหญ่กว่า อันสืบเนื่องมาจากการตัดขอบพิมพ์ซึ่งมีทั้งตัดขอบชิด และตัดขอบกว้าง หรือไม่ตัดขอบพิมพ์ ที่นักเล่นพระเรียกกันว่า “ปีกกว้าง” นั่นแหละ เป็นต้น
ส่วนเนื้อพระนั้นบางองค์เนื้อหยาบ หรือละเอียดเกินไปก็มีบางองค์เนื้อสีผิดไปองค์ที่พบเห็นกันบ่อย ๆ ทั้งนี้เพราะจากส่วนผสมของเนื้อ หรือการเผา หรืออาจจะเปรอะเปื้อน อะไรบางอย่าง ในบางองค์เนื้อยุ่ย เนื้อแน่นมีขี้กรุ คราบกรุมากน้อย ผิวระเบิดมากน้อย ก็ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมภายในกรุนั้น ๆ ซึ่งบางองค์จมอยู่ก้นกรุ บางองค์อยู่ปากกรุ ฉะนั้นสภาพผิวย่อมแตกต่างกัน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม “พระแท้.” พิมพ์จะต้องถูก เนื้อจะต้องใช่...
คือ พิมพ์ทรง และขนาดถูกต้องตามมาตรฐานสากลยอมรับ และเนื้อต้องเก่าสมอายุ
พระแท้ นั้นไม่จำเป็นต้องเหมือนกันทุกองค์เสมอไป โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระกรุเก่า ไม่มีทางเหมือนกันได้แน่นอน
จากสาเหตุดังกล่าวที่ยกตัวอย่างข้างต้นนี้เอง
อีกประการหนึ่งก็คือพระกรุเก่านั้นผ่านการห้อยบูชาจากคนยุคก่อนสืบต่อกันมาทำให้สภาพแปรเปลี่ยน ไปตามลำดับ เช่น พระบางองค์สึกบ้าง หรือสึกมากจนแทบจะไม่เห็นอะไรเลย บางองค์สภาพเดิม ๆ เหมือนกับ เพิ่งทำมาใหม่ แต่ความจริงแล้วเก่าหลายร้อยปี บางองค์แลดูเก่าคร่ำสมอายุ บางองค์มีคราบสกปรกเหมือน กับเปรอะเปื้อนอะไรมาและบางองค์ผิวดูสะอาดสะอ้านจากการล้างผิว
กล่าวคือตัวเองมีพระแท้อยู่องค์หนึ่งนั่งส่องนั่งจำจนเข้าตา แล้วยึดถือพระองค์นั้นเป็นแบบอย่าง หากจะเช่าหาต้องมีเนื้อ หรือพิมพ์ เหมือนกับองค์ของตน หากผิดไปจากตนมี จะไม่ยอมเช่าซื้อเพราะคิดว่า “เก๊” นั่นคือความเชื่อที่ผิด ๆ
การพิจารณาพระองค์ใด แท้ หรือ เก๊ ต้องอาศัย พิมพ์ หรือ เนื้อ ว่าถูกต้องหรือเก่าสมอายุหรือไม่ มิใช่ยึดหลักจดจำองค์หนึ่งองค์ใด โดยเมื่อเปรียบเทียบแล้วว่าไม่เหมือนก็สรุปว่า เก๊ นั้นไม่ได้
ขนาดคน ๆ เดียวกัน เซ็นซื่อสองครั้ง ยังไม่เหมือนกันเลย แล้วนับประสาอะไรกับการสร้างพระเป็นพัน ๆ หมื่น ๆ องค์จะให้เหมือน ทุกองค์ จะเป็นไปได้อย่างไร?
ครับที่กล่าวมา ณ ที่นี้ ก็คือ พระ “ ปีก” กว้าง ไม่ตัดขอบพิมพ์ ซึ่งถือว่าเป็นเอกลักษณ์ พิเศษ อย่างหนึ่งเฉพาะบางองค์ที่นักเล่นพระอนุโลมยอมรับ
หากพระองค์นั้นพิมพ์ถูก เนี้อใช่
พระปีกกว้าง ไม่ต้องตัดขอบพิมพ์นั้น มีทั้งประเภทเนื้อดินเผา เนื้อชินเงิน ชินตะกั่ว และชินเขียว เนื้อผง และเนื้อว่าน
แต่โดยมากจะเป็นพระกรุพระเก่าหรือพระที่มีอายุพอสมควร มิใช่พระใหม่
เพราะการสร้างพระในสมัยก่อน หรือสมัยโบราณ เครื่องไม้เครื่องมือ ต่าง ๆ ใช้วัสดุใกล้ตัว พิมพ์พระก็ใช้หิน หรืองาช้าง การตัดขอบพิมพ์ก็ใช้วัสดุปลายแหลมต่าง ๆ อาทิเช่น หวายผ่าซีก หรือเครื่องมือบางอย่างปาดลบ ความคมของขอบ และเนื้อล้นขอบข้างซึ่งเป็นส่วนเกินออกไป
จากการที่สมัยก่อน การสร้างพระอาศัยแรงงานคน และเครื่องไม้เครื่องมือวัสดุใกล้ตัวนี่เอง จึงทำให้พระบางองค์หรือหลายองค์ ผิดแผกกันแตกตากกันออกไป คือ มีทั้งตัดขอบชิดบ้าง ตัดขอบกว้างบ้าง หรือไม่ตัดขอบปล่อยให้ขอบเป็นไปตามนั้น รวมทั้งเนื้อพระบางองค์ก็หยาบบางองค์ก็จะละเอียด บางองค์เนื้อแน่น บางองค์เนื้อหลวม ๆ ทั้งนี้เพราะอาศัยแรงงานจากคนจำนวนมากนั่นเอง
จึงย่อมที่จะผิดแผกแตกต่างกันไปเป็นธรรมดา


โดยคุณ samcolt (0)  [พฤ. 14 ธ.ค. 2549 - 01:58 น.]



!!!! กรุณา Login ก่อนจึงจะเสนอความคิดเห็นได้ !!!


Copyright ©G-PRA.COM
www1