(D)
ปกติแล้วต้นตำรับการประทับรอยเท้านั้นทุกคนทราบกันดีว่าต้นกำเนิดมาจากหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ(น้อยคนนั้นจะรู้ว่าจริงเกจิท่านแรกคือหลวงพ่อเงิน วัดพระปรางเหลือง ท่าน้ำอ้อย อ.พยุหคีรี ซึ่งเป็นอาจารย์ท่านหนึ่งของหลวงพ่อเดิม ซึ่งมีหลักฐานที่วัดพระปรางเหลืองเป็นภาพเสด็จประพาสต้นของเหนือหัวรัชกาลที่5 ) เข้าเรื่องดีกว่า บางคนเห็นผ้ารอยเท้าก็คิดว่าหลวงพ่อพรหมเป็นลูกศิษย์หลวงพ่อเดิม ประกอบกับหลวงพ่อเดิมอายุมากกว่าหลวงพ่อพรหมประมาณ 25 ปี จึงทำให้คิดว่าทั้งสองท่านมีความสัมพันธ์ฉันศิษย์อาจารย์ แต่จริงไม่ใช่นะครับ อันนี้คนเก่าแก่ที่ช่องแคทุกคนยืนยันได้ครับ เพียงแต่ท่านทั้งสองเป็นสหายธรรมด้วยกัน เคยร่วมธุดงค์กัน และหลวงพ่อเดิมเคยเดินทางผ่านและแวะสนธนาธรรมกับหลวงพ่อพรหมที่วัดช่องแคสองหรือสามครั้ง และอีกอย่างหนึ่งที่พิสูจน์ได้ ก็คือ หลวงพ่อเดิมจะลงหรือจารวัตถุมงคลของท่านด้วย นะโมพุทธายะ ซ้อนกัน หรือที่เรียกว่า นะโมพุทธายะใหญ่ ส่วนของหลวงพ่อพรหม ท่านนิยมลงด้วยยันต์สิบ คือ นวหรคุณ อะสังวิสุโลปุสะพุภะอะ ถ้าเป็นศิษย์อาจารย์กันจริงย่อมจะต้องมีวิชาการลงวัตถุมงคลอย่างเดียวกันจริงไหมครับ
เรื่องรอยเท้าปกติแล้วถ้าหลวงพ่อจะใช้ผ้าสีขาว หรือ ผ้าสีแดง โดยเฉพาะผ้าสีแดงซึ่งหลวงพ่อจะชอบมากจะเห็นได้จากยันต์กันไฟ หรือยันต์ชายธง ของหลวงพ่อจะเป็นสีแดง ถ้าเป็นผ้าสีอื่นค่อนข้างจะไม่ดี แต่ก็มีกรณีลูกศิษย์ลูกหา หรือกรรมการบางท่านจะขอจีวรท่านแล้วตัดเป็นชิ้นๆแบ่งกันให้ทัน อธิฐานจิตให้ก็มี ถ้าเจอไม่ต้องแปลกใจนะครับ เพราะถ้าเป็นจีวรจะมีจำนวนน้อยกว่า ก็อีกนั้นละครับด้วยความไม่รู้เซียนใหญ่ในกรุงเทพฯตีเก้เลยครับ ผมว่าใครจะหานิมนต์มาบูชาก็น่าจะเช็ดที่มาที่ไปด้วยนะครับ เพราะบอกตรงดูยากมาก แต่มีข้อมูลให้นิหน่อยนะครับ คือ ที่วัดให้บูชา จะเป็นผ้าสีขาวหรือสีแดงครับ แต่ถ้ากรรมการตัดแจกกันเองจะใช้จีวรของท่านครับ และปกติแล้วของหลวงพ่อพรหมจะใช้หมึกดำนะครับ ของหลวงพ่อเดิมจะใช้ครามซักผ้าสีน้ำเงิน หรือไม่ก็ขมิ้นจะใช้ช่วงสงคราม แต่ก็ยอมรับนะครับของหลวงพ่อพรหมจะมีรุ่นหลังที่เป็นรอยขมิ้นครับ แต่ขอ บอกเลยนะครับว่าถ้าเป็นรอยขมิ้น จะเป็นรอยที่คนมาประทับกับสังขารท่านกันเองนะครับช่วงงานศพหลวงพ่อปี 2518 ดังรูปข้างต้น ท่านไม่ได้เหยียบให้ ถ้าทันท่านตอนมีชีวิตอยู่ท่านจะใช้หมึกดำครับ ส่วนน้ำหนักการกดทับก็ดูง่ายครับ ว่าใช้มือกดกับรอยน้ำหนักเท้าเหยียบมันต่างกัน นอกนั้นต้องดูอายุผ้าว่าถึงหรือไม่ ซึ่งก็ยากหน่อยสำหรับคนดูอายุผ้าไม่เป็น หรือคนที่เก็บรักษาผ้าอย่างดีนะครับ แต่ก็ที่ผมทราบมาก็มีลูกศิษย์ลูกหาบางท่านเกรงใจไม่กล้าขอ ก็จะเอาหมึกมาจากที่บ้านแล้วเอาผ้ามา ประทับรอยเท้าท่านตอนที่ท่านจำวัดอยู่ก็มีนะครับ อย่างว่าละครับสำคัญสุดต้องรู้ที่มาที่ไปนะครับ แต่ถ้าเอาแบบดูง่ายไม่มีปัญหา ก็ต้องจดจำรายละเอียด เส้นสายในรอยเท้าและน้ำกด รวมทั้งสัดส่วน ครับ
ปล. ต้องขอโทษด้วยนะครับ ผมไม่สามารถ วัดรอยเท้าของท่านได้ เพราะผมเห็นว่าเป็นการณ์ไม่สมควรอย่างยิ่งครับ
|